เรื่องเล่าจากดงหลวง 60 เมื่อการพัฒนาทำให้คนไม่เข้าใจคน โรคร้ายแรงชนิดใหม่


เฮ่อ ต่างก็สร้างสรรคเทคนิคต่างๆมากมายทั้งด้าน กายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม ต่างพัฒนาเทคนิคเพื่อให้คนเข้าใจคน มันตลกแบบหัวเราะไม่ออก เมื่อด้านหนึ่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ก้าวไปสุด สุด แต่คนกลุ่มหนึ่งต้องหันหน้ากลับมาสร้างศาสตร์ให้ “คนเข้าใจคน”

ผมเข้ามากรุงเทพฯ 5 วัน ประชุมระดมสมองพัฒนา Proposal โครงการระยะที่สองกัน ท่ามกลางชาวบ้านนั่งนอนประท้วงอยู่หน้าตึก ผมกระวนกระวายใจเป็นที่สุด ลึกๆคิดเสมอว่า “นี่หรือคือผลงานพัฒนาประเทศ” ที่เราก็มีส่วนอยู่บ้างในทางอ้อม พ่อ แม่พี่น้องต้องมานั่งนอนอย่างไม่เป็นสุข แต่ท่านเหล่านั้นต้องมา ทำไม ถ้าไม่ใช่เพราะผลของการพัฒนาสังคมของประเทศของเรา ผมมีโอกาสเล็กๆได้คุยกับพี่น้องบ้าง แต่ไม่มากนัก น่าสงสาร ผมไม่รู้รายละเอียดมากนักหรอก ว่าตื้นลึกหนาบางเป็นอย่างไร แต่หดหู่ใจจริงๆครับ

 

วันนี้ผมต้องมาเป็นวิทยากรฝึกอบรมเรื่อง PRA ให้แก่พนักงานบริษัทที่ผมสังกัดอยู่ หลายท่านคงรู้จักคำ PRA นะครับ หากท่านไม่รู้จักขอขออธิบายสั้นๆว่า PRA คือ Participatory Rapid Appraisal เป็นกระบวนการหาความจริงของชุมชนอย่างเร็ว เป็นการพัฒนาวิชาการจากอดีตทางด้านการวิจัยชุมชน มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคณะเกษตรศาสตร์ มข.มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเครื่องมือนี้ กระบวนการนี้ จนโด่งดังไปทั่วโลก และทุกสถาบัน ตั้งแต่ World Bank ลงมาถึงองค์กรพัฒนาเอกชน ทั่วโลกก็เอากระบวนการนี้ไปใช้กัน

 

ผมฝึกอบรมไปก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า มนุษย์ขี้เหม็น เพศผู้เพศเมียนี่หนา ทำไมต้องมาศึกษา เข้าใจกันเอง แสดงว่าโลกแห่งการพัฒนาที่เรียกกันว่าทันสมัย พัฒนาแล้ว เจริญแล้ว มันมีข้อบกพร่องมหาศาล ที่คนจะต้องสร้างศาสตร์มาศึกษาทำความเข้าใจกันเอง แสดงว่าโลกพัฒนานั้นมันทำให้คนห่างกัน ทำให้ผมนึกถึงอีกครั้งที่ท่านอาจารย์ ดร.อำนวย ทะพิงค์แก กล่าวเมื่อสมัยเรียนโน้นว่า สังคมที่เจริญแล้วเกิดโรคระบาดร้ายแรง คือ “โรคความเหงาหงอย ท่ามกลางฝูงชน” คือ ขับรถไปติดบนถนนในเมืองใหญ่ๆ ยาวเป็นกิโล คนที่นั่งในรถนั้นต่างก็มองกันไป มองกันมา แต่ไม่รู้จักกัน ไม่พูดกัน แถมอาจจะหน้าบึ้งใส่กันอีกต่างหาก และโรคนี้มันระบาดมาถึงเมืองไทยนานแล้ว

 

เครื่องมือ PRA หรือกระบวนการ PRA ก็หาเทคนิคต่างๆมาใช้เพื่อจะเข้าใจชาวบ้าน เข้าใจชุมชน เฮ่อ ต่างก็สร้างสรรคเทคนิคต่างๆมากมายทั้งด้าน กายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม ต่างพัฒนาเทคนิคเพื่อให้คนเข้าใจคน มันตลกแบบหัวเราะไม่ออก เมื่อด้านหนึ่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ก้าวไปสุด สุด แต่คนกลุ่มหนึ่งต้องหันหน้ากลับมาสร้างศาสตร์ให้ “คนเข้าใจคน”

คำสำคัญ (Tags): #pra
หมายเลขบันทึก: 87445เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

            คนเข้าใจคน ต้องเริ่มที่การเปิดใจยอมรับกันค่ะ สร้างกำลังใจให้กัน ไม่รู้ถูกผิดแค่ไหนนะค่ะขอบคุณนะค่ะที่นำมาเล่าสิ่งที่ใหม่ ๆให้อ่านค่ะ

  • สวัสดีครับน้องราณี
  • ถูกแล้วครับ การเปิดใจเป็นการแสดงความจริงใจต่อกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของความเข้าใจกันและกัน
  • ขอบคุณครับน้องราณี

พี่ บางทราย คะ แวะมาขอบคุณที่กรุณาเมล์ไปบอกเรื่องปรับตัวหนังสือให้อ่านง่าย.....พี่ทำให้เป็นตัวอย่างเรื่องเปิดใจยอมรับความเห็นคนอื่นที่ชัดเป็นรูปธรรม....ทำให้ยินดีปรีดาเหมือนครั้งแรกๆที่ได้อ่านเจอบล็อกของพี่ค่ะ....

เรื่องความเข้าใจนี่มันแปลกๆ ค่ะ เพราะยิ่งพูดกันมากเรื่องจะให้เข้าใจอย่างไร ..ไปเจอคำศัพท์ใหม่ๆ แปลกๆ ที่ต่างคิดต่างพูด..แล้วก็ยิ่งไม่ค่อยเข้าใจ...เอาไปเอามากลายเป็น ต่างคนต่างเข้าใจ คนละเรื่องเดียวกัน...ทีนี้ก็เลยยิ่งมีคนเขียนตำราว่าด้วยความเข้าใจคนอื่น เพิ่มหนักเข้าไปอีก...วงจรแบบนี้มั้งคะ โลกเลยเป๋ไปเป๋มา..(อิอิ)

 

พี่บู๊ด ค่ะ

พี่เขียนซะ หนูหมดกำลังใจ ทำดุษฎีนิพนธ์เลยนะคะ

เพราะสิ่งที่หนูทำ ก็คือ เข้าใจคน รู้ว่าคนเรียนรู้กันแบบใด แล้งจึงไปพัฒนาการรเรียนรู้

แล้วถ้าเป็นอย่างนี้ ยิ่งทำไป จะยิ่งไม่ทำให้คน ห่างกันออกไปมากขึ้นหรอค่ะ

แต่ยังงัย ก็ยังจะทำต่อนะคะ แล้วจะแวะไปเยี่ยมยาม ที่ดงหลวงนะคะ ขออนุญาต ล่วงหน้า

  • ดีจังเลยครับ
  • ช่วงสงกานต์อยู่ที่ไหนครับ
  • อยากไปเที่ยวที่พี่ก่อนไปต่างประเทศครับ
  • ถ้าได้ไปจะรีบแจ้งวันครับผม

สวัสดีค่ะพี่บางทราย 

แต่คนกลุ่มหนึ่งต้องหันหน้ากลับมาสร้างศาสตร์ให้ “คนเข้าใจคน”..นี่แหละค่ะ " งาน " ที่หนักที่สุดในยุควิทยาศาสตร์ที่อุดมไปด้วยศัพท์วิชาการและการสร้างคำใหม่ๆให้คน " ยึด " กันเข้าไปเรื่อยๆ..

  • สวัสดีน้องจันทรรัตน์ เจริญสันติ
  • คนเราบกพร่องกันได้ ยอมรับ แล้วแก้ไข
  • หากมีทิฐิ โลกนี้ก็เดือดร้อนทุกวี่วันนี่แหละ
  • เรื่องเล็กๆไม่เป็นไรมาก  เรื่องใหญ่ๆนี่ซิกระทบถึงสังคมโดยรวม  ไม่ดี
  • ขอบคุณครับน้อง จันทรรัตน์ เจริญสันติ
  • น้องกาเหว่าครับ
  • ความจริงมันเป็นอย่างนั้น เราเข้าใจความจริงแล้วก้หาทางป้องกัน แก้ไขซะ
  • ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าการพัฒนาแบบที่ผ่านมาจะส่งผลอะไรบ้าง  เขาคาดเดาไม่ถูก  เมื่อมาวันนี้เราเห็นก็ต้องช่วยกันพูด ช่วยกันแสดงความเห็นจะได้ส่งผลถึงการปนับต่อไปในภายหน้า
  • สังคมมนุษย์มันซับซ้อนมากขึ้น จนใช้ศาสตร์เดี่ยวมาแก้ไขปัญหาสังคมไม่ได้  ต้องบูรณาการศาสตร์ครับ
  • มองในมุมหนึ่งเราก็จะได้มีงานทำไงครับ
  • สวัสดี อ.ขจิต ฝอยทอง
  • ช่วงสงกรานต์ที่เป็นวันหยุดคงอยู่ที่ขอนแก่นกับกรุงเทพฯ  ไปกรุงเทพฯเพราะว่าไปร่วมทำบุญกระดูกบรรพบุรุษ
  • ช่วงวันทำงานอยู่ที่มุกดาหารครับ
  • ยินดีต้อนรับครับหากจะมาช่วงนั้น
  • ยินดียิ่งนัก
  • สวัสดี น้องเบิร์ด
  • พี่ชอบผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม บุคคลดีเด่นแห่งปี อดีตผู้แทนเกษตรกรในที่นั่ง สภา  พูดว่า "ฃีวิตคนปัจจุบันอยู่บนสายพานชีวิต" เพราะต้องหมุนตามวิถีที่เปลี่ยนไปโดยเจ้าตัวไม่ต้องการมากมายมหาศาล เหมือนโดนบังคับว่าจะต้องตื่น ตี 4 เพราะต้องรีบขึ้นรถเมล์ไปที่ทำงาน ผิดไปจากนี้ไม่ได้  ไม่อิสระเหมือนคนบ้านนอก
  • จึงเปรียบเป็นชีวิตบนสายพาน  ที่ต้องหมุนไปตามโลก บนสายพานนั้น
เด็กชายขอบแห่งเมืองสามหมอก

สวัสดีครับอาจารย์

ผมเสนใจเครื่องมือ praหรือกระบวนการ pra แต่ผมยังเข้าใจดี

ผมอยากได้ข้อมูลหรือวิธีการ pra อาจารย์ช่วยส่งให้ได้ไหมครับ เพื่อผมจะกลับไปพัฒนาหรือทำงานที่บ้านแก้ไขได้

อาจารย์ช่วยส่ง pra ให้ได้ไหมครับ

เอางี้ซี

  • ช่วยแนะนำตัวนิดหนึ่ง ว่าเป็นใคร ทำอะไร ทำไมสนใจเครื่องมือนี้ แล้วจะเอาไปทำเพื่ออะไร
  • การอ่านนั้นไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด แต่ก็ดีกว่าไม่อ่านเลย ความจริงที่เขาจัดฝึดอบรมก็เพราะมันมีรายละเอียดของการทำมากกว่าการบรรยายเป็นตัวหนังสือในเอกสาร
  • การทำควรมีทีมงานที่มีความหลากหลายพื้นฐานความรู้ เช่น นักเกษตร นักสังคม นักเศรษฐศาสตร์ นักวิศวกรรมศาสตร์ นักสาธารณะสุขศาสตร์ แต่นั้นเป็นทีมใหญ่ที่สมบูรณ์ หากไม่มีก็ได้ แต่ต้องเข้าใจประเด็น เข้าใจสาระ รู้จัก..เอ๊ะ...ต่อประเด็นต่างๆ
  • เอกสารเป็นเล่มใหญ่ หากแนะนำรายละเอียดมาจะพิจารณาส่งเอกสารให้ครับ ด้วยความยินดีครับ

คุณหมอสุพัฒน์ ที่ รพ.ปาย และ จตุพร (เอก) ก็รู้เรื่องนี้ดีครับ

อย่างไรก็ตามลองอธิบายเพิ่มเติมมาหน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท