ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

หวานนอก...ขมใน


เป็นการพูดและการกระทำเพื่อให้หลงกล...เป็นหนูนาในการทดลองเพื่อเหยียบย่ำและเย้ยหยัน

พอกล่าวถึงเรื่องหวานๆ ถึงแม้จะหวานเพียงด้านนอกก็ตาม หลายท่านอาจจะนึกถึงผลไม้สุก หรือไม่อาจจะนึกถึงพืชผักที่มีผลนะครับ แต่นั่นไม่ใช่คำตอบที่เราจะกล่าวถึงด้วยประการทั้งปวง ...หากแต่ว่าเป็นความข่มขื่นของปราชญ์ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ในการอบรมเกษตรกรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กว่า 40 ศูนย์ทั่วประเทศ

เริ่มแรกเดิมทีการทำการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หลายหน่วยงานก็เห็นพ้องต้องกันว่ากลุ่มที่ทำเพื่ออยู่เพื่อกินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่เห็นเป็นรูปธรรมน่าจะเป็นกลุ่ม หรือเครือข่ายที่เรียกว่า "ปราชญ์ชาวบ้าน" เพราะได้ทำการผลิตในแนวนี้มานาน น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดี และเห็นควรให้มีการถ่ายทอดให้เกษตรกรรายอื่นๆ ที่มีความสนใจเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อไป เนื่องจากกระทรวงเกษตรได้ทำทุกวิถีทางแล้วจนกระทั่งถึงทางตัน ไม่รู้ว่าจะหากลวิธีอย่างไรจึงจะขยายผลต่อไปได้การอบรมเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคม

2550 ที่ผ่านมา ทำให้ทุกฝ่ายลงมือลงแรงกันอย่างแข็งขัน แต่ครั้นเมื่อเริ่มดำเนินการก็ต้องสะดุดกับตออันเบ่อเร่อ นั่นก็คือ ระเบียบการเงินการคลังที่ละเอียดยิบ มิหนำซ้ำการจัดซื้อจัดหาวัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรมหยุมหยิมเหมือนกับเด็กเล่นขายของ จะขอถัวจ่ายก็ไม่ได้ ติดพันกันไปทั้งหมด นี่คือชาวบ้านนะครับ แต่ถามว่าชาวบ้านอย่างเราทำได้ไหมครับ ก็คงไม่เกินความสามารถหรอกครับเพียงแต่ว่ามันทำให้เสียเวลาในการทำงาน แทนที่จะได้มีเวลา และพลังที่จะไปคิดในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อไป จึงต้องมาเสียเวลาอยู่กับเอกสารเป็นอย่างมาก

ซึ่งไม่เหมือนกับเจตนารมณ์ที่ต้องการให้เกิดในครั้งแรก ปราชญ์ชาวบ้านจึงเกิดอาการที่กระวนกระวาย และกังวลใจ ในการทำงาน จึงเกิดความขมขื่นตามมามากมาย คือ

ความขมขื่นจากการถูกหลอก เสมือนว่าถูกหรอกให้ฝึกอบรม แต่ไม่อำนวยความสะดวกและยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งไม่ทราบว่ากระทรวงมีแผนอะไรที่ซ่อนเร้นอยู่ ทำไมไม่หันหน้าช่วยกันผลักดันเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงให้สมเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศ เพื่อจะได้ถวายในหลวงของเรา

ความขมขื่นจากการถูกบีบ กระทรวงต้องการผลงานเลิศเรอ แต่เอาระเบียบมาบีบปราชญ์ชาวบ้านให้เดินตามวัฒนธรรมราชการ ซึ่งมันผิดกับวิถีการทำงานของปราชญ์ชาวบ้าน สุดท้ายจึงเกิดความเบื่อหน่าย

ความขมขื่นจากการประเมิน หลังจากที่มีการอบรมเสร็จกระทรวงเกษตรก็จะได้มีการประเมิน " น้ำลาย " (การอบรมที่ไม่มีอะติดไม้ติดมือหลังการอบรม) ของปราชญ์ชาวบ้านว่าชาวบ้านเอาไปทำจริงหรือไม่ ถามว่าเรากลัวการประเมินหรือไม่ คำตอบก็คือว่า " ไม่ " ยิ่งเป็นสิ่งที่ดีด้วยซ้ำไปที่จะได้เห็นของจริง ที่ปราชญ์ชาวบ้านมีแต่น้ำลายเพียงอย่างเดียว กับวัฒนธรรมของราชการที่จ้างคนมารับความรู้ (เบี้ยเลี้ยง) แถมมีเงินก้นถุงอีกต่างหาก (ทุนให้เปล่าไปดำเนินการ) จึงเกิดความข่มขื่นอย่างยิ่งกับวัฒนธรรมเดิมๆ

ความข่มขื่นจากการวางยา เป็นการวางยาที่แนบเนียนอย่างยิ่งกับการทดสอบหนูนา ของภาครัฐเพื่อจะได้บเหลี่ยมปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อที่จะได้ไม่แข็งข้อกับภาครัฐอีกต่อไป

<p>"ใช่หรือไม่"? ผู้รู้ช่วยด้วยครับ</p><p>นี่จึงเป็นบทพิสูจน์ที่ปราชญ์ชาวบ้านจะต้องรวมพลังในการที่จะตอบคำถามให้มีพลัง จากการที่ถูกวางยาโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นหนูนาในการทดลองยา สำหรับการคลำทางตามวิถีที่ควรจะเป็นอันจะนำไปสู่ความพอเพียง</p>

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

</font><p>8 เมษายน 2550 </p>

หมายเลขบันทึก: 89210เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2007 01:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ ครับ

  • เรากำลังคุยกันกับชาวบ้าน เรื่องการพึ่งตนเองครับ
  • ผมไม่อยากเห็นพวกเรา ต้อง เดินไปตกหลุมดำ ที่ทางราชการทำไว้เป็นกลลวง ครั้งแล้ว ครั้งเล่า
  • ในอดีตทุนทางสังคม  ทุนทางธรรมชาติ  ทุนทางความรู้ ของระดับบุคคล และระดับองค์กรมีมากมาย และมีคุณค่า ทั้งเชิงประสิทธิภาพ  และประสิทธิผล ครับ
  • แต่น่าเสียดายที่ ทุนเหล่านั้นได้ค่อยๆ หายไปจากเรา เพราะพวกเราเองไม่เชื่อตัวเอง  และไม่เชื่อกันเอง ไปเชื่อคน ต่างถิ่น  ต่างบ้านต่างเมือง
  • ผมอยากให้พวกเรา(นักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์) ร่วมกันจับมือ และเดินเคียงข้าง กับชาวบ้าน ร่วมทั้งคิด ร่วมทั้งทำ เพื่อหาคำตอบร่วมกันส่าคนอีสานเราจะอยู่ในท้องถิ่นของตัวเองใด้อย่างไร

ขอบคุณมากครับอาจารย์ศิริพงษ์

ก็คงเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะเติมพลังในการทำงานเพื่อเสริมความแกร่ง หรือดับก็ไม่รู้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการทำงานเพื่อสังคม และชุมชน ยังคงต้องเดินหน้าต่อไป

การรวมพลังในการเสริมสร้างศักยภาพในการทำงานเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่เราต้องรวมกันอย่างเหนียวแน่นเหมือนข้าวเหนียวครับ หรือยิ่งกว่านั้นให้เหมือนแป้งข้าวเหนียวโดนน้ำร้อนก็ยิ่งดีครับ เพราะการทำงานจะได้มีพลัง แต่หากรวมแค่การเป็นข้าวเจ้าสุก (ข้าวสวย)ก็เห็นทีจะแย่ครับ

ขอบคุณครับ

  • คนของรัฐระดับพื้นล่าง ชอบทำอะไรเพื่อหวังเศษหวังเลยเสียส่วนใหญ่นะครับ  ทำให้ขั้นตอนสุดท้ายมันก็ต้องสดุด  เหมือนเราหาบน้ำโดยทั้งๆที่รู้ว่าปิ๊บหรือถังที่เราหาบอยู่นั้นมันรั่ว กว่าจะหาบถึงบ้านก็เหลือน้ำเพียงน้อยนิดหรือถ้าระยะทางไกลๆก็อาจไม่เหลือเลย

สู้ต่อไปนะครับ  ขอเป็นกำลังใจ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท