บันทึกที่ สอง ...ทำอย่างไร? ให้นักเรียนอ่านหนังสือออก


นิสิตคนหนึ่งเล่าถึงวิธีการของตนเองว่าได้ผนวกวิธีแก้ปัญหาอ่านไม่ออกของนักเรียนของตนเข้าไปในงานสอนภาษาไทย ชั้น ป.6 ที่ดูแลรับผิดชอบอยู่ โดยไม่ได้รบกวนเวลางานประจำของตนและของนักเรียนที่มีปัญหานั้นๆ เลย

บันทึกที่ สอง... มาแล้วค่ะ

                   ปรากฎการณ์หนึ่งที่พบว่าน่าเป็นห่วงมากในโรงเรียน คือ การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนจำนวนมาก และยังสามารถเรียนหนังสืออยู่ในระดับชั้นต่างๆ ในโรงเรียนได้ ครูส่วนใหญ่ตระหนักในเรื่องนี้ และก็มีครูจำนวนไม่น้อยที่ได้พยายามหาทางแก้ไขด้วยวิธีการที่ตนเองคิดขึ้นมา

                    นิสิตคนหนึ่งเล่าถึงวิธีการของตนเองว่าได้ผนวกวิธีแก้ปัญหาอ่านไม่ออกของนักเรียนของตนเข้าไปในงานสอนภาษาไทย ชั้น ป.6 ที่ดูแลรับผิดชอบอยู่ โดยไม่ได้รบกวนเวลางานประจำของตนและของนักเรียนที่มีปัญหานั้นๆ เลย

                   "ทุกชั่วโมงภาษาไทย (ชั้น ป.6)

                    ที่สอนจะใช้เวลา 10 นาทีแรก

                    (ด้วยการร่วมมือระหว่างครูและนักเรียนทุกคนในห้อง)

                     ครูจะให้นักเรียนคนนั้นอ่านแบบฝึกที่จัดทำเฉพาะขึ้นมา ประมาณ 2 บรรทัด

                     โดยอ่านใส่ไมค์โครโฟน เพื่อให้เพื่อนทุกๆ คนได้ยิน 

                      แล้วประเมินร่วมกันโดยครูมีแบบประเมินให้

                      ในชั่วโมงแรกๆ ของการปฏิบัตินักเรียนคนนั้น

                       อ่านไม่ได้และต่อมาค่อยๆ อ่านได้บ้าง

                      เพื่อนบางคนหัวเราะในขณะที่ทำหน้าที่ประเมิน

                      แต่ทำทุกชั่วโมงจะสิ้นภาคเรียน

                      จากเด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้เลย อ่านได้เป็นหน้าๆ

                       และเพื่อนๆ ทุกคนก็ประเมินให้ผ่าน

                       ผู้สอนให้นักเรียนคนนี้ไปเดินอ่านให้ครูคนอื่นๆ ฟัง

            รวมทั้งกับครูที่เคยพูดว่านักเรียนคนนี้ไม่มีวันอ่านหนังสือออก"

                      นี่คือตัวอย่างหนึ่งของความพยายามของครูและเพื่อนที่ร่วมมือกับแก้ปัญหา หากครูคนใดสนใจจะลองนำไปปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาให้กับนักเรียนขอ่งตนบ้าง จะเป็นที่น่ายินดี หรือหากใครมีตัวอย่างอื่นๆ ที่เคยใช้แล้วได้ผลดี ขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป

หมายเลขบันทึก: 88701เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

       บันทึกน่านี้มีประโยชน์กับโรงเรียนหลายๆ แห่งในประเทศไทยมากนะคะ 

       เชื่อว่าทุกเรียนก็ต้องมีปัญหาคล้ายๆ กันแบบนี้ แล้วมีวิธีแก้ไขกันอย่างไร เพื่อให้นักเรียนไทยอ่านหนังสือได้ แล้วก็แสวงหาความรู้จากหนังสือเป็น

        ทักษะการอ่านหนังสือ คือ เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน พัฒนาชาติทีเดียว มาช่วยกัน Share ประสบการณ์และวิธีการแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้กันเถอะคะ

เด็กชายสมเจตน์ พันธ์พรม NU C&I ปี 2

ปัญหานี้ทุกภาคส่วนให้ความตระหนัก ตั้งแต่ กระทรวงฯ ,สพฐ, สพท. จนถึงโรงเรียน  เพราะปัจจุบันการแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของ นักเรียนนั้นกำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน  แปลกที่ทุกวันนี้คนได้เรียนหนังสือสูงขึ้น กว่าคนในสมัยก่อน แต่กลับอ่านหนังสือไม่ออก  ในฐานะที่เป็นครูมัธยม  ซึ่งเป็นระดับที่ผู้เรียนจะต้องอ่านออก เขียนได้คล่องแล้ว จึงมาถึงระดับมัธยม  แต่ในร้อยละ 20 ของนักเรียนชั้น ม. 1 อ่านไม่คล่อง  ร้อยละ 1  อ่านไม่ออก ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ  ไม่ต้องพูดถึงเขียนหรอกครับ เขียนผิดกันเกือบทั้งห้อง  สละกับวรรณยุกต์และพยัญชนะ ของนักเรียนบางคน เขียนสลับที่กัน จนอ่านไม่เป็นคำ

จากปัญหานี้ทำให้เป็นอุปสรรคในการสอนเนื้อหาที่จะต้องดำเนินสอนต่อไปให้บรรลุตามจุดประสงค์ของหลักสูตรที่วางไว้  ทางแก้ที่เคยทำในระดับมัธยม คือ

1. ให้ฝึกอ่านแบบนกแก้วนกขุนทอง  ในส่วนของเนื้อหาที่เราเน้นและต้องการให้ผู้เรียนจดจำ  ใครว่านกแก้วกับนกขุนทองไม่สำคัญงานนี้เห็นจะผิด เนื่องจากผู้เรียนอายที่จะให้อ่านออกเสียงเพียงลำพังตัวคนเดียว แต่ถ้าได้ออกเสียงพร้อมๆ กับเพื่อนจะทำให้มั่นใจขึ้น (ขั้นนี้จะทำให้การเปล่งเสียงของผู้เรียนชัดเจนขึ้น ฝึกอ่านออกเสียงให้รูปปากตรงกับเสียงที่เปล่งออกมา)

2. เฉพาะกลุ่มที่มีปัญหามากๆ ให้เพื่อน หรือ พี่ที่มีประสิทธิภาพการอ่านดี เป็นคนสอน (ลักษณะคล้ายกับคลินิกภาษา)  และประเมินมาส่งครูในตอนกลางวัน พี่ๆ หรือเพื่อนๆ ก็จะมีแรงจูงใจเป็นคะแนน (ต้องมีไว้นิดหน่อย)

3. จากนั้นครูประมวลผลภาพรวมของการอ่าน และเจาะจงไปที่ปัญหาของการอ่าน เช่น อ่านวรรณยุกต์เพี้ยน  อ่านออักษรนำไม่ได้  อ่านคำควบกล้ำไม่ได้ เป็นต้น ต้องนำมาแก้ที่ครู เนื่องจากนักเรียนจะต้องได้รับต้นแบบที่ถูกต้องจริงๆ ด้วยการสร้างสื่อ หรือแบบฝึกอ่านแจกลูกคำแบบโบราณเฉพาะของปัญหานั้นๆ (เพราะนักเรียนสมัยนี้ไม่ค่อยได้ฝึกแจกลูก)

จากแนวทางการแก้ปัญหาที่นำเสนอมาผลปรากฎว่า 80 % ของนักเรียนที่มีปัญหาสามารถแก้ไขได้และดีขึ้น (จากผลการรายงานการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนโรงเรียนฯ รายงานถึงเขตฯ) แต่อีก 20 % พบว่าปัญหาที่นักเรียนอ่านไม่ออกนั้น ไม่ได้เป็นเพราะว่าอ่านไม่ได้  ประสมคำไม่ได้  แต่เกิดจากสภาพจิตใจข้างในที่เกิดความประหม่า  หรือเกิดจากความกลัวที่จะผิด อาจจะเป็นเพราะว่าได้รับประสบการณ์ไม่ดีจากครูตั้งแต่สมัยประถมฯ  ถึงขั้นนี้ก็ต้องใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็กที่เกี่ยวข้องกับวุุฒิภาวะทางอารมณ์  ครูเลยต้องลดรังสีอำมหิตลงจะทำให้ผู้เรียนกล้าที่จะเข้าหา และพูดคุยได้ จึงง่ายต่อการเรียนรู้ (เทคนิคนี้ได้จากการดูงานที่โรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ศูนย์เด็กอัจฉริยะ)

แต่ยอมรับว่าวิธีนี้ใช้่เวลานานกว่าจะเห็นผล เป็นเทอม หรือเป็นปี สำหรับกรณีที่ปัญหาหนักๆ จริงๆ หากใครมีเทคนิคที่ได้ผลเร็วกว่านี้ นำมา ลปรร.กันดู

เรื่องเด็กอ่านหนังสือไม่ออกเป็นปัญหาเกือบทุกที่ ดิฉันเคยเจอประสบการณ์นี้ด้วยตัวเอง ครั้งได้นำนักเรียนชั้น ม. 1 ไปเข้าค่ายธรรมะที่วัด วันสุดท้ายหลวงพ่อให้นักเรียนเขียนคำขอโทษ พ่อแม่ และครู และให้คัดเลือกข้อความที่ประทับใจให้นักเรียนที่เป็นเจ้าของบทความออกไปอ่านให้เพื่อนๆ ฟัง ปรากฎว่าเด็กนักเรียนคนนี้อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ บทความนั้นให้เพื่อนเป็นคนเขียนให้ แต่เค้าเป็นคนบอกข้อความให้เพื่อนเขียน สุดท้ายต้องให้เพื่อนมาอ่านนำแล้วให้เด็กนักเรียนคนนี้อ่านตาม จึงอ่านได้(อ่านตามที่เพื่อนอ่านให้ฟัง) ซึ่งทางโรงเรียนก็ได้พยายามแก้ไขปัญหาอยู่ แล้วจะลองนำวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีคุณครูได้แนะนำมานะคะ

เด็กชายสมเจตน์ พันธ์พรม NUC&I ปี 2

มีข้อสงสัยในงานนวัตกรรมที่อาจารย์สั่ง

ผมได้รับมอบหมายให้ทำเกี่ยวกับหลักสูตร F4 ซึ่ง F1-3 นั้นเป็นการจัดหลักสูตรสำหรับ นักเรียนช่วงชั้นที่1-2 ประถมศึกษา  ดังนั้นผมสอนมัธยมฯ  ก็ต้องมาเล่นที่ F -4 หรือ Fullfillment  ถูกต้องหรือเปล่าครับ เป็นความสงสัยก่อนที่จะลงมือทำครับ ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยตอบให้กระจ่างด้วยครับ

 

Fullfillment จะไม่ใช้เดี่ยวๆจะต้องมีฐานมาจากF1-3ดังนั้นอาจประยุกต์ทำ 4Fในระดับมัธยมเลยก็ได้ค่ะ

 

มือใหม่หัดเขียน...  ขอร่วมก๋วน C&I ด้วยคนนะคะ..  ได้อ่านเรื่องปัญหาเด็กอ่านไม่ออกแล้วรู้สึกสะเทือนใจจัง นี่ขนาดภาษาของเราเองแท้ ๆ ยังอ่านไม่ออก แล้วภาษาอังกฤษล่ะจะอ่านออกไหม  ขอร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยคน  ครูหัวยุ่งคนนี้สอนภาษาอังกฤษชั้น ม.1  โรงเรียนอยู่ติดชายแดนเขมร  ห่างกันไม่กี่กิโล  สอนมาได้ประมาณ 5 ปีเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ  ใกล้ ๆ กันมีโรงเรียนระดับประถมประมาณ 5 โรงเรียนที่อยู่ในเขตเทศบาล 

ตั้งแต่สอนปีแรกจนถึงตอนนี้  กลับพบว่าการเรียนรู้ของนักเรียนแง่ลงเรื่อย ๆ   สังเกตจากวิชาที่ตนเองสอน  เด็กก็อ่านไม่ออกเหมือนกัน  สะกดก็ไม่เป็น  ลักษณะที่เขาอ่านเหมือนกับว่าเขากำลังนึกอะไรบางอย่าง  อ่านไปนึกไป  เริ่มจับอาการได้เมื่อทดสอบอ่าน ซึ่งกว่าจะจบทุกรักทุเรพอดู  ลองเปลี่ยนข้อความใหม่ให้อ่านปรากฏว่าอ่านไม่ได้เลย  ทั้ง ๆ ที่บางคำก็เจอในบทอ่านที่เพิ่งอ่านจบไปแต่ก็ไม่สามารถอ่านได้ 

ถามเขาว่าแล้วทำไมเมื่อเมื่อกี๊พออ่านได้แล้วครูเปลี่ยนเรื่องนิดเดี่ยวอ่านไม่ได้  "เมื่อกี๊ผมจำมาอ่านครับ"  นี่คือคำตอบที่เขาตอบกลับมา....แล้วเธอจำได้หมดรึ..."ก็จำได้บางลืมบ้าง"  ก็เลยขอดูบทที่เขาใช้ฝึกอ่านก่อนที่จะมาสอบกับครู  น่าตกใจเขาเขียนภาษาไทยกำกับไว้ทุกคำ  แล้วสิ่งที่เขาอ่านก่อนจะมาสอบเขาไม่ได้อ่านภาษาอังกฤษเขาอ่านภาษาไทย 

....ตอนนี้ทุกครั้งที่เปิดเทมอใหม่สิ่งแรกที่ต้องทำในชั่วโมงแรกของการสอนภาษาอังกฤษเลยก็คือพยายามคัดกรองนักเรียนด้วยการทดสอบแบบง่าย ๆ ทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน  แล้วคัดเลือกนักเรียนที่อาการร่อแร่ (ICU) คือเหมือนไม่เคยเรียนภาอังกฤษมาก่อน มีแม้กระทั่งเขียน A-Z ไม่ได้ก็มี    รู้สึกเลยว่าการเป็นครูที่ดีมันเหนื่อยจังเลยเน๊าะ  พยายามพูดคุยให้เขาร่วมมือกับเราเพื่อจะได้อ่านออกเหมือนเพื่อน ให้กำลังใจและดำเนินการฝึกด้วยตัวเอง  แต่ด้วยความเป็นครูหัวยุ่งงานเยอะการติดตามจึงไม่ต่อเนื่องจะเจอเด็กเฉพาะในห้องเรียน  ลองให้เพื่อนช่วยสอนอยู่เหมือนกันแต่ไม่ค่อยได้ผล...

...มีครูภาษาอังกฤษคนไหนเจอกรณีแบบนี้บ้างไหมค่ะช่วยแนะนำครูหัวยุ่งหน่อยนะคะจักขอบพระคุณเป็นอย่างสูง.. (ครูหัวยุ่ง)

 

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะคะ เห็นชื่อคุณครูหัวยุ่ง แล้วมองภาพออกเลยว่าน่าจะเหมือนกันกับที่โรงเรียนที่สอนอยู่นะค่ะ อีกอย่างเป็นครูที่สอนวิชาภาษาอังกฤษเหมือนกันคะ ก็เคยเจอปัญหาแบบนี้มาโดยตลอดนะคะ ไม่ใช่เฉพาะแต่ม.1 เท่านั้น บางทีนักเรียนม.ปลายยังอ่านคำศัพท์ง่าย ๆ ไม่ได้เลย ก็เคยใช้วิธีการคล้าย ๆ ที่คุณครูหัวยุ่งทำเหมือนกันนะคะ เคยให้เด็กมาฝึกอ่านเริ่มจากคำศัพท์ง่าย ๆ ฝึกอ่านซ้ำๆ จากนั้นก็เพิ่มคำศัพท์ที่ยากขึ้น จนกว่าจะคล่อง แล้วลองทดสอบดู นักเรียนก็อ่านได้ แต่ต้องทำต่อเนื่องนะค่ะ ช่วงแรก ๆ นักเรียนจะอ่านได้ดีมาก แต่ไม่ได้ติดตามผลระยะยาว เนื่องจากงานยุ่งมากเหมือนกัน ทั้งงานพิเศษ และงานต่าง ๆ ที่มีมาตลอด แม้แต่เวลาตรวจงานนักเรียนยังแทบจะไม่มี จึงไม่ได้มีเวลาในส่วนนี้มากเท่าที่ควร ก็มีความคิดว่าน่าจะให้นักเรียนฝึกฝนใหม่ โดยเริ่มต้นจากการผสมคำน่ะค่ะ นักเรียนจะได้รู้หลักการในการผสมคำและหลักการอ่านออกเสียง ไม่ใช่จำมาอ่าน พอเจอคำใหม่ ๆ ก็อ่านไม่ได้

ผมขอเสนอการออกแบบหลักสูตรแบบใหม่ คือ  backward  ของ wiggins  ด้วยความปรารถนาดี จาก พนม C&I NU  ปี 47092440  เลขที่ 39 

การนำ  Backward  Design  มาใช้ในการประเมินผลการเรียน 

 

อ.ไตรรงค์  เจนการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา : 081-7058686   หลักการของ  Backward  Design                        กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward  Design) ของ Wiggins  และ McTighc  เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้)  สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร  เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ (Performances)   ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้  แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้                        กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน  3 ขั้นตอน   แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า                        ขั้นตอน 1 :  อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า                        ขั้นตอน 2 :  อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ                        ขั้นตอน 3 :  ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุน                                             ทำให้เกิดความเข้าใจ  ความสนใจและความยอดเยี่ยม                                             ในหลักฐานนั้นๆ               ขั้นตอนที่ 1      :  อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า                        การใช้หลักการออกแบบแบบถอยหลังกลับ   อันดับแรกครูผู้สอนควรทำคือการให้ความสำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning  goals)  หรือเป้าหมายของความเข้าใจ        ความเข้าใจที่ว่านี้คือ ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืน (Enduring Understanding)  ที่ครูผู้สอนทุกคนต้องการให้นักเรียนของพวกเขาได้รับการพัฒนาไปให้ถึงจุดหมายปลายทางตามลำดับขั้นการเรียนรู้บรรลุผลที่สำเร็จสมบูรณ์ที่สุด สิ่งนี้ก็เป็น จุดเน้นสำคัญที่จะขาดเสียมิได้รวมทั้งแนวทางดำเนินการ,  ชุดคำถามที่สำคัญด้วยเช่นกัน  ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะต่างๆ ที่มุ่งไปสู่ความคิดรวบยอดใหญ่ๆ   หลักการต่าง ๆ  หรือกระบวนการต่างๆ             ตัวอย่าง ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนในตัวผู้เรียน  และชุดคำถามที่สำคัญหรือแนวทาง ชุดคำถาม  ประกอบด้วยŸ    เรามีวิธีการใดที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้เท่าทียมกัน ?Ÿ    มีวิธีการใดที่จะดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ?Ÿ    มีวิธีการใดที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง ?Ÿ    จะดำรงชีวิตอย่างไรในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงWiggins  and  McTighe  เสนอแนะให้ใช้เครื่องกรอง “Filters”  เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปคือŸ  เป็นตัวแทนความคิดที่สำคัญ (big idea) มีคุณค่าฝังแน่นฝังใจมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าในระดับชั้นเรียนŸ    เป็นหัวใจที่สำคัญที่บรรจุลงลงในรายวิชา (ซึ่งมีผลต่อ การลงมือทำ  ในเนื้อหาวิชา)Ÿ    ต้องไม่จำกัดขอบเขต (เพราะว่ามันเป็นนามธรรมและทำให้เกิดความคิดที่เข้าใจผิดอยู่เป็นประจำ)Ÿ    สนับสนุนความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวผู้เรียนความเข้าใจที่ได้คัดเลือกไว้บางทีอาจเป็นความเข้าใจที่สำคัญมากๆ  หรือความเข้าใจในระดับหน่วยการเรียนรู้,  ลำดับขั้นตอนความเข้าใจ  (สิ่งเหล่านี้ พวกเราหวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้บรรลุผลความเข้าใจในแต่ละระดับ  ตลอดระยะเวลาในลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้)   ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น                  ขั้นตอนที่ 2     : อะไรคือหลักฐานพยานของความเข้าใจ                         ครูผู้สอนต้องตัดสินใจต่อไปว่า   ความเข้าใจเหล่านี้  นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิต, แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง  Wiggins and  Mctighe ได้ให้รายละเอียดของความเข้าใจ 6 ประการ (Six  facets  of  understanding)  โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง  เมื่อนักเรียนสามารถŸ    อธิบายชี้แจงเหตุผล (can  explain)Ÿ    แปลความตีความ (can interpret)Ÿ    ประยุกต์ (can apply)Ÿ    มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง (have  perspective)Ÿ    สามารถหยั่งรู้มีความรู้สึกร่วม (can empathise)Ÿ    มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง (have  self – knowledge)ทั้ง 6 ด้านของความเข้าใจสามารถช่วยสนับสนุน  ให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติของความเข้าใจและมีหนทางหลากหลาย  ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปเกี่ยวกับความเข้าใจ  เพื่อความสมเหตุสมผลกับรูปแบบการเรียนรู้ (Learning  styles)  นักเรียนจะนิยมชมชอบบางข้อเท็จจริง  หรือมีความเข้มแข็งบางด้าน (some  facets) ของความเข้าใจมากกว่าพวกคนอื่น ๆ ที่เขามีอีกด้านอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายสำหรับครูผู้สอนที่จะพัฒนาความเข้าใจในแต่ละด้านให้กับนักเรียนทุกคน  ทั้งหกด้าน  (six  facets)   ของความเข้าใจซึ่งได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการออกแบบการประเมินผลและการเรียน
การสอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นที่ 2
คือการกำหนดหลักฐานพยานที่ยอมรับได้ว่านักเรียนรู้จริงทำได้จริงมีความเข้าใจตามเป้าหมายที่ต้องการ
ในส่วนของกระบวนการวางแผนนี้  อะไรที่ทำให้ “backward  design”  แตกต่างจากระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม  ก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจต่าง ๆ  คณะครูผู้สอน  มีความจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน  ในขณะเดียวกันก็เน้นถึงความสำคัญให้เกิดความชัดเจนในการพัฒนาผลงาน / ภาระงานความสามารถ  (Performance  tasks)  ด้วย  Wiggins  and  Mctighe  สนับสนุนความพอเหมาะที่ได้สัดส่วนของการใช้การประเมินผล ซึ่งเป็นการใช้การประเมินผลที่มากกว่าแบบดั้งเดิม  อันประกอบด้วย  การสังเกต,การสอบย่อย, การใช้แบบสอบประเภทต่างๆ เป็นต้นการกำหนดแนวทางเพื่อใช้คัดเลือกขอบเขตของการประเมินผล ผลงาน/ภาระงาน ต่างๆ  และการแสดงความสามารถต่าง ๆ  ต้อง :Ÿ    สนับสนุน ช่วยเหลือให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความเข้าใจ (Developing  understand)  Ÿ    ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ  อธิบายถึงความสามารถในความเข้าใจผลงาน / ภาระงาน (tasks)  ต้องมีการจำแนกแยกแยะและระดับของความแตกต่างหรือชั้นของความเข้าใจอีกด้วยขอเน้นถึงความสำคัญ   การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และควรจะมีอยู่ (มีการประเมินผลอยู่ตลอด) ตั้งแต่ต้นจนจบของลำดับขั้นตอน  มิใช่นำมาใช้เมื่อจบหน่วยหรือจบรายวิชาเท่านั้น              ขั้นตอนที่ 3      :   อะไรคือประสบการณ์การเรียนรู้และจะสอนอย่างไร                         ในขั้นตอนที่ 3 ของกระบวนการ backward  design  ครูผู้สอนออกแบบในลำดับขั้นตอนคิดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนรับผิดชอบดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการพัฒนาความเข้าใจ (develop  understanding)                        การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะมีระดับที่เหนือกว่ามากกว่าการจำได้ในเนื้อหาวิชาที่เรียน  นักเรียนต้องได้รับการจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ที่เป็นไปได้สำหรับพวกเขาที่สืบค้น  (inquiries)   ประสบการณ์โดยตรง  กระบวนการให้เหตุผล (arguments)  การประยุกต์นำไปใช้และจุดของภาพที่ซ้อนเร้นอยู่ข้างล่างของข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นต่างๆ ที่พวกเขาเรียนรู้  ถ้าพวกเขามีความเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ                          ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ต้องการให้ผู้เรียน :                        -  สร้างทฤษฎี  อธิบายชี้แจง แปลความ  ตีความ,ใช้หรือมองเห็นด้วยจินตทัศน์ (perspective) ในสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนรู้...ซึ่งพวกเขาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้อง มีความเข้าใจที่เหมือนๆ  กัน  หรือมีความสามารถในความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าที่จะจดจำ                        ประสบการณ์ต่างๆ  เหล่านี้  ต้องผสมกลมกลืนทั้งในแนวกว้างและแนวลึก  และจะต้องเป็นทางเลือกที่ต้องการและได้รับการยอมรับ  ประสบการณ์เหล่านี้ที่จะถูกนำไปดำเนินการในเชิงลึกซึ่งต้องการให้นักเรียนเจาะลึก (unearth)   วิเคราะห์แยกแยะ  ตั้งคำถาม  พิสูจน์และวางหลักเกณฑ์ทั่วๆ  ไป   การที่ให้ประสบการณ์มีลักษณะกว้างเพื่อต้องการให้นักเรียนทำการเชื่อมโยง  มองเห็นภาพ (ตัวแทนหรือรูปจำลอง)  และขยายความคิดให้กว้างแผ่ออกไป                        สิ่งที่สำคัญก็คือความชัดเจนในวิธีการที่อิงแนวทางแสวงหาความรู้ (inquiry – based  approach)  ที่ต้องการ ไม่จำกัดขอบเขต (uncovering)  ในการเลือกเนื้อหา                         การทบทวนและขัดเกลา  (Review  and  Refine)                        ดูเหมือนว่าในแบบจำลองของการวางแผนทั้งหมดของ “backward  design”  ต้องการกระบวนการปรับปรุงแก้ไขและสิ่งที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขขัดเกลาแล้วในทุกขั้นตอนในกระบวนการของการวางแผน                        การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย                          backward  design มิใช่สิ่งอัศจรรย์ยิ่งใหญ่  สบายหรือกระบวนการง่าย ๆ  มัน                        คือสิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่  คุณจะต้องกลับไปและผ่าให้ทะลุเข้าในแผนผังหลักสูตร  ทำการปรับปรุงกระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลา  เมื่อคุณผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปในส่วนของการวางแผนของคุณ                                                                        Backward  design  และการเรียนรู้ในสิ่งที่สำคัญๆ  กรอบแนวความคิดนี้มีประโยชน์ต่อการใช้สอย  เมื่อแบบจำลอง backward  design  ถูกนำไปใช้เป็นกรอบแนวความคิดเชื่อมโยงกันทั้ง 3 ขั้นตอนของแบบจำลอง (model)  เกี่ยวข้องกับกรอบแนวความคิดการเรียนรู้ที่สำคัญและเอกสารด้านอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ -------------------------

อ.ไตรรงค์  เจนการ  

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
(19 สิงหาคม 2549)
 โทร  081-705-8686 
ดัดแปลงจากเอกสาร  Planning05 November  2004 http://www. ltag.education.tas.gov. au/ planning/models/princbackdesign.htm.

 

 ดีมากค่ะ backward design มีประโยชน์มากสำหรับคนในแวดวงการศึกษา นับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้เรียนรู้นวัตกรรมด้านความคิดเช่นนี้ ขอให้พวกเราได้ใช้พื้นที่ตรงนี้ให้เป็นประโยชน์ร่วมกันในการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณค่าให้กับเยาวชนของชาติ ขอเชิญชวนทุกคนที่ได้หรือมีแนวคิด เทคนิค สื่อ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ และอื่นๆ แนวใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาใช้เวทีนี้เป็นที่เผยแพร่กันเถอะ จะได้เรียนรู้ร่วมกันเช่นนี้อีกเพื่อจะได้นำไปสร้างสรรสิ่งใหม่ให้กับเด็กๆของเราต่อไป 

 

 

ครูประถมขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคน ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้จะพบทุกชั้นเรียน สาเหตุแรกน่าจะเกิดจากความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ครูและผู้ปกครองต้องร่วมมือกันสร้างความพร้อม จากนั้นเป็นเรื่องของการฝึกฝนครูและผู้ปกครองให้ความเป็นกันเอง ให้กำลังใจ ค่อย ๆ ฝึกทีละนิด เด็กจะอ่านได้ ลองนำไปใช้ดูนะคะ

ผมไม่หล่อไม่เท่แต่ผมชอบงานนี้คับผม           ผม้าดวลSFผมไม่เทพแต่ดหด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท