เวทีแลกเปลี่ยนหลังนำเสนอรายงานความก้าวหน้า(ตอนที่ ๗)


แดจังกึม วิธีการก่อนจะทำอาหารคือเค้าหาความรู้ต่างกันไป ไปถาม หาที่คนอื่นก่อนจะลงมือทำ (น่าแปลกทำไมชาวบ้านจึงจำตัวละครในเรื่องนี้ได้ทุกตัวและเล่นได้เป็นฉากๆ) เพราะฉะนั้นอาจจะต้องให้ฝึกคิด วิเคราะห์ ผ่านหนัง ดูแล้วถามว่าแต่ละคนเห็นอะไรบ้าง ทุกคนจะมีความคิดแต่จะจัดสภาพแวดล้อมอย่างไรให้รู้สึกเพลิดเพลิน
หน่วยงานธนาคารกรุงไทยได้ให้ความเห็นว่า จากประสบการณ์ธนาคารชุมชนบ้านน้ำเค็มทำให้ได้รับความรู้มาก สิ่งที่เข้าไปสนับสนุนคือเรื่องของระบบการจัดการและอุปกรณ์ สำหรับธนาคารชุมชนที่จะเกิดขึ้นได้อยู่ที่ความต้องการและความพร้อมของชุมชน ทุกวันนี้ทำได้ผลระดับหนึ่ง มีการตั้งสวัสดิการและใช้สวัสดิการ
ความคิดเห็นของพี่ยุทธภัณฑ์ (กาญจนบุรี) บทเรียนที่ได้คือ เราเอาอะไรไปใส่ให้ชุมชนมากมาย จะทำอย่างไรที่จะให้ชาวบ้านเปลี่ยนคำพูดจาก “ขอก่อนละครออก” มาเป็น “พอแล้วไม่ต้องดูละครอยากคุยกับเพื่อน” พร้อมทั้งทำให้วามรู้สึกว่า “ยิ่งประชุมยิ่งจน” ให้หายไป
สาเหตุที่ทำให้วัฒนธรรมการเรียนรู้ไม่เกิดเนื่องจากไม่เข้าให้ถึงใจของการจัดการความรู้ และไปไม่ถึงเพราะไม่ถึงใจของคนในชุมชน เพราะอะไรๆก็ตามกระแส แม้ ๑๑ ชุดโครงการของราชภัฏก็ยังไปไม่ถึง ต้องทำใจให้ถูก อย่าทำแบบแยก ทั้งกรม กระทรวง ต้องปรับและเรียนรู้ สิ่งสำคัญ คือ การเรียนรู้ที่ต้องเปลี่ยนคนที่เป็นราชการ วัฒนธรรมการเรียนรู้ของชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญคือวัฒนธรรมการเรียนรู้ของข้าราชการที่รับเงินเดือน.......
เพิ่มเติมโดยคุณทรงพล ตอนนี้ชุมชนแตกแยกเป็นแผลไปหมดแล้ว การจะเอาเครื่องมืออีกอย่างเข้าไปทดลองใช้ในชุมชน คำตอบเมื่อเสร็จสิ้นแล้หรือเมื่อเข้ามาแล้ว ชุมชนได้อะไรบ้าง? อาจเป็นวิธีการคิดเปลี่ยน รับฟังความคิดเห็นชาวบ้านมากขึ้น เป็นการดึงกระบวนการเรียนรู้จากข้างล่างขึ้นมาข้างบน
สำหรับคนที่จะเป็นผู้ประสานโครงการต้องเป็นคนที่ lobby เก่ง ใช้วิธีการหลายแบบ แล้วหาคำตอบด้วยว่า ในเมื่อชุมชนถูกเตะมากแล้ว เตะหนักๆซักทีจะได้ไหม เหมือนให้มีความรู้สึกว่า “แม้น้องบิวไม่ได้เหรียญทอง แต่ได้ใจของคนทั้งประเทศ”
อาจารย์สีลาภรณ์ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า จะต้องจำแนกหน้าที่และบทบาท(ของตัวแสดง)ให้ชัดเจน ทั้งคุณกิจ คุณอำนวย คุณวิจัย และคุณลิขิต จะเดินประเด็นอย่างไรดีเพื่อให้ชาวบ้านยอมรับวิธีการ สำหรับหลักคิดและแนวคิดของการจัดการความรู้
คุณกิจ ชาวบ้านนั้นต้องการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาเป็นเจ้าของหัวปลา ต้องมองให้ดีๆว่าเป็นใครบ้าง
คุณอำนวยไม่ค่อยมีเรื่องราว ต้องตั้งกติกาการเล่าเรื่อง มีหัวมีหางของตัวเอง ตั้งกติกาการคุย เมื่อมีปัญหา แล้ว คิดอย่างไร ตั้งเป้าไว้แล้วผลเป็นอย่างไร พร้อมทั้งต้อง scan คนเก่ง เด่น และตั้งคำถามได้ สิ่งสำคัญคือ การวิเคราะห์วัฒนธรรมการเรียนรู้ของคุณกิจ ปัญหาคาใจ ติดขัดของคุณกิจ และวิธีการทำให้ถึงเป้าหมายร่วมกัน
คุณลิขิต เน้นเรื่องของการจับประเด็น การสรุป และการขึ้นกระดาน(เนื้อเรื่องต่างๆจะอยู่บนกระดาน)ซึ่งจะทำให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของสิ่งที่อยู่บนกระดาน (อยู่ในแผนที่ความคิดทุกคนและยกระดับการเรียนรู้อีก step ของการจัดการความรู้)
มีผลการแลกเปลี่ยน เกิดการเรียนรู้ มีการดูงานแล้วจบไปไม่ยกระดับขึ้นอีก แม้มีบทเรียนหรือข้อคิดใหม่ร่วมกัน ถ้ายกระดับขึ้นไม่ได้ก็ไม่ไปไหน
คนที่เป็น PO มืออาชีพ (เจ้าหน้าที่บริหารจัดการโครงการวิจัย) ต้องเพิ่มจุดแข็งในส่วนที่เราอ่อนจากเพื่อนๆ ต้องวิเคราะห์ขึ้นกระดานแบบในพื้นที่
คุณวิจัย ต้องถอดบทเรียนเกี่ยวกับบทบาทของ key player การถ่ายบทบาทอาจจะเครียด ต้องถอดบทเรียนจึงจะรู้ function การเกิดการเรียนรู้ขอคุณกิจสำคัญที่สุด (เน้นที่เป้าหมาย ที่มา ที่ไป สาเหตุและทางเลือก)
สิ่งที่จะถอดออกมาคือ ผลที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของคุณกิจ ผลที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของคุณอำนวย และผลที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของคุณลิขิต
นักวิจัยทำหน้าที่ document เรื่องเล่า ถ้าถอดเทปไม่ได้ก็ให้เล่าเป็นแบบสรุป และมีข้อเสนอบางคนว่าอย่างนี้แต่บางคนว่าอย่างนั้น ต้องเก็บความแล้วถอดเทป ต้องรู้ว่าเครื่องมืออะไรดี และต้องจำแนกคำถาม
คุณหนุน หรือ คุณเอื้อ ต้องเสริมทักษะตั้งแต่ล่างขึ้นมา ดูว่าตรงไหนขาดอะไร เพราะคุณอำนวยบทบาทเยอะแล้ว ต้องมีทักษะการวิเคราะห์วัฒนธรรมการเรียนรู้ของคุณกิจ Scan ความโดดเด่น
โดยสรุปคือให้แต่ละทีมดูว่าแต่ละขณะกำลังเล่นบทอะไรอยู่ ทีมแต่ละทีมมีองค์ประกอบไม่เหมือนกัน ความแข็งอ่อนไม่เท่ากัน ไม่ต้องมี ๑ คนต่อ ๑ บทบาท แต่เมื่อเปลี่ยนเวลาก็ต้องเปลี่ยนบทบาทตามไปด้วย
ข้อคิดเห็นของพี่พัชรี จากกะหรอ พูดถึงงานวิจัยที่ได้ดำเนินการแบ่งเป็น ๒ ระดับคือชุมชน กับ นักวิชาการ โดยทีมนักวิจัยชุมชนแม้จะไม่ได้ใช้การจัดการความรู้ทุกครั้งแต่มีการจัดแฟ้ม บันทึกข้อมูล และแยกภาพจัดลำดับตามเป้าหมาย สำหรับทีมนักวิชาการมีหน้าที่ดูว่าชุมชนได้ใช้การจัดการความรู้ตอนไหน ใช้อย่างไร และสำเร็จหรือไม่ การตั้งสมมติฐาน การใช้งบประมาณทำกิจกรรมใดบ้าง ถอดความรู้ให้อีกชุมชนหนึ่งถ้าต้องการถอดความรู้เรื่องนี้จะต้องทำอย่างไร
และก็มีคำถามต่อว่า การจัดทีมง่ายเกินไปใช่หรือไม่ ในอดีตที่ผ่านมาการสัมภาษณ์จะใช้ผู้ใหญ่บ้าน แต่เมื่อมีแกนนำรุ่นใหม่ ที่มี อบต. นักการเมืองท้องถิ่น ก็ต้องมีกลวิธีจัดการกับแกนนำ บางครั้งต้องใช้สื่อคนเป็นตัวสื่อ สิ่งสำคัญคือมองคนเป็นเป้าหมายหลัก สำหรับคำถามว่าทำไมกะหรอจึงเลือกทำกองทุนสวัสดิการก่อน เพราะเดิมมีการจัดสวัสดิการชุมชนมาก่อนหน้านี้ ได้กำไรจากกองทุน ๑ ล้านบาท ซึ่งการจัดสรรไม่ครบทุกเรื่อง ไม่หลากหลาย ไม่เพียงพอ คนทำงานได้สวัสดิการไม่ครบ
เป้าหมายสูงสุดที่ต้องการคือ ชุมชนเข้มแข็ง เกิดความยั่งยืน พัฒนาองค์กรชุมชนว่าทำอย่างไรจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ได้ลึกระดับไหน ระบบฐานต้องเข้มแข็งโดยใช้หน่วยงานสนับสนุน
อาจารย์สุกัญญา จากสงขลา ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ว่า การใช้การจัดการความรู้ในการจัดการพัฒนาองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับหัวปลาต้องคิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้หัวปลาต้องดูทั้งปริมาณและคุณภาพ และต้องมีกระบวนการดำเนินการที่จะไปถึงหัวปลาให้ได้ คือ ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพูดแต่ก็ต้องมี social control คลังความรู้(ตัวปลา)ทำได้ จะพัฒนาไปสู่หางปลาเกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ทั้งชาวบ้านและนักวิชาการ
คุณลิขิต คุณอำนวย และคุณวิจัย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แต่เมื่อไม่เตรียมไว้ ทักษะก็ไม่เกิด เพราะวัฒนธรรมการเรียนรู้เป็น tacit knowledge ของแต่ละคน ดังนั้นต้องหาความพอดี
โดยปกติพฤติกรรมการออม มากกว่า ๑ บาทอยู่แล้ว ต้องฝึกให้ทุกคนในชุมชนมีความพอดี อยากให้เกิดนักวิชาการแบบชาวบ้าน การเรียนรู้จากการปฏิบัติ กับ การฟัง ไม่เหมือนกัน ต้องมีทักษะการพูด นำเสนอ อ่าน ฟัง พร้อมทั้งการเยน mind map
สุดท้ายอาจารย์ทรงพลได้ปิดประเด็นได้อย่างน่าฟัง แต่ละคนมีจุดเด่น จุดอ่อนต่างกัน วัฒนธรรมการเรียนรู้ต่างกัน แต่หากจะทำงานเป็น team work ได้ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน ต้องมีธงเล็กๆไปสู่ธงใหญ่เดียวกัน เป็นนักวิชาการต้องใช้หัวคิดก่อน ถ้าเป็นชาวบ้านใช้ใจกับมือ พอทำงานร่วมกัน การใช้ภาษามีปัญหา เนื่องจากนักวิชาการใช้นามธรรมแต่ชาวบ้านใช้ปรากฏการณ์ที่เห็น ชาวบ้านถอยแต่ต้องจับหลักให้ได้ เมื่อดูงานแล้วนำมาทำเป็นรูปแบบจับหลักไม่ได้แต่นักวิชาการหลักเยอะแต่ไม่มีรูปแบบ ต้องทำให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติการ เจอกันครั้งแรกก็มันส์ แต่เจอกันบ่อยๆเข้าชักจน ดังนั้นต้องออกแบบการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องให้ชาวบ้าน (รู้พิมพ์เขียว) ต้องรู้เขา รู้เรา การเรียนรู้ให้เป็นแบบ เล่นและเรียนได้ ถ้าทำแบบนี้ผู้ใหญ่ก็เรียนได้ เด็กก็เรียนได้ แต่โดยปกติแล้วนักวิชาการจะเครียดไม่มีอารมณ์ขัน จะเล่นและเรียนได้ต้องมีลูกเล่น (เครื่องมือ)เยอะ ให้ชาวบ้านใช้เครื่องมือที่เค้ามีอยู่เช่นการร้องรำทำเพลง
ถ้าจะทำการจัดการต้องทำเป้าหมายให้ชัดมากๆ ต้องหมั่นคุยและคิดเรื่องหลักการเยอะ ถ้าเป็นแบบตั้งใจฟังและจดกระบวนการคิดจะน้อย ต้องให้พูด แล้วเขียนเอง ต้องสร้างความมั่นใจให้เค้า แต่จะทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีความรู้ (ประสบการณ์) เป็นสำคัญ กระตุ้นให้ออกมาให้ได้ ให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นนับเป็นสิ่งสำคัญมากๆ หากเรา(นักวิชาการ)ใช้ความรู้ของเราเป็นมาตรฐาน จะกดทับความรู้จากการปฏิบัติของเค้า
นักจัดการความรู้ท้องถิ่น(คุณอำนวย) ให้ดูแดจังกึม วิธีการก่อนจะทำอาหารคือเค้าหาความรู้ต่างกันไป ไปถาม หาที่คนอื่นก่อนจะลงมือทำ (น่าแปลกทำไมชาวบ้านจึงจำตัวละครในเรื่องนี้ได้ทุกตัวและเล่นได้เป็นฉากๆ) เพราะฉะนั้นอาจจะต้องให้ฝึกคิด วิเคราะห์ ผ่านหนัง ดูแล้วถามว่าแต่ละคนเห็นอะไรบ้าง ทุกคนจะมีความคิดแต่จะจัดสภาพแวดล้อมอย่างไรให้รู้สึกเพลิดเพลิน
การออกแบบการเรียนรู้ ตารางอิสรภาพเป็นแค่ตัวหนึ่ง ถ้าเรียนสนุกแล้วจะออกมาเอง ดังนั้นเวทีการพูดคุยอย่าจำเพาะเพียงเรื่องเดียว สถาบัน(พื้นที่ต้องจินตนาการร่วมกัน เขียนภาพอนาคตร่วมกัน แต่เปลี่ยนได้) การทะเลาะกันปกติเป็นปัญหาทางโครงสร้าง  นึกต่อไปมีการคิดว่าต้องเตรียมคนเพื่อขึ้นมาเป็นผู้นำ เรียนรู้ทุกเรื่องที่ชุมชนต้องการ เรากำลังเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้เราปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมตัวเอง (พัฒนาตัวเอง)
วิธีการดึงความรู้ ถอดความรู้ของชาวบ้านอย่างไร(ง่ายๆ) ขึ้นอยู่กับวิธีการตั้งคำถาม เช่น ความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ ต้องระบุชัดลงไป เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องซักให้ละเอียด เค้าคิดเชื่อมโยงมากขึ้น เพราะคนปฏิบัติมักจะเสวยสุขอยู่กับผล แต่คนภายนอกมักมองและสนใจว่าสำเร็จได้อย่างไร ช่วยเล่าหน่อย เค้าต้องเป็นประโยชน์ ทำให้เค้าเกิดความคิดฉุกขึ้นมา (ใช้ AAR : after action review)
ตัวคุณลิขิตต้องเป็นนักจับประเด็นและตั้งคำถามเป็น ถามธง ขั้นตอนการเดิน ความรู้ที่ต้องการ เก็บข้อมูลยากไหม เก็บอย่างไร จากนั้นถอดประเด็นประสบการณ์ชาวบ้านออกมา เก็บข้อมูลเขียนใน flip chart แล้วอธิบาย ที่สำคัญสุดคือชวนชาวบ้านคิดให้เยอะ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งที่แท้จริง  คนคุยต้องมีประเด็นชัด ในการเดินคำถามต้องมีผังการตั้งประเด็นคำถามโดยฝึกแตกคำ ต้องฝึกการเดินคำถาม ต้องถามเพื่อตรวจสอบข้อมูลโดยดักหน้าดักหลัง และถามคนที่อยู่ข้างคียง
หมายเลขบันทึก: 9024เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 07:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท