KM ท่องเที่ยว : จุดเริ่มการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเมืองไทย


จากนี้ จุดยืนของการท่องเที่ยวโดยชุมชนเราเริ่มชัดเจนมากขึ้นครับ

ผมเข้าร่วมประชุม ในฐานะนักวิจัยตาม โครงการวิจัยพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (community Based tourism) โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และภายใต้โครงการนี้ เราทำงานวิจัยทั่วประเทศ หมายถึงว่าทำในทุกภาค แบ่งออกเป็น ๔ ภาคด้วยกัน ผมรับผิดชอบในส่วนของ งานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือ

 

อ.จิตศักดิ์ พุฒจร จากศิลปากร อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ ๒๙

หน.โครงการวิจัย

ทีมงานหลักส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร โคงการวิจัยดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน และพร้อมที่จะขยายฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนในแต่ละภาคให้เพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญที่สุด คือ การทำ KM ในประเด็นดังกล่าว ผมวาดฝันไว้ว่า จะมีกระบวนการจัดการความรู้(Knowledge management)ของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผ่านการศึกษา วิจัย แบบมีส่วนร่วม (Participatory Action research)

ด้วยลักษณะของการศึกษาวิจัยทำให้ผมมองถึงโอกาสการจัดการความรู้ที่ชัดเจนมากขึ้น กระบวนการ PAR เองก็เป็นการจัดการความรู้ที่ค่อนข้างชัดเจน

ส่วนหนึ่งที่เป็นทีมวิจัย

ในส่วนของภาคเหนือ จังหวะการก้าวย่างของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เข้มข้นในสามจังหวัด อันได้แก่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย และที่แม่ฮ่องสอน  มีการพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำ ภายใต้ การพยายามสร้าง เครือข่ายการเรียนรู้การท่องเที่ยวโดยชุมชน ประเทศไทย  ตรงนี้เอง เป็นกระบวนการสำคัญในการจัดการความรู้ที่เราต้องการ อีกทั้งสร้างจุดยืนในสังคมเมืองไทย

ผมกับ คุณธันยพร วณิชฤทธา Blogger Gotoknow อีกท่านหนึ่ง ได้รับผิดชอบ ในส่วนการเคลื่อนงาน โดยใช้ KM มาจับงานท่องเที่ยว โดยคุณน้ำฝนเองก็อยู่ในระหว่างการทำ Thesis ปริญญาโท ด้านนี้อยู่ด้วย เป็นเรื่องที่ดีที่จะได้นำความรู้ตรงนั้นมาใช้ ผมเองก็สนใจ KM และคิดว่าการเคลื่อนงานใหญ่ประเด็นนี้ KM จึงเป็นทางเลือกของเรา

วันนี้เป็นการประชุมครั้งแรก เมื่อข้อเสนอโครงการผ่านการอนุมัติจาก กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา  เป็นวันแรกที่เราจะเริ่มการพัฒนา การท่องเที่ยวโดยชุมชน  ในแนวทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน...จากนี้ จุดยืนของเราเริ่มชัดเจนมากขึ้นครับ

ผมเสนอขอร่วมด้วย ช่วยงาน ภาคอิสาน ด้วยเพราะหวังไว้ว่าผมจะเดินทางไปภาคอิสานบ่อยครั้ง มีโอกาสดีๆจะได้พบปะ Bloggerหลายๆท่านด้วยครับ

<p align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ภาพประกอบบางส่วน สนับสนุน จาก น้องสุรสิทธิ์ (เมอเก่อคี) ตาบรึๆ</p>

หมายเลขบันทึก: 89195เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2007 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • ช่วงนี้งานยุ่ง ๆ ไม่ค่อยได้มาเยี่ยมบันทึกคุณเอกเท่าไหร่เลยครับ
  • ดีจังเลยครับ มีอัจฉริยะข้ามคืนอยู่ในทีมด้วย :>
ตกลงว่าโครงการนี้ผ่านแล้วและจะใช้ การจัดการความรู้ไปจับงานท่องเที่ยวของชุมชน หรือว่า เอาการจัดการความรู้ไปส่งเสริมให้กับเครือข่ายที่มีอยู่แล้วหรือยังไม่มีให้เกิดขึ้นค่ะ อยากทราบจริงๆ และถ้านำการจัดการความรู้ไปใช้จริงๆ ทีม "จับภาพKM" จะขอตามไปสอดแนมด้วยค่ะ
  • สวัสดีครับคุณเอก
  • ขอเป็นกำลังใจในการดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยครับเพื่อน
  • สร้างความยั่งยืนให้เกิดกับชุมชน ชาวบ้านในการช่วยอนุรักษ์ ตลอดจนการ เสริมให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้วย ครับ
  • ขอบคุณมากครับ สุขสันต์ปีใหม่สงกรานต์ และมีความสุขกับครอบครัวครับ
P

อาจารย์เก๋ โปรดทราบ คิดถึงเช่นกันครับ

ผมเองก็ขึ้น ล่องที่จะประชุมอยู่ตลอดเวลา ภารกิจที่รัดตัวด้วยครับ

งานชิ้นนี้เป็นความหวังของ แวดวง การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community based tourism. )ด้วย เพราะเป็นการเคลื่อนครั้งใหญ่ระดับประเทศ

ผมแอบคิด proposal ไว้เผื่อเรียนในปีหน้าด้วยหละครับ แต่ในประเทศเราไม่ค่อยมีสาขาที่เกี่ยวข้องเลย ด้าน Tourism and hospitality นะครับ

ทราบมาว่าทาง มมส.จะเปิด แต่ยังเป็นโครงการอยู่ คงต้องปรึกษาอาจารย์เก๋ ในโอกาสต่อไป

 

P

สวัสดีครับ..ยินดีและดีใจเป็นอย่างยิ่งนะครับ สำหรับ สคส.ทีม

KM ที่เราคิดกันไว้นี้ เราจะมองในสองส่วนครับ ทั้งตัวเครือข่ายเอง และ ชุมชน

ในเบื้องต้นที่คุยกันอาจเคลื่อนระดับเครือข่ายครับ ที่ภาคเหนือมีการดำเนินการที่ค่อนข้างชัดเจนและเป็น KM ที่ชัดเจนด้วย

ในภาคอื่นๆ เราก็ใช้รูปแบบเดียวกันกับภาคเหนือครับ (เบื้องต้นที่เราคิดกันไว้) แต่ก็คงต้องปรับตามบุคลิกของภาคนั้นๆ

ที่ประชุมเรา คุยกันเรื่อง KM เน้นๆเลยนะครับ

คงต้องเชิญ สคส. มาสอดแนมแบบโจ่งแจ้ง ...เรามีการประชุมเรื่อยๆครับหลังจากนี้ไป

ภาคเหนือจะประชุมที่เชียงใหม่ ประมาณวันที่ ๒๘ เมย.ที่จะถึง ส่วนการประชุมทีมงานระดับประเทศครั้งแรก น่าจะเป็นต้นๆ พค.ครับ คงจะใกล้ๆสำนักงาน สคส. ที่กรุงเทพฯ แล้วจะส่งข่าวไปให้สม่ำเสมอนะครับ...แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องมาสอดแนมให้กำลังใจพวกเรานะครับ

:)

อาจารย์จตุพรค่ะ

การประชุมครั้งนี้มีตัวแทนชุมชนเข้าร่วมไหมค่ะ ..

ยินดีด้วยนะค่ะที่ประชุมครั้งนี้เริ่มมีจุดยืนชัดเจนขึ้น

มีบุคลากรที่เก่ง ๆ ทั้งนั้น..หนูขอร่วมติดตามงานวิจัยนี้ต่อไปค่ะ

P

เพื่อนเม้ง..

ขอบคุณกำลังใจจากเพื่อน...นี่สำคัญมากนะครับ  ผมมีเรื่องหลายอย่างที่ต้องปรึกษาครับ เรื่องของ ดาวเทียม ที่ผมจะทำ mapping ตอนนี้คิดจะ plot เฉพาะชุมชนท่องเที่ยวภาคเหนือก่อน..อย่างที่เคยปรึกษาไว้ครับ

เพราะสำคัญ เราจะได้เห็นการเคลื่อนไหวของการท่องเที่ยวที่ชัดเจนมากขึ้น ง่ายต่อการวางแผน การตัดสินใจ วิจัยและพัฒนาครับ

ขอบคุณมากครับ

ไม่มีรูป
chah

น้อง Chah

มอ.หาดใหญ่ มีนักพัฒนาดีๆ และสนใจเรียนรู้แบบน้อง chah เยอะๆ จะดีมากๆครับ ปัญหาที่ใต้หมักหมมคงต้องอาศัยคนพื้นที่รู้จริง เข้าใจ และจริงใจ

จะมีทีม ภาคใต้อีกทีมหนึ่ง ผมคงมีโอกาสได้ไปร่วมครับ อาจจะได้ไปเจอะเจอ Blogger แถวๆใต้ด้วยครับ

ขอบคุณน้อง Chah

ขอบคุณค่ะ จุณจตุพร แต่ขอเข้าร่วมแบบผู้สังเกตการณ์ก่อนน่ะค่ะ ช่วงเดือนพฤษภาคม พอว่างค่ะ แต่ถ้าตรงกันวันที่ 5-6 พ.ค.สคส.จะไม่ว่างทั้งคณะน่ะค่ะ

รอกวนแจ้งกำหนดการณ์ด้วยน่ะค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

แวะมาทักทาย สบายดีนะคะ

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจดีจริงๆ

Fito Fito!!!

^___^

คุณ
P

แล้วผมจะให้ ทางทีมงานอ.อัจฉริยะข้ามคืน ส่งหนังสือเข้าไปที่ สคส.นะครับ หรือ จะให้ติดต่อทางไหนดีครับ สำหรับการประชุมทีมงานรวมทั้ง ๔ ภาค

สถานที่น่าจะใกล้ๆกรุงเทพครับ ไม่น่าจะไกลกว่านั้น วันที่ น่าจะเป็น ๑๑ พค. ประมาณนั้นนะครับ

ต้องขอบคุณมากๆครับ

ฝากเนื้อฝากตัว กับ สคส. ด้วยนะครับ

ไม่มีรูป
IS

คุณ nanny 

สบายดีครับ ไม่ทราบว่าคนทางออสเตรเลีย สบายดีหรือเปล่าครับ...อากาศร้อนได้ใจ เพราะใกล้สงกรานต์

ขอบคุณครับ รู้สึกว่าหายไปนานเหมือนกันนะครับ งานยุ่ง หรือเรียนหนักกันเอ่ย!!!

งานวิจัยกำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่ครับ...งานนี้งานใหญ่ และมีเวลาที่จำกัดครับผม

สวัสดีคะ  คุณเอก

เป็นข่าวดีอย่างยิ่งคะ  ในส่วนของ สคส.  ยินดีสนับสนุนในเรื่องของกระบวนการ KM  อย่างเต็มที่คะ  และยินดีเข้าร่วมประชุม 4 ภาคด้วยคะ  ถ้าอย่างไร  ติดต่อทางโทรศัพท์มาที่  สคส.  ต่อ  หญิง  นภินทร  หรือจะ  Email  มาก็ได้  ที่  [email protected]  และ CC  มาที่  TheWater  หรือจิราวรรณ ด้วยก็ดีคะ  ที่  [email protected] ขอบคุณคะ

หญิง  สคส.

สวัสดีครับ คุณนภินทร "หญิง" ครับ

P

เป็นข่าวดีสำหรบ คณะวิจัย เช่นเดียวกันครับ เพราะเราคิดหวังไว้ว่า KM จะเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนยุทธศาสตร์ในครั้งนี้

และผมกำลังต้องการพี่เลี้ยงครับ

ผมแจ้งไปยัง อาจารย์จิตศักดิ์ พุฒจร หน.โครงการวิจัยแล้ว...

พวกเราดีใจและมีกำลังใจมาก และกำลังจะทำปฏิทินโดยรวมของโครงการวิจัย และจะส่งไปให้ทางสคส.โดยด่วนครับ

ถึงพี่จตุพร

ผมว่าอะไรก็ตามที่เกิดจากการมีส่วนร่วม มันจะอยู่ได้นาน ด้วยความคิดที่ว่า "การเป็นเจ้าเข้าเจ้าของสิ่งนั้น"

และถ้าการมีส่วนร่วมนั้นเกิดด้วยความยากลำบาก ฝ่าอุปสรรคปัญหามากมาย ยิ่งยั่งยืนนาน

น้อง

P

เรียกว่า หุ้นส่วน ได้มั้ยครับ หรือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามที่เรียกกัน แต่ผมไม่ชอบคำพวกนี้เลย ดูแบ่งกันชัดเจนยังไม่ทราบ

"ความเป็นเจ้าของร่วมกัน" น่าจะดูดีกว่านะครับ เหมือน ของ "หน้าหมู่" ของสาธารณะที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา

การทำงานแบบ PAR คงต้องอาศัยเวลาและการวางระบบการทำงานที่สอดคล้องกับพื้นที่ เวลา  และ บุคคล งานแบบนี้เหนื่อยครับ แต่หากเราคิดถึง "ความยั่งยืน" ก็น่าทำและคุ้มค่าเหนื่อย

สบายดีนะครับ!!! น้องแจ็ค

The Community based eco tourism นั้นเป็นความหวังของชุมชนอย่างเรามานานแล้ว แต่ชุมชนยังไม่มีโอกาสได้สักที นับว่าเวลานี้เป็นโอกาสดีกับการทำงานของงานวิจัยนี้ สิ่งหนึ่งในอดีตชุมชนนั้นขาดโอกาสอย่างแรงที่จะได้ทำหน้าที่ของตนเอง ในที่สุดระบบนิเวศชุมชนก็ล่มสลาย เกิดความแตกแยกภายในชุมชนเอง หลายๆครั้งคนในชุมชนอย่างผมเข้าไปประชุมเกี่ยวกับเรื่องท่องเที่ยว ได้รู้ซึ้งถึงนโยบายของหน่วยงานว่าขาดการจัดการด้านข้อมูลและมวลชนอย่างชนบท หมายความว่าชุมชนชนบทนั้นมีสิ่งดีๆมากมายแต่ขาดการจัดการองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวม แม้สถาบันที่มีชื่อเสียง การทำงานมิใช่เป็นมืออาชีพเลย เพราะอะไร เพราะว่าสถาบันโดนเกณท์การเงินมาทับอีกที เพราะสถาบันไม่มีเงินที่จะดำเนินการ องค์ความรู้ที่อยู่ในสถาบันนั้นมากมายมหาศาล แต่ใครเล่าจะใช้องค์รู้เหล่านั้นอย่างเกิดประโยชน์โดยรวมได้ แต่มาวันนี้ชุมชนของผมทำได้ในระดับหนึ่งเพราะเราจัดการกับองคืความรู้ของเราเองถามว่าใครจะกล้าพอมไหมที่จะทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเปิดเผยและสามารถที่จะแชร์ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด คือทำงานด้วยความจริงใจและเปิดเผยไม่มีนัยแฝงอยู่ ชุมชนชนบทหลายแห่งรอคุณผู้กล้าเหล่านี้อยู่ แต่ย้ำนะ ต้องเปิดเผยและบริสุทธิ์ใจ แล้วคำว่า (PAR) The community based eco tourism นั้นอยู่ไม่ไกลเกินความฝันของท่านหลายๆคนหรอก "หากหนังสื่อที่เราจดและเขียนเรื่องราวที่เราคิดว่าดีแล้วไซ้ ถ้าไม่ดูก็จะสูญสิ้นความหมายในพริบตา" Dek Doi .

Surasit Donjaipraiwan

 

สิ่งที่สุรสิทธิ์เขียนออกมา เป็นความจริงทุกประการครับ ชุมชนควรที่จะมีจุดยืนเป็นของตัวเอง และพึ่งตนเอง...

แต่ในภาพของความจริง กลับกลายเป็นการรอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มของรัฐเข้ามาจัดการชุมชนโดยปราศจาก การเข้าใจ เข้าถึง ก็ไม่เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง

เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่ชุมชนเรียนรู้เองผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย เช่นชุมชนภายใต้โครงการวิจัย เป็นเสมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ที่ชุมชนเรียนรู้และทดลองด้วยตัวชุมชนเอง

ขอให้มั่นใจในสิ่งที่ชุมชนเป็นอยู่ครับ

ผมเชื่อแน่ว่า CBT. ที่เราเคลื่อนในครั้งนี้ เป็นการเคลื่อนแบบมีศักดิ์ศรีและเรามีพื้นที่ของเราในสังคมครับ

 

สวัสดีครับพี่เอก

  Interest blog ครับ http://gotoknow.org/blog/buddhaza/89357

น้อง  

ไม่มีรูป
Kmsabai

ผมตามไปแล้วครับ ด้วยเมื่อวานก็เฝ้าตามBlog นี้เหมือนกัน เพราะ ไม่ค่อยเข้าใจใน แนวคิดเท้าไหร่ และ ไม่สนับสนุนการโพส comment ที่ออกแนว spam ครับ ดูอ่อนไหวไปสำหรับ Gotoknow

แต่อ่านบันทึกที่น้องให้ link มาเนื้อหาดีทีเดียว ได้มุมมองที่ดีออกไป

ก็ต้อง open mind ครับผม

ขอบคุณมากครับ

คนวิจัยเหมือนกันจ๊า
ดูไปแล้วเหมือนเป็นงานใหญ่น่ะ ระดับประเทศ แต่อีกมุมมองหนึ่งเราก็ทำกันมาน๊านนานแล้ว เหมือนเอาสิ่งที่เราได้ทำร่วมกันมา นำเสนอให้บุคคลภายนอกได้รับทราบว่าตอนนี้ชุมชนเรากำลังทำอะไรกันอยู่ เรารัก และหวงแหนทรัพยากรของเรามากแค่ไหน และอยากให้เห็นความสำคัญของมุมมองชุมชนเองว่าเห็นนักท่องเที่ยวเป็นไง ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับนักท่องเที่ยวที่เห็นชุมชนเป็นอย่างไร มองกลับกันบ้างก็คงจะดี อย่างน้อยคุณจะได้รู้ว่า การเรียนรู้มีได้ทุก ๆ แห่งแม้แต่จากตัวของคุณเอง ...อยากให้ ธง ที่เราวางไว้ร่วมกัน ไปวางอยู่ในใจของคนทุกคนที่ใส่ใจใน..ดินแดนมาตุภูมิของตนเอง...สู้ต่อไป...
ไม่มีรูป
คนวิจัยเหมือนกันจ๊า

สวัสดีครับผม น้องคนวิจัย

เป็นงานใหญ่ที่เราจะขับเคลื่อนระดับประเทศครับ ในตอนแรกที่เราคิดกันว่าจะเข้มข้นเฉพาะภาคเหนือ...วันนี้เรามีโอกาสที่มีพันธมิตรทั่วทั้ง สี่ภาค

ส่วนของงานวิจัย 

ตรงนี้เป็น KM ที่ชัดเจน เราโชคดีที่ทีมวิจัยเห็นพ้องกันเรื่องแนวคิดการเคลื่อนร่วมกัน

น้องเป็นหนึ่งในทีมงานครับ เป็นหนึ่งบุคลากรที่สำคัญด้วย...ร่วมด้วยช่วยกันต่อไป

ส่วนในชุมชนท่องเที่ยว

หลังจากที่ไปประชุม ที่ เมืองหลวงพระบางมาแล้วผมคิดว่า งานหลายๆงานน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น

ขอบคุณครับผม

สวัสดีค่ะ ฝนมารายงานตัว (รู้สึกว่ามีการพาดพิงค่ะ ^ ^)

ขอเสริมเรื่องที่จะมีการเคลื่อนการประชุมของโครงการ CBT Network ในกลุ่มภาคกลางนะคะ จะจัดขึ้นวันที่ 27 เมษา ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐมค่ะ ต่อจากภาคเหนือพอดีเลย หากใครอยู่ใกล้ และสนใจก็ติดต่อฝนได้นะคะ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ประกาศ ครับ...... 

เครือข่ายภาคเหนือ ยกธงรบ ตีกลองสะบัดชัย  วันที่ 28 เมษายน 2550 ณ ห้องประชุม สกว.ภาค คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนี้ในส่วนเครือข่าย 17 จวภาคเหนือ ผมได้ส่ง จดหมายข่าวออกไปแล้วทางอีเมลล์ และทางคุณจุ๋ม สกว.ภาค จะช่วยในการประสานอีกแรงหนึ่งครับ

ขอบคุณ "น้ำฝน"คุณธันยพร วณิชฤทธา  คนเก่งด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท