กระบวนการเรียนรู้จากภายใน...ปฐมบทของชายคนหนึ่ง


ผมคิดว่าคำตอบที่เขาเตรียมตอบกับผมนั้น คงน่าสนใจมาก เมื่อผมเห็นวิถีชีวิตที่ดีงามของเขาที่เป็นอยู่

 

 

หลังจากที่ อ.ธวัช หมัดเต๊ะ จาก สคส. ท่านได้เขียนเสนอความเห็นในบันทึกของผม การเรียนรู้จากภายใน (Inside out) ในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และยังบอกว่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ภายในที่เกิดขึ้นในตนเอง โจทย์ว่า มีการพัฒนาตนเองขึ้นมาจากภายในได้อย่างไร?”

 


 

โจทย์นี้ผมนำไปขบคิดอยู่แรมเดือน ผมคิดว่า หากจะเขียนเรื่องนี้ออกมาให้ได้ ก็ต้องถอดบทเรียนตัวเอง ว่า ตนเองมีกระบวนการเรียนรู้ และมีพัฒนาการอย่างไร และการเรียนรู้นั้นส่งผลอย่างไรบ้างกับชีวิต...

 

 

 ที่ร้านอาหารเล็กๆในตัวอำเภอปาย...ผมได้ตั้งคำถามนี้ต่อน้องชายคนหนึ่ง ที่ผมคุ้นเคย และผมเห็นการเติบโตของเขาอย่างน่าทึ่ง ผมไม่ปฏิเสธว่าเขาเป็นผู้ผลักดันให้ผมเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยพลังของความสนใจใคร่รู้ ถูกนำมาเป็นประเด็นที่เราค้นหา และนำมาพูดคุยระหว่างกันเนืองๆ

 


 

 

 น้องชายคนนี้ เป็นนายแพทย์หนุ่ม ที่ทำงานด้วยอุดมการณ์ทุ่มเทกับการดูแลชีวิต เยียวยาผู้คน ในโรงพยาบาลชุมชนเล็กๆแห่งหนึ่ง...

 

ผมมักจะพูดคุยกับเขาเสมอ เมื่อมีประเด็นใหม่ๆ หรือ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นรายทาง  จากการสนทนาแบบ Dialogue ระหว่างผมและเขา ผมได้พันธมิตรปัญญาที่ช่วยเติม ต่อยอดความคิด และมุมมองต่อสิ่งหนึ่งอย่างน่าสนใจเสมอ


 

 

 ผมคิดว่าผมจะตั้งคำถามคำถามหนึ่ง...อยากรู้ว่าน้องจะตอบโจทย์อย่างไร?


ในส่วนตัวผม ผมคิดว่าคำตอบที่เขาเตรียมตอบกับผมนั้น คงน่าสนใจมาก เมื่อผมเห็นวิถีชีวิตที่ดีงามของเขา ที่เป็นอยู่

 

แม้เพียงปฐมบท ของคำตอบเขาเป็นเหมือน วาทกรรม ที่ถอดออกมาจากชีวิตคนหนึ่งคนว่าด้วยเรื่องของการพัฒนาตนเองจากข้างใน ไปสู่บุคคลเรียนรู้... ในสามประเด็น เราเรียนรู้อะไร? เราเรียนรู้อย่างไร? และ เราเรียนรู้เพื่ออะไร?

 

และ ถ้อยความข้างล่างคือ คำตอบของเขา

 

 


  เราเรียนรู้อะไร ?
 

 

  • เราเรียนรู้จิตใจ  อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ว่าดี  ว่าเหมาะ  เกิด
    ปัญญาที่ดีงามพอเพียงหรือยัง  
  • เราเรียนรู้ศาสตร์ทางสังคม ต่างๆ มนุษยศาสตร์  สังคมศาสตร์  เศรษฐศาสตร์  
  • เราเรียนรู้เรื่องการพัฒนาตนเองในเรื่องงาน  ในเรื่องการพัฒนาวิชาชีพ  
  • เราเรียนรู้เรื่องการพัฒนาคนและการพัฒนาองค์กร  
  • เราเรียนรู้สิ่งที่เรารู้ว่ายังไม่รู้  และสิ่งที่เราไม่รู้ว่าไม่รู้

     

เราเรียนรู้อย่างไร ?

 

  • เรียนรู้ด้วยตนเองจากหลายๆวิธี   ทั้งการอ่านหนังสือ  สื่อสารสนเทศ  อินเตอร์เน็ท และการแลกเปลี่ยนกับผู้รู้ต่างๆ รอบตนเอง
  •  เรียนรู้จากชีวิตจริง  ชีวิตจริงที่เรากำลังดำเนินอยู่ทุกๆลมหายใจ  เราได้
  •  เรียนรู้เสมอ  กับสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต 
  • เรา เรียนรู้ผ่านอายตนะทั้ง ๖ ของเรา  โดยเฉพาะการเรียนรู้กับสิ่งที่เราใกล้ชิด บ่อยๆ  คือ ครอบครัวของเราเอง  งานของเราเองที่ต้องพบกับผู้คนที่เกี่ยวข้องกับ เรา เช่น ผู้รับบริการของเรา ทั้งในและนอกองค์กร
  •  เราเรียนรู้จากความผิดพลาด  จากความพร่องของตนเอง  จากอดีต  และจากผู้อื่น
  •  เราเรียนรู้จากความสำเร็จ  ความดีงามของคนอื่นๆ
  •  เราเรียนรู้ด้วยวิธีอื่นๆอีกมากมายที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาต่อไป

 เราเรียนรู้เพื่ออะไร ?
  

  • เริ่มต้นจากตอนเด็กเราเรียนรู้เพื่อที่จะเอาตัวรอด  เรียนรู้เพื่ออยู่ให้
    ได้ในสังคมอย่างมีความสุข  หรือว่าเราอาจจะเรียนรู้จากการถูกบังคับให้เรียนรู้ และอาจจะมีบางครั้งที่เราเรียนรู้เพราะว่าความอยากรู้ของตนเอง เมื่อเติบโตมาเราเรียนรู้วิชาที่เฉพาะสำหรับตนเองเพื่อที่จะนำมาปฏิบัติงาน อาจจะเป็นสิ่งที่เราอยากรู้และชอบ  หรือเราอาจจะไม่ชอบมากแต่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำมาทำงานเพื่อให้ได้รับผลตอบแทน แล้วนำมาเลี้ยงชีพตนต่อไป
  •  ระหว่างที่ทำงานเราพบว่าเราเริ่มเรียนรู้ว่าเรายังมีความไม่รู้และความ พร่องอยู่มาก  และเริ่มรู้ว่า   ...ด้วยสิ่งที่เรายังไม่รู้ที่มากมาย  ถ้า หากว่าเรายังใช้วิธีการเรียนรู้แบบเดิมๆนั้นก็คงจะไม่เพียงพอ  ไม่ทัน ไม่เหมาะ สมกับความรู้ต่างๆที่เราต้องเรียนรู้  เราจึงต้องแสวงหาและพัฒนาการเรียนรู้ของ ตนให้ดียิ่งๆขึ้นกว่าเดิม
  •  ในช่วงของการทำงานนั้น  เป้าหมายของการเรียนรู้มีหลายอย่าง  แต่ที่สำคัญๆ คือ  เรียนรู้เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานของเราเองให้ดียิ่งๆขึ้นอย่างต่อ เนื่องตลอดไป   เรียนรู้เพื่อต่อยอดความรู้ของเราเอง    ที่ตัวตนของเราเองก็ถูก ถามจากเสียงภายในเสมอว่า   มีอะไรอีกนะที่เราควรรู้ หรือต้องรู้    เรียน รู้เพื่อเชื่อมโยงหรือบูรณการความรู้ต่างๆเข้าด้วยกัน   และสุดท้ายเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจของเราเอง  ด้วยฐานคิดแบบพุทธะที่ตัวตนของ เรานั้นถูกเคลือบด้วย อกุศลมูล ๓  คือ โลภะ โทสะ และโมหะ เราเรียนรู้เพื่อลดละ  ทำให้จางลง ในแง่ของกิเลสที่เกาะเกี่ยวจิตของเราเพื่อเพิ่มพลังแห่งปัญญาที่จะเกิดขึ้น

 

 

 

 

 

 

  

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เชียงใหม่

หมายเลขบันทึก: 88589เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

กระบวนการเรียนรู้จากภายใน....

เรียนรู้จากภายในตัวเรา ขยายผลไปสู่การเรียนรู้จากภายในครอบครัวเรา ต่อไปสู่การเรียนรู้จากภายในชุมชน ขยายไปสู่การเรียนรู้จากภายในสังคมครับ...

ขอบคุณมากครับ...

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ขอบคุณ คุณดิเรก ครับ

หากเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงาม เริ่มเพาะกำเนิดจากเรา เมล็ดแห่งความดีงามนั้น จะค่อยๆเติบโต ให้ประโยชน์ต่อเรา และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

บทเรียนที่ถอดตัวเองออกมา...สำคัญ ที่ได้เห็นลายแทงแห่งชีวิต ได้มีโอกาสทบทวน และเห็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ และที่พลาดไป ล้วนแล้วแต่มีคุณค่า

ยุทธศาสตร์เรียนรู้ขของตัวเอง เริ่มต้นจากวิถีคิดแบบนี้

ขอบคุณมิตรภาพที่สม่ำเสมอครับ คุณดิเรก

ผมเคยจะถามว่า ทำไมถึงเรียน "จิตวิทยา" แม้ไม่อ่านบันทึกนั้น ผมก็พอได้คำตอบแล้วครับ บันทึกของคุณดิเรกบอกตัวตนได้ดี

 

  • เข้ามาซึมซับการเรียนรู้หลาย ๆประเด็นค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ
พี่อัมพร
P

ยินดีที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับพี่อัมพรครับ

ต้องเรียกว่า เรามีการเรียนรู้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานการณ์นะครับ

ขอให้มีความสุขกับการเรียนรู้ครับผม

  • มาเยี่ยมครับ..
  • ตอนนี้กำลังจะไปเยี่ยมกลุ่มเด็กรักป่าที่ จ.สุรินทร์ครับ

ขอบคุณครับ คุณย่ามแดง

P

วิถีชีวิตคุณย่ามแดงน่าสนใจมากครับ...และผมขอติดตาม การเดินทางไปสตึก และภาคอีสานครั้งนี้

ผมชื่นชอบในวิธีคิด และวิธีเขียนของคุณย่ามแดงครับ

ขอให้กำลังใจ

....

และขอฝากกำลังใจให้ พี่ดอกแก้ว ด้วยครับ

สวัสดีค่ะคุณจตุพร

แวะมาร่วมเรียนรู้และมาบอกว่า " ชอบ " จังค่ะ..

ขอบคุณค่ะสำหรับการทำให้วันนี้มีสิ่งดีๆอีกครั้งหนึ่ง

สวัสดีค่ะอาจารย์จตุพร

ไม่ได้แวะเวียนเข้ามานาน อาจารย์สบายดีไหมค่ะ.

-กระบวนการเรียนรู้จากภายในหนูคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะ จะเป็นก้าวแรกในการเรียนรู้จากสิ่งอื่น ๆ ..ได้ดี

 

 

 

สวัสดีครับ คุณ Chah

นานเหมือนกันนะครับ ที่ไม่ได้เห็นแวะเวียนมา ผมสุขสบายตามอัตภาพ และมีโอกาสได้ทำในสิ่งใหม่ๆมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นโชคดีของผม

การเรียนรู้ ของคนหนึ่งคน เป็นการพัฒนาตนเองจากภายใน เพื่อเปิดใจรับรู้ สิ่งใหม่ บวกกับประสบการณ์ต่างๆที่พบเจอ กลั่นออกมาเป็นปัญญาครับ

ดังนั้น การเปิดใจเพื่อการเรียนรู้จึงเป็นสะพานแห่งชีวิตที่นำไปสู่ปัญญาครับ

 

สวัสดีครับ คุณ
P

ต้องขอขอบคุณมากมายเลยครับ ที่มาเยี่ยมให้กำลังใจ ในส่วนของการเขียนก็พยายามคิดเสมอว่า อยากเขียนบันทึกเล็กๆ แต่สร้างแรงพลังใจให้กับผู้อ่าน

ซึ่งก็บางทีตรงจริตกับผู้อ่านบ้าง ไม่ตรงบ้าง คละเคล้ากันไป

แต่ที่แน่ๆผู้เขียน เขียนด้วยใจที่เป็นสุขครับ

ขอบคุณครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท