ระวังปรากฏการณ์ Superheating ในการใช้เตาไมโครเวฟ


สิ่งที่คุณต้องรู้...หากใช้เตาไมโครเวฟเพื่อทำให้เครื่องดื่มร้อน

 

 

ก่อนอื่น อยากให้ลองดูคลิปวิดีโอต่อไปนี้ก่อนครับ.... 

 

 http://gotoknow.org/file/chiew-buncha/superheating.mpg

 

จากนั้น ลองไปอ่านเรื่องที่คุณหุย (Trip Maker) ได้กรุณาโพสต์เอาไว้

 

              ข้อควรระวังในการใช้ไมโครเวฟเพื่อต้มน้ำเปล่า

 

ทั้งนี้ ผมได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในข้อคิดเห็น #3 เนื่องจากเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับคนที่ใช้ไมโครเวฟอย่างมาก โดยขอเพิ่มเติมข้อมูลเล็กน้อย

  • ของเหลวทุกอย่างอาจเกิดปรากฏการณ์นี้ได้ทั้งสิ้น เช่น น้ำ ชา กาแฟ
  • อย่าใส่ไข่ที่ยังไม่ได้แกะเปลือกในเตาไมโครเวฟ เพราะไม่ว่าจะเป็นไข่ดิบ หรือไข่ต้มสุกแล้ว ก็จะมีน้ำอยู่ข้างใน หากร้อนจัดๆ น้ำจะขยายตัวดันให้ไข่ "ระเบิด" ออกมาได้ 

หากมีคำถามใดๆ เพิ่มเติม ก็ยินดีนะครับ :-)


ข้อมูลจาก forwarded mail (พฤหัสบดี 18 มิ.ย. 2552)

 

Microwaved water - one MUST read

 

A 26-year old guy decided to have a cup of coffee. He took a cup of water and put it in the microwave to heat it up (something that he had done numerous times before).

 

I am not sure how long he set the timer for, but he told me he wanted to bring the water to a boil. When the timer shut the oven off, he removed the cup from the oven. As he looked into the cup, he noted that the water was not boiling, but instantly the water in the cup 'blew-up' into his face.

 

The cup remained intact until he threw it out of his hand but all the water had flown out into his face due to the build up of energy. His whole face is blistered and he has 1st and 2nd degree burns to his face, which may leave scarring. He also may have lost partial sight in his left eye.. While at the hospital, the doctor who was attending to him stated that this is fairly common occurrence and water (alone) should never be heated in a microwave oven. If water is heated in this manner, something should be placed in the cup to diffuse the energy such as: a wooden stir stick, tea bag, etc. It is however a much safer choice to boil the water in a teakettle.

 

General Electric 's (GE) response:

 

Thanks for contacting us. I will be happy to assist you. The e-mail that you received is correct. Micro waved water and other liquids do not always bubble when they reach the boiling point. They can actually get superheated and not bubble at all. The superheated liquid will bubble up out of the cup when it is moved or when something like a spoon or teabag is put into it.. To prevent this from happening and causing injury, do not heat any liquid for more than two minutes per cup.  After heating, let the cup stand in the microwave for thirty seconds before moving it or adding anything into it.

 

If you pass this on ... you could very well save someone from a lot of pain and suffering.

 


 

หมายเลขบันทึก: 86578เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2007 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

อาจารย์คะ ชื่อเรื่องผิดเป็น Superheaing ค่ะ ตก t ไปหนึ่งตัวค่ะ

ตอนแรกอ่านเผินๆ นึกว่าเป็น superhearing ที่เกิดจาก microwave ค่ะ ; )

สวัสดีครับอาจารย์

เมื่อกี้ไปอ่านความคิดเห็นของอาจารย์ที่เขียนไว้ที่

   ข้อควรระวังในการใช้ไมโครเวฟเพื่อต้มน้ำเปล่า

เลยมีข้อสงสัยนิดหน่อยครับ

ที่อาจารย์บอกว่า เพราะน้ำไม่ได้อยู่ในภาวะสมดุลย์ เรามีวิธีการจะรู้ได้อย่างไรหรือครับว่ามันไม่สมดุลย์

แล้วทำไมถ้าเราต้มน้ำ น้ำถึงอยู่ในภาวะสมดุลย์หล่ะครับ

ก่อนอาจารย์จะเฉลย ผมขออนุญาตเดาคำตอบก่อนนะครับว่า

น้ำต้ม ที่อยู่ในภาวะสมดุลย์นั้น เพราะมันมีการเคลื่อนที่ของตัวโมเลกุลน้ำหรือเปล่าครับ คือโมเลกุลน้ำที่มีไม่ได้รับความร้อนเคลื่อนที่ลงต่ำ ในขณะที่โมเลกุลน้ำที่ได้รับความร้อนแล้วเคลื่อนที่ขึ้นสูงนะครับ

ส่วนการต้มน้ำแบบไมโครเวฟนั้นไม่มีการเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรือเปล่าครับ (แต่ผมเสียวสันหลังว่าผมเดาผิดแน่ๆเลยครับ)

ขอบพระคุณมากครับอาจารย์สำหรับความกระจ่างในความรู้ครับ

  • ขอบคุณพี่ชิวมาก ๆ เลยครับที่มาแนะนำความรู้เพิ่มเติม เวลากินมาม่าพยายามต้มน้ำกับกาครับ แต่บางครั้งต้องอุ่นเช่น นมร้อน ก็ใช้ microwave แต่ก็เปิดปุ้ปก็ไปอยู่อีกห้องเลยครับ
  • แล้วถ้าเกิด anchohol (อุ่นเหล้า อิอิ) จะมีจุดเดือดสูงหรือต่ำกว่าครับ?

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร. กมลวัลย์

  • ขอบคุณมากครับที่ทักท้วง ได้แก้ไขแล้วครับ :-)
  • เห็นจากประว้ติ อาจารย์จบจาก Purdue University ทำให้ผมนึกได้ว่า advisor ของผม คือ Dr. Thomas H. B. Sanders, Jr. ก็เคยสอนที่ Purdue Univ. อยู่พักหนึ่ง ก่อนจะย้ายมาที่ Georgia Tech
  • ที่ Purdue Univ. มีผู้เชี่ยวชาญด้านอุณหพลศาสตร (thermodynamics) อยู่คนหนึ่งคือ D.R. Gaskell - - อาจารย์รู้จัก Prof. Gaskell ไหมครับ หนังสือของท่านเขียนได้ดีมาก :-)  
  • เป็นความบังเอิญเหมือนกันที่ประเด็นเรื่อง Superheating นี้เกี่ยวข้องกับอุณหพลศาสตร์อีกต่างหาก

      (สำหรับ อ.เก๋ ครับ - นี่เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Six Degrees of Separation อันน่าพิศวงครับ)

 

สวัสดีครับ คุณไปอ่านหนังสือ

         ประเด็นเกี่ยวกับ สภาวะสมดุล (equilibrium state) ของระบบนี่อยู่ในวิชาอุณหพลศาสตร์ครับ & เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเอาการอยู่

         ใครไม่สนใจก็ผ่านไปได้ครับ ให้รู้ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ได้รับอันตรายก็พอแล้ว แต่ถ้าสนใจเจาะลึก ก็อ่านต่ออีกนิด

..................................................................................

         จริงๆ แล้วผมยังใช้คำไม่แม่นยำตามหลักวิชาการครับ เพราะถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่านี้ ก็จะบอกว่า น้ำที่ร้อนแบบยิ่งยวด (superheated water) นี่ อยู่ในสภาวะสมดุลแบบไม่เสถียร (unstable equilibrium)

         สภาวะสมดุลแบบไม่เสถียรเป็นยังไง? เรื่องนี้ต้องรู้จักกับสภาวะสมดุลแบบเสถียร (stable equilibrium) ก่อน

         ลองคิดถึง ถ้วยแชมเปญสักถ้วยหนึ่ง คราวนี้ใส่ลูกกลมๆ เล็กๆ ลงไป มันก็จะกลิ้งลงไปที่ก้นถ้วย ขยับไปมาสักพัก แล้วก็นิ่ง ใช่ไหมครับ?

        สมมติว่าเราเอาอะไรไปเขี่ยเจ้าลูกกลมๆ นี้ แล้วปล่อย มันก็จะมีแนวโน้มกลิ้งกลับไปที่ก้นถ้วยเหมือนเดิม

        แบบนี้เรียกว่า สมดุลเสถียร (stable equilibrium) ครับ

        .....................................................

        เอาใหม่...ลองนึกถึงพื้นที่ที่เป็นรูปตัว U คว่ำนะครับ (เอาก้นหงายขึ้น)

       หากมือนิ่งๆ เราอาจจะฟลุ๊ควางลูกบอลกลมๆ ไว้บนยอดสุดได้ โดยลูกบอลไม่หล่นลงมา...

       แต่หากลูกบอลถูกกระเทือนแม้เพียงนิดเดียว ก็จะหล่นลงมา โดยไม่หวนคืนกลับไปอีก

       แบบนี้เรียกว่า สมดุลไม่เสถียร (unstable equilibrium) ครับ

       ................................................................

       น้ำที่ถูกทำให้ร้อนจนเกิดสภาพร้อนยิ่งยวด หรือซูเปอร์ฮีต (superheated water) นี่ ก็เปรียบเสมือนลูกกลมๆ ที่วางอยู่บนตัว U คว่ำ นั่นละครับ คือเป็นสมดุลไม่เสถียร

       กล่าวคือ ตราบเท่าทียังไม่มีอะไรไปรบกวนมัน มันก็จะยังไม่เดือดปุดออกมา

       แต่ถ้ารบกวนนิดเดียว ก็เป็นเรื่องครับ คือระเบิดปุดๆ ออกมาเลย อย่างที่เห็นในคลิปนั่นแหละ

       .......................................................................

       ทีนี้เวลาที่นักวิทยาศาสตร์พูดว่า ระบบอยู่ในสมดุล (a  system is in equilibrium) นี่ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง สมดุลแบบเสถียร (stable equilibrium) (ลูกกลมๆ อยู่ก้นถ้วย)

       พวกสมดุลที่ไม่เสถียรนี้ ก็นับเป็นสภาวะแบบไม่สมดุล (non-equilibrium) ไป => นี่เอง ที่ทำให้ผมอธิบายแบบสั้นๆ ในตอนต้นว่า น้ำที่ร้อนยิ่งยวด (superheated water) อยู่ในสภาวะไม่สมดุล

      ขอบคุณที่ถามมาครับ ทำให้ผมต้องคิดให้ชัดๆ  :-)

(ว่าแต่ งงกว่าเดิมอ้ะเปล่า...แหะ...แหะ)

      

สวัสดีครับ อาจารย์เก๋

        ผมก็เหมือนกันครับ เปิด microwave ปุ๊บ ก็เผ่นไปอีกที่ไกลๆ :-)  แม้จะรู้ทั้งรู้ว่า อยู่ห่างสัก 2 เมตร ก็น่าจะพอ (แต่ก็ยังกลัวระเบิดปุดๆ ครับ)

        เขาเลยสอนว่า เวลาอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟนี่

  • หากใช้ฝาปิด ให้เปิดช่องแง้มๆ ไว้หน่อย
  • หากเป็นไส้กรอก ไข่ต้ม หรืออะไรที่มีน้ำอยู่ข้างใน ก็ใช้กรีด เจาะ ผิวของอาหารนั้น เพื่อให้ไอน้ำหนีออกมาได้

        เรื่องไมโครเวฟนี่ยังมีอีกครับ เอาไว้พี่จะหาโอกาสโม้ให้ฟังอีกที :-)

สวัสดีครับอาจารย์บัญชา

ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำตอบ อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นครับผม

แบบนี้เหมือนกับ super cooling liquid มั้ยครับพี่ชิว

เอาน้ำออกมาจากตู้เย็นไม่แข็ง แต่พอเขย่าหน่อยขยับหน่อย แข็งเป็นเกล็ดหิมะเลย เย้ๆๆ กินให้หายร้อนเลยครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ P ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

ต้องขอเรียนตามตรงว่าดิฉันไม่รู้จัก Prof. Gaskell ค่ะ ดิฉันไปเรียน Construction Management ค่ะ แถมตอนเรียนป.ตรี ก็ค่อนข้างห่างไกลจาก Thermodynamics ค่ะ ตอนนี้ก็แน่นอนว่าลืมไปหมดแล้วค่ะ : ) แต่อ่านบทความอาจารย์เข้าใจดีนะคะ สำหรับหลักการ stable and unstable equilibrium ก็มีใช้กับการวิเคราะห์โครงสร้างในวิศวกรรมโยธาเหมือนกันค่ะ : )

สวัสดีครับ เดอ (นักลงทุนเงินน้อย)

        ว้าว! ดวงตา (น้องเดอ) เห็นธรรมแล้ว!

        supercooling => ไม่เกิดนิวเคลียสของของแข็ง (เช่น เกล็ดน้ำแข็งเล็กๆ ในกรณีของน้ำ) จนกว่าของเหลว (เย็นจัดๆ) จะโดนรบกวน (เช่น เขย่า มีอะไรตกลงไป ฯลฯ)

        superheating => ไม่เกิดนิวเคลียสของฟองแก๊ส จนกว่าของเหลว (ร้อนจัดๆ) จะโดนรบกวน

        คำว่า นิวเคลียส (nucleus) ในที่นี้เป็นศัพท์วิทยาศาสตร์ หมายถึง กลุ่มก้อนของสสารที่พร้อมที่จะเติบโตขึ้นหากเงื่อนไขเหมาะสม

ปล. ไปอ่านเรื่อง supercooling มาจากไหนละครับเนี่ย?

 

สวัสดีครับ อ. กมลวัลย์

         ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ ผมเคยไปสอนที่ มจพ. อยู่พักหนึ่งครับ (ด้านโลหะวิทยา)

ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันค่ะอาจารย์ P ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

ที่อาจารย์มาสอน เป็น สจพ. (พระจอมเกล้าพระนครเหนือ) หรือ มจธ (พระจอมเกล้าธนบุรี) คะ เพราะที่ สจพ. ยังไม่ออกนอกระบบ (ม.ในกำกับ) ค่ะ อย่างไรก็ดี สอนที่ไหนก็ดีเหมือนกันค่ะ ได้ไปสอนให้ที่ มจธ.เหมือนกันค่ะ  

ติดตามอ่านเรื่องที่อาจารย์เขียนอยู่นะคะ เป็นประโยชน์มากค่ะ

เรียนพี่ชิว

 จำได้ว่าเรียนใน เคมี ม.ปลาย กับวิชา  physical chemistry สมัยปี 2 ครับ ยากมากเลยจำจนตาย อิอิ เกลียดวิชาไหน จำวิชานั้นดีนักเลย (เหมือนที่พี่ชิวบันทึกไว้ "อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ")

Hello เดอ (นักลงทุนเงินน้อย)

       จำแม่นจริงๆ ครับ นี่ขนาดแก่พอๆ กับพี่แล้วนะเนี่ย (ฮา)

       อันความจำของคนเรานั้น ท่านว่าจะแม่มากหากมีอารมณ์แรงๆ ปนอยู่ด้วย ไม่ว่าจะรักมั่กๆ หรือเกลียดสุดๆ (สำหรับกรณี Phy Chem นี่ อย่างหลังแหงๆ เหมือนที่บอกมา)

อ่านบล็อคแล้ว REALLY MEGA CLEAVER ฉลาดสุดๆ

Hello หุย

        ขอบันทึกไว้นิดหนึ่งว่า รายการ Mega Clever ตอนแรกสุด (แนะนำภาพรวม) นี่ พี่ไปออกรายการด้วยนะ

        เหตุเกิดจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (ยุบสภา) ในช่วงนั้น ทำให้ คุณมิ่งขวัญ (ผอ. อสมท. ในขณะนั้น) รู้สึกว่าน่าจะบันทึกเทปใหม่ เพราะท่านเชียร์รัฐบาลทักษิณมั่กๆ เลยเสนอกันว่า เอานักวิชาการไปพูดแทนท่านก็แล้วกัน ไปๆ มาๆ พี่ก็เลยไปแนะนำรายการแทน 

สวัสดีค่ะพี่ิชิว

อ่านบล๊อกเดียวได้ทั้งเรื่อง superheating, supercooling, equilibrium state โห คุ้มค่าเหมือนซื้อ 1 แถม 2 เลยนะคะ ฮ่าๆ

มีคนเคยบอกว่าเวลาที่ใช้ไมโครเวฟเนี่ย หลังจากเครื่องหยุดทำงานแล้ว ให้รออีกสักหนึ่งนาทีแล้วค่อยเปิด เพราะรอให้รังสีหายไปสักหน่อย ไม่รู้ว่าจริงรึเปล่าแต่ก็กันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ :D

สวัสดีครับ ณิช

        พี่มีคลิป supercooling ด้วย ไว้จะ upload มาให้ชมกันนะครับ (วิทยาศาสตร์ก็สนุกอย่างนี้แหละ ถ้าเชื่อมโยงกันได้ และที่สำคัญ ถ้าเชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้)

       เรื่องรังสีตกค้างในเตาไมโครเวฟนี่น่าสงสัยครับ เพราะคลื่นไมโครเวฟสร้างด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า หลอดแมกนีตรอน (magnetron tube) เดี๋ยวช่วยกันไปค้นดีกว่าว่า เจ้าหลอดนี้ยังทำงานอยู่อีกแป๊บหนึ่งจริงหรือเปล่า

       ณิชทักเรื่องนี้มาทำให้นึกได้เรื่องหนึ่งคือ พี่เคยโดยไฟดูด แม้โทรทัศน์จะถอดปลั๊กออกแล้ว!

        คือตอนพี่อายุราว 12 ขวบ โทรทัศน์ที่บ้านเสีย ก็เลยเปิดด้านหลัง พี่เห็นโทรทัศน์ถอดสายออกแล้วก็นึกว่า คงไม่มีอันตราย (คิดแบบเด็กๆ แต่ก็น่าจะมีเหตุผลดี) เลยซนเอามือเข้าไปจับจอภาพ ปรากฏว่า โดนไฟดูดอย่างแรงจนแขนชา "จำติดแขน" มาจนถึงเดี๋ยวนี้เลย มาคิดอีกที คงเป็นไฟฟ้าสถิตที่ยังอยู่ในวงจรนั่นเองครับ

สวัสดีค่ะพี่ชิว

มีปลั๊กไฟหลายชนิดที่เมื่อถอดปลั๊กใหม่ ๆ ตัวปลั๊กยังร้อนอยู่ค่ะ บางอันอาจแค่อุ่น ๆ แต่บางอันอาจถึงร้อนมากแล้วทำให้มือเป็นแผลได้เลย เคยโดนมาเหมือนกัน ฮ่าๆๆๆ หลังจากนั้นไม่กล้าจับปลั๊กไฟมั่ว ๆ เลย (ไม่ได้โดนไฟดูดนะคะ แต่รู้สึกเหมือนจับเหล็กร้อนค่ะ) ส่วนเรื่องหลอดแมกนีตรอนนี่ไม่แน่ใจค่ะ แค่เห็นชื่อก็มึนนนนนน ^_^

..ณิช.. 

 

สวัสดีครับ ณิช

         พอดีพี่ on-line อยู่ :-)  เรื่องปลั๊กไฟร้อนนี่พอเข้าใจได้ครับ เพราะความร้อนนี่ต้องปล่อยทิ้งไว้ จนอุณหภูมิลดลงเท่ากับอุณหภูมิโดยรอบ (อุณหภูมิห้อง)

         แต่ไมโครเวฟนี่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) ครับ หมายความว่า หากตัวอุปกรณ์ที่ให้กำเนิดมัน (เจ้าหลอดแมกนีตรอนนั่นแหละ) หยุดทำงาน คลื่นนี้ก็ไม่ควรจะออกมาด้วยครับ  (คล้ายๆ ปิดสวิตช์ไฟ ไฟก็ดับ ทำนองนั้น)

พี่ชิว

สวัสดีค่ะ อาจารย์บัญชา  และผู้อ่านทุกท่าน

   นับว่าเป็นโชคดีที่ดิฉันได้มีโอกาสรู้จักบล็อกนี้(โดยบังเอิญ)ขอบคุณสำหรับเนื้อหาและข้อคิดเห็นดีๆที่ทุกท่านนำมาแบ่งปันค่ะ

   ตอนแรกดิฉันก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่า ภาวะสมดุล กับไม่สมดุล มันเป็นอย่างไร พอได้อ่านคำอธิบายของท่านอาจารย์ ก็ทำให้เข้าใจและเห็นภาพได้เป็นอย่างดีค่ะ(ทั้งที่ก่อนอ่านนึกว่าจะไม่รู้เรื่องซะแล้ว)

   มีข้อสงสัยอีกอย่างหนึ่งคือ ดิฉันเคยอ่านเจอว่าเราไม่ควรอยู่ใกล้ไมโครเวฟมากเกินไปในขณะที่มันทำงานอยู่ เพราะคลื่นไมโครเวฟอาจไปรบกวนการทำงานของสมอง เมื่อสะสมไปนานๆอาจทำให้(ถ้าจำไม่ผิด)การทำงานของสมองแย่ลงหรือระดับสติปัญญาลดลง(แต่คงไม่ถึงกับรุนแรงมาก) ทำนองนี้น่ะค่ะ ดิฉันก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ คลื่นไมโครเวฟเป็นคลื่นเดียวกันกับที่สมองใช้สั่งการหรือเปล่า(เกี่ยวกันไหมนี่) ถึงจะไม่ทราบว่าจะมีผลจริงหรือไม่ แต่ก็พยายามเลี่ยงไว้ก่อน และจะเป็นความกรุณาอย่างยิ่งที่จะมีผู้รอบรู้มาช่วยตอบข้อข้องใจของดิฉันค่ะ

   ดิฉันขออนุญาตนำบทความและคลิปวีดีโอไปเผยแพร่ทางอีเมล์ให้คนอื่นๆได้ทราบกันด้วยนะคะ แล้วจะแวะมาอ่านบทความดีๆอีกค่ะ

สวัสดีครับ คุณ 'ผู้มาใหม่'

        เรื่องเตาไมโครเวฟรั่วนี่เป็นไปได้ครับ หากเตานั้นชำรุด

        ส่วนเตาไมโครเวฟที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว และยังคงสภาพสมบูรณ์ดี จะไม่มีอันตรายดังกล่าว เพราะคลื่นไมโครเวฟซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะถูกป้องกันให้อยู่ภายในตัวเครื่องด้วยตะแกรงโลหะด้านหน้า และโครงสร้างที่เป็นโลหะของเตาไมโครเวฟ(สังเกตด้านหน้าที่เป็นพลาสติกค่อนข้างใส จะมีตะแกรงเป็นรูเล็กๆ อยู่ แผ่นตะแกรงนี้ทำหน้าที่ป้องกันการรั่วครับ)

P
สวัสดีค่ะ
 อาจารย์ ขอความรู้หน่อยค่ะ
จากที่อาจารย์เขียนไว้ในประเด็นนี้ค่ะ

เรื่องรังสีตกค้างในเตาไมโครเวฟนี่น่าสงสัยครับ เพราะคลื่นไมโครเวฟสร้างด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า หลอดแมกนีตรอน (magnetron tube) เดี๋ยวช่วยกันไปค้นดีกว่าว่า เจ้าหลอดนี้ยังทำงานอยู่อีกแป๊บหนึ่งจริงหรือเปล่า
ที่บ้าน ตอนนี้ เราใช้ไมโครเวฟกันน้อยมากๆ
เปลี่ยนเป็น หม้อนึ่งไฟฟ้า และเตานึ่งไฟฟ้าแทนค่ะ....คล้ายๆเตาอบ แต่เป็นเตานึ่งค่ะ
ลูกไปซื้อมา เขาบอกว่า ไปศึกษามา ไมโครเวฟ เป็นที่น่าสงสัยในความปลอดภัย ในเชิง ที่ความร้อน ลงไป ทำให้อาหารร้อนค่ะ คือคลื่นรังสีน่ะค่ะ
ตอนนี้ คนหันมาใช้นึ่งกันมากขึ้นค่ะ เป็นเตาแสตนเลสค่ะ
อาจารย์ว่า คลื่นไมโครเวฟ จะให้ผลเสียมากๆ อย่างไร บ้างคะ ยกเว้น รั่ว
ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท