แบบประเมินลีลาการเรียนรู้


แบบประเมินลีลาการเรียนรู้

     แบบประเมินลีลาการเรียนรู้ (Learning style) นี้เหมาะสำหรับการประเมินตัวเองแบบกว้างๆ เพื่อให้ทราบถึงลักษณะการเรียนรู้ของตัวเอง เป็นประโยชน์ต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการสนับสนุนของวิทยากรที่เหมาะกับแต่ละท่านที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป download และทดลองทำแบบประเมินได้ที่

http://gotoknow.org/file/cupmanager/Memletics-Learning-Styles-Inventory_translate.xls

ด้วยความเคารพรัก

หมายเลขบันทึก: 88695เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นฉบับทดลองนะครับ กำลังแปลจากต้นฉบับและทดลองใช้ ท่านใดมีคำแนะนำจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ

ขอบคุณครับ

การนำลีลาการเรียนมาใช้มีประโยชน์ต่อนักเรียน/นักศึกษามาก  ดิฉันเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องลีลาการเรียนเหมือนกัน  อยากจะนำมาใช้ในการแบ่งกลุ่มสอนนักเรียน  แต่ยังไม่มีเอกสารประกอบมากพอ  หากคุณกิตติพงศ์มีเอกสารเพิ่มเติม  รบกวนช่วยลงในกระดานด้วย ไม่ทราบว่าต้นฉบับจาก  Menletics Accerlerated Learning Style Manual  By Sean Whiteley หรือเปล่าคะ  ไม่ทราบว่าผลการทดลองใช้เป็นอย่างไรบ้าง  หากมีอะไรที่พอช่วยเหลือได้ยินดีค่ะ ดิฉันมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่สามารถเป็นกลุ่มทดลองได้

ขอบคุณครับคุณปิ๊กที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

จริงๆ ผมเองก็เพิ่งจะนำเรื่องของ Learning style มาใช้ในการอบรมครั้งนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ และเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ไม่ได้ลงรายละเอียดในเชิงเนื้อหามากนัก แต่อ้างอิงที่ให้มาสามารถเข้าไปค้นรายละเอียดเพิ่มได้ใน website ครับ และหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องนี้ต่อไป

ขอบคุณครับ,

กิตติพงศ์

เรียน คุณกิติพงศ์

หากเราสามารถแบ่งลีลาการเรียนรู้ออกเป็นกลุ่มได้แล้ว  หากบุคคลในกลุ่มมีระดับความสามารถแตกต่างกัน เราน่าจะมีวิธีการที่จะจัดการกับความแตกต่างนี้ได้อย่างไรคะ  ดิฉันอยากจะนำลีลาการเรียนไปใช้ในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  แต่เนื่องจากเขามีระดับความสามารถที่แตกต่างกัน  จึงอยากจะขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมด้วยค่ะ  อาจใช้ในการสอนวิชาภาษาไทย  คุณกิติพงศ์คิดเห็นอย่างไร  ช่วยเสนอความเห็นด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ปิ๊ก

ขอบคุณ คูณปิ๊ก ครับที่เข้ามาเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ผมขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในฐานะผู้เรียนรู้เช่นกันนะครับ เพราะจริงๆ ผมไม่ได้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เช่นกัน

ในกลุ่มเด็กพิเศษ ผมเข้าใจว่าจะมีพัฒนาในแต่ละด้านที่แตกต่างกันมาก หลังจากประเมินลีลาการเรียนรู้แล้ว โจทย์ใหญ่ คือ การสร้างเครื่องมือฝึกทักษะให้สอดคล้องกับลีลาการเรียนรู้นั้น เช่น ถ้ามีลีลาการเรียนรู้ที่ชอบการฟัง สื่อที่เหมาะ คือ การใช้เสียง เป็นต้น สำหรับกรณีของการใช้ภาษาไทย เช่นกัน เมื่อพบว่าเด็กแต่ละคนมีลีลาการเรียนรู้แบบไหน ก็จัดทำสื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้นั้น เช่นกัน

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับลีลาการเรียนรู้ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ website: http://www.memletics.com

ขอบคุณครับ

ลีลาการเรียนรู้

ลีลาการเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท