ทำไมนักศึกษาเรียน ป.โท ในประเทศจึงเรียนจบช้า..


ส่วนใหญ่แล้วที่ใช้เวลากันค่อนข้างมาก ก็เนื่องมาจากทำวิทยานิพนธ์กันไม่เสร็จ เมื่อเรียน course work จบแล้ว ก็มักจะหายไปทำงานขาดการติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษา ...

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาดิฉันพบว่านักศึกษาที่เรียน ป.โท ที่ภาควิชาฯ มักใช้เวลาเรียนกันประมาณ ๓ ปีขึ้นไป มีน้อยคนนักที่จะจบป.โท ตามกำหนดเวลา คือ ๒ ปี

ส่วนใหญ่แล้วที่ใช้เวลากันค่อนข้างมาก ก็เนื่องมาจากอาจารย์ที่ปรึกษามีจำนวนน้อย นักศึกษาไม่มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ ทำวิทยานิพนธ์กันไม่เสร็จ เมื่อเรียน course work จบแล้ว ก็มักจะหายไปทำงานขาดการติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้เรียนจบช้า บางคนก็มาเร่งทำตอนเทอมสุดท้าย เดือดร้อนทั้งอาจารย์ทั้งตัวนักศึกษาเอง ทำให้คุณภาพผลงานไม่ดี หรือบางครั้งก็เรียนไม่จบ เพราะหมดเวลา ๔ ปีไปเสียก่อน เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย เพราะมีการลงทุนทั้งฝ่ายผู้เรียนและฝ่ายสถานศึกษาไปเยอะแล้ว

ประสบการณ์ส่วนตัวตอนเรียนโท ต่างประเทศพบว่าสาเหตุที่ทำให้เรียนจบได้ตรงเวลาก็คือ ตัวหลักสูตร เพราะหน่วยกิตที่เรียนน้อยกว่าประเทศไทย ทรัพยากรที่ใช้ในการทำ project มีพร้อม ทั้งห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ รวมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาก็ค่อนข้างพร้อมที่จะให้คำปรึกษา แถมยังได้ตีพิมพ์ผลงานลงระดับ journal ด้วยในเวลาอันสั้น ทั้งนี้คาดว่าเป็นเพราะเรื่องที่ศึกษาทันการณ์และน่าสนใจ ประกอบกับชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและอาจารย์ที่ปรึกษาที่เคยตีพิมพ์ใน Journal นั้นๆ มาก่อน และอีกประการที่สำคัญมากๆ คือเรียนเต็มเวลาและค่าเรียนค่ากินอยู่แพงกว่ามากๆ คงมัวอู้ไม่ได้

ดิฉันมีประเด็นอยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อ่านดังนี้

๑. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ป.โท ในประเทศตามประสบการณ์ของท่าน (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้เรียน หรือ อ.ที่ปรึกษา) ใช้เวลาประมาณเท่าใด

๒. สาขาที่เรียน เป็นสาขาใด

๓. สาเหตุที่ทำให้ใช้เวลาเรียนตามข้อ ๑ เป็นเพราะอะไร เช่น หลักสูตรเหมาะสม หน่วยกิต มีการจัดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษา ดี/ไม่ดี ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการศึกษาพร้อม/ไม่พร้อม เป็นต้น

๔. ข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ข้อมูลประเภทของสถานศึกษา รัฐ/เอกชน ฯลฯ

ฝากคิดเป็นประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับผู้ที่สนใจกันด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 91449เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2007 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)
บางครั้งอาจารย์ท่านก็ถนัดหลายด้าน ในแต่ละด้านบางทีก็หลายเป็นว่าหารๆ กันไป  นี่ก็อาจจะเป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้นักเรียนเหนื่อยขึ้นอีก
อ่อๆ ลืมบอกไปว่าเคยเรียนวิศวฯคอมฯ ของรัฐ

ใช้เวลาเรียน ป.โท 2 ปีครึ่ง พออาจารย์ที่ปรึกษาบ่อยมาก

จะเรียนจบได้จากประสบการณ์คือต้องมีจุดยืนของตัวเองว่าจะทำอะไรกันแน่มีจุดประสงค์อะไร ถ้ามีใครดึงไปทำโน่นทำนี่ ต่อให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ของอย่าเขว 

วิทยานิพนธ์ก็คือวิทยานิพนธ์ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ อันนี้ก็ผมก็ต้องพยายามท่องไว้

ทรัพยากรณ์ของมหาลัยฯไทยบางที่ก็ด้อยนิดๆ อย่างหาอ่าน LNCS ยากก็เป็นปัจจัยนึง อ่าน journal ของ Springer ก่อนปี 1994 (หรือ 1998) ไม่ได้ชีวิตมันก็ลำบากขึ้น

เรียนท่านอาจารย์กมลวัลย์

ผมขอแสดงความคิดเห็นในประเด็นทั่วไปนะครับ

สำหรับผมที่เคยเรียนบ้างในระดับปริญญาโท แต่เป็นทางสายทางการศึกษา ผมว่าสาเหตุหลักที่เห็นเพื่อนๆ พี่ๆ ไม่จบตามระยะเวลา คือ 2 ปี คือ

  1. สาขาที่เรียน แน่นอนครับความยากง่ายของสาขา แต่ละสายย่อมแตกต่างกัน ทั้งเรื่องระยะเวลาการเปิดหลักสูตร แหล่งทรัพยากรที่มีในการค้นคว้า สำหรับผมแล้วจบตามกำหนด 2 ปีครับ อาจเพราะสาเหตุเป็นสาขาที่เปิดมานานมีข้อมูลเก่าเยอะในการทำวิทยานิพนธ์ และเป็นสายทางการศึกษา คงง่ายกว่าทางวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  2. ระบบการศึกษา เท่าที่ผมเห็นนะครับและพอจะตัดสินได้คือ ผู้ที่เรียนในระบบปกติแบบเต็มเวลานั้นมีโอกาสจบตามกำหนดหลักสูตร มากกว่าผู้ที่เรียนแบบภาคพิเศษ (เสาร์อาทิตย์ คนทำงานแล้ว)
  3. จำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์ บางสาขามีอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์ แต่มีคุณสมไม่เข้าเกณฑ์การเป็นอาจารย์ควบคุม

สำหรับผมแล้ววิธีการเริ่มต้นที่จะทำให้ผู้เรียนจบตามกำหนดเวลาของหลักสูตร คือ การทบทวนหลักสูตร ให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ปี 2548

ด้วยความเคารพครับ

กัมปนาท

สวัสดีค่ะคุณ P บ่าววีร์

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลนะคะ ประเด็นที่คุณ  บ่าววีร์ เพิ่มขึ้นมาก็คือเรื่องการทำงานอื่นนอกเหนือจากวิทยานิพนธ์ โดยเฉพาะในสาขาของคุณ บ่าววีร์ ที่เป็นวิศวฯ คอมพ์ เพราะเท่าที่ทราบน่าจะรายได้ดีและไม่ต้องออก field ซึ่งต่างจากวิศวฯ โยธา ที่ถ้าไปคุมงานต่างจังหวัดก็จะต้องไปอยู่ที่ site เลย

เรื่องค้น paper ยากในสมัยก่อนนั้นจริงค่ะ แต่เดี๋ยวนี้มหาวิทยาลัยเขาลงทุน subscribe ทั้ง journal package ถ้ามาค้นที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหรือใช้ IP ของมหาวิทยาลัยจะ search และ download ได้เลยค่ะ นศ.รุ่นใหม่มี resource ทาง literature ค่อนข้างพร้อมกว่าแล้วค่ะ

ได้ประเด็นเพิ่มเติมดีทีเดียว ขอบคุณมากนะคะที่ ลปรร

สวัสดีค่ะคุณ P กัมปนาท อาชา (แจ๊ค)

  1. ส่วนตัวแล้วคิดว่าเรื่องสาขาที่เรียนอาจมีผลบ้างเหมือนกันค่ะ แต่ไม่แน่ใจ ถึงอยากรู้ว่าจริงไหมที่สาขาต่างกันแล้วใช้เวลาต่างกัน  เรื่องข้อมูลที่ใช้ค้นคว้าก็มีผลค่ะ เหมือนกับที่ให้ข้อคิดเห็นไว้กับคุณบ่าววีร์ไว้ข้างบนค่ะ สมัยก่อนจะหา paper ดีๆ ทันสมัยอ่านยากมากค่ะ เทคโนโลยีก็ต่างชาติทั้งนั้น เพราะฉะนั้นต้องตามอ่านของเขาค่ะ เพราะส่วนใหญ่เราไม่เคยผลิตเอง (ไม่ได้ทำ R&D เอง) ซึ้อใช้เป็นส่วนใหญ่
  2. ในข้อนี้ค่อนข้างต่างจากประสบการณ์ที่พบค่ะ เพราะพบว่าพวกที่เรียนเสาร์ อาทิตย์ หรือเรียนเย็น จะมีประสบการณ์และ drive มากกว่า มี resource มากกว่า ถ้าเจอคนที่ไม่ได้ร้างมหาวิทยาลัยนานเกินไป บางคนจบเร็วกว่าพวกที่เรียนเต็มเวลาอีกค่ะ   กลุ่มที่เรียนเต็มเวลาบางทีก็แว๊บหายไปทำงานเป็นปีเลยค่ะ ไม่มาทำวิทยานิพนธ์ต่อ เพราะไปทำงานอยู่ต่างจังหวัด (อันนี้เฉพาะสาขา เช่น วิศวฯโยธาค่ะ)
  3. อันนี้เห็นด้วยเลยค่ะ จำนวนอาจารย์ที่คุมวิทยานิพนธ์ได้อาจไม่พอในบางมหาวิทยาลัย แต่ในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ นี้มีพอแน่ค่ะ อันนี้ต้องคุมด้วยจำนวนนักศึกษาที่รับในแผน (ก) ค่ะ

ปัจจุบันยังมีหลักสูตรอีกมากเลยที่ไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานปี ๔๘ ถ้าแก้ให้ตรงให้หมดทันทีคงเป็นไปไม่ได้ แต่ที่จะเปิดใหม่กันอีกไม่รู้จบแบบความพร้อมไม่ค่อยมี นี่สิ น่าคิด...

ขอบคุณที่ ลปรร และให้ข้อคิดเห็นดีๆ นะคะ..

P

ดร. กมลวัลย์ ลือประเสริฐ: มหาลัยฯ subscribe journal ก็จริงครับ แต่ว่า แต่ละมหาลัยก็ subscribe ไม่เท่ากันครับ 

ตอนนี้ปัญหาที่ผมมักจะเป็นเอกสารที่เก่าหน่อย ก็มักจะหายาก เช่น Springer ก่อนปี 1994 

P

ดร. กมลวัลย์ ลือประเสริฐ: ผมไม่ได้หมายถึงงานนอก field นะครับ  แต่หมายถึงงาน ที่เกี่ยวข้องกับ thesis ครับ แบบทำโน่นดูนิด ทำนี่ดูหน่อยก็ดี ได้ความรู้  แต่ว่าไม่ได้ทำให้เขียน thesis เสร็จ อันนี้ก็อันตราย

ความสนใจหลายได้เกินไปของอาจารย์ก็มีผลเหมือนกัน ทำให้นักเรียนต้องขวนขวายเองมากๆ (อั้นนี้อาจจะเป็นทั้งไทยและเทศ?)  อ.ท่านไหนที่ทำน้อยๆ เรื่องหน่อยจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า มีประโยชน์ในการพูดคุยด้วย  

อีกกรณีหนึ่งคือ อ.ท่านที่ทำงานบริหารด้วย สอนด้วย มักจะมีปัญหา  แม้แต่กับนักเรียน ป.ตรี เช่น ไม่มาสอน  ไม่เตรียมการสอน เลื่อนเวลาไปมา ฯลฯ เวลาดูเวลาวิทยานิพนธ์ก็อาจจะมีปัญหาว่าท่านไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องที่คุม ทำให้ให้คำปรึกษาได้น้อย นักเรียนต้องหาทางไปเอง  แต่ว่าก็ไม่ใช่จะเป็นแบบนี้ทุกท่านนะครับ

สวัสดีค่ะคุณ P บ่าววีร์

  • ใช่ค่ะ คิดว่าน่าจะ subscribe ไม่เท่ากันค่ะ ตามแต่กำลังและการให้ความสำคัญแต่ละที่ แน่นอนเรื่องงบของสำนักหอสมุดด้วยค่ะ แต่เท่าที่ทราบคือน่าจะดีขึ้นมากกว่าเมื่อ ๕ ปีที่ผ่านมาแล้ว
  • ส่วนที่นักศึกษาแตะทำโน่นนิดนี่หน่อยแบบชิมอาหารนี้ ตัวเองคิดว่า Ok นะคะ ถ้าไม่ทำมากเกินไป เพราะการไปอ่านไปสังเคราะห์งานอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องนั้น นักศึกษาได้ความรู้ แต่ก็ไม่ควรหลงไปทำมาก และถ้านำมาสรุปใช้เป็น literature review ในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ก็จะดีค่ะ   แต่แน่นอนว่าการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวใช้เวลา ก็ต้องวางแผนการทำวิทยานิพนธ์ให้ดีๆ
  • เรื่องอาจารย์ทำงานบริหารด้วยนี้ เคยเป็นเองเลยค่ะ จริงที่มีผลกระทบต่อตารางสอนและการให้คำปรึกษา  แต่โชคดีที่สามารถย้ายตารางสอนไม่ให้ชนกับตารางประชุมได้ตั้งแต่ต้น เลยไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องขาดสอน ถ้าไม่โดนเรียกประชุมด่วนนอกกำหนดการ   สำหรับการให้คำปรึกษาก็ต้องนัดนศ.ที่จะมาพบเป็นครั้งๆ ไป แต่ถ้านศ.ไม่มานัด ไม่มา follow up คราวนี้ละค่ะ จบช้าแน่ เพราะอาจารย์ไม่มีเวลาตามนศ.แน่นอน
  • ขอบคุณสำหรับประเด็นเพิ่มเติมนะคะ
อาจตอบไม่ตรงคำถาม และ อาจจะมีคำถามมาถามด้วย อย่าว่ากันเลยนะครับ ช่วงนี้ร้อนใจมาก 1. พอดีสอบได้เรียนต่อ MBA 2ที่ เป็น ม.รัฐทั้งสองที่ ไม่แน่ใจว่าจะบอกชื่อสถาบันดีหรือเปล่าเพราะเดี๋ยวจะเน้การเปรียบเทียบ แต่หากบอกว่าไม่เป็นไร ก็จะมาบอกอีกที ซึ่งการที่ได้ทั้งสองที่นั้นทำให้ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเรียนที่ไหน สอบถามจากคนรอบข้าง บางคนบอกที่นั่น บอกคนบอกที่นี่ แต่ส่วนตัวในใจ ก็มีอยู่แล้วว่าจะเลือกที่ไหน อยากถามว่า สถาบัน ที่จบ มีผลต่อการรับเข้าทำงานบ้างหรือไม่ เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจครับ ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ คุณฉัตรชัย เมื่อ พ. 25 เม.ย. 2550 @ 14:35 จาก 202.57.182.240

ไม่ต้องร้อนใจมากนะคะ มองในแง่ดี คุณฉัตรชัยมีที่เรียนถึง ๒ ที่ด้วยกันนะคะ แถมยังมีการตัดสินใจด้วยตัวเองอยู่แล้วว่าจะไปเรียนที่ไหน ส่วนใหญ่แล้วการตัดสินใจของเราเป็นตัวบ่งชี้อยู่แล้วค่ะ ถ้าอยากได้ความเห็นของดิฉัน ก็ตามนี้ค่ะ แต่อย่าเชื่อเพียงเพราะดิฉันแนะนำนะคะ ควรพิจารณานำมาประกอบเท่านั้นค่ะ

ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยรัฐทั้งคู่ และมีชื่อเสียงไม่แตกต่างกันมาก เรื่องของสถาบันคงไม่มีผลต่อการรับเข้าทำงานค่ะ แต่น่าจะดูเนื้อหาในหลักสูตร ว่ามีวิชาที่เราสนใจเป็นพิเศษหรือไม่ ปรัชญาแนวทางของหลักสูตรเป็นอย่างไร เน้นอะไร ใช่ที่เราต้องการหรือไม่ คณาจารย์ที่สอนเป็นใครบ้าง อีกประการที่อาจจะนำมาพิจารณาได้คือจำนวนรุ่นที่จบไปแล้ว และอัตราการจบของบัณฑิตเป็นอย่างไร ฯลฯ แล้วก็อาจจะพิจารณาเรื่องการเดินทางไปเรียน หรืออื่นๆ ที่อาจอำนวยให้เราเรียนได้ดี มีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นด้วยค่ะ เช่น ห้องสมุด สถานที่เรียน ฯลฯ

ขอบคุณมากครับที่ช่วยตอบ  ผมคงเลือกเรียนที่ตั้งใจไว้แล้วละ เพราะ จำนวนนักศึกษาประมาณ 30 คน ซึ่งตากจากอีกที่ มีประมาณ 100 คน ยังไม่รวมโปรแกรมอื่นอีกที่มีจำนวนมาก(เกินไป)

ที่ผมคิดนะครับคิดว่าจำนวนคนเรียนที่น้อยกว่า จะทำให้ เรา เข้าถึงอาจารย์ผู้สอนได้ดีกว่า มีความเข้มข้นในการศึกษามากกว่า และมีความสัมพันธ์ในห้อง มากกว่า  + ทั้งที่อาจารย์กมลวัลย์ แนะนำว่าน่าจะดูที่ อาจารย์ที่สอนด้วย   ทำให้มีการตัดสินใจได้ง่ายขึ้นมาก เพราะ  สถาบันที่อยู่ในใจ  มีอาจารย์ ที่จบจากต่างประเทศ และ เป็นอาจารย์ระดับ ดร. ทั้งนั้น  จึงทำให้ผมตัดสินใจดียิ่งขึ้น 

ส่วนเรื่องที่อาจารย์ตั้งกระทู้ถาม  ผมยังไม่ได้เรียน เลยไม่รู้ว่าทำไม  หากได้เข้าศึกษา แล้ว    มีข้อมูล จะเข้ามาตอบนะครับ

ขอบคุณมากครับ

 

ขอบพระคุณมากครับ

สวัสดีค่ะคุณฉัตรชัย เมื่อ พฤ. 26 เม.ย. 2550 @ 10:01 จาก 202.57.182.232

เห็นด้วยว่าถ้า class ขนาด 100 คนนี้อาจจะเยอะไปค่ะ ดิฉันว่าคุณฉัตรชัยตัดสินใจด้วยเหตุผลที่ดีแล้วค่ะ

เรื่องคำถามที่ตั้งไว้ ยังไม่ต้องตอบหรอกค่ะ แต่เอาไปพิจารณาระหว่างเรียนก็ได้ค่ะ ดูว่าปัจจัยอะไรทำให้เราเรียนได้จบตามเวลา หรือไม่ตามกำหนดเวลา ๒ ปี การพิจารณาจะทำให้มีความระมัดระวังมากขึ้น และได้เรียน ได้ประสบการณ์จากการเรียนมากขึ้นค่ะ

  • มาบอกว่าใช้เวลา
  • 1.สองปีครึ่งครับ เพราะไปทดลองสอนครึ่งปี
  • 2. สาขาที่เรียนคือ การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสามิตร
  • 3.จบโดยใช้เวลาน้อยเพราะ พบอาจาย์ที่ปรึกษาบ่อย ลาเรียนด้วย เลยศึกษาได้เต็มที่ อาจารย์มีเวลาให้มาก
  • 4. เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่พร้อมทางการสอนมากครับ อาจารย์ใจดีด้วยครับ
  • ขอบคุณครับผม
  • สองปีผมคิดว่าพอดีคับ
  • ตอนนี้ผมก็เหลือแค่ทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จก็จบ ป.โทแล้วครับ
  • ผมเห็นด้วยกับปัญหา หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งหมดครับ เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะว่ากำลังประสบอยู่ในขณะนี้
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ อ. P นาย ขจิต ฝอยทอง

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ อาจารย์ที่ปรึกษายิ้มแป้นแน่ค่ะ ได้ลูกศิษย์แบบนี้

ตอนอาจารย์ไปทำวิจัยต่างประเทศ ก็คงจะได้ประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่งค่ะ อย่าลืมนำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังเมื่อมีโอกาสต่อไปนะคะ

สวัสดีค่ะ P นายสายลม

ขอบคุณที่แวะมาให้ข้อมูลนะคะ

ขอให้ทำวิทยานิพนธ์สำเร็จสมตามหวังนะคะ

ผมคิดว่าผมอยากให้มีการย้ายสถานศึกษาที่เรียนได้หมายถึงปรับหลักสูตรให้ตรงกันครับ ซึ่งผมเรียนขอนแก่นแต่ทำงานอยู่แม่ฮ่องสอนอยากย้ายมาเรียนที่เชียงใหม่แต่ทางภาควิชาที่นั้นเขาบอกว่าหลักสูตรไม่เหมือนกันทำให้ผมต้องเที่ยวเรียนแม่ฮ่องสอนก่อนแก่นโดยใช้เวลาเรียน course work เป็นเวลาเข้าปีที่ 4 แล้ว ตอนนี้เพิ่งมาทำวิทยานิพนธ์มันจบทันหรือป่าวใครหนอจะเข้าใจปัญหานี้ ผมทนเรียนเพราะอยากจบในสาขาที่อยากจบ(วิท.คอม) แล้วปีนี้จะส่งผลงานตีพิมพ์ก็แทบจะไม่มี ถ้าไม่ได้ตีพิมพ์ก็สอบวิทยานิพนธ์ไม่ได้มันก็เหนื่อย ผมอยากให้สถาบันเห็นใจคนเดินทางไกลอย่างผม จังเลย

สวัสดีค่ะคุณ จอห์นสัน เมื่อ อ. 29 เม.ย. 2550 @ 21:43 จาก 203.146.63.189

ขอสรุปว่าเรื่องของสถานที่ที่เลือกศึกษาและสถานที่อยู่เป็นผลทำให้เรียนจบช้า แสดงว่าต้องมีเหตุย้ายมาจากขอนแก่นไปยังแม่ฮ่องสอน จริงๆ แล้วถ้าเป็นไปได้ควรจะต้องวางแผนก่อนเรียนนะคะ ว่าเราจะมีเวลาเรียนเต็มเวลา และมีความพร้อมให้กับการเรียนค่ะ แต่ถ้าเกิดความจำเป็นขึ้นมาเช่นนี้ก็คงต้องยอมรับกันแหละค่ะว่าคงจะต้องจบช้าแน่ 

เวลาดิฉันรับนักศึกษาเข้ามาเรียนดิฉันจะถามเสมอว่าพร้อมไหม ต้องเข้าใจว่าเรียนเต็มเวลานะ เพราะทราบดีว่าส่วนใหญ่บางคนจำเป็นต้องทำงานไปด้วย ก็เข้าใจ และยอมรับได้ แต่ดิฉันจะย้ำให้เขาคิดดีๆ วางแผนดีๆ ก่อนว่าเขามีความพร้อมหรือเปล่าค่ะ เพราะถ้ามาขอเลื่อนสอบ หรือเลื่อนเวลาเรียนเพราะต้องไปทำงาน แสดงว่ายังไม่มีเวลาพร้อมที่จะเรียนค่ะ

การที่มหาวิทยาลัยหลักสูตรไม่เหมือนกันนั้น เป็นเพราะปัจจัยหลายอย่างค่ะ เพราะถ้าเหมือนกันหมดทั้งประเทศเราก็คงจะพัฒนายาก เพราะไม่มี diversity เลย ถ้าไม่มี diversity ก็คงไม่มี evolution น่ะค่ะ

ดังนั้นหลักสูตรแต่ละหลักสูตรจะถูกพัฒนาบนพื้นฐานของปรัชญาของแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น บางมหาวิทยาลัย เน้นการพัฒนาชุมชน หลักสูตรอาจเน้นการประยุกต์ใช้วิชาความรู้กับชุมชนเป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน อีกมหาวิทยาลัยอาจเน้นการวิจัยสร้างเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นต้นค่ะ

ตอนนี้คุณจอหน์สันก็อยู่ในสภาวะที่ลำบาก ดิฉันเข้าใจค่ะ แต่ไม่รู้จะแก้ไขให้ได้อย่างไร ก็ต้องสู้ ถ้าคิดว่าเวลาที่เหลือสามารถทำวิทยานิพนธ์ได้ทัน แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ดิฉันคิดว่าการลาออกจากขอนแก่น แล้วมาสอบเข้าที่เชียงใหม่แล้วขอเทียบโอนหน่วยกิตบางส่วนอาจเป็นทางเลือกอีกทางถ้าเวลาที่เหลือไม่พอจริงๆ

ก็เป็นแค่ความเห็นนะคะ คุณจอห์นสันจะรู้ดีที่สุดค่ะว่าจะต้องทำอย่างไร อย่าลืมหาข้อมูลประกอบให้ดีๆ แล้วประเมินสถานการณ์ของตัวเองและสิ่งแวดล้อมให้ครบถ้วนนะคะ

ขอบคุณที่เข้ามา ลปรร ค่ะ

ที่หลาย ๆ  แนวคิดข้างต้นก็มีส่วน  แต่ลองนึกดูจริง ๆ  สิว่า  น.ศ  ที่ผ่านเกณฑ์การสอบวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษมีสักกี่คน  เพราะฉะนั้นจึงเสียเวลาและโอกาสในการทำวิทยานิพนธ์  (นั้งแปลเป็นปี เป็นชาติ  แปลถูกแปลผิด)  ไหนจะแปลเสร็จต้องทำความเข้าใจอีก  นี่คือข้อด่อยของการศึกษาไทย !!!  ผมเคยไปดูงานที่ญี่ปุ่น  ตำรา+งานวิจัย   เค้าจะแปลเป็นภาษาของเค้าเลยนะครับ  ควบคู่กับต้นฉบับภาษาอังกฤษ  พอจบไปคุณได้ใช้ภาษาอังกฤษกี่เปอร์เซ็นต์ในแต่ละวัน  (ที่นี่ประเทศไทย)  อย่าไป หงอ  ฝรั่งมากนัก  ดูไทยเราผลิตยาต้านเอดส์เองยังได้เลย    ขอบคุณครับ....
    ฝากถึงอาจารย์ ม.ข.  ด้วย  เผื่อเราจะพัฒนากว่านี้
    ดู ม.สุรนารี ก็ได้ใกล้ ๆ นี่เองครับ
ผม รัก ม.ข.. ครับ

สวัสดีค่ะ อ.วีระชัย เมื่อ อา. 13 พฤษภาคม 2550 @ 01:27 จาก 203.158.205.40

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ ได้ประเด็นใหม่ดังนี้นะคะ

  • นักศึกษามีความรู้ภาษาที่สองหรือภาษาอังกฤษน้อย ทำให้เสียเวลาและโอกาสในการทำวิทยานิพนธ์ อันนี้ดิฉันเดาว่าน่าจะเกิดจากการอ่านหนังสือหรือ publications เองไม่ได้ ไม่ทะลุปรุโปร่ง
  • การแปลตำรา + งานวิจัยก็เป็นสิ่งที่ดีค่ะ แต่ถ้ามีแปลให้อ่านหมด skill ทางภาษาของนักศึกษาก็อาจแย่กว่าเดิมก็ได้หรือเปล่าคะ ..
  • ก็จริงที่ว่าคนไทยเก่ง ดิฉันเห็นด้วยค่ะว่าเราทำอะไรเองได้หลายอย่าง แต่ตอนนี้หลายๆ อย่างเราทำตามคนอื่นอยู่ แล้วถ้าเราจะรู้ว่าคนอื่นทำอะไรอยู่ก็ต้องไปอ่านของเขาถึงจะรู้ค่ะ ดิฉันเลยมองว่าการอ่านผลงานวิจัยต่างประเทศไม่ใช่การหงอฝรั่งค่ะ แต่เราไม่อยากทำซ้ำ re-inventing the wheel ค่ะ แล้วก็ประสบการณ์ใดที่เขาทำไปแล้วเราก็ไม่ควรเสียเวลาไปทำอีก ยกเว้นว่ามีปัจจัยเปลี่ยนไปนะคะ
  • ดิฉันว่า ม.ข. เป็น ม.ที่มีคุณภาพมากนะคะ เคยพบอาจารย์หลายท่านที่มาจาก ม.ข. แต่ก็คงประเมินได้ไม่หมดนะคะ

ขอบคุณนะคะที่แวะมาให้ข้อคิดเห็นและ ลปรร ค่ะ..

สวัสดีครับ อาจารย์กมลวัลย์

  • ผมแวะมาเป็น "กลุ่มตัวอย่าง" ในแง่ไม่ดีให้ครับ 

๑. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ป.โท ในประเทศตามประสบการณ์ของท่าน (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้เรียน หรือ อ.ที่ปรึกษา) ใช้เวลาประมาณเท่าใด

คำตอบ: ๖ ปี ครับ (บังคับ ๕ ปี ต่อไปอีก ๒ ภาคเรียน)

๒. สาขาที่เรียน เป็นสาขาใด

คำตอบ: เทคโนโลยีทางการศึกษา (สาขานี้ ที่มหาวิทยาลัยผม ขึ้นชื่อเรื่องจบไม่กว่า 5 ปีมานานแล้วครับ)

๓. สาเหตุที่ทำให้ใช้เวลาเรียนตามข้อ ๑ เป็นเพราะอะไร เช่น หลักสูตรเหมาะสม หน่วยกิต มีการจัดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษา ดี/ไม่ดี ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการศึกษาพร้อม/ไม่พร้อม เป็นต้น

คำตอบ: ความเห็นส่วนตัวนะครับ ...

1. นักศึกษามองแนวทางของวิชาไม่ชัดเจน คือ ไม่เข้าใจ แต่อยากเรียนจบ ป.โท

2. อาจารย์ พยายามจะให้นักศึกษาทำหัวข้อที่อาจารย์สนใจมากกว่านักศึกษาสนใจ

3. บางหัวข้อ เช่น ITC ขาดแคลนอาจารย์ผู้ชำนาญการ

4.นักศึกษาขาดวุฒิภาวะในความเป็นนักศึกษา ป.โท บางคนยังติดความเป็นเด็ก ขาดวิธีคิด แนวคิด แต่คิดอย่างเดียวว่า อยากเรียนจบ บางคนจึงใช้ทุกวิธีที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง เพื่อทำให้ตัวเองเรียนจบ (แต่งานขาดคุณภาพ ตนเองไม่รู้จริง)

ฯลฯ

๔. ข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ข้อมูลประเภทของสถานศึกษา รัฐ/เอกชน ฯลฯ

คำตอบ: มหาวิทยาลัยของรัฐ ปี ๆ หนึ่ง รับผู้เรียน ตั้งแต่ 15 - 30 คน

ปัจจุบัน ที่ได้รับทราบข่าว คือ หยุดการรับนักศึกษา 1 ปี เพราะยังมีนักศึกษาค้างอยู่อีก 60 กว่าคน

ความจริงแบบนี้ รับกันได้หรือไม่ครับ

สวัสดีค่ะอ. Wasawat Deemarn

ขอบคุณอาจารย์มากเลยนะคะสำหรับข้อมูลค่ะ เป็นข้อมูลที่น่าตกใจ ถ้าเพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก แต่สำหรับตัวเองแล้ว ก็เป็นการตอกย้ำว่าปัญหาที่ตัวเองพบและเห็นไม่ได้ฝันไปอยู่คนเดียวค่ะ

ปัญหานี้สำหรับตัวเองคิดว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากทั้งมหาวิทยาลัย อาจารย์ และนักศึกษาค่ะ แต่คนที่จะทำให้การศึกษาเป็นผลสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นหลักๆ จะขึ้นอยู่กับตัวนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาค่ะ

ตอนนี้บ้านเรามีแนวโน้มนักศึกษามาเรียนป.โทแบบไม่แน่ใจ ไม่รู้ว่านี่คือสาขาที่สนใจหรือไม่ เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพ การงานที่ทำหรือไม่ หรือเพียงเข้ามาเรียนเพราะพ่อแม่อยากให้เรียนต่อเลย หรือเพื่อนเรียนต่อกันแล้ว หรือยังหางานทำไม่ได้

ถ้าคนเรียนไม่มี drive ที่ดี ประกอบมีอาจารย์น้อยในหลักสูตร หรือมหาวิทยาลัยไม่พร้อมที่จะเปิดหลักสูตร แต่มีการเปิดหลักสูตรขึ้นมา แล้วรับนักศึกษามากเกินไป ผลลัพธ์ที่ได้ก็คงออกมาแบบที่เราเห็นๆ กันค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับข้อมูลนะคะ 

  • อาจารย์กมลวัลย์...ครับ
  • สภาพเศรษฐกิจที่เป็นลักษณะของทุนนิยม .. มันทำให้เกิดคำว่า "ธุรกิจศึกษา" ได้ใช่หรือไม่ครับ
  • ผมไม่ขอชี้ขาดตายตัวว่า ข้อความข้างต้นเป็นความจริง ให้คนที่เค้าเรียนจบทางเศรษฐศาสตร์จะตอบได้ดีกว่า
  • มันเป็นแค่ความเชื่อว่า "ธุรกิจศึกษา" การหาทางรอดของมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นครับ
  • ยกตัวอย่าง สมัยก่อนผมเรียน ป.โท ภาคเรียนหนึ่งผมจ่ายค่าเทอมไม่เกิน 3,000 บาท ไม่มีค่าธรรมเนียมเงินกินเปล่า
  • ปัจจุบัน เหมาจ่ายกันเป็นหลักสูตร ๆ ละ 150,000 บาท
  • นี่เป็นตัวอย่างครับ เรื่องนี้สงสัยจะคุยกันยาวครับ

ยิ้มครับ ยิ้ม :)

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • ผมก็กำลังศึกษาระดับปริญญาโทอยู่เหมือนกันครับ ตามหลักแล้วต้องใช้เวลา 2 ปี 1 เทอม ผมเรียนที่สาขาส่งเสริมการเกษตร มสธ ครับ แต่จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับว่าจะทำวิทยานิพนธ์ผ่านหรือเปล่า
  • ผมว่าวิทยานิพนธืคือตัววัดคุณภาพการศึกษาที่ดีตัวหนึ่งครับ ผมเองหากทำวิทยานิพนธืผ่าน ผมคงดีใจมากครับ ว่าเราเป็นมหาบัณฑิตอย่างเต็มภาคภูมิ
  • ผมเองเลือกเรียนสาขานี้เพราะว่ามันเข้ากับงานที่ทำ ตอนปริญญาตรีผมจบวิทยาศาสตร์บัณฑิตมา แต่เวลาทำงานที่ผมเรียนมาใช้น้อยมาก จึงต้องหาความรุ้เพิ่มเติม
  • ตอนนี้ผมเองไม่ค่อยชอบการโฆษณาหลักสูตรของบางมหาวิทยาลัยที่เอาราคามาเป็นตัวแข่งขัน มันทำให้มีความรู้สึกเหมือนว่าขาดคุณภาพไปยังไงไม่ทราบครับอาจารย์ ไม่รู้ว่ามันประเภทจ่ายครบจบแน่หรือเปล่า
  • สำหรับตัวผมเองแล้วผมคิดว่าระยะเวลาที่เรียนไม่ใช่เรื่องใหญ่ครับ ตัวผมเองอยากลงเรียนสัก 4 ปี เพื่อที่จะเรียนได้เบาๆ แต่ด้วยความที่อยากจบพร้อมๆกับเพื่อนทำให้ต้องโหมเรียน ซึ่งบวกกับงานตามภาระหน้าที่ที่ทำด้วยแล้วทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก ผมเองในฐานะผู้เรียนก็อยากได้หลักสูตรที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมครับ ในขณะเดียวกันก้อยากได้คุณภาพที่สูงด้วย จะได้จบออกมาด้วยความภาคภูมิใจครับ
  • ขอบคุณครับ

 

เรื่องเงินๆ ทองๆ เนี่ย ถ้าคุยสงสัยจะยาว และมีคนมาแจมเยอะแน่ค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

แน่ๆ ว่าปัจจุบันมีการทำธุรกิจการศึกษา หลักสูตรแพงๆ มีเยอะค่ะ เหตุผลของคนทำหลักสูตรก็หลากหลายค่ะ ฟังขึ้น(สำหรับตัวเอง)บ้าง ไม่ขึ้นบ้างค่ะ  นานาจิตตังค่ะ

แต่ตอนเขียนบันทึกนี้คิดถึงการเรียนในหลักสูตรปรกติ เรียนเต็มเวลา ค่าเล่าเรียนประมาณอย่างที่อาจารย์เคยจ่ายค่ะ ไม่ได้คิดถึงหลักสูตรนอกเวลา หลักสูตรเถ้าแก่แต่อย่างใดค่ะ ^ ^ 

สวัสดีค่ะคุณ สุดทางบูรพา

ดีใจมากนะคะ ที่ได้ยินผู้เรียนตั้งใจเรียนอย่างมีคุณภาพค่ะ ยอมรับนะคะว่าถ้าทำงานไปด้วย การทำงานวิจัยและวิทยานิพนธ์อย่างมีคุณภาพ ภายใน ๒ ปีกับ ๑ เทอมนั้นอาจจะหวุดหวิดค่ะ ทางที่ดีน่าจะประมาณ ๓ ค่ะ ถ้าต้องเก็บข้อมูลนานและทำงานประจำไปด้วยนะคะ

ตอนเขียนบันทึกนี้กำลังคิดถึงกรณีของคนที่เรียนเต็มเวลา (แต่บางคนอาจแอบไปทำงานประจำหลังเรียน course work จบ) ทำวิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิตว่าทำไมจบช้าค่ะ

หลักสูตรจ่ายครบจบแน่ที่เคยเห็นนั้นมีค่ะ เป็นพวกหลักสูตรเถ้าแก่ ให้เจ้าของผู้จัดการทั้งหลายมาเจอกันสร้างเครือข่ายธุรกิจและเรียนเพิ่มพูนความรู้เล็กน้อยแบบไปซีเีรียส แล้วก็ไปดูงานต่างประเทศ (ทัวร์) กันสักครั้ง เป็นอันจบค่ะ คนทำเขาก็บอกว่าวัตถุประสงค์เขาไม่ได้ต้องการสร้างงานวิจัยใหม่ค่ะ เขาแค่ update ความรู้คน (มีเงิน) ให้มีหมวกอีกใบ..แล้วมันผิดตรงไหน..ประมาณนั้นค่ะ  นานาจิตตังอีกเช่นเคยค่ะ คนที่คิดและเห็นด้วยกับหลักการแบบนี้ก็มีมาก เพราะฉะนั้นอย่าประหลาดใจค่ะ

ที่สำคัญคือเราเองต้องการเรียนแล้วไ้้ด้อะไรจากการเรียน เราอยากใช้ประโยชน์จากการเรียน ป.โทแบบไหน อยากได้ธุรกิจ เพื่อนฝูงเพิ่ม หรืออยากได้ความรู้ อยากสร้างสรรค์ เรียนรู้วิธีแจกแจงสาเหตุ หรือแก้ปัญหาด้วยเหตุผล (จะได้จากการทำิวิทยานิพนธ์) หรือว่าอะไร..

สำหรับตัวเองคิดว่าการเป็นมหาบัณฑิต ต้องคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลเป็นค่ะ ไม่คัดลอก มีจริยธรรมในการทำงาน และรู้จักค้นคว้า เพิ่มเติมความรู้ให้ตนเอง เรียนรู้ได้ด้วยตนเองหลังจากจบ เขียนหนังสือ สื่อสารให้คนอื่นรู้เรื่อง (ได้จากการเขียนวิทยานิพนธ์) รู้จักการนำเสนอข้อมูล (ได้จากการ present งานหรือวิทยานิพนธ์) 

ขอบคุณที่แวะเข้ามา ลปรร เสมอๆ นะคะ ^ ^ 

ผมทำงานอยู่แม่ฮ่องสอน เป็นโรงเรียนขนาดเล็กไม่มีไฟฟ้าใช้ มาเรียนที่ขอนแก่น
สำหรับการเรียนจบช้า เป็นเพราะเราให้ความเต็มที่ไม่มากพอครับ ถ้าเราไม่เต็มที่กับวิทยานิพนธ์ของเรา ข้ออ้างต่าง ๆ ก็จะตามมาเยอะแยะเหมือนผม
ถ้าคนที่มีทำงานเหมือนผม คือที่ทำงานไม่มีไฟฟ้าใช้ เดินทาง แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น ทุกสัปดาห์
แล้วยังไม่เริ่มทำวิทยานพนธ์ก็ต้องพิจารณาตัวเองแล้วนะครับ
การทำวิทยานิพนธ์ทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวเราครับ อาจารย์ที่ปรึกษาผมให้คาถาง่าย ๆ ครับในการทำงาน คือ อริยสัจ 4 ครับ
และผมใช้เวลาทำวิทยานพนธ์จริง ๆ 4 เดือนครับ แล้วผมก็ทำสำเร็จแถมผลงานได้รับรางวัล
Best Paper Awards สาขา Artificial Intelligence
ในหัวข้อ Kernel Fuzzy Radial Basis Function (Kurnel-Fuzzy-RBF) Network Classifiers 
ในงานการประชุมทางวิชาการวิทยาคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11
ผมจึงอยากให้ทุกคนพยายามสู้ครับทางออกมีเสมอครับ อย่าท้อครับถ้าท้อแล้วข้ออ้างต่าง ๆ ก็จะตามมาเยอะแยะ
อย่างน้อยก็ดูผมเป็นตัวอย่างก็ได้ครับผมต้องเดินทางจากโรงเรียนที่อยู่บนดอย คือ โรงเรียนบ้านห้วยผึ่งมา อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
ระยะทาง 24 กิโลเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง จากอ.แม่ลาน้อยมา จ.เชียงใหม่ ใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง  และจากเชียงใหม่มาขอนแก่น 12 ชั่วโมง
ผมยังทำได้สำเร็จ
ถ้าทุกท่านรู้จักคำว่าสู้และพยายามแล้วท่านก็จะสำเร็จเองครับ มันไม่อยากอย่างที่คิด

ส่งสุข  ปาระแก้ว

สวัสดีค่ะคุณส่งสุข

ยินดีที่ได้ยินตัวอย่างดีๆ มาเล่าสู่กันฟังในบันทึกนี้ค่ะ

แม้จะอยู่ไกล และมีปัญหาอุปสรรคเรื่องไฟฟ้า แต่ก็ยังผ่านมาได้โดยมีผลงานที่เป็นที่ยอมรับใน peers  แต่ ๔ เดือนนี้เ่ก่งจริงๆ นะคะ ทั้งดำเนินการวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์ด้วย 

คาถาของอาจารย์ที่ปรึกษาน่าจะเป็นอิทธิบาท ๔ หรือเปล่าคะ..  แต่จริงๆ อริยสัจ ๔ เป็นคำสอนที่เราควรรู้จักและนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีิิวิตอยู่แล้วล่ะค่ะ ดีเหมือนกัน

ขอแสดงความชื่นชมคุณส่งสุขและอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยค่ะ ขอให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานต่อไปนะคะ

1. ยังไม่จบนะครับ ตอนนี้จะขึ้นปีที่ 4 แล้ว

2. เรียนสาขาระบาดวิทยาครับ

3. ตอนจบปี 1 หมด coursework ก็ไปมีเรื่องให้ drop ไปหกเดือน พอ กลับมาก็ยังไม่มีโปรเจ็กต์ เลยหางาน + หาหัวข้ออีกเกือบครึ่งปี แล้วก็ได้งานทำ ไปทำงานอีก 6 เดือน ช่วงที่ทำงานก็หาเวลาว่างช่วงตอนเย็น + สุดสัปดาห์ ทำ literature review ไป advisor ก็ไม่ค่อยว่าง กว่าจะได้สอบ proposal ก็ปาเข้าไปเกือบ ๆ 1 ปี หลังจากที่ได้หัวข้อ ทั้งๆ ที่ตามหลักควรจะ defend ได้แล้ว...ตอนนี้เงินกำลังจะหมด ก็ว่าจะไปหางานอีกทีนึง (เด็ก ป.โท ก็ต้องกินเหมือนกันนี่ครับ)

4. ม.ของรัฐ ที่ดังที่สุดด้านการแพทย์ เป็นหลักสูตร inter แต่เด็กไทยจ่ายค่าเทอมไม่มาก (สองหมื่นนิดๆ) ในภาควิชาผม การไปทำงาน+เรียนไปด้วยเป็นเรื่องปกติ สภาพเหมือนที่คุณเจ้าของ blog กล่าวไว้เปี๊ยบเลย เด็กต่างชาติบางคนจะจบเร็วกว่าเด็กไทย แต่บางคนก็โดนดองไว้นานพอๆ กัน...เรื่องระเบียบราชการจิปาถะเยอะมาก ทำให้จบช้าเข้าไปอีก ระเบียบการทำวิทยานิพนธ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คล้ายกับตามใจคณะกรรมการ ฮ่วย

สวัสดีค่ะคุณวิทย์

อ่านเรื่องที่คุณเล่าแล้วเห็นภาพเลยค่ะ เท่าที่มีผู้มาให้ความคิดเห็นก็คล้ายๆ กันนะคะ ทำงานไปเรียนไปด้วยก็มักจะมีโอกาสเจออุปสรรคในการเรียนแบบนี้เสมอค่ะ แต่ถ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายก็ดี และถ้าผ่านไปได้ก็จะยิ่งภาคภูมิใจ

บางครั้งก็ต้องคิดว่า It's not the destinaton, it's the journey ค่ะที่สำคัญ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

อาจารย์กลับมาตอบ แต่ไม่ได้เขียนประเด็นหนุก ๆ ครับ :)

สบายดีไหมครับ

ครับ ตอนนี้ผมเรียนโทอยู่ ปีนี้เข้าปีที่สามจะหมดปีแล้วรหัส53 เรียนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยของรัฐ มีปัญหาหลายอย่างจะจบหรือไม่ก็ยังไม่รู้ ช่วงนี้ช่วงหาหัวข้อการค้นคว้าแบบอิสระ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาแค่ในนาม ถามอะไรก็ไม่บอกบอกว่าก็แล้วแต่ ถามว่าอย่างนี้ใช่ไหมก็ตอบไม่รู้ ผมเครียดมากไม่รู้จะปรึกษาใครบางครั้งเครียดจนนอนไม่หลับแต่ก็ทำอะไรไม่ได้จนมีปัญหาสุขภาพตามมา ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไปดีเนื้อหาก็มีแต่ภาษาอังกฤษอ่านเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างเพราะเราไม่คุ้นกับสำนวน เข้าใจผิดหรือถูกก็ไม่รู้ถามที่ปรึกษาก็ตอบไม่ว่างให้พบ พอพบก็มีการแสดงกิริยาไม่พอใจหรือพูดจาดูถูกเสียงไม่พอใจ ผมจะทำไงดีผมว่าอาจารย์ที่ปรึกษาที่นี่น่าจะเหมือนกันทุกคนเจอมาแล้วสามคน ตอนนี้ผมเลยตัดสินใจทำเองตามความเข้าใจแล้วนำงานไปส่ง ผมทำได้แค่ทำให้ดีที่สุดจนเวลาครบสี่ปี ไม่จบก็ไม่จบ แต่ผมเสียใจที่การศึกษาของไทยทำไมเป็นอย่างนี้ เสียดายเวลา เงินทอง ที่สำคัญทำให้พ่อแม่เสียใจ ยอมถูกตราหน้าว่ามาเรียนก็ไม่จบทั้งจากที่ทำงานและญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน หากไม่มาเรียนคงทำอะไรได้มากกว่านี้ ที่สำคัญที่ทำงานยังถามว่าหลักสูตรสองปีทำไมไม่จบอีกหรือ ตอนนี้เหลือเวลาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอีกสองเดือนก็กลับไปทำงานแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นทุกมหาวิทยาลัยหรือเปล่า มหาวิทยาลัยนี้ขึ้นชื่อมากโดยเฉพาะสาขานี้รับมาแต่ไม่จบทั้งที่รับปีละสิบกว่าคน ผมคงได้แค่บ่นให้ฟังแต่ก็อยากมีเพื่อนที่คอยให้คำปรึกษาบ้าง ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร หากใครให้ผมปรึกษาได้พูดคุยกับผมได้ที่ [email protected]

ปัญหาหลัก คือ อาจารย์ที่ปรึกษา ผมคิดว่า วิทยานิพนธ์เราเป็นคนคิดและดำเนินการเองทุกอย่าง ถึงไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษา ทำไมเราไม่สามารถจะเชิญหรือแต่งตั้งคณะกรรมการมาคุมสอบเองได้ละครับ แต่สำหรับประเทศไทย เราต้องรออาจารย์ที่ปรึกษาบอกว่างานที่เราไม่ถูกใจ คุยไม่รู้เรื่องจะเอาตามอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเดียว แบบนี้ จะเรียกว่า วิทยานิพนธ์ ของเราได้อย่างไรละครับ จะหาอาจารย์ที่ปรึกษาก็ยาก สำหรับผมเรียนมาปีห้าแล้วนะครับ ถ้าไม่จบผมขอโทษอาจารย์ที่ปรึกษา ทำไมมหาวิทยาลัยไม่ต้องให้เรามีอาจารย์ที่ปรึกษา ทำแบบนี้ นักศึกษาที่มีความคิดต่างจะได้ มีความรู้ใหม่ๆ เกิดมาละครับ มัวจะรอแต่แต่งตั้งอาจารย์นานเกินไปแล้วนะครับ


๑. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ป.โท ในประเทศตามประสบการณ์ของท่าน (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้เรียน หรือ อ.ที่ปรึกษา) ใช้เวลาประมาณเท่าใด

สองปีครึ่งค่ะ


๒. สาขาที่เรียน เป็นสาขาใด

ภาษาศาสตร์ค่ะ


๓. สาเหตุที่ทำให้ใช้เวลาเรียนตามข้อ ๑ เป็นเพราะอะไร เช่น หลักสูตรเหมาะสม หน่วยกิต มีการจัดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษา ดี/ไม่ดี ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการศึกษาพร้อม/ไม่พร้อม เป็นต้น

พบอาจารย์บ่อย และพยายามแก้ไขจุดที่อาจารย์ชี้แนะให้เร็วที่สุด (เราพบอาจารย์แทบจะทุกอาทิตย์ค่ะ เพราะทำทุกวัน ทำเกือบตลอดเวลาค่ะ) แล้วก็พยายามมีผลงานตีพิมพ์และนำเสนอผลงานตามงานประชุมวิชาการ จะทำให้อาจารย์และคณะกรรมการสอบเชื่อถือในตัวเราค่ะ


๔. ข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ข้อมูลประเภทของสถานศึกษา รัฐ/เอกชน ฯลฯ

เรียนที่มหาวิทยาลัยนเรศวรค่ะ เป็นมหาวิทยาลัยรัฐค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท