~[Nes~Za]~
นาย ทวีสิน อำนวยพันธ์วิไล

ความสามารถในการทำงานกับวุฒิการศึกษา


หลายคนอยากทำงานที่ตัวเองรัก แต่วุฒิการศึกษาไม่ตรง ทำให้เสียโอกาสในการทำงาน

          ก่อนที่จะอ่านบันทึกนี้ ผมต้องขอออกตัวก่อนเลยนะครับว่า ผมไม่ใช่คนเก่ง หรือมีความสามารถอะไร เพียงแต่เป็นคนนึงที่ยังอยู่ในช่วงการทำงานที่ไม่มั่นคง ยังอยู่ในช่วงหางานเปลี่ยนงานอยู่ แต่อยากทำงานที่ตัวเองถนัด เท่านั้นครับ


          เมื่อพูดถึงการสมัครงาน สิ่งแรกที่จะเห็นในประกาศรับสมัครงานคือ ตำแหน่งของงานนั้นๆ และวุฒิการศึกษา บางครั้ง อาจจะระบุประสบการณ์ทำงานด้วย ผมเป็นคนนึงครับที่เรียกได้ว่า หางานยากครับโดยเฉพาะงานราชการ เพราะ วุฒิการศึกษาที่ผมจบนั้นคือ กศ.บ.(การศึกษาบัณฑิต(ฟิสิกส์)) ไม่ใช่ วิทยาศาสตร์บัณฑิต ไม่ใช่ศิลปศาสตร์บัณฑิต แต่งานราชการนั้น (เช่นการสมัครงานเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย) จะระบุวุฒิการศึกษาชัดเจน ดังนั้น จึงเป็นการจำกัดคนมีความสามารถที่ต้องการจะเข้ามาทำงานเป็นอย่างมากครับ


          เปรียบทียบกับบริษัทเอกชน ซึ่งจะไม่สนใจวุฒิการศึกษาเท่าที่ควร แต่จะสนใจที่ระดับการศึกษา เช่น ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีความสามารถเข้ามาทำงานได้โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณวุฒิ ซึ่งจะทำให้บริษัทเอกชนมีคนเก่งในการทำงาน เพราะมีโอกาสเลือกคนที่มีความสามารถ ไม่ใช่จำกัดแต่เพียงใบปริญญาสาขาอะไร


          ผมจึงอยากเสนอครับว่า ในการรับสมัครงานนั้นควรคำนึงถึงความสามารถในการทำงานมากกว่าวุฒิการศึกษา (ในกรณีนี้ผมไม่ได้กล่าวรวมถึงอาชีพเฉพาะทาง เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัช นะครับ) แต่ผมหมายถึงงานด้านอื่นๆ เช่น อาจารย์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ประชาสัมพันธ์ บริหารงานทั่วไป เป็นต้น


          กล่าวมาถึงตรงนี้ บางท่านอาจกำลังมองว่าแล้วคนที่เรียนทางสาขานั้นมาล่ะ เขาควรได้รับผลประโยชน์จากสาขาที่เขาเรียนไม่ใช่หรือ ไม่ใช่ใครก็สามารถทำงานในสาขาที่เขาเรียนได้...ผมเรียนตามตรงนะครับว่า ผมเป็นลูกศึกษาศาสตร์ เรียนคณะศึกษาศาสตร์มา 4 ปี ทุกวันนี้ ใครอยากเป็นครู เรียนสาขาอะไรมาก็ได้ ไปจ่ายเงิน 500 บาท ที่คุรุสภา ก็ได้ใบประกอบวิชาชีพครูแล้วครับ ผมยังจำได้ช่วงที่เขาเปิดให้ขอใบประกอบวิชาชีพครู บัณฑิตมากมายหลังไหลกันไปที่คุรุสภาเพื่อไปขอใบประกอบวิชาชีพครู ไม่จำเป็นต้องจบศึกษาศาสตร์ หรือคุรุศาสตร์ ด้วยซ้ำ นั่นแสดงถึงผู้บริหารระดับประเทศต้องการคนที่เก่งจริง มีความสามารถจริงๆ มาเป็นครู ไม่จำกัดเพียงบัณฑิตจากศึกษาศาสตร์ หรือคุรุศาสตร์เท่านั้น


          ในเรื่องนี้ผมก็ไม่ได้มีความเห็นขัดแย้งอะไร เพียงแต่ อยากเสนอให้เวลาสอบบรรจุครู นอกจากออกข้อสอบในรายวิชาเฉพาะทางแล้ว ก็ควรออกข้อสอบเกี่ยวกับรายวิชาทางการศึกษา เช่น การวัดผลประเมินผล จิตวิทยาทางการศึกษา หลักสูตรและการสอน วิธีการสอนด้วย ครับ เป็นต้น หากคนที่ไม่ได้เรียนทางครู(ศึกษาศาสตร์ คุรุศาสตร์) สามารถทำข้อสอบได้มากกว่า ก็สมควรแล้วครับที่เขาจะได้รับการบรรจุเข้าทำงาน เพราะเขามีความสามารถและถนัดในเรื่องการสอน การเป็นครูจริงๆครับ


          ผมเพียงแต่อยากเสนอว่า เพราะเรามีมาตรฐาน ในการคัดเลือกคน ในการทดสอบความสามารถ ครับ สมมติเช่น ต้องการรับนักประชาสัมพันธ์ ก็ออกข้อสอบถามเกี่ยวกับเรื่องที่คนเรียนประชาสัมพันธ์เรียนมาตรงๆเลยครับ หรือ ต้องการรับโปรแกรมเมอร์ ก็ให้เขียนโปรแกรมให้ดูเลยครับว่าทำได้หรือเปล่า เป็นไปได้ครับว่าอาจมีคนที่ไม่ได้เรียนประชาสัมพันธ์สามารถสร้างสรรค์สื่อ สามารถสื่อสารข่าวสารได้ดีกว่าคนที่เรียนประชาสัมพันธ์โดยตรง เป็นไปได้ครับว่าคนที่ไม่ได้เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์อาจเขียนโปรแกรมได้ดีกว่าคนที่เรียนมาโดยตรง เพราะการรับสมัครเราก็ต้องคัดคนที่มีความสามารถผ่านเกณฑ์และความสามารถสูงที่สุดในการคัดเลือกนั้นอยู่แล้วครับ ผมจึงเห็นว่าคนที่ไม่ได้จบสาขานั้นๆ แต่มีความสามารถในสาขานั้นๆเทียบเท่า หรือมากกว่าคนที่เรียนทางสาขานั้นๆมาโดยตรงก็สามารถทำงานในสาขานั้นๆได้ครับ


          ถ้าผมเป็นเจ้าของบริษัท ผมคงไม่ต้องการโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรมไม่เป็น การตลาดที่พูดคุยกับลูกค้าไม่รู้เรื่อง หรือแม้แต่แม่บ้านที่ทำความสะอาดไม่เรียบร้อยแน่นอนครับ


*** ต้องขออภัยทุกวิชาชีพที่ผมกล่าวถึงในบันทึกนี้ ผมไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่หรือดูหมิ่นวิชาชีพเหล่านี้ ผมเพียงแต่นำมายกตัวอย่าง ประกอบความเห็นของผมเท่านั้นครับ

หมายเลขบันทึก: 89202เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2007 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เขียนบันทึกแบบนี้..มันดีครับ...ให้มุมมองอีกแบบหนึ่ง
  • ในใจผม..ในการรับสมัครงาน..อยากให้มีหน่วยงานกลาง...รับสมัครและจัดสอบข้อเขียนเพื่อรับคนกลุ่มหนึ่ง...สมมุติว่า ๒ เท่าของที่ต้องการ แล้วส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง สัมภาษณ์...รวมทั้งสาธิต...ความถนัดและความสามารถ..ด้านนั้นๆ
  • อาจจะใช้เวลามากหน่อย ๒-๓ วัน หรือ ๑ สัปดาห์ไปเลย เพื่อทดสอบความอดทน และ ฯลฯ
  • จากนั้นจึงค่อยประกาศผลครั้งสุดท้าย..แบบนี้ใช้เฉพาะเอกชนครับ..ถ้าเป็นราชการละก้อ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนฯ แน่ๆ

อยากเสนอแนะคุณทวีสิน ๒ เรื่องครับ

  1. เปลี่ยนชื่อบล็อก Mobile Unit เป็น ชื่ออื่น ๆ เช่น "เรื่องเล่าสบายๆ ตามใจ Nes Za" เป็นต้น
  2. ระหว่าง ย่อหน้า..ของบันทึก ถ้าเว้นบรรทัดได้ จะช่วยให้บันทึกน่าอ่านยิ่งขึ้น (มีที่พักสายตาบ้าง) ครับ
ขอบคุณท่านอาจารย์ BeeMan ครับ ผมได้แก้ไขตามข้อเสนอของ อ.แล้วนะครับ
เขียนได้ดีทีเดียว ยังไงซะก็ทำงานที่ตัวเองชอบและถนัด งานจะออกมาดีแล้วเราก็มีความสุขในการทำงานอีกด้วย
  • บันทึกดูดีขึ้นเยอะเลยครับ
  • สำหรับชื่อบล็อก..ลองเขียนคำอธิบายสักบันทึกหนึ่งก็จะดีนะครับ

ผมมองว่าปัญหาคือ ทฤษฏี

ตัวอย่างเช่น หากผมเป็นจิตวิทยาที่ต้องการทำงานด้านโปรแกรมเมอร์ และผมสามารถเขียนโปรแกรมได้ตามต้องการ ผมอาจจะเข้าใจหรือว่าไม่เข้าใจเทอม หรือพารามิเตอร์ต่าง ๆ ได้อย่างที่โปรแกรมเมอร์เรียนมา คิดว่าผมมีโอกาสที่จะได้งานนี้แค่ใหน ผมอาจจะสอบข้อเขียนตกทั้งหมด

แต่ส่วนใหญ่แล้ว ตกตั้งแต่ยื่นใบสมัครแล้วครับ เพราะว่า ไม่มีใครเชื่อว่านักจิตวิทยาจะทำได้หรอก

 

ขอโทษด้วยครับ ถ้าโปรแกรมไม่ได้ตัดคำให้ผม มีผลทำให้พิมพ์ได้เป็นแถวยาว ๆ อย่างที่เห็น(หรืออาจจะไม่เห็น แต่ก็ดีแล้วครับ ถ้าไม่เห็น)

อย่างว่า นักวิจัยที่เนคเทคถึงบอกว่า ไม่มีโปรแกรมใหนสมบรูณแบบ 

  •  น้องเนส...พี่มองว่าประเทศของเรายังขาดคนเก่งๆ ในด้านต่างๆ อีกเยอะเลย  เพราะการจำกัดวุฒิอย่างที่เนสยกตัวอย่างมาน่ะล่ะ...
  • นั่นสิ...เนส...ใครจะเชื่อล่ะว่าผู้ที่จบ กศ.บ.(ฟิสิกส์) อย่างเนสจะสามารถเขียนโปรแกรมต่างๆ ได้เก่งกว่าโปรแกรมเมอร์ที่เรียนมาโดยตรงหลายต่อหลายคนด้วยซ้ำ
  • แถมยังกินเก่ง...ซะยิ่งกว่านักบริโภคอย่างพี่ด้วยอ่านะ ^___^

 

  • เห็นด้วยเลย
  • แต่ก็อย่างว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำกันมานานนมได้
  • ทำได้อย่างเดียวคือ...ทำใจ...
  • และยอมรับกับความเป็นจริง..เท่านั้น

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท