เวทีวิชาการหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน (ตอนที่ ๕)


ในการทำงานก็ใช้ประสบการณ์และความสัมพันธ์ส่วนตัวการทำงานในชุดโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน

รู้จักกับนักวิจัย 35 มหาวิทยาลัยและเป็นกรรมการเป็นที่ปรึกษาโครงการด้วย อันที่สองคือคุณภีมได้ทำงานวิจัยของ สกว.ในส่วนของการวิจัยส่วนท้องถิ่น ก็ทำให้รู้ว่างานวิจัยส่วนท้องถิ่นมีนักวิจัยเรื่องนี้ที่ไหนบ้าง สามคุณภีมทำงานกับนักพัฒนาก็รู้ว่าใครที่จับเรื่ององค์กรการเงินชุมชนอยู่ก็ใช้เป็นฐานในการเข้าไปทาบทาม ซึ่งเราได้พื้นที่ทั้งหมด 14 พื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ใน 14 พื้นที่ก็จะมีทุกภาคสุดท้ายเหลือไว้เพียง 6 พื้นที่ที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้ ในการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่เราจะให้แต่ละพื้นที่เล่าให้ฟังว่าดำเนินการมาอย่างไรบ้างแล้ว และตอบคำถามตามโครการที่ตั้ไว้ ซึ่งหน่วยจัดการความรู้ก็ได้กำหนดกรอบไว้แล้ว แต่ก็เป็นเพียงกรอบ แต่ละพื้นที่ก็จะมีหลักในการดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งหน่วยประสานงานก็จะมองว่าใน 5 พื้นที่ที่เราดำเนินการมามันครอบคลุมทุกหัวข้อที่เราตั้งไว้หรือเปล่าหากครอบคลุมแล้วเราก็ OK เพราะเราจะเอางานของ 5 พื้นที่นี้มาตอบโจทย์ที่เราเสนอกับ สกว.และ ศตจ.ในการเลือก 5 พื้นที่นี้คุณภีมก็เลือก         ยุทธศาสตร์ในการการตอบโจทย์นั้น
1.รูปแบบของกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาทเพราะเห็นว่าเป็นรูปแบบที่สำคัญที่จะพูดเรื่องของการทำสวัสดิการของภาคชุมชน ก็ไปเลือกที่สงขลา กับที่ลำปางซึ่งตอนนี้ก็มี 2 รูปแบบนี้ที่เป็นรูปแบบหลัก
2.เลือกรูปแบบหลักของกองทุนหมู่บ้านเพราะเป็นรูปแบบที่มีจำนวนตัวอย่างมหาศาล หากรูปแบบนี้ได้รับการปฏิบัติก็จะสามารถผลิตซ้ำได้

3.เลือกรูปแบบสัจจะสะสมทรัพย์เป็นรูปแบบลดรายจ่ายที่มีความน่าสนใจเนื่องจากประยุกต์เอารูปแบบที่มีแนวคิดมาจากพระสุบิณ ปณีโต

4.นอกจากนี้ก็ยังมีรูปแบบของเครดิตยูเนี่ยนซึ่งเป็นรูปแบบที่น่าสนใจมากแต่รูปแบบนี้เราไม่ได้เสนอเป็นโครงการแต่ก็ได้ประสานเชื่อมโยงกับคุณทรงพน เจตนวณิชย์ ซึ่งได้เชื่อมเรื่องนี้อยู่แล้วกับชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

     ถือว่าขบวนของเราครบถ้วน และยังมีอีกปีกหนึ่งก็คืเรื่องของสหกรณืซึ่ง อ.จุฑาทิพย์ จาก ม.เกษตรฯ

     จับเรื่องนี้อยู่ซึ่งครอบคลุมทั้ง 36 จังหวัดในเรื่องนี้และเราก็เชื่อมโยงกับอาจารย์อยู่แล้วเพราะฉะนั้นโดยภาพรวมของขบวนทั้งหมดเราก็จะติดตามดูว่าใครทำอะรั้ไหน เมื่อครบองคืประกอบแล้วหน่วยจัดการความรู้ ฯ ก็จะเน้นหนักในพื้นที่ที่รับผิดชอบ 5 พื้นที่ซึ่งเป็นแบบหลักอย่างที่กล่าวมาแล้ว พื้นที่อื่นก็ประสานความร่วมมือ

     นอกจากงานในพื้นที่ที่พูดถึง  5 พื้นที่เราก็ได้เชื่อมโยงกับเครือข่ายส่วนอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานมนระดับนโยบาย เช่น มสช. ก็ได้จับงานเชิงนโยบายในเรื่องของสวัสดิการสังคม หรือของ พอช. ก็ได้จับงานเรื่องขบวนองค์กรการเงินชุมชน ของ สศค.ก็กำลังทำแผนเรื่องการเงินอยู่ สคส. ก็ทำเรื่องการจัดการความรู้อยู่ ธกส.ก็รับนโยบายมาโดยตรงในเรื่องของการขับเคลื่อนสถาบันองค์กรการเงินชุมชน กศน.ก็ชัดเจน ม.ราชภัฏ ออมสิน ทั้งหมดนี้เราก็ทำงานร่วมกันทั้งหมด
     หน่วยได้ทำระบบฐานข้อมูลจากฐานเรียนรู้ 2 รูปแบบ คือ การให้ผู้เข้ามาร่วมได้เรียนรู้จากประสบการณ์จากกันและกัน 2 เราพยายมค้นหาความรู้จากผู้รู้มาเก็บสะสมไว้ ความรู้ที่เป็นเรื่องของงานวิจัย ที่เป็นฐานข้อมูลต่าง ๆ ความรู้ซึ่งเก็บรวมรวมไว้ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร และมีการทำเป็นหนังสือ ทำเว็บไซด์เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร  จดหมายข่าว และช่องทาล่าสุดคือเปิดบล็อกใช้ช่องทางของ สคส.เปิดบล็อคช่องทางที่เขียนเล่าเรื่องที่เรามทำและได้เรียนรู้จากผุ้อื่นที่เขามาเขียนเล่า เป็นต้นมีคนเปิดบล็อคเข้ามาของสัจจะวันละ 1 บาทก็มี ของสมุทรปราการก็มี ตราดก็มี ของนครศรีธรรมราชก็มี และก็รวมเป็นชุมชนขึ้นมา แต่บล็อคที่เรารวมกันนี้มีสมาชิกจากที่ต่าง ๆ เข้ามาร่วมด้วยเมื่อเรื่องราวของเราที่เขียนความคืบหน้ายังไม่เท่ากับผู้สมัครคนหนึ่งที่เข้ามาร่วมวงเรียนรู้กับเราด้วยซึ่งจะต่างชุมชนกับเราเข้ามาเขียนเรื่องราวของเขาเต็มไปหมดเลย คนชายขอบ ครอบคลองพื้นที่แลกเปลี่ยนของชุมชนหมด เนื้อหาจะออกมาอีกเรื่องหนึ่ง ชุมชนจะเกิดขึ้นมาเพื่อการแลกเปลี่ยนเมื่อสมาชิกในชุมชนไม่เข้ามาแลกเปลี่ยนชุมชนก็จะล้มเหลว กลายเป็นเรื่องราวของคนอื่นไป ฉะนั้นวัตถุประสงค์ในเรื่องนี้หน่วยประสานมีความประสงค์ให้สมาชิกในชุมชนขยันเขียนเล่าเรื่องราวกันเพื่อชุมชนนี้จะได้มีเรื่องราวของเราแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น จะด้มีความเป็นอัตลักษณ์ (บอกเล่าให้ฟัง)

     สุดท้ายเป็นสถานการณ์ที่เรารวบรวมงานที่ผ่านมาทั้งหมด คือ การตอบโจทย์วิจัย ตอบโจทย์ สกว.และ ศตจ.ใน 4 ประเด็นที่ว่าข้างต้น รูปแบบต่าง ๆ ควรจะเป็นอย่างไรจริง ๆ แล้วเราจะต้องได้งานจากพื้นที่ขึ้นมาแต่เนื่องจากงานเหลื่อมกันอยู่จึงใช้วิธีการศึกษาจากข้อมูล รายละเอียดก็จะรวบรวมจากพื้นที่อีกครั้งและคุยกันอย่างเข้มข้นว่าที่เราเห็นในภาพรวมเป็นอย่างนี้หรือเปล่า ฉะนั้นงานที่แต่ละพื้นที่เสนอมาก็จะเป็นจิ๊กซอที่สำคัญที่เราจะมารวม และหากเราจะพัฒนาทั้งขบวนมีส่วนไหนบ้างสำคัญอย่างไร

     ทั้งหมดก็เป็นภาพรวมเพื่อที่จะเสนอว่าในส่วนไหนบ้างที่เราจะพัฒนาต่อไป เราสำเร็จก็สำเร็จร่วมกัน หากล้มเหลวก็ล้มเหลวร่วมกัน

 

               
คำสำคัญ (Tags): #สรุปการประชุม
หมายเลขบันทึก: 9042เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท