มาตรการบังคับสิทธิ...บังคับอย่างไร


หากใครยังมีข้อสงสัยจากบล็อกเรื่อง "มาตรการบังคับสิทธิตามสิทธิบัตร (Compulsory License)" ว่าทำไมบริษัทยาถึงโจมตีไทยว่าละเมิดสิทธิบัตร หรือยังสงสัยว่ามันบังคับสิทธิยังไง ลองมาติดตามในหัวข้อนี้ดูนะคะ

ในการอธิบายเรื่องนี้คงต้องพูดถึงเรื่องสิทธิบัตรกันก่อนค่ะ
โดยเบื้องต้นแล้ว "สิทธิบัตร" (Patent)
ก็คือหนังสือที่ออกให้เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์
ของผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นใหม่
ซึ่งมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
และสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้

โดยให้สิทธิในการผูกขาดตลาดแต่เพียงผู้เดียว
ทั้งนี้ผู้ทรงสิทธิบัตรอาจอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิของตน
หรืออาจโอนสิทธิบัตรให้แก่บุคคลอื่นก็ได้
ทั้งนี้มีข้อแลกเปลี่ยนคือ ในขั้นตอนการขอสิทธิบัตร
ผู้ขอจะต้องเปิดเผยการคิดค้นหรือกรรมวิธีการผลิตนั้น
เพื่อให้ผู้อื่นสามารถพัฒนาต่อยอดหรือนำไปผลิต
เมื่อสิทธิบัตรหมดอายุได้ หมายเหตุไว้นิดนึงค่ะว่า
สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรในไทยค่ะ

แล้วไงต่อ...ใช่ไหมคะ คราวนี้ลองมาดูเรื่อง
การบังคับสิทธิตามสิทธิบัตรกันบ้างนะคะ
"การบังคับใช้สิทธิ (Compulsory License - CL)" 
เป็นเรื่องการใช้อำนาจเข้าบังคับเพื่อทำการผลิตเอง
หรือมอบให้ผู้อื่นผลิต หรือนำเข้ายาที่ราคาถูกกว่า
โดยไม่ได้พิจารณาถึงผู้ทรงสิทธิบัตรว่าจะสมัครใจหรือไม่...

มาถึงตรงนี้คงจะพอเข้าใจแล้วใช่ไหมคะว่า
มันฟังดูเผิน ๆ แล้วคล้ายกับการละเมิดสิทธิบัตรอย่างไร
แต่จริง ๆ แล้วสามารถทำได้โดยถูกกฎหมาย
และมีเหตุผลที่มาที่ไป ดังได้กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว...
ใครที่เพิ่งมาอ่านบทความนี้กรุณาย้อนกลับไปอ่านบล็อกที่แล้ว
จะได้ความกระจ่างขึ้นค่ะ
คราวนี้จะเป็นการกล่าวเพิ่มเติมจากเนื้อหาในคราวที่แล้วนะคะ

หากพิจารณาตามมาตรา 31 แห่งข้อตกลงทางการค้าว่าด้วย
ทรัพย์สินทางปัญญา (Agreement on Trade-Related Aspect
of Intellectual Property Rights : TRIPs Agreement) ประกอบกับ
มาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร
ซึ่งมีความสอดรับกัน
ต่างก็กำหนดให้รัฐเป็นผู้ใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ
(Government Use) อันต่างกับการใช้สิทธิโดยเอกชน
ซึ่งจะมีรายละเอียดต่างกันและจะขอยกไว้ก่อนนะคะ
นอกจากนี้การใช้สิทธิดังกล่าวเป็น
การใช้สิทธิโดยรัฐที่มิได้มีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์อีกด้วย
(Public Non-commercial Use)

โดยไม่จำเป็นต้องเจรจาหรือพยายามที่จะได้รับอนุญาต
จากผู้ทรงสิทธิบัตรก่อน
(นี่เป็นอีกประเด็นที่บริษัทยาโจมตี
ว่าไทยไม่มีการเจรจากับเค้าก่อนค่ะ)
เพราะจะทำให้รัฐไม่มีอำนาจต่อรองเพียงพอ
ที่จะบังคับใช้สิทธิได้ หน้าที่ของรัฐก็มีเพียงแต่

1. จะต้องแจ้งให้ผู้ทรงสิทธิบัตรทราบโดยไม่ชักช้า และ

2. ให้ค่าตอบแทนที่เพียงพอ (Adequate Remuneration)
     แก่ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นค่ะ ทั้งนี้ หากบริษัทยาไม่พอใจ
     ค่าตอบแทนที่ได้รับ ก็สามารถร้องขอให้อธิบดี
     กรมทรัพย์สินทางปัญญากำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสม
     และอาจอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีต่อไปได้อีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 86876เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

น่าสนใจมากครับ :-)

license น่าจะแปลว่า สัญญาอนุญาตหรือเปล่า?  

อ่านวิกิพีเดียก็แปลไปอีกแบบเลย ... 

ทำนองนั้นแหละค่ะ "license" แปลตรงตัวคือ อนุญาต, ใบอนุญาต เหมือนใบขับขี่เราก็จะใช้คำว่า driver license ใช่ไหมคะ ในที่นี้ก็น่าจะแปลว่า การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ในทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ) ค่ะ

ส่วนที่คุณวีร์ได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติมใน wikipedia คำว่า "Compulsory License" ดิฉันได้ลองเข้าไปอ่านแล้วนะคะ ที่จริงแล้วโดย concept ก็ไม่แตกต่างกันกับที่ดิฉันอธิบายหรอกค่ะ คุณวีร์อาจสับสนว่า "Compulsory License" ใช้กับแค่สิทธิบัตรหรือเปล่า ตามที่ดิฉันใส่ไว้ในหัวข้อก่อนหน้านี้ ที่จริงแล้วคำว่า "Compulsory License" ไม่ได้เจาะจงใช้กับสิทธิบัตรเท่านั้นหรอกค่ะ อาจใช้กับทรัพย์สินทางปัญญาอย่างอื่นด้วยก็ได้แล้วแต่กรณี บังเอิญเรื่องที่ดิฉันยกขึ้นมาเป็นเรื่องสิทธิบัตรยา จึงได้ตั้งชื่อหัวข้อไว้เช่นนั้นเองค่ะ

รู้สึกว่าผมจะมาสนใจช้าเอามากๆมาสนเอาตอนที่มันเป็นเรื่องขึ้นว่าถึงกับต้องส่งคนไปเจรจา  อ่านไปก็ิติดอยู่คำเดียวคือซีแอลมันมีผลขนาดไหนถึงเริ่มเป็นเรื่องให้ตีกันได้ก็ต้องขอบคุณอะครับ

เอาซะกระจ่างเชียว แต่ที่ผมอยากถามนี่คือเกี่ยวกับการเมือง เพราะเห็นว่าเชี่ยวชาญเรื่องกฏหมายแต่กับวงการการเมืองก็คงคลุกคลีกันอยุ่บ้างอะครับ  ผมชอบแลกเปลี่ยนมุมมองครับอยากจะถามว่ารัฐบาลชุดนี้ในความคิดเห็นเป็นยังไง  โดยส่วนตัวผมตั้้งข้อสังเกตอยู่อย่างนึงผมไม่ได้ชอบรัฐบาลของอดีตนายกชุดก่อน  ตั้งแต่ตอนกรณีของกฟผ.แต่ผมก็ไม่ได้อคติซึ่งก็เช่นเดี่ยวกับรัฐไปโค่นอำนาจเขามา  ที่ไม่เห็นด้วยมีอยู่ข้อเดียวอะครับผมว่าคงเคยอ่านเจอมั่งแหละที่รัฐบาลนี้ไม่ว่ามีเรื่องอะไร ใหญ่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมูลก็จะมีข่าวมาเสมอว่าเป็นฝีมือที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายก  จนกระทั่งล่าสุดที่ผมดูแล้วว่าไม่เหมาะสมมากๆเลยคือเรื่องไอทีวีก็เป็นที่รู้นะครับว่าก่อนหน้า นี้ใครถือหุ้นอยู่ตัวนี้ก็อยากให้ช่วยแนะนำนิดนึงอะครับเพราะอ่านที่เขาพิจารณาคือศาล ไปเพิกถอนคำสั่งศาลกันเองเพียงแต่คำตัดสินมันอยุ่กันคนละรัฐบาลเลยทำให้ดูเหมือนมัน ไม่เป็นธรรมเลยอยากให้ช่วยแนะนำนิดนึงอะครับส่วนผลตัดสินก็อะนะทำคนที่ไม่รู้เรื่อง เดือดร้อนไปตามๆกันดีที่กลับลำทันยอมปล่อยให้ออกอากาศไม่งั้นคงมีโอกาสสุงที่จะมี ก่อม็อบอย่างกว้างขวางเหมือนสมัยหน้าเหลี่ยมแล้วยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ทำห้ผมมอง รัฐบาลนี้เป็นพวกมือถือสากปากถือศีลโค่นเขาไปแล้วยังยำกันไม่เลิกจนถึงเรื่องประกาศใช้ แอลซีก็ยังไม่วายโดนโยงไปถึงอดีตนายกว่าล็อบบี้ยิสต์หรือเปล่า

ทั้งหมดนี่ก็คือความคิดแง่มุมหนึ่งอะครับในส่วนตัวของผมคิดเห็นประการใดก็ว่ากันได้ครับ

ดูดูๆไปก็ไม่ค่อยตรงหัวข้อคงไม่ว่ากันนะครับอิอิ 

 

 

ขอโทษอะครับที่เป็นดำๆผมกดใช้ผิดอันไปคลุมดำทับก็อ่านได้แล้วครับ

 

ี่ Sorry Sorry

ขอบคุณค่ะ คุณ DarkGeneral ดิฉันขอตอบคำถามของคุณดังนี้ค่ะ

  • ดิฉันว่าเรื่องสงครามน้ำลายนี่ถือเป็นเรื่องธรรมดาของการเมืองเลยทีเดียว ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันมีอยู่ทุกยุคทุกสมัยแหละค่ะ มีการสาดโคลนกันจนไม่รู้ว่าใครกันแน่ที่ทำถูกหรือผิดหรือเป็นสีเทาด้วยกันทั้งคู่ ไม่แน่ว่าอดีตนายกทักษิณอาจจะโจมตีรัฐบาลปัจจุบันเสียยิ่งกว่าก็ได้ เพียงแต่เราไม่รู้เพราะเค้าอยู่ต่างประเทศและทางรัฐบาลของเราตอนนี้ก็บล็อกข้อมูลพวกนี้เสียเยอะค่ะ กรณี Compulsory License - CL ก็คงไม่ต่างกัน เราคงต้องใช้วิจารณญาณอย่างสูงทีเดียวในการรับฟังเรื่องพวกนี้ แต่ดิฉันเห็นว่าสิ่งที่สำคัญกว่าการโทษกันจับผิดกัน คือปัญหาปัจจุบัน เราจะมีทางออกอย่างไร จะก้าวเดินต่อไปอย่างไร แก้ไขอย่างไร ทำอย่างไรให้บรรลุจุดประสงค์ น่าคิดมากกว่าค่ะ
  • สำหรับเรื่อง ITV ดิฉันขอยกไว้ตอบต่อคราวหน้านะคะ
ครับ เพราะการเมืองมันเป็นอย่าง งี้แหละ บางทีคนดีๆเข้าไปออกมาเละหมด

ถึงคุณ DarkGeneral

  ต่อจากคราวที่แล้วนะคะ หลังจากที่ดิฉันไปปัดฝุ่นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่อง "ไอทีวี" ตามที่คุณถามมา ดิฉันคิดว่าคุณน่าจะเข้าใจอะไรผิดไปในเรื่องความหมายของ "อนุญาโตตุลาการ" ซึ่งต้องอธิบายกันยาวหน่อยค่ะ  

เรื่องนี้เป็นการฟ้องร้องกันในศาลปกครอง ระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ผู้ร้อง กับ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ผู้คัดค้าน เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และตามคำพิพากษาศาลปกครองทั้งชั้นต้นและชั้นสูงสุด ก็พิพากษาให้ตามคำขอ และมีรายละเอียดอีกมากมายขอละไว้นะคะ

  

การที่ศาลปกครองมีคำสั่ง เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่การพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษา ตามที่คุณ DarkGeneral เข้าใจนะคะ ปกติแล้วการระงับข้อพิพาทโดยวิธีการทางศาล หากท่านไม่พอใจคำพิพากษาก็สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปได้จนถึงชั้นสูงสุดของศาลแต่ละประเภท อย่างศาลปกครองมี 2 ชั้น คือ ชั้นต้น และชั้นสูงสุด

  

ส่วน คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่คำพิพากษาของศาลค่ะ ก่อนอื่นขออธิบายคำว่า อนุญาโตตุลาการ นะคะว่า คือวิธีการระงับข้อพิพาทอีกอย่างหนึ่ง อันเป็นทางเลือกที่จะไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล โดยอาศัยการตัดสินของผู้ทรงคุณวุฒิอันคู่กรณีเป็นผู้เลือกได้ ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ ทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทเสมือนศาล แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการแต่อย่างใด กล่าวคือ เมื่ออนุญาโตตุลาการได้พิจารณาข้อพิพาทและมี คำชี้ขาด เพื่อระงับข้อพิพาทแล้ว อำนาจของอนุญาโตตุลาการก็สิ้นสุดแต่เพียงเท่านั้น อนุญาโตตุลาการไม่มีอำนาจไปบังคับหรือลงโทษผู้ไม่ทำตามคำชี้ขาด สิ่งที่ทำให้การระงับข้อพิพาทมีผลบังคับก็คือการนำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไปร้องต่อศาลเพื่อใช้อำนาจตุลาการบังคับอีกทีค่ะ

  

ในกรณี ไอทีวี นี้ เค้าฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาด ไม่ใช่ให้บังคับตามคำชี้ขาด ซึ่งศาลให้เหตุผลว่าอย่างไร สามารถอ่านรายละเอียดโดยย่อ (แต่ก็ยังยาวอยู่ดี 555) ได้ ที่นี่ ค่ะ

  หากสงสัยเรื่องใดก็ถามเข้ามาได้นะคะ โดยตั้งคำถามไว้ที่ สอบถาม อ.หนู จะสะดวกและตรงกับหัวข้อมากกว่าค่ะ

เข้าใจผิดจริงๆแหละครับ ก็เข้าใจว่ามีอำนาจเทียบเคียงเหมือนคำสั่งศาลอิอิรู้สึกเพื่อนผมมันก็ไม่รู้เรื่องพวกนี้เหมือนกัน

สงสัยคงจะมองว่าโดนแกล้งเหมือนผมกันหมดแน่ๆเลย เดี่ยวทีหลังมีอะไรสงสัยจะมารบกวนถามอีกครับ เซฟลิงค์ใส่แฟ้มไว้แล้ว อิอิ

สวัสดีนะคับ อาจารย์ หนู  ผมมีข้อ สงสัย เกี่ยวกับ Trips Agreement น่ะคับ

ตามที่มี Decision of the General Council ของ WTO ในวันที่ 6 ธ.ค. 2549 ที่ จะ นำ บทบัญญัติ ของ Doha Declaration A. 6 มาใช้ กับ Trips ที่ เกี่ยวกับ CL เรื่อง pharmaceuticle product  น่ะคับ  คือว่า

1.เค้าจะ ยกเลิก Trips agreement A.31 (f) เป็นการถาวร เลยใช่ไหมคับ เพราะเหตุใดครับ (เท่าที่อ่านอยู่ ประมาณ ว่า "predominantly for the supply of the domistic market of the member authorising such use" ---> มันไม่ดีต่อ ประเทศที่ให้ lc ใช่้ไหมคับ)

2. แล้วใน A. 31(h)  ทำไมถึงมีปัญหาเรื่อง remuneration ล่ะคับ เพราะเค้าบอกว่าจะยกเลิกเหมือนกัน เพื่อเลี่ยง การ double remuneration ....งง อ่ะคับ

3. คำถามสุดท้ายแล้วคับ  ประเทศกำลังพํฒนา จะสามารถ take adventage ในช่วง transition ใน A. 65 (4) ที่เกี่ยวกับเรื่องยา อย่างไรได้บ้างอะคับ  

ขอบคุณมากคับ :) 

 

 

 

สวัสดีค่ะ คุณ asdd

ขอแก้นิดนึงค่ะ เป็นปี พ.ศ.2548 (หรือ ค.ศ.2005) ไม่ใช่ปี พ.ศ.2549 นะคะ

1. Article 31(f) เป็นเงื่อนไขของการประกาศ CL ซึ่งโดยเนื้อหาหมายความว่า รัฐสามารถประกาศใช้ CL ได้ก็ต่อเมื่อรัฐสามารถผลิตยาสามัญ หรือสั่งยาสามัญมาจากผู้ผลิตของประเทศนั้นเอง เพราะฉะนั้นอีกนัยหนึ่ง ปัญหาก็คือ ถ้าเราผลิตยาเองไม่ได้ ก็ประกาศใช้ CL ที่ถูกต้องตาม TRIPS ไม่ได้ ส่วน Protocol ตัวนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะยกเลิกมาตรานี้นะคะ แต่เป็นการยกเว้นให้ในบางกรณีค่ะ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Protocol Amending the TRIPS Agreement

2. เช่นเดียวกับหัวข้อที่แล้ว Article 31(h) ก็ไม่ได้จะถูกยกเลิกเช่นกันค่ะ เพียงแต่เป็นการยกเว้นเฉพาะการจ่าย remuneration ให้ฝ่ายประเทศนำเข้าในกรณี parallel imports เพราะกรณีนี้ถ้าใช้ตามมาตราดังกล่าว จะต้องจ่าย double remuneration ให้ทั้งประเทศนำเข้า และประเทศส่งออก ดังนั้น protocol จึงออกมาแก้ปัญหาตรงนี้ให้การจ่าย remuneration เป็นไปแค่ครั้งเดียว คือจ่ายให้ฝ่ายประเทศส่งออก

3. ในปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ มีระบบกฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครองไปถึงเรื่องยาแล้ว รวมทั้งประเทศไทย เพราะช่วง transition ใน Article 65(4)กำหนดเวลา 5 ปี นับแต่ 1 มกราคม ค.ศ.2000 ดังนั้นปัจจุบันช่วงเวลาดังกล่าวจึงไม่มีผลอะไรแล้วค่ะ อย่างไรก็ตามช่วงเวลาดังกล่าวยังมีผลกับประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งได้รับการขยายเวลาถึง 1 มกราคม 2016
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท