เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย(7)


การเมืองการปกครองของออสเตรเลียจึงไม่ซับซ้อน ไม่ซ้ำซ้อนและมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ผิดกับบ้านเราที่มีการทับซ้อนกันจนเกิดเป็นความซับซ้อนที่เป็นกำแพงของการกระจายอำนาจ

เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย(7)

ออสเตรเลียเป็นเกาะที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากแต่มีประชากรแค่22 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยริมทะเลส่วนที่ห่างฝั่งออกไปจะเป็นชนบทและพื้นที่ห่างไกลมีการปกครองในระบบรัฐ แบ่งเป็นรัฐที่มีการปกครองโดยการเลือกตั้งในแต่ละรัฐก็จะมีเมืองก็เหมือนบ้านเรารัฐก็คือจังหวัด เมืองก็คืออำเภอแต่ที่ต่างกันก็คือขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรรวมทั้งระบบบริหารราชการ เมืองหลวงของรัฐนิวส์เซาท์เวลส์คือซิดนีย์เป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ มีประชากร 5ล้านคน ส่วนเมืองหลวงของประเทศคือแคนเบอร่าปัญหาที่พบอันหนึ่งก็คือแมลงวันมากโดยเฉพาะที่แทมเวอร์ธและเมืองอื่นๆเวลายืนคุยกันนอกบ้านต้องคอยปัดแมลงวันที่มาตอมตามตัวหน้าไปด้วยอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขารับประทานอาหารค่ำค่อนข้างดึกเพราะจะได้ไม่มีแมลงวันรบกวน

        

ขนาดของเมืองไทยอาจจะมีขนาดเท่าๆกับรัฐ 1 รัฐของออสเตรเลีย แต่มีประชาการมากกว่าประมาณ

3 เท่า (64 ล้านคน)

เราจึงมีความหนาแน่นของประชากรมากกว่า

ในบางเมืองในตัวเมืองมีความพร้อมในเรื่องของตลาด สิ่งอำนวยความสะดวก

โรงเรียน ปั๊มน้ำมัน สถานีตำรวจ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์

ระบบขนส่งมวลชนและรถแท๊กซี่ มีการวางผงัเมืองไว้อย่างเหมาะสม

มีซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดที่สามารถหาซื้อสินค้ายังชีพและสินค้าในการดำรงชีวิตได้แต่ก็มีประชากรแค่

1,500-2,000 คน

ในขณะที่ของเราในแต่ละอำเภอจะมีประชากรมากกว่า 1 หมื่นคนขึ้นไปและขนาดของจังหวัดก็ไม่ใหญ่มาก

อำเภอแต่ละแห่งก็อยู่ไม่ห่างกันนักแต่เราก็ยังไม่สามารถจัดระบบโรงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure)

ให้เข้าถึงประชากรกลุ่มต่างๆโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ห่างไกล

ทำให้เกิดการกระจุกตัวอยู่ในเฉพาะเมืองใหญ่หรือในตัวอำเภอเท่านั้น

         แทมเวอร์ธเป็นเมืองชนบท สงบมีพื้นที่ของเมืองที่จัดวางผังอย่างเหมาะสมเป็นที่พักริมเชิงเขาส่วนที่ราบเป็นตัวเมืองคล้ายตัวอำเภอหรือจังหวัดของไทย มีโรงเรียนมีตลาด ห้างสรรพสินค้า แบ่งออกเป็น 4เขตคือ

-         SouthTamworth

-         NorthTamworth

-         EastTamworth

-         WestTamworth

           โดยมีการปกครองเมือง(อำเภอ)เป็นแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น(Localgovernment)มีผู้ว่าราชการเมืองหรือนายกเทศมนตรีเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน(Mayor of City) มีการเลือกตั้งทุก4 ปีบางเมืองเป็นแบบประชาชนเลือกนายกเทศมนตรีโดยตรงบางเมืองเลือกผู้แทนเมือง (คล้ายๆ สก. ของกรุงเทพฯ)ก่อนแล้วให้กลุ่มผู้แทนไปคัดเลือกนายกเทศมนตรีจากกลุ่มที่เลือกมาเมืองจะอยู่ในการดูแลสนับสนุนโดยรัฐบาลมลรัฐ (Stategovernment) และมีนโยบายระดับประเทศที่ออกโดยรัฐบาลกลาง(Federal government) ที่กรุงแคนเบอร่ามีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารมีประมุขของประเทศคือพระราชินีของอังกฤษเพราะเป็นประเทศในเครือจักรภพ 

           การเมืองการปกครองของออสเตรเลียจึงไม่ซับซ้อนไม่ซ้ำซ้อนและมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริงผิดกับบ้านเราที่มีการทับซ้อนกันจนเกิดเป็นความซับซ้อนที่เป็นกำแพงของการกระจายอำนาจการปกครองของเรามีการปกครองถึง 3ระดับคือส่วนกลาง ที่มีรัฐบาล กรมกองต่างๆ ส่วนภูมิภาคที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดบังคับดูแลตัวแทนจากกรมกองต่างๆที่ส่งมาทำงานในรูปของสำนักงานต่างๆในแต่ละจังหวัดข้าราชการจากกรมต่างๆที่มาอยู่ถือเป็นข้าราชการสังกัดจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงแต่รับนโยบายหลักจากกระทรวงต้นสังกัดทำให้ข้าราชการส่วนภูมิภาคมีผู้บังคับบัญชาซ้ำซ้อนกันเวลาไปซื้อตั๋วเครื่องบินหรือทำพาสปอร์ตมักจะถูกถามว่าสังกัดกระทรวงไหนถ้าตอบกระทรวงสาธารณสุขก็ใช่แต่ในบัตรจะเขียนว่าสังกัดจังหวัดตากก็มักถูกถามว่าตกลงอยู่กระทรวงไหนกันแน่ มหาดไทยหรือสาธารณสุขเป็นต้นพอมาถึงระดับอำเภอก็มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดมีหัวหน้าส่วนอำเภอเป็นตัวแทนจากกรมต่างๆมาช่วยทำงานและอยู่ในบังคับบัญชาอย่างสาธารณสุขอำเภอสายบังคับบัญชาขึ้นกับนายอำเภอโดยตรงแต่เวลาทำงานรับนโยบายและโควตาเลื่อนขั้นจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดก็มีการทับซ้อนกันอีกอย่างโรงพยาบาลชุมชนก็มีสายบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดไม่ได้ขึ้นกับนายอำเภอหรือช่วงปฏิรูปราชการของสรรพากรอำเภอก็เปลี่ยนใหม่เป็นสรรพากรพื้นที่สาขาไปขึ้นกับสรรพากรเขตพื้นที่จังหวัดและเขตพื้นที่เขตโดยตรงสถานีอนามัยขึ้นกับสาธารณสุขอำเภอและนายอำเภอโดยตรงแต่เวลาสอบตำแหน่งนักวิชาการหรือหัวหน้าสถานีอนามัยจัดโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแต่เวลาออกกคำสั่งย้ายให้นายอำเภอเป็นคนออกคำสั่งหรือหากเกรงว่านายอำเภอจะไม่ลงนามก็ออกคำสั่งย้ายในนามของผู้ว่าราชการจังหวัดเลย

           

จากปกครองส่วนภูมิภาค(จังหวัด อำเภอ )

ก็มีการปกครองส่วนท้องที่ที่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล 

พอเรื่องกระจายอำนาจเข้ามามีการปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีหลายรูปแบบทับซ้อนอยู่กับส่วนภูมิภาคอีก

ในรูปแบบพิเศษอย่างพัทยาและกรุงเทพมหานครอาจมีการทับซ้อนไม่มากนัก

แต่ในส่วนของเทศบาลที่มีทั้งเทศบาลนคร เมือง

ตำบลก็มีพื้นที่เล็กถ้าอยู่ในอำเภอเมืองก็จะมีทับซ้อน

3 ส่วนคือการบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัด

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศบาลเมืองหรือนคร

พอลงไปถึงอำเภอมีนายอำเภอบริหารราชการ

ก็มีนายกเทศบาลตำบลบริหารในเขตเทศบาลที่มีเขตทับซ้อนกับการปกครองส่วนท้องที่เดิมของบางส่วนของตำบล

ในแต่ละตำบลที่อยู่นอกเขตเทศบาลก็มีองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีการเลือกตั้งแบบท้องถิ่นมาอีก

ทำให้เรามีการปกครองท้องถิ่นที่ซอยเล็กซอยน้อยจนทำให้ขาดพลังในการพัฒนาเพราะขนาดต่างๆน้อยเกินไป

หรือมีEconomy of scale ไม่พอ

ส่งผลให้เงินงบประมาณส่วนใหญ่ไปตกอยู่กับการจ้างคน สร้างอาคาร

บำรุงรักษาและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในสำนักงานที่ทำการมากกว่าพัฒนาชุมชนโดยเฉพาะสิ่งที่มองเห็นยากอย่างการศึกษา

การสาธารณสุข 

ในความเห็นของผมจึงน่าจะเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของเมืองหรืออำเภอไปเลยจะเป็นเทศบาลอำเภอหรือองค์การบริหารส่วนอำเภอก็ได้

และควรยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคไปเลยให้เป็นการกระจายอำนาจแบบเต็มตัวเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด

เลือกตั้งนายกเทศบาลอำเภอก็จะสามารถลดความซ้ำซ้อนลงไปได้มากและค่าบริหารจัดการต่างๆจะลดลง

นำมาเป็นงบพัฒนาได้มากขึ้น

นอกจากนี้ควรเลิกขยายจังหวัดเพิ่มแต่พยายามสร้างความโดดเด่นของแต่ละอำเภอให้เป็นเมืองและมีการพัฒนาเมืองขึ้นมาโดยที่ไม่จำเป็นต้องไปแยกจังหวัดให้เปลืองงบประมาณในเรื่องตำแหน่งคน

การสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆอีก แต่ไปเพิ่มเรื่องความสะดวกในการเดินทาง

โครงสร้างพื้นฐานต่างๆแทน

รวมทั้งในพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือพื้นที่ที่ทำการเกษตรกรรมยากน่าจะจัดสรรให้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและใช้จังหวัดที่ไม่ใหญ่มากนักจัดตั้งให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยจะได้กระจายคนออกจากที่แออัดไปอยู่ในเมืองที่ประชากรเบาบางกว่า

          พูดเรื่องเมืองไทยไปมากเลยพูดแบบไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองการปกครองหรือกฎหมายมหาชนแต่คิดเอาแบบผู้บริหารที่ต้องการลดความซ้ำซ้อนและให้มีงบประมาณมาทำงานให้ประชาชนมากขึ้นกลับมาที่เมืองแทมเวอร์ธเป็นเมืองที่มีความเก่าโดยเฉพาะถือเป็นเมืองหลวงของดนตรีพื้นบ้านมีสัญลักษณ์เป็นกีตาร์ขนาดใหญ่อยู่ในเมืองมีแหล่งเดินซื้อสินค้าเป็นLate nightshopping มีพิพิธภัณฑ์  มีแกลลอรีศิลปะ มีโรงหนัง โรงละครสนามกีฬาในเดือนมกราคมของทุกปีจะมีเทศกาลดนตรีพื้นบ้านหรือถนนดนตรีประมาณ10 วัน มีพื้นที่เป็นที่ราบสลับภูเขาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ พื้นที่เป็นที่ราบไม่มากนักบริเวณตัวเมืองอยู่ในที่ราบหุบเขา มีประชากรประมาณ 50,000 คน แต่ถ้าดูลักษณะในตัวเมืองจะดูใหญ่เหมือนตัวจังหวัดของไทยเช่นจังหวัดสุโขทัยจังหวัดอุตรดิตถ์หรือตัวอำเภอแม่สอด(ตัวจังหวัดตากจะดูเล็กกว่าตัวอำเภอแม่สอดซึ่งเป็นอำเภอชายแดน)

 

Phichet

Amberroo apartment

Tamworth ,NSW

20 Nov 2005

หมายเลขบันทึก: 9114เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2005 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท