การส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด


จะทำอย่างไรเมื่อสถิติการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่บอกรับในราคาแพงแสนแพงมีจำนวนน้อย

คงเป็นข้อมูลที่น่าหนักอกหนักใจนะคะ หากผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานด้านส่งเสริมการรู้สารสนเทศทราบว่าสถิติการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่บอกรับในราคาแพงแสนแพงมีจำนวนน้อย และเมื่อเปรียบเทียบกับสถาบันอื่น ยิ่งมีลำดับท้ายๆ สถิติเหล่านั้นบ่งบอกอะไรบ้าง

-ห้องสมุดทำงานด้านการส่งเสริมการรู้สารสนเทศยังทำหน้าที่ไม่เต็มที่ ที่จะทำให้ผู้ใช้บริการไม่รู้จัก ไม่ทราบว่ามีฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ใช้ หรือทราบว่ามีฐานข้อมูลแต่ไม่ทราบวิธีการสืบค้น

- ผู้ใช้บริการไม่ค่อยสนใจข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษา ป.โท ส่วนใหญ่มักถามว่าไม่มีข้อมูลที่เป็นภาษาไทยเหรอ....คำถามนี้ไม่ทราบว่าใช้อ้างอิงกับคำถามนี้ได้หรือไม่

-ผู้ใช้บริการมีแหล่งข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต google ไซต์ที่ติดอันดับที่มีผู้ใช้จำนวนมากทุกปี...อย่างนี้ห้องสมุดแย่แน่

-พฤติกรรมการใช้สารสนเทศ บางครั้งผู้ใช้บริการใช้ข้อมูลตติยภูมิที่มีการอ้างอิงไว้แล้ว อาจมีผลต่อการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

-ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีข้อมูล full text ย้อนหลังจำนวนน้อย บางฐานให้ข้อมูลย้อนหลังเพียง 5 ปี บางฐานข้อมูลให้ preview แค่ 20 หน้า ซึ่งแทบจะไม่มีประโยชน์เพราะเทียบเท่ากับบทคัดย่อเท่านั้น

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตระหนักถึงปัญหานี้อย่างมาก จึงให้ความสำคัญในการส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างยิ่ง เช่น การสอนและแนะนำการใช้ฐานข้อมูล การจัดทำคู่มือแผ่นพับทั้งเป็นแบบสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ การจัดบริการเชิงรุกโดย Road Show ไปตามคณะวิชาหน่วยงานต่างๆ ภายใต้โครงการ"สำนักวิทยบริการ ประสานสัมพันธ์" แต่เราก็ยังมั่นใจไม่พอจะทำให้ผู้ใช้บริการจะใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น

ในฐานะของผู้ปฏิบัติงานอยากให้ห้องสมุดมีนโยบายและให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างชัดเจน เช่น

*ควรสนับสนุนของรางวัลเพื่อใช้จูงใจในการจัด Class อบรม

* แบ่งหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน

*สร้าง Special List Librarian ที่เชี่ยวชาญในฐานข้อมูลแต่ละฐาน

*สร้างสื่อการเรียนการสอนแบบใหม่ เช่น CAI

* เน้นบริการแนะนำและสอนการใช้ฐานข้อมูลแบบเชิงรุกและยึดตามความสนใจของผู้ใช้บริการเป็นหลัก

*ศึกษาการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบพฤติกรรมการสืบค้นสารสนเทศของผู้ใช้ และใช้เป็นข้อมูลในการบอกรับจัดหาฐานข้อมูล

* แจ้งสถิติการใช้ฐานข้อมูลให้ผู้ปฏิบัติงานทราบตลอดเวลา เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติต่อไป

*สร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ทำหน้าที่สอนและแนะนำการใช้ฐานข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้สึกสนุกและรักงานที่ทำ

*บรรณารักษ์มีพฤติกรรมที่ดีในการใช้ฐานข้อมูลเป็นปฐม (ไม่ใช่ว่าใช้ในการแนะนำ แต่ตนเองไคยใช้ในวิชาชีพ)

*บรรณารักษ์สามารถให้คำแนะนำในการแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆที่น่าเชื่อถือ แม้ว่าผู้ใช้บริการจะไม่ใช้ฐานข้อมูลของเรา

แล้วท่านหล่ะคะ ไม่ว่าในฐานะผู้บริหาร เพื่อนร่วมวิชาชีพ เจ้าของฐานข้อมูล ผู้ใช้บริการ ท่านคิดว่าห้องสมุดจะต้องทำอย่างไรในการส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 91786เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2007 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่าน้องตูน

เรื่องที่น้องตูนเขียน พี่ตามอ่านนะคะ

พี่มยุรีจากพายัพค่า

อ่านหนังสือดึกๆ แก้ง่วงก็เลยแวะเข้ามาเยี่ยม blog ตุ่น กำลังหาข้อมูลเรื่องพฤติกรรมการใช้สารสนเทศด้วยแหละ ถ้าเราเจาะกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงอีกเนี่ยมันจะได้ผลไหม๊ล่ะตุ่น ยิ่งตอนนี้แนวโน้มกลุ่มสาขาเริ่มจัดหาทรัพยากรที่อยู่ในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นทั้งหนังสือด้วย และแพงมาก หากปรากฏการณ์ยังเป็นเช่นนี้อยู่ เราคงหาจุดคุ้มทุนในการจัดหาฯ ไม่ได้แน่เลย เนอะ

ดีใจที่ blog ของตุ่นเป็นของเล่นแก้ง่วงให้เรียมได้

แนวคิดของเรียม OK. เลยหละ เพราะผู้ใช้แต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมและความต้องการแตกต่างกัน...

ว่าแต่ว่ามันนี้ตุ่นก็แวะมา Blog ตอนดึก งานมันเข้าห่ะ...ยังดีได้แอบงีบไปแล้ว 2 ชม.

ดีใจที่ blog ของตุ่นเป็นของเล่นแก้ง่วงให้เรียมได้

แนวคิดของเรียม OK. เลยหละ เพราะผู้ใช้แต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมและความต้องการแตกต่างกัน...

ว่าแต่ว่ามันนี้ตุ่นก็แวะมา Blog ตอนดึก งานมันเข้าห่ะ...ยังดีได้แอบงีบไปแล้ว 2 ชม.

ขอบคุณกำลังใจจากพี่มยุรี พีสาวจากพายัพด้วยนะคะ ที่ติดตามอ่านบันทึก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท