การสอบถามหรือแก้ไขปัญหาร่วมกันสามารถดึง Tacit knowledge ออกมา


ากประสบการณ์ของผมนั้น เรื่องแบ่งปันความรู้นั้น มีบางครั้งที่ได้รับความรู้จากการที่มีการสอบถาม หรือแก้ไขปัญหาร่วมกันในการทำงาน ซึ่งครั้งหนึ่ง ผมต้องออกไปตรวจสอบที่จ.นครศรีธรรมราช โดยเจ้าของร้านที่ผมไปตรวจจะมีความรู้พอสมควร ผมออกเดินทางจากหาดใหญ่ 8:00 น. ถึง 10:45 น.โดยร้านตั้งอยู่ในตลาด มีลูกค้าเยอะพอสมควร การตรวจดำเนินการไปด้วยดี แต่พอถึงตอนกลับ เจ้าของร้านได้ถามผมถึงปัญหา 1 ข้อ ซึ่งทำให้ผมเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่อยู่บนหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีบางครั้งที่เราต้องเชื่อสิ่งที่เกิดขึ้นจริงโดยใช้ข้อมูลจากเครื่อง ฯ มาประกอบหรือสนับสนุนการตัดสินใจ และหลังจากนั้นทุกครั้งก่อนที่ผมจะออกตรวจ จะต้องโทรศัพท์ได้สอบถามข้อมูลจริงจากทางร้านก่อนรวมถึงจะได้สอบถามปัญหา หรือ ข้อสงสัยของทางร้านไปด้วย และระยะหลังฟมต้องรับผิดชอบร้านค้ามากขึ้น ผมจึงได้นัดให้ทางร้านโทรศัพท์มาพูดคุยกับผมหากมีปัญหา หรือข้อสงสัย เพราะผมคิดเสมอว่าปัญหาที่พบในร้านนี้อาจยังไม่เกิดในอีกร้านหนึ่ง เราจะได้ป้องกันหรือปัญหาที่แก้ไขปรับปรุงแล้วในร้านนี้กำลังจะเกิดขึ้นแล้วในอีกร้านหนึ่งก็ได้ ซึ่งหากเราได้มีตัวอย่างกรณีศึกษาหรือแนวทางการทำงานจริงโดยตรงเราก็อาจจะแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้นกว่าปกติ โดยการออกตรวจครั้งนั้นทำให้ผมได้แนวการทำงานใหม่ ๆ ขึ้นและได้แนะนำให้ฝ่ายสนับสนุนนำไปประยุกต์ใช้ สำหรับผม การแบ่งปันความรู้นั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมในเรื่อง นั้น ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุด

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 907เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2005 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท