ความถูกต้องของเนื้อหาใน Wikipedia


จำได้ว่าในวันงานมหกรรม มีคนมาถามดิฉันที่บูธว่า Wikipedia ต่างกันอย่างไรกับ ฺBlog เขาบอกว่าเขียนได้อย่างบล็อกเลย

ในฐานะที่เป็นคนด้านเทคโนโลยี ดิฉันคงต้องเรียนชี้แจงอย่างนี้นะคะ เพราะดิฉันก็ไม่อยากให้คนไทยเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ๆ ผิดแผกไปจากวัตถุประสงค์หลักของเจ้าของ Wikipedia

Wikipedia มีจุดมุ่งหมายคือ การร่วมกันเขียนสารานุกรม (Encyclopedia) คะ นอกจากนั้น แล้วก็มี Wikibooks คือ ร่วมกันเขียนหนังสือด้วยกัน ตอนนี้มี Wiki มากมายคะ โดยรวม คือ การเขียนร่วมกันเพื่อสร้างอะไรบ้างอย่างขึ้นมาคะ

ส่วนบล็อกนั้น มีรูปแบบที่แตกต่างกับ Wiki อย่างสิ้นเชิงคะ คือ บล็อกเป็นการเขียนบันทึกแบบไดอารี่ของบุคคลหนึ่งๆ และมีรูปแบบการเขียนที่ไม่ต้องมีโครงสร้างเหมือนหนังสือ

ไอเดียการเขียนร่วมกันอย่าง Wikipedia มีข้อดีคือ ทำให้เกิด Free textbooks ขึ้นมากมาย แต่ยังไม่ชัดเจนเรื่องลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาของงานที่เขียนร่วมกันนี้เมื่อมีเรื่องของผลกำไรเข้ามาเกี่ยวข้อง

จุดอ่อนอีกอย่างคือ ความถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งสำหรับ Wikipedia แล้ว ผู้เขียนจะไม่ถูกเปิดเผยชื่อและไม่สามารถตรวจสอบได้ถึง จึงทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาเป็นที่โด่งดังในขณะนี้ A false Wikipedia 'biography' By John Seigenthaler

"John Seigenthaler Sr. was the assistant to Attorney General Robert Kennedy in the early 1960's. For a brief time, he was thought to have been directly involved in the Kennedy assassinations of both John, and his brother, Bobby. Nothing was ever proven."
— Wikipedia

This is a highly personal story about Internet character assassination. It could be your story. I have no idea whose sick mind conceived the false, malicious "biography"  that appeared under my name for 132 days on Wikipedia, the popular, online, free encyclopedia whose authors are unknown and virtually untraceable.

เปิดเผยชื่อผู้เขียน เป็นสิ่งจำเป็นคะ แต่คงต้องเปิดเผย ผลงานและประวัติด้วยคะ เพื่อการแสดง Identity ของผู้เขียนอย่างเช่นใน Blog

จันทวรรณ

เพิ่มเติม (8 ธค 05):

ก็นี่ละคะ จุดอ่อนของนโยบายของ Wikipedia แต่ตอนนี้เจ้าของ Wikipedia (Jimmy Wales) ก็เพิ่งได้ตัดสินใจปรับปรุงนโยบายนี้แล้วคะ

"Wikipedia has since removed the entry and now requires users to register before they can create articles.

But visitors to the site will still be able to edit content already posted without having to register. "  BBC News

ทุกเทคโนโลยีมีข้อดีข้อเสียคะ แล้วแต่การจะนำไปใช้ แต่ถ้านำมาใช้ในด้าน Knowledge Management นั้น ดิฉันจะให้ความสำคัญของ Identity ของเจ้าของความรู้คะ เพราะ Knowledge โดยเฉพาะ Tacit knowledge เป็นความรู้เชิงปฏิบัติของแต่ละตัวบุคคลคะ


 

หมายเลขบันทึก: 9108เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2005 02:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรื่องนี้เป็นข่าวใหญ่ครับ (อ่าน BBC)

พรุ่งนี้ผมจะมาเขียนบันทึกเรื่อง "Webboard, Blog, และ Wiki ต่างกันอย่างไร" เพราะสามสิ่งนี้เป็นเทคโนโลยีที่ต่างกันในเชิง concept มาก แต่มี presentation ที่ดูคล้ายกัน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเหมือนกันหรือเป็นเทคโนโลยีที่ทดแทนกัน

ทั้งสามตัวนี้ถ้าเราเข้าใจใน concept ที่แตกต่างของแต่ละตัวและใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการออกแบบของเทคโนโลยี ก็จะมีประโยชน์ต่อการจัดการความรู้ขององค์กรมากทีเดียวครับ

เรื่องคุณภาพของเนื้อหา เป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากทีเดียว
แต่ต้องเน้นว่า ปัญหาที่พูดถึงนี้เป็น กรณีเฉพาะ คือเกิดจาก
บทความที่ "เริ่มเขียน" โดยคนที่ไม่ได้ใส่ชื่อ(นิรนาม)
และเป็นบทความที่ไม่มีการ link มาเท่าไหร่ด้วย  จึงทำให้
การตรวจสอบน้อยกว่าบทความปกติ

บทความปกติส่วนใหญ่มีคุณภาพดี มีความถูกต้องสูง
เพราะมักจะเริ่มเขียนโดย user ที่เป็นสมาชิก  และมีการคอย
ติดตามควบคุมการ "แก้ไข" อยู่ตลอดครับ

ถึงแม้บล็อก และ วิกิ จะเป็นซอฟต์แวร์คนละชนิดก็ตาม แต่ก็สามารถ
ใช้เป็นเครื่องมือที่ดีของการจัดการความรู้ทั้งคู่  จึงอยากให้อาจารย์
เขียนแง่บวก คู่ไปกับแง่ลบด้วย  ไม่ฉะนั้นคนอ่านจะเข้าใจผิดว่าวิกิ
มีข้อเสียด้านความถูกต้อง  คนจะพลอยไม่สนใจไปครับ

ได้คะ อาจารย์ธวัชชัยกะจะเขียนอยู่แล้วคะ เดี๋ยวคงได้อ่านกัน

สิ่งที่ผมจะเขียน ผมไม่ได้เจตนาจะเขียนเปรียบเทียบ blog กับ wiki ครับ เพราะเป็นเทคโนโลยีคนละตัวกันออกแบบมาเพื่อคนละวัตถุประสงค์เอามาใช้แทนกันไม่ได้ (และเปรียบเทียบกันไม่ได้)

แต่เนื่องจาก presentation ของเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่บนเว็บเหมือนกันในขณะนี้ ทำให้มีการเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ ผมเลยคิดว่าต้องมีการอธิบายความแตกต่างให้ชัดเจนครับ

ส่วนเรื่องที่ Wikipedia (เว็บที่ใช้ Wikimedia ทำงาน) มีปัญหาเรื่อง content นั้นเรื่องนี้เป็นข่าวใหญ่จริงๆ ประมาณว่าไม่พูดถึงไม่ได้ครับ

เดี๋ยวรอติดตามผมวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีนะครับ

ดร.ธวัชชัยเขียนเกี่ยวกับ ความแตกต่างของเทคโนโลยีบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้กับการจัดการความรู้ ไว้อย่างน่าสนใจคะ

ดิฉันเองต้องนำเสนอข่าวนี้และแสดงความคิดเห็นส่วนตัวลงในบล็อก เพราะดิฉันไม่เห็นด้วยกับวิธีการสร้างความรู้ใน Wikipedia ที่แต่ก่อนมีจุดอ่อนในเรื่องไม่เปิดเผยผู้ที่เขียนและแก้ไขความรู้หนึ่งๆ (ดิฉันกำลังวิเคราะห์ Wikipedia นะคะ ไม่ใช่ MediaWiki ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในการ run Wikipedia)

หากท่านที่เห็นด้วยกับไอเดียของ Wikipedia ดิฉันก็อยากให้ช่วยกันเขียนแสดงความคิดเห็นของท่านออกมาโต้แย้งคะ เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับผู้ที่สนใจคะ

เข้ามาอ่าน เผื่อจะได้ความรู้เกี่ยวกับเว็บบล็อกบ้าง  ทดลองใช้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท