ชุดภาพสังเวชนียสถาน(อินเดีย-เนปาล) ๑๑


Hiker

    ภาพที่ 1:      

ภูเขาดงคสิริ... สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของพระสัมมาสัมโพธิสัตว์พระองค์ปัจจุบันนานถึง 6 ปี

โปรดสังเกตอาคารบนเขาเป็นวัดธิเบต... ชาวพุทธที่สร้างวัดไว้ในสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาทั่วอินเดีย-เนปาลดูจะเป็นพม่า ธิเบต และญี่ปุ่น...

 

    ภาพที่ 2:      

ทางเดินขึ้นภูเขาดงคสิริ... ไม่สูงเท่าไหร่ การไปทำบุญให้เหงื่อออกบ้างมีส่วนช่วยเพิ่มความประทับใจ เวลานึกถึงแล้วจะปลื้ม และภูมิใจว่า เราได้ใช้แรง ใช้ความพยายามทำบุญ

ภูเขาบางแห่ง เช่น คิชฌกูฏ ฯลฯ มีบริการเสลี่ยงคานหาม... ถ้าไปกับทัวร์ ไก๊ด์จะถามเราล่วงหน้าว่า ใครจะขึ้นบ้าง เขาจะโทรศัพท์ไปบอกกลุ่มคนรับจ้างที่อยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียงให้เดินมารอ

กล่าวกันว่า คนรับจ้างบางคนอยู่ไกลเขาคิชฌกูฏมาก ต้องเดินไปที่เขา 2 ชั่วโมง กลับอีก 2 ชั่วโมง...

คำกล่าวอย่างนี้ควรฟังหูไว้หู เพราะธรรมดาของชีวิตมักจะมีเรื่องจริงบ้างเท็จบ้างปนกันเสมอ

ทว่า... ถ้าจริงก็สะท้อนให้เห็นความทุกข์จากการแสวงหาอาหารมากทีเดียว

    ภาพที่ 3:      

ภาพอาจารย์แม่ชีมาลี... ท่านเป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรมที่วัดท่ามะโอ ลำปาง อายุ 60 ปีเศษแล้ว แถมเพิ่งหกล้ม กระดูกหัวเข่าแตก เลยต้องใช้ความเพียรมากหน่อย

เวลาทำบุญก็อย่างนี้ครับ... ใช้ความเพียรมากก็ย่อมได้บุญมากตามไปด้วย

    ภาพที่ 4:      

ขอทานมารอต้อนรับ... นั่งเป็นระเบียบเรียบร้อยแบบนี้ดีจัง ขอทานบางแห่งจะมารุมล้อมจนแทบจะหนีไม่พ้นเลยก็มี

    เรียนเชิญดาวน์โหลด:     

  • บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า มูลนิธิรักษ์ธรรม
  • [ Click - Click ]
  • พระปริตรธรรม วัดท่ามะโอ ลำปาง
  • [ Click - Click ]

    แหล่งที่มา:     

  • ขอกราบขอบพระคุณ > วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร อินเดีย > สำหรับที่พัก น้ำ ไฟ และน้ำใจ...
  • ขอขอบพระคุณ > คุณปู... นักศึกษามหาวิทยาลัยมคธ รัฐพิหาร อินเดีย. > ผู้สนับสนุนการเดินทางจากพุทธคยา - ภูเขาดงคสิริ.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 20 เมษายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 91447เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2007 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณหมอ นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

เห็นภาพขอทานแล้วทำให้นึกสงสารค่ะ แต่ก็พอทราบค่ะว่าเวรกรรมเป็นของส่วนบุคคล ดีใจที่บ้านเรายังมีแบบนี้น้อย(กว่าเขา)

นึกถึงคนไม่มีอะไรจะกินแล้วทำให้ต้องกลับมาคิดใหม่ว่าเราบริโภคกันมากจริงๆ ต่อไปต้องระลึกว่าตัวเองเกิดมาโชคดีขนาดไหน ที่มีงานทำเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเองอย่างสบาย

ขอบคุณคุณหมอค่ะ ได้เรื่องสอนใจตัวเองอีกเรื่องหนึ่งแล้วค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.กมลวัลย์...

  • คำสอนในพระพุทธศาสนากล่าวว่า การขอทานเป็นการร้องไห้ครั้งที่ 1 การไม่ให้ทานเป็นการร้องไห้ครั้งที่ 2...

ร้องไห้ครั้งที่ 1...

  • การขอทาน...
  • การขอทาน... ท่านกล่าวว่า เป็นการร้องไห้ครั้งที่ 1 คือ เป็นเครื่องบอกว่า
  1. แต่ก่อนนี้... ข้าพเจ้าไม่ได้ทำทาน (การไม่ให้ทานเป็นเหตุให้เกิดมายากจน หรือมีทรัพย์น้อย)
  2. แต่ก่อนนี้... ข้าพเจ้าตระหนี่ หรือขี้เหนียว (ความตระหนี่เป็นเหตุให้เกิดมายากจน มีทรัพย์น้อย หรือแร้นแค้น)
  3. แต่ก่อนนี้... ข้าพเจ้าลักทรัพย์ หรือทำลายทรัพย์ผู้อื่น (การลักทรัพย์ หรือทำลายทรัพย์ผู้อื่นเป็นเหตุให้ไม่ได้ทรัพย์ในคราวที่ควรได้ หรือทรัพย์ที่มีอยู่สูญหาย ถูกทำลาย หรือถูกลักไป)
  • บัดนี้... ข้าพเจ้าจึงมีทรัพย์น้อย

ร้องไห้ครั้งที่ 2...

  • การไม่ทำทาน...
  • การไม่ทำทาน... ท่านกล่าวว่า เป็นเหตุให้ยากจนต่อไปในอนาคต
  • กล่าวโดยสรุปคือ คนที่มีลักษณะต่อไปนี้เป็น "ว่าที่ขอทาน" ซึ่งจะต้องร้องไห้ครั้งที่ 2 ต่อไปในอนาคต
  1. ไม่ทำทาน
  2. ลักทรัพย์ หรือทำลายทรัพย์ผู้อื่น
  3. ตระหนี่(ขี้เหนียว) โดยเฉพาะคนที่เบียดบังของส่วนรวมเป็นของส่วนตน

ที่กล่าวมานี้...

  • ที่กล่าวมานี้....
  • ไม่ได้หมายความว่า ต้องให้ทานกับ "ทุกคน" หรือ "ทุกครั้ง" เสมอไป...
  • เพราะการให้ที่ดีไม่ควรเบียดเบียนตนด้วย และไม่ควรเบียดเบียนคนอื่นด้วย

ตัวอย่าง...

  • ตัวอย่างเช่น การให้เงินขอทานอินเดียพร่ำเพรื่ออาจจะทำให้ถูกรุม และอาจทำให้คนอื่นรอบข้างพลอยลำบากไปด้วย
  • ตัวอย่างเช่น การให้อะไรกับ "คนขี้ขอ" โดยเฉพาะคนที่ไม่รู้จักพอ (มีมากในอินเดีย) อาจทำให้เราหมดเนื้อหมดตัวได้ และเบียดเบียนตัวเอง หรือครอบครัวมากเกินไป ฯลฯ

มงคลธรรม...

  • ตัวอย่างเช่น การให้อะไรกับคนอื่นมากเกินไป โดยไม่สงเคราะห์คนในครอบครัวเลย เป็นการไม่เคารพต่อมงคลธรรม (เหตุให้ถึงความเจริญ 38 ประการในมงคลสูตร) ทำให้เสื่อมจากความเจริญ
  • เรียนเสนอให้พวกเราศึกษามงคลสูตร หรือมงคล 38 เพื่อให้มีความสุข ความเจริญแบบ "รอบด้าน" ครับ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท