ไปเที่ยวตลาดนัด ... ที่โคราช (10) บทสรุป การ ลปรร. 5 เรื่อง 5 รส ... เรื่องแรก เทคนิคการเป็นผู้นิเทศงาน


ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็มีหลายแบบ วัดว่ามีความรู้ไหม มีความใฝ่รู้ไหม ถ้าเราเห็นคนทั้ง 5 ใฝ่รู้ทั้งหมด ก็จะมีในเขต 5 ก็หาวิธีประเมินขึ้นมา ว่าคนเหล่านี้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไหม และคนเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นมาหรือเปล่า และการวัดอีกหลายๆ มิติ ก็จะมาช่วยได้

 

บทนี้ถือเป็นบทสรุปที่เราได้เรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่อง การใช้ KM ในการทำงานค่ะ

คุณหมอสมศักดิ์ได้สรุปเรื่องราวของการใช้ KM ในทั้ง 5 เรื่องที่ได้ฟังกันมา คือ

  • เทคนิคการเป็นผู้นิเทศงาน
  • การสร้างเครือข่ายแม่อาสา
  • การสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์
  • โภชนาการกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ
  • การดำเนินงาน รร. ส่งเสริมสุขภาพ 
  •  ... เพื่อไม่ให้พวกเราเข้าใจผิดพลาดไป ว่า

    1. สิ่งที่ผมพยายามจะทำกับทุกท่านบนเวที คือ ความพยายามจะแกะความรู้ ที่เป็น tacit knowledge วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ... วิธีที่ดีที่สุด คือ เขาจะให้ทุกคนเล่าเรื่องที่เฉพาะเจาะจงมาก ที่ภาษาเทคนิคเรียกว่า เล่า success story ที่พวกเราได้ยินมาส่วนใหญ่ เป็น life story คือ เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ยาวนานมาก ซึ่งต้องถูกบีบด้วยเวลาที่ให้เล่า เพราะฉะนั้นต้องไม่เล่าหลายเรื่อง ... หลักในการเล่าเรื่องที่ดี ต้องเล่าเรื่องที่เขาทำอยู่จริง และข้อสรุปต้องให้คนฟังดูกันเอาเอง เพราะว่าเรื่อง 1 เรื่อง สำหรับคนฟัง 1 คน อาจจะได้เทคนิค 10 อย่าง ได้บทเรียน 10 อย่าง อาจได้ 20 ก็ได้ บางคนอาจแกะเรื่องๆ เดียวได้ 2 อัน ถ้าคนที่ฟังมาสรุปรวมกัน ก็จะได้ความรู้ที่เป็นแก่นกลาง ซึ่งสำคัญมาก เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช้เทคนิคการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ... การทำในวันนี้ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีนะครับ ... เพราะคนหนึ่งเล่าหลายเรื่อง เพื่อที่จะให้พวกเราไม่เข้าใจผิดนะครับ ... ต้องไม่ทำตามอย่างแบบนี้ ... เพียงแต่ผมจะแสดงให้ได้เห็นว่า ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์แต่ละท่านทั้ง 5 เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผมหวังว่า ท่านคงจะเห็น หลายท่านที่ทำงานแบบนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้เลย นี่เป็นเรื่องของ KM
    2. กรณีตัวอย่าง ถ้าเล่าเรื่อง 5 เรื่อง 4 เรื่อง เป็นเรื่องของการทำงานของแต่ละคนที่ทำงานมา อนามัย ปชส. โภชนาการ นิเทศ และอีกเรื่องหนึ่ง ผสมผสานการทำงานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับการทำงาน KM เช่น ที่เล่าว่า เพื่อให้คนมาเจอกันก็ไปหาหัวหน้า ward เขาถึงยอมให้มาเจอ พอ หน.เจอแล้ว คนมาเจอสักพักก็จะเบื่อ ก็จะมีเทคนิค มีการสร้างแรงจูงใจ ก็คือ ผัดหมี่โคราช กรณีก็อาจเป็นวิธีการหนึ่ง ก็เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เพื่อการสร้างสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนมา ลปรร. กัน ส่วนนี้ผมได้เห็นจากเรื่องเล่าทั้ง 5 เรื่องนี้
    3. ผมเป็นนักจดที่ไม่ค่อยดีเท่าไร เวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้องมีคนจดที่ดี จะได้นำความรู้นี้ไปขยายตัวต่อ ยกตัวอย่างที่คุณจันทิราเล่าว่า ตอนที่เขา ลปรร. กันระหว่างคนทำงาน breast feeding เขาก็จะมี check list อันหนึ่ง ว่า เทคนิคที่เขาใช้มีกี่อัน กันนี้เป็นการสรุป ว่า เป็น instruction ที่เล่าให้ฟัง เป็นการสรุปความรู้จากประสบการณ์ และทุกคนก็เอาตรงนี้ไปลองดูว่า ฉันลองไปประยุกต์ใช้แบบนี้แล้วได้เรื่องมั๊ย ประยุกต์แล้วไปปรับอะไรบ้าง แบบนี้ภาษา KM เขาเรียกว่า ความรู้มันจะไหลเวียน
      ... ผมเชื่อว่าทุกท่านที่เล่าเรื่องแต่ละเรื่องมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำให้คนลดความอ้วนได้
      ... การนิเทศงานที่ทำให้คนนิเทศไม่ต้องตื่นเต้นเกิน
      ... ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานอนามัยโรงเรียน ที่ทำให้ครูมีความสุข ผู้บริหารโรงเรียนมีส่วนร่วม จนท.สส. สามารถตั้งเป้าเกินกว่าที่กระทรวงฯ ตั้งมาได้
      ... ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การ ปชส. ที่ทำให้นักข่าวมีความสุข
      ก็จะมีเทคนิคเยอะแยะ ซึ่งสามารถนำมาทำเป็น บทสรุปว่าด้วยความรู้ (Knowledge assets) ได้ เพื่อที่จะให้คนอื่นได้เอาไปใช้ต่อ เวลาเขาเอาไปใช้ก็จะไปปรับเพิ่มเติม และเราก็มาเจอกันใหม่ ว่า พอไปใช้แล้ว ความรู้มันเพิ่มพูนขึ้นมาหรือเปล่า ภาษา KM ก็เรียกว่า การทำให้ความรู้มันหมุนเกลียว ทั้งเข้าไปในตัวคน มันมีความรู้สะสมเพิ่มขึ้นๆ สิ่งที่คุยกันอย่างนี้ หรือความรู้ที่มีอย่างนี้ เรียกว่า tacit knowledge มันจะไปใช้ประโยชน์ได้เยอะ และจะนำไปพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ได้ ตำราก็มาจากความรู้ประเภทอย่างนี้ สมัยนี้เราพึ่งตำราจนไม่เชื่อความรู้ที่มาจากคน ซึ่งมีความสำคัญมาก
    4. สุดท้ายผมขอตอบคำถามท่าน CKO … ถ้าพวกเราเห็นคนที่มีความรู้อย่างนี้ อย่าง 5 ท่านนี้ เยอะๆ ในองค์กร และเห็นคนอย่างนี้มาคุยกัน และอยากมาคุยกัน ผมคิดว่า นี่เป็นตัวชี้วัดของการเกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตัวชี้วัดนี้อาจจะวัดยากหน่อย แต่มันเป็นจริง เหมือนความรัก สามีรู้ว่าภรรยารัก ภรรยารู้ว่าสามีรัก ทั้งสองก็มี indicators ไม่เหมือนกัน ก็วัดถูกผิดบ้าง ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็มีหลายแบบ วัดว่ามีความรู้ไหม มีความใฝ่รู้ไหม ถ้าเราเห็นคนทั้ง 5 ใฝ่รู้ทั้งหมด ก็จะมีในเขต 5 ก็หาวิธีประเมินขึ้นมา ว่าคนเหล่านี้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไหม และคนเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นมาหรือเปล่า และการวัดอีกหลายๆ มิติ ก็จะมาช่วยได้

     

    หมายเลขบันทึก: 91791เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2007 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (3)

    ชอบบันทึกนี้มากๆนะคะ ชื่นชมคุณหมอนนท์ที่เก็บมาได้เก่งมาก สงสัยว่าใช้วิธีบันทึกเทปมาถอดคำหรือเปล่าคะ

    นอกจากนั้นเวลาตามไปที่ลิงค์ต่างๆ คุณหมอนนท์ก็เก็บมาได้ดี๊ดี แต่ก็เขียนแบบตัวเองเล่าไปด้วยได้เนี้ยน เนียน ทำให้ชอบบันทึกชุดนี้มากเลยค่ะ มาอ่านรอบสอง หลังจาก post บันทึกนี้ไปเมื่อกี๊ค่ะ ก่อนจะลาไปนอนด้วยความอิ่มอกอิ่มใจ ขอบคุณมากๆนะคะ

    • ขอบคุณค่ะ อ.โอ๋-อโณ
    • แบบว่า บันทึกเทปไว้ค่ะ และมาถอด
    • (... แบบว่า ใช้เทปบันทึกมาหลายรุ่นแล้วละค่ะ ถูกใจ zen รุ่นสุดท้ายที่คนที่บ้านซื้อให้ โดยเฉพาะ เพราะเขาเห็นว่า เราทำจริง เลย promote ให้ทำกันน่าดูเลย)
    • ตอนแรกก็คิดว่า จะสรุปให้สั้น แต่มาคิดอีกที การสรุปให้สั้น ผู้อ่านก็จะไม่ได้อรรถรส ของผู้เล่าค่ะ
    • เลยทำให้ตัดสินใจถอดความ และเรียบเรียงให้อ่านง่ายดีกว่า
    • มีข้อเสียเรื่องความยาวนี่ละค่ะ ที่ตัดออกไม่ลง
    • ความคาดหวังสูงสุด ของเรื่องราวที่บันทึกเหล่านี้ ต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ย่างก้าวของการทำงาน ให้กับทุกๆ ท่านค่ะ
    • ดีใจค่ะที่ อ.โอ๋ ชอบ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท