โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
โรงพยาบาล สำนักงานจัดการความรู้ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย


การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายความคิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

สิ่งที่เราได้คุยกันถึงสิ่งที่เราได้จากการแลกเปลี่ยนในเวทีของเรา และการขยายผล ว่าเรามีช่องทางที่จะทำกันได้อย่างไร จากการคุยกัน 3 ครั้งพอจะเห็นแนวทางดำเนินการเพื่อสานต่อสิ่งที่เราสรุปกันออกมาดังนี้

-          ควรเชิญคนที่เคยทำแล้วสำเร็จมาเล่าให้เราฟัง  ไม่ต้องสรุปออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติ   ผู้ฟังจะเก็บเกี่ยวแนวคิดเอาไปหาวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมเอง 

-          ทีมของเรามีผู้ทำงานในหน่วยงานที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตมาก  เลือกเดือนละ ๒-๓ รายมาแลกเปลี่ยนมุมมองให้ละเอียดว่า  ได้ทำอะไร  ผลเป็นอย่างไร ซึ่งคงจะแตกต่างกันในแต่ละราย

-          เราตั้งเครือข่ายใน Intranet   ให้ส่งเรื่องเดือนละราย แล้วให้คนเข้าไปแสดงความคิดเห็น  

-          เรียบเรียงเขียนกรณีศึกษาออกมาแล้วแจกจ่ายกันออกไป  ทำคล้ายกับหนังสือบทเรียนจากผู้ที่จากไป  ซึ่งมีการเขียนความรู้เอาไว้บ้าง แล้วมีกรณีศึกษา ให้ผู้อ่านได้อ่านแล้วซึมซาบเอาไป หรือนำมาอ่านออกเสียงตามสาย (สมาชิกยังไม่แน่ใจ)

-          น่าจะหาบทสวดมนต์ที่ไม่ยาวจนเกินไปเก็บไว้ในซีดี และมี Sound about เพื่อเปิดให้ผู้ป่วยฟังเฉาะบุคคล  เพราะหากเปิดดัง คนข้างเตียงอาจจะกลัว  มีการคุยกันครั้งหนึ่งบอกว่าผู้ป่วยเด็กที่ใกล้จะถึงแก่กรรมพอได้ยินพระสวดแล้วกลัวมาก

-          ลองเลือกคำถามคำตอบและปัญหาที่พบมาเก็บไว้เป็นคลังเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปศึกษาได้

-          การที่เราจะเอาคนมาคุยกัน จะต้องให้หัวหน้าเขารับทราบและยินยอมด้วย

-          การจะเผยแพร่สิ่งที่เราได้ตกผลึกความคิดเพื่อนำไปใช้ต่อ  ที่กลุ่มงานกุมารเวชกรรมตกลงว่า เมื่อชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดผลึกความคิด ก็จะกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ และนำเสนอให้คณะกรรมการบริหารกลุ่มงานพิจารณาเพื่อสั่งการปฏิบัติต่อไป   เพื่อให้การแลกเปลี่ยนของเราสิ้นสุดลงโดยไม่เกิดผลที่แท้จริงต่อการดูแลผู้ป่วย

-          จะต้องมีชั่วโมงปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

-          ควรเผยแพร่ต่อองค์กรแพทย์ องค์กรพยาบาล เพื่อสื่อไปยังแพทย์พยาบาลทุกคน

-          อาจจะมีทีมทำงานที่สามารถ deep approach เข้าไปได้  หากทำทีม ทีมควรมีหน้าที่ช่วย แต่เจ้าของงานเป็นคน approach จริงๆ

 ขอบเขตที่เราตกลงกัน

๑.       ผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมเฉียบพลัน เช่นอุบัติเหตุ ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่อไปนี้  ห้องฉุกเฉิน, หอผู้ป่วยศัลยกรรม, ศัลยกรรมประสาท   รวมทั้ง กลุ่มผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย

๒.      ผู้ป่วยเป็นโรค และกำลังจะตาย

๓.      ผู้ป่วยที่เป็นโรคระยะสุดท้ายที่ยังมีเวลา

๔.      การดูแลเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว เช่นการให้ข้อมูล การเคลื่อนย้ายศพ

๕.      ควรแยกกรณ๊ที่ผู้ป่วยมีญาตอและไม่มีญาติ เพราะการจัดการจะต่างกัน

 แนวคิดของทีมในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ประเด็นเกี่ยวกับการตาย                การตายเป็นการสรุปชีวิตที่ผ่านมาทั้งหมด   จึงควรจะทำให้จบอย่างสวยงาม   การดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายจะไม่มีรูปแบบตายตัว แต่จะดูแลเป็นรายบุคคล    การทำให้คนไข้และญาติยอมรับจะทำให้มีการวางแผนชีวิตและตายอย่างสงบ        ในชีวิตของผู้บริบาลสุขภาพน่าจะได้ทำกับคนไข้สักราย แล้วมาถ่ายทอดสื่อสารกัน  เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อการตายได้อย่างเหมาะสม    ประเด็นการไม่สมัครอยู่ในการทำงานจะมีผู้ป่วยระยะสุดท้ายจำนวนหนึ่ง   ซึ่งญาติแสดงความจำนงไม่สมัครอยู่โรงพยาบาล  แต่ต้องการที่จะนำผู้ป่วยไปเสียชีวิตที่บ้าน   ซึ่งเราจะต้องสอบถาม ให้ข้อมูล และคำแนะนำที่สมควร  ให้ความช่วยเหลือและมีสัมพันธภาพที่ดี     ประเด็นการตายดีหรือการตายอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

                        การตายที่ดีจากการสรุปของพวกเราหมายถึง การตายแบบไม่มีความเจ็บปวด (Pain free)  ผู้ตายได้วางแผนการดำเนินชีวิตได้ก่อนตาย  ได้ทำสิ่งที่ต้องการทำ  ได้ฝากฝังสิ่งที่ไม่อาจทำเองได้ ให้แก่ผู้ที่สามารถช่วยจัดการได้   รับรู้ต่อความตายที่จะมาถึงโดยมีกำลังใจดี    มีการจัดการให้มีการตายอย่างสงบ ได้รับความเคารพ และได้รับการจัดการกับร่างกายเมื่อตายแล้วเป็นอย่างดี

 ประเด็นความเชื่อของผู้ป่วยและญาติ

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ควรได้รับรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละศาสนา เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ตายและญาติ   

ควรค้นหาความเชื่อถือของผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการตายและตอบสนองอย่างเหมาะสม  โดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้ป่วยเตียงอื่นๆด้วย  อาจต้องมีการจัดสถานที่ เช่นการมีห้องแยก การกั้นม่านหรือจัดเตียงให้เหมาะสม

 ประเด็นกรณีที่ความต้องการของญาติไม่ตรงกัน

                จะต้องพิจารณาว่าใครคือผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด  หรือเป็นญาติสายตรงที่สุด  ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับการตอบสนองมาก     แต่โดยทั่วไปควรให้ญาติตกลงกันเอง  ดยเราเป็นผู้กำหนดเงื่อนเวลาให้  ว่าจะต้องให้คำตอบได้ในเวลาใด  โดยเราจะเป็นผู้ให้ข้อมูลต่างๆ ตามความเป็นจริงมากที่สุด

 ประเด็นสัมพันธภาพระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วยและญาติ

เจ้าหน้าที่ควรมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ    ให้ข้อมูลเพื่อให้ญาติร่วมรับรู้และร่วมตัดสินใจในการดูแลรักษา     การให้ความสนใจในรายละเอียดที่เกี่ยวกับตัวผู้ป่วยประดุจญาติมิตรเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อลดความวิตกกังวลให้กับผู้ป่วย      กรณีผู้ป่วยทราบว่าตัวเองเป็นโรคระยะสุดท้ายผู้ป่วยที่มีกำลังใจดีมักจะขอให้มีการตระเตรียมสิ่งที่คงค้างหรือทำสิ่งที่ตัวเองชอบก่อนตาย    การคุยกันกับญาติแล้วความเห็นของเขาไม่ตรงกับเรา ไม่ใช่ใครผิด     แต่การที่เราแจ้งให้เขารับรู้เพื่อให้เกิดการคิดได้เอง และร่วมการการตัดสินใจ

ในการแจ้งข่าวร้ายหรือสิ่งไม่ดีให้ทราบ จะต้องคำนึงว่าการรับรู้ การยอมรับ และการทำใจได้ของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน   ต้องมีการกริ่นนำและบทสนทนาที่เหมาะสม    ในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรังก็ควรแจ้งการดำเนินโรคให้ทราบเป็นระยะ    ที่สำคัญผู้แจ้งหรือผู้รักษาต้องไปมีอารมณ์ร่วมด้วยจนเกินไป  ต้องวางอุเบกขา    ในกรณีที่เป็นการตายกระทันหัน อาจจะต้องเตรียมการสำหรับอาการซึมเศร้าของญาติ

ในบางรายอาจจะต้องมีการช่วยฟื้นคืนชีพทั้งที่ทราบว่าไม่มีหวังจะรอด  แต่ทำเพื่อช่วยญาติ หรือเพื่อรอญาติบางคนให้มาถึงเสียก่อน

 ประเด็นการเคลื่อนย้ายศพ  ประเด็นการแจ้งข่าวร้าย

                การแจ้งข่าวการจะถึงแก่กรรมของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่จะต้องทำ  เพื่อให้มีการเตรียมใจ และเตรียมตัวรับการตายที่เกิดขึ้น   การจะแจ้งข่าวการจะถึงแก่กรรมจะต้องดำเนินการอย่างเหมาะสมระมัดระวัง  มีการประเมินสภาพจิตใจ ความพร้อมและระดับการยอมรับของผู้ป่วยและญาติ  รวมทั้งเตรียมการช่วยเหลือต่อปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น   ในกรณีที่จะแจ้งการตายให้ผู้ป่วยทราบโดยตรง จะต้องวิเคราะห์ความพร้อมของผู้ป่วย หากผู้ป่วยสามารถทำใจยอมรับการจะถึงแก่กรรมได้ ก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะเตรียมตัว จัดการสิ่งที่ยังเป็นภาระตกค้างหรือทำสิ่งที่ต้องการจะทำเสียก่อน  เพื่อการจากไปอย่างหมดห่วง  มีตัวอย่างผู้ป่วยหลายรายที่เมื่อรับทราบว่าจะถึงแก่กรรม ก็จัดการทุกสิ่งแม้กระทั่งเตรียมงานศพของตนเอง  และจากไปอย่างสงบ

            โดยทั่วไปญาติจะต้องการข้อมูลที่เป็นจริง และได้ข้อมูลที่มากและแจ่มแจ้งพอที่เขาจะบอกต่อญาติคนอื่นๆได้ด้วย     ผู้ให้ข้อมูลจะต้องทราบความเกี่ยวข้องของผู้รับข้อมูลกับผู้ป่วย  เลือกบอกกับบุคคลที่มีความสำคัญหรือมีส่วนได้เสียมากที่สุดกับผู้ป่วย เช่นผู้ที่เป็นญาติสายตรง หรือผู้ที่อยู่กับผู้ป่วยมากที่สุด  แต่หากสภาพบุคคลที่ใกล้ชิดเหล่านี้ไม่สามารถจะรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องเข้าใจ ก็จะต้องแจ้งแก่ญาติผู้อื่นด้วย     นอกจากนั้นต้องคำนึงด้วยว่าผู้ป่วยบางคนจะมีญาติจำนวนมาก  จึงต้องใจเย็นพอที่จะให้ข้อมูลได้หลายๆครั้ง    หากเป็นไปได้ควรให้เซ็นชื่อรับทราบเป็นทางการไว้ก็จะเป็นการดี   ญาติบางคนจะไม่ต้องการให้เจ้าหน้าที่แจ้งความจริงแก่ผู้ป่วยเพราะอาจกลัวว่าจะเสียกำลังใจและอาการจะทรุดลง  แต่หากสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้ป่วยสามารถรับความจริงได้ ก็ยังน่าที่จะแจ้งให้ทราบ ทั้งนี้ต้องคุยกับญาติก่อนแจ้งให้ทราบถึงข้อดีที่ผู้ป่วยจะได้เตรียมตัว เพื่อให้จากไปอย่างหมดห่วง

            ผู้ที่ควรจะป็นผู้แจ้งข่าวการจะถึงแก่กรรม  เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนแก่นิสิตแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับการแจ้งข่าวร้ายที่ดีพอที่จะให้สามารถปฏิบัติได้เป็นอย่างดีตั้งแต่ต้น    จึงควรเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์  เป็นผู้ที่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ฟัง    ควรเป็นผู้ที่มีอาวุโส หากเป็นแพทย์ก็จะเป็นการดี เพราะเทคนิคการพูด คำพูดที่ใช้ การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้พูด ได้ซักถามเป็นสิ่งสำคัญ       ควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการแจ้งข่าวการจะถึงแก่กรรม  ให้เป็นที่สงบและสามารถให้ญาติแสดงความรู้สึกออกมาได้   และตัวผู้แจ้งข่าวเองต้องมีข้อมูลต่างๆครบถ้วนทั้งเกี่ยวกับโรค การรักษาและผล การพยากรณ์โรค  พอที่จะตอบคำถามใดๆจากญาติได้  ควรมีท่าทีที่เห็นอกเห็นใจ สงบ  และต้องควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ให้มีอารมณ์เศร้าเสียใจร่วมไปกับญาติมากจนเกินไป   อาจใช้การเปรียบเทียบกับผู้ป่วยรายอื่นที่อยู่ในสภาพที่คล้ายคลึงกัน      โดยทั่วไปพยาบาลจะใกล้ชิดกับผู้ป่วยและญาติมากกว่าแพทย์แต่ญาติจะเชื่อสิ่งที่แพทย์พูดมากกว่า จึงต้องระมัดระวังการให้ข้อมูลอย่าให้ขัดกัน  ควรให้ข้อมูลเป็นระยะๆ เพื่อให้ญาติเกิดการยอมรับตามลำดับเวลา  ควรแจ้งถึงสิ่งที่แพทย์และพยาบาลได้ทำไปต่อผู้ป่วยและผลการกระทำ  เจ้าหน้าที่ผู้อ่อนอาวุโสควรได้ติดตามเพื่อเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์เสียก่อน  เจ้าหน้าที่ใหม่ทั้งแพทย์และพยาบาลควรได้รับการปฐมนิเทศก่อนการปฏิบัติงาน    สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องระวังไม่แจ้งผิดคน

                ต้องระมัดระวังในรายที่เคยได้รับข้อมูลความรุนแรงของโรคน้อยกว่าความเป็นจริง   จะเกิดกรณีที่หมอบอกว่าไม่เป็นมากแต่ทำไมตาย   หรือเคยได้รับข่าวข้อมูลมาจากสถานพยาบาลอื่น ที่ไม่ตรงกับข้อมูลปัจจุบันก็จะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือสงสัยเกิดขึ้น        ต้องระวังการพูดโดยไม่ระวังเช่นเห็นภาพเอกซ์เรย์แล้วบอกเลยว่าจะอยู่ได้อีกเดือนเดียว

                การแจ้งข่าวการจะถึงแก่กรรม ในกรณีที่ผู้ป่วยกำลังจะถึงแก่กรรมในเวลาอันใกล้  จะต้องพยายามให้ข้อมูลเป็นระยะ  ทั้งการให้โดยตรงและการตอบโทรศัพท์ โดยต้องระบุผู้พูดให้ได้ก่อน และต้องให้ข้อมูลที่ถูกตัวคนไข้ และเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง   ระวังการคุยกับคนทางโทรศัพท์ผิดตัวผู้ป่วย

                ภายหลังจากการแจ้งข่าวการจะถึงแก่กรรม  จะต้องคอยสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น  หากเกิดอาการซึมเศร้า ก็ช่วยแก้ไข   ควรได้พูดคุยซ้ำอีกเพื่อแสดงความเห็นใจ ให้ความมั่นใจว่าเราได้ดูแลเต็มที่ ให้ผู้ที่จะจากไปมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด เช่นไม่เจ็บปวดทรมาน   สอบถามว่ามีสิ่งใดที่ต้องการความช่วยเหลือ   มีสิ่งใดที่เป็นห่วง    ต้องเตรียมแจ้งวิธีปฏิบัติต่างๆให้ทราบ เช่นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายศพ กรณีที่จะต้องมีการแจ้งความ การทำมรณบัตร การฉีดยาศพ เป็นต้น   แต่ทั้งนี้ต้องดูความเหมาะสม หากใจยังไม่ยอมรับก็อย่าเพิ่งกล่าวถึงกิจกรรมหลังตาย

                กรณีที่เป็นการตายที่ห้องฉุกเฉิน  โดยญาติอาจจะมาไม่ทันหรือมาทันแต่ไม่อาจช่วยชีวิตได้แล้วและไม่สามารถยืดเวลาตายเพื่อให้ญาติทำใจ  ควรอธิบายว่าขณะที่มามีอาการหนักมากแล้ว  ไม่ควรบอกรายละเอียดที่อาจจะแสดงว่าเป็นการตายอย่างทรมาน กรณีนี้เป็นกรณีที่ยาก  ที่ควรจะได้เตรียมฝึกเจ้าหน้าที่ไว้ด้วย

            กรณีที่ประเมินว่าเป็นการตายแบบเฉียบพลัน ในบางโรค เช่นไข้สมองอักเสบ การบาดเจ็บที่สมอง กรณีนี้ก็จะมีเวลาน้อย  ต้องอธิบายให้เห็นสภาพคนไข้  อธิบายให้ญาติได้ทราบถึงพยาธิสรีรวิทยาของโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย  เพื่อให้ตระหนักและยอมรับในความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น  เช่นก้อนเลือดที่ออกในสมองก็จะกดเนื้อสมอง   การที่ม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง แสดงว่าก้านสมองไม่ทำงานและก้านสมองก็เป็นส่วนที่ควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ   บางกรณีเป็นกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้  หากมีผลการชันสูตรหรือภาพเอกซ์เรย์ก็จะช่วยให้รับทราบและยอมรับได้ดีขึ้น  อธิบายว่าหากคนไข้ดีขึ้น น่าจะมีการตอบสนองให้เห็นบ้าง แต่นี่ไม่มีเลย  

                กรณีที่เป็นคนไข้เรื้อรัง  ควรให้ข้อมูลเป็นลำดับ ประเมินความพร้อมของผู้ป่วย ใช้การพูดคุยหลายครั้งเพื่อให้สงบ ยอมรับ ปรับตัว เตรียมการเพื่อการตายอย่าหมดห่วง  หากมีหมอดู พระ บอกว่าถึงที่  หรือญาติบอกว่ามันหมดเวรหมดกรรม จะไม่ค่อยมีปัญหา

 กรณีตัวอย่างของผู้ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีคนที่เป็นมะเร็งที่จะต้องตาย เมื่ออธิบายแล้วรับได้ พยายามทำงาน กลับบ้านไปอยู่กับลูกหลาน ไปที่ทำงานบ้าง  เตรียมพินัยกรรม เตรียมลูกและเมีย     เป็นรายที่รับได้    คุณศิริพร

คนไข้เป็นคุณลุงใกล้ตาย  ลูกหลานอยากเอากลับบ้านแต่ภรรยา นั่งน้ำตาคลออยากให้อยู่โรงพยาบาลใกล้ รพ และอบอุ่นใจ   ซักแล้วมีสมบัติมาก  เมื่อไปบ้านใครจะดูแลทั้งการฉีดยา ปัสสาวะไม่ออก  ใครคือคนที่ควรมีอำนาจตัดสินใจ    ในที่สุดก็ตามใจเมีย เพราะไม่รู้ว่าลูกรักพ่อมากหรือเมียรักมากกว่า

กรณีที่ยังไม่ตายเร็ว หากไปอยู่บ้านจะมีสังคมที่ดีกว่า เมื่ออาการมากกินไม่ได้จึงไปให้น้ำเกลือ    กระตุ้นให้กลับไปดูแลใกล้บ้าน  ยินดี support Oxygen ไปที่บ้าน คุณปัญญาการตายแบบอุบัติเหตุ ไม่ได้เตรียมใจมาก่อน  ควรบอกว่าไม่ใช่เวลาพูดความผิดพลาด  ให้พูดถึงสิ่งดีของเขา  พูดถึงว่าจะผูกพันกันไปชาติหน้า  เพื่อให้ระงับใจได้ง่ายขึ้นที่ไอซียู 1   ทำไปตามที่คิด เราเป็นหน่วยที่อัตราตาย ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์   จะดูแลจนสุดความสามารถ  หมอจะบอกว่าไปไม่ไหวแล้ว ควรจะคุยกับญาติ  เชิญญาติมาคุย  เรามีห้องที่สามารถให้ญาติอยู่ด้วย และสามารถสวดมนต์  ที่วอร์ดจะยืดหยุ่นให้ญาติอยู่แต่ต้องขอให้อยู่อย่างสงบ จะทำในเชิงพุทธเพราะเป็นคนไข้ส่วนใหญ่   เราแผ่เมตตาและขอขมาคนไข้ ให้สงบ มีบทพูดอยู่  (เมื่อญาติยอมรับว่าจะตาย)  (คุณลุง... ขอให้หลับให้สบาย ขอให้คิดถึงสิ่งดีที่เคยทำมา  ให้พุทโธ ทำใจให้สงบ ให้หลับให้สบาย สิ่งที่เจ้าหน้าที่ได้ทำอาจจะทำให้คุณลุงเจ็บนั้นไม่เจตนา  ขออโหสิกรรม   ปิดม่าน พูดใกล้ๆหู)  เช้านี้ตายสองราย  ให้ญาติเข้าไปพูดใกล้หูคนไข้ โดยถามก่อนว่าเคยทำเคยได้ยินมาก่อนไหม   ทำให้ญาติและบุคลากรเห็นการตายมีศักดิ์ศรีและเคารพ  เมื่อบุคลากรหันมาสนใจ บุคลากรจะ soft ขึ้น  คุณปัญญาที่อุบลราชธานีเริ่มต้นอย่างไร..... เริ่มปี ๒๕๔๔ มีการบริจาคอวัยวะ จึงต้องแสดงความเคารพ มีหลวงปู่ชามาเทศน์ มีหนังสือที่พี่น้อยพรทิพย์   หลวงปู่สอนว่าจะทำให้คนไข้ระยะสุดท้ายมีความสุขอย่างไร  ญาติก็นับถือหลวงปู่อยู่แล้ว     แต่ในของเรายังระวังเพราะยังคิดว่าญาติบางคนยังยอมรับไม่ได้     ที่อุบล ทำจนเป็นประจำ  พยาบาลจะขออโหสิกรรมจากคนไข้  คุณปัญญาเลือกญาติสายตรง เลือกคนใกล้ชิดที่ตัดสินใจได้เชิญมาคุยแล้วบอกข้อมูล (แต่ในหน่วยมีระบบที่จะแจ้งความก้าวหน้าของอาการการรักษาให้ญาติทราบอยู่แล้ว) จนกระทั่งบอกว่าเต็มที่แล้วเหลือแต่การปั๊มหัวใจ ซึงก็จะไม่เกิดประโยชน์   กำลังจะดำเนินการให้ญาติรับได้ และไม่ต้อง CPR  การทำในหน่วย ทำไปตามที่คิด เป็นหน่วยที่อัตราตาย ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์   จะดูแลจนสุดความสามารถ  หมอจะบอกว่าไปไม่ไหวแล้ว ควรจะคุยกับญาติ  เชิญญาติมาคุย (เป็นประเด็นการแจ้งข่าวร้าย)  คุณปัญญายกตัวอย่างที่ดีที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เขาทำกันเป็นทีม มี inform ที่ดีผลลัพธ์ยอมรับได้ทั้งผู้ป่วยและญาติ เป็น best practice ได้    คุณสมจิต                ต้องประเมินความเครียดของคนไข้ว่ารู้สึกต่อความรุนแรงของโรคเพียงใด  มักจะบอกว่ารุนแรง  บางรายบอกว่าเป็นก้อนเนื้อ แต่บางรายบอกว่าเป็นมะเร็งเลย    ถามต่อว่าความต้องการให้การรักษาได้ผลเพียงใด หายหรือทุเลา   สตอ.ตรวจสุขภาพประจำปี พบเป็นก้อนในปอด ผป บอกไม่เครียด แต่แพทย์เครียด   ต้องพยายามให้ ผป ยอมรับ  เมื่อทำกระบวนการแล้วยอมรับได้ดี เตรียมงานศพตัวเอง ทั้งประวัติ ของที่ระลึก กำหนดผู้อ่านประวัติ เตรียมสถานที่จอดรถ จัดการเรื่องทรัพย์สิน สามารถตายได้อย่างสงบ  ลูกสาวใส่ครุย มน ถ่ายรูปกับ ผป   เตรียมชุดสำหรับใส่ตอนตาย ให้เมียมาร้องคาราโอเกะด้วยก่อนตาย  แล้วตายได้อย่างสงบที่อายุ ๕๔ ปี   คุณณัฐชา            
หมายเลขบันทึก: 89902เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท