คอร์รับชั่น กับ สติปัฎฐาน 4


สร้างตัวแบบการบริหารจัดการเพื่อจำกัดปัญหาคอร์รับชั่น

หากสนใจเชิญลงทะเบียน(แจ้งประสงค์) ท้ายบันทึกนี้ได้เลยครับ

แต่ขอรบกวนไปอ่าน บันทึกเรื่อง จำกัด-กำจัดคอร์รับชั่น กันก่อนครับ

 หัวเรื่องที่ 1 คอร์รับชั่น กับ สติปัฎฐาน 4  เป็นอย่างไร?

หมายเลขบันทึก: 90692เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2007 01:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ยินดีเข้าร่วมขบวนการกู้ชาติด้วยคนครับ
  • เรามาชนกับปัญหานี้กันเถิด
  • work shop กันบนกระดานถามตอบเลยครับ วัยรุ่นใจร้อนอะคับ อิอิ
  • ไม่มีใครเฟี้ยวพอที่จะชนกับอำนาจมืดเลยหรือ ?  - - "

ทำไมผมจึงขึ้นหัวข้อเรื่องดังกล่าว "คอร์รับชั่นกับสติปัฎฐาน 4 " ถ้าใครได้อ่าน "จำกัด-กำจัด คอร์รับชั่น" ก็จะรู้คร่าว ๆ อะไรเป็นอะไร?

โดยความหมายที่กล่าวคือ ความชั่วที่เกิดขึ้นหรือเรียกว่ากิเลสของมนุษย์เปรียบเสมือนวงจรอุบาทว์คอร์รับชั่นเช่นเดียวกัน คือ ความชั่ว ความเลว ที่มักจะไหลลงสู่ที่ต่ำเช่นเดียวกัน

 ดังนั้นเมื่อเรามีหนทางในการแก้ไขกิเลสของตนเองได้  ทำไมเราจึงจะประยุกต์จาก สติปัฎฐาน 4  นี่คือหลักการที่ผมคิด  ใช่หรือไม่ ?  แนวทางเห็นที่ 1

 ประเด็นต่อไปคือ ถ้าคิดว่าแนวทางข้างต้นน่าจะถูกต้องเราต้องมาขยายความหมายของ สติปัฎฐาน 4 นั่นหมายความว่าอย่างไร  และอะไรคือแนวปฏิบัติหรือหลักการปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้น ( ให้คิดไปพร้อมกันน่ะครับ การหลุดพ้น จึงหมายถึง การหลุดจากวงจรคอร์รับชั่น ด้วยเช่นกัน )

คราวหน้า ผมขออนุญาติเปลี่ยนหรือแก้ไข หัวเรื่องเป็น "คอร์รับชั่น กับ สติปัฎฐาน 4 "

 

 

แนวทางการปฏิบัติหรือ Action Plan ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงคิดค้นมี 4 ประการ

1. พิจารณากายในกาย

2. พิจารณาเวทนาในเวทนา

3. พิจารณาจิตในจิต

4. พิจารณาธรรมในธรรม

แต่ถ้าจะกล่าวโดยองค์รวมจริงๆ พิจารณา กาย กับ ใจ เท่านั้น 

กาย ให้พิจารณา อายตนะภายในและภายนอกที่มาสัมผัสด้วยทำให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง  มีอะไรเกิดขึ้นในรอบของอารมณ์ปัจจุบัน ในกรอบของอายตนะ เหล่านั้น (อายตนะมีอะไรบ้าง? ผมให้การบ้านเอาไปคิดกันและมาเหล่าสู่กันบ้างน่ะครับ )  อารมณ์ของการปฏิบัติธรรมของจะเป็นอารมณ์เปิดครับ ไม่ใช่อารมณ์ปิด (กรณีระบบปิดคือไม่รับรู้อะไรที่มาสัมผัสอารมณ์ปัจจุบันแบบนี้เรียกว่าอารมณ์ของฌาณ) ทำนองเดียวกันการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์จะมีลักษณะการบริหารงานระบบเปิด  หมายความว่าอย่างไร? รับพิจารณาสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน นำสิ่งเกิดขึ้นปัจจุบันมาจัดทำแผนงาน    ให้เลือกน่ะครับจะปฏิบัติธรรมแบบฌาณ หรือแบบมีสติหรือแบบเปิด ....คิดกันเล่นๆ

ใจ ให้พิจารณา ความบริสุทธ์ของใจ เป็นอย่างไร? มีความโกรธ โมหะ โลภะ อย่างไรหรือไม่ (สิ่งนี้ต้องค่อยๆ พิจารณา เพราะมันแอบแฝงอยู่ในใจลึกมาก ถ้าไม่รอบคอบ ไม่แยบคายจริงๆ เราคงคิดว่าเราไม่มีอะไร?  บางคนอาจจะคิดว่าเราพ้นแล้ว ต้องระวัง! )

คำว่า กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมหมายถึงลักษณะอย่างไร?    วิสัชนา : หมายความว่า พิจารณาโดยละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป ไต่ระดับความละเอียดยิ่งๆขึ้นไป ดูในอารมณ์ปัจจุบัน เหมือนกับหลักการบริหารจัดการควบคุมคุณภาพ TQM ( ควบคุมทั้งภาพใหญ่และภาพเล็กเรียงลำดับลงมา หมายถึง Action Plan กี่ระดับ TQM จะต้องถูกนำไปใช้ทุกระดับ ทำนองเดียวกัน เหมือนๆกับ CDPA )

 เป้าหมายในการปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติสติปัฎฐาน 4 คืออะไร การหลุดพ้นจากกิเลส จะมีลักษณะอย่างไร ความว่าง การปล่อยวาง หลุดการพันธะใดๆ หลุดจากการยึคมั่นถือมั่น (ให้จำนิยามนี่ไว้ น่ะครับ เพราะจะเอานำเอาไปใช้กับ คอร์รับชั่น เมื่อสร้างระบบครบและระบบมันเดินไปตามปกติแล้ว เราจะรู้สึกอย่างไร? ต่อปัญหาคอร์รับชั่น )

 ลักษณะที่สร้างการระลึกรู้อยู่กับปัจจุบันหรือเรียกว่าสติ (สติจำแนกด้วยอะไรพระพุทธเจ้าบอกไว้แล้วน่ะครับ อย่าลืม!   คราวหน้าเราจะมาดูกันว่า แต่ละบทบาทในระบบการบริหารประเทศควรเป็นอย่างไร? )

ดังนั้นการสร้างสติหรือการมีสติพิจารณาจะต้องมีความละเอียด (ระลึกรู้ที่ละเอียด) ยิ่งๆ ขึ้นไปต่อเนื่อง จริงจัง 

ปุชฉา:ทำสติยิ่งๆขึ้นไปแล้วอย่างไร? ถูกหรือไม่ถูก

วิสัชนา : ก็ยังไม่ถูกต้องครับ?  สิ่งที่ขาดคือการทบทวนพื้นฐาน ทำไมต้องทบทวนพื้นฐาน  เรามาดูกันหลักการบริหารจัดการองค์การ  ปลายปีแต่ละปีเรามักจะนำเอาแผนงานหรือเป้าหมายแต่ละปีมาทบทวบกันหรือไม่ และสร้างแผนใหม่หรือเป้าหมายใหม่เป็นประจำกันใช่หรือไม่?  การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกันครับต้องทบทวน   หรือเรียกว่าการประเมินในวงจรของระบบ ( INPUT, PROCESS, OUTPUT, OUTCOME, ULTIMATE, OUTCOME, EFFECTIVENESS, EVALUATION, CORRECTION )

เรามากล่าวถึงลักษณะอย่างไรจึงจะเรียกว่าสติ หน้าที่ของสติคือการระลึกรู้  การเฝ้าดูรู้อยู่ภายในตัวระบบ มีหน้าที่เฝ้าดู อยู่เฉยๆ (ไม่มีบทบาท ไม่มีการแสดงละครร่วมใดๆ) กับกิเลสที่เกิดขึ้น

เรามีพุทธสุภาษิตที่เราใช้กัน คือ สติมาปัญญาเกิด จำได้กันหรือไม่?

 แล้วถ้าเทียบกับการบริหารบ้านเมืองคืออะไร?  อะไรเป็นสติ 

แล้วถ้าเทียบกับการบริหารองค์การล่ะ? อะไรเป็นสติ  การบริหารองค์การมีอยู่แล้วและนิยมใช้กัน แต่ยังใช่กันไม่ได้เต็มสูบเท่าไหร่?     KPI กับ BSC เป็นสติขององค์การ  องค์การไหนสามารถใช้ KPI กับ BSC ทุกระดับ (หมายถึงยิ่งมีความละเอียดการใช้ สติ ยิ่งพบปัญญามากขึ้น )

แล้วการบริหารจัดการบ้านเมืองมี KPI กับ BSC แล้วหรือยัง?  สงสัยมีแบบขอให้มี?  มีแบบสักแต่มี?  ไม่เห็นความสำคัญของ KPI  ไม่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์?  มีใช้แต่ระดับบนๆ?   จริงๆ แล้วต้องใช้ KPI ทุกระดับ ทุกกิจกรรม ทุกโครงการ

หากเทียบกับการปฏิบัติธรรม เราจะต้องมีสติ (KPI) ทุกอาริยบท ทุกอารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และการดับไป เกิดขึ้นเมื่อไร รู้  เปลี่ยนแปลงอย่างไร รู้ ดับไปเมื่อไร รู้ นี่คือสติ

BSC คืออะไร พูดง่ายๆ คือการประมวลผลนั่นเอง  เป็นส่วนหนึ่งของปัญญา แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

วันนี้เรารู้นิยามของสติมาพอสังเขปแล้วน่ะครับ

การบ้านผมขอใครช่วยหาข้อมูล ว่าอายตนะ ภายใน ภายนอก มีอะไรบ้าง ?  

คราวหน้าเรามาดูกันว่าถ้าจะให้พ้นจากกิเลส  บทบาทหรือหน้าที่ ที่ควรจะมีต้องมีคุณลักษณะอย่างไร  อันนี้ผมต้องไปค้นหาดู ( เพราะเราก็ยังเป็นมนุษย์เดินดินธรรมดาเหมือนกัน ) คุณลักษณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและก่อนกำจัดกิเลสต้องมีคุณลักษณะอย่างไร?

 

แวะมาเยี่ยมครับคุณ MR.BHUDIT EKATHAT

หลักสติปัฏฐาน 4 สามารถประยุกต์ใช้ได้ในงานทุกชนิดให้งานดี มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป แล้วก็ไม่โกงกินเงินทอง หรือแม้กระทั่งการคอรัปชั่นเวลาทำงานด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท