เวทีวิชาการหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน (ตอนที่ ๙)


ตราด

  บริบทที่มาที่ไปเริ่มจากคำถามซึ่งเป็นเรื่องของการเอากรคะบวนการจัดการความรู้มาใช้กับกระบวนการองค์กรการเงินชุมชนซึ่งเมื่อพูดถึงองคืกรการเงินชุมชนก็มีบริบทหรือที่มาที่ไปอย่างที่ได้ชี้แจงในตอนต้นแล้ว ในกรณีศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาที่ทำกับกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาครบวงจรชีวิตโดยการประยุกต์เอาพุทธธรรมมาใช้กับการพัฒนา

2.ในโครงสร้างข้อเสนอการจัดการความรู้มีเรื่องของการจัดการระบบความรู้ทั้งคุณเอื้อและคุณอำนวย หากทำไปแล้วมีการแสดงอาการอย่างไร

3.มีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา

ลักษณะของพื้นที่

ตำบลเขาสมิงมี 9 หมู่บ้าน มีเขตเทศบาลตำบลอยู่ด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวสวนยางพารากับสวนสัปพรด องค์กรการเงินที่มีอยู่ในตำบลที่สำรวจเมื่อ 5 เดือนก่อนมีปริมาณเงิน 8 ล้านบาทมีกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ 10 กลุ่ม มีกองทุนหมู่บ้าน ออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มเงินแสน ประมาณ 38 ล้าน

ปัญหาการเป็นหนี้วัวพันหลักของชาวบ้านจะมีอยู่เยอะจากการลงไปสำรวจในช่วงแรก

หากเราใช้เครื่องมือองค์กรการเงินชุมชนไปตอบโจทย์ต้องใช้ระยะที่มากกว่า 1 ปีแน่เนื่องจากองค์กรกแต่ละประเภทมีลักษณะที่มาที่ไปที่แตกต่างกัน หากใช้เครื่องมือนี้ภายใน 1 ปี ต้องเลือกเอาสักอย่างหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขของการทำงานโครงการต้องเลือกที่จะทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

กลุ่มสัจจะมีทุนที่สะสมอยู่

ปัจจุบันนี้ตำบลเขาสมิงมีโครงสร้างระดับจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ระดับจังหวัด มีการประชุมประจำทุกเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือน บรรดาแกนนำก็มาประชุมตามที่ได้ตกลงกัน

โครงสร้างของ 30 ตำบล ที่เราสนใจเราเลือกที่ตำบลเขาสมิง ทีมตราดจะไม่มีคุณเอื้อที่มาจากองค์กรภาครัฐ

คุณอำนวยจะเป็นทีมงานที่มีการผสมกันระหว่างคนที่อยู่ในตำบลกับนอกตำบลและนักวิชาการจากสถานีอนามัย

 

คำสำคัญ (Tags): #สรุปการประชุม
หมายเลขบันทึก: 9120เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2005 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่อนุญาตให้อ่าน -0-

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท