IBNUFUAD
อับดุรเราะฮ์มาน ฟูอัด อาลมูฮัมมัดอามีน

การพัฒนาปศุสัตว์พื้นเมือง


บทบาทของภาคประชาชน+เอกชน(ธุรกิจเพื่อสังคม) ในการพัฒนาวงการปศุสัตว์พื้นเมือง เป็นโอกาสเพื่อเข้าไปสู่มาตรฐานใหม่ของสังคม ที่อาจเป็นยุคต่อมาของการพัฒนาการเกษตรในประวัติศาสตร์การเกษตรของโลกก็เป็นได้

งานพัฒนาปศุสัตว์ส่วนใหญ่ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งภาคราชการและภาคเอกชน(ธุรกิจ)กำหนด โดยเป็นไปตามกลไกตลาดโลก

แต่ส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่มาจาก ภาคประชาชน ในห่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ เป็นการพัฒนาที่ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นจะทวนกระแส ทุนนิยม แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นการพยายามที่จะต่อรองกับตลาดทุนหลัก

ปศุสัตว์ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของพันธุ์สัตว์พื้นเมืองทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ควาย วัวพื้นเมือง ไก่พื้นเมือง ฯลฯ

ซึ่งแน่นอนว่าการพัฒนาปศุสัตว์พื้นเมืองเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีต้นทุนไม่สูงนัก เพราะเราไม่จำเป็นต้องไปลงทุนกับ เทคโนโลยีปฏิวัติเขียว(Packaging Technology)

แต่ที่สำคัญเราเองสัตวบาล นักสัตวศาสตร์ และสัตวแพทย์ทั้งหลายยังเรียน และปฏิบัติงานจากองค์ความรู้ที่มาจากเทคโนโลยีพ่วง(Package Technology)เหล่านี้

การพัฒนาในห่วงที่ผ่านมาจึงเป็นผลผลิตของการปฏิวัติเขียว การพัฒนาการเกษตร และหรือการพัฒนาวงการปศุสัตว์ที่ผ่านมายังมุ่งรับใช้นายทุน หากในยุคหลังๆเริ่มมีการเหลียวแลเกษตรกรมากยิ่งขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งภาคประชาชน(เกษตรกร)เก่ง ฉลาดขึ้น ลูกหลานประชาชนจบและเริ่มรับใช้ภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น

เริ่มมีบัณฑิตที่ทำงานในพื้นที่มากยิ่งขึ้น พยายามค้นคว้าจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมากขึ้น

ในขณะเดียวกันภาคราชการก็เริ่มเล็งเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะพัฒนาปศุสัตว์พื้นเมืองให้เข้ามา เพื่อจะเป็นโอกาสในการเข้าไปป้อนตลาดอินทรีย์ต่อในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 90621เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2007 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท