หลังจากที่คุณ ธรรมาวุธ ได้ให้ข้อคำถามไว้ในการบันทึก การปฎิบัติธรรมในชีวิตประจำวันว่าอยากให้อธิบายเพิ่มในเรื่อง การปฏิบัติธรรม โดยมีสติตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวในชีวิตประจำวันให้ทัน วันนี้ก็ขอโอกาสชวน blogger ทั้งหลายที่สนใจมา "ดู" อารมณ์ตัวที่ดิฉันคิดว่าดูเห็นง่ายที่สุด ก็คือ ความโกรธ ค่ะ
โดยเป้าหมายก็คือ
การที่เราจะเห็นอารมณ์ของเราได้นั้น ต้องหัดสังเกตค่ะ เช่น ลองนึกสักครู่หนึ่งว่า ขณะนี้ เรากำลังมีอารมณ์อย่างไร มีความสุข เศร้า หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธ หรือเฉยๆ
หลังจากนั้นให้ลองคิดดูอีกทีว่า โกรธมากๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อใด โกรธเรื่องอะไร โกรธใคร เพราะอะไร โกรธนานไหม และทำอะไรต่อเนื่องจากความโกรธนั้นไปบ้าง (ถ้ายังเป็นปุถุชนและมีความโกรธอยู่ ดิฉันว่าท่านพอจำได้ค่ะ ว่าโกรธมากๆ เรื่องอะไรกับใครไปบ้าง)
คราวนี้พอทบทวนเรื่องโกรธแล้ว ลองคิดดูนะคะว่ากำลังโกรธซ้ำอีกหรือเปล่า (ดิฉันเคยเป็นค่ะ) ถ้าโกรธซ้ำ หรือหงุดหงิด ด้วยเรื่องที่คิดทบทวนในขณะนี้ ก็แสดงว่าคุณได้เห็นความโกรธของตัวเองแล้วค่ะ
แต่คราวนี้เห็นตัวโกรธ แล้วมันเบาลงใช่ไหมคะ เพราะเห็นแล้ว และเพราะรู้ว่าเป็นเรื่องเก่าที่เรามา replay ซ้ำ เหตุการณ์ที่ทำให้เราโกรธไม่ได้เกิดขึ้นอีก เป็นเพียงความคิด
แต่ถ้ายังโกรธซ้ำหนักอยู่เหมือนเดิม (ดิฉันต้องขอโทษด้วยค่ะ ที่ induce ให้เกิดความโกรธ) ลองพยายามคิดดูนะคะ ว่าตอนนี้ความโกรธอยู่ในใจเรา ก็มีแต่เราเท่านั้นที่เป็นผู้เสีย จิตใจขุ่นมัว และอารมณ์ไม่ดีในขณะนี้ ที่เขาเรียกว่า "นรกอยู่ในใจ" นี่แหละค่ะ ถ้ายังไม่หายนะคะ ให้ท่องเลยค่ะ ว่าทุกอย่างเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเสมอ หรือ ให้ท่องพุธโธ หรืออะไรสั้นๆ เร็วๆ ก็ได้ค่ะ เป็น trick ไป concentrate กับกิจกรรมอื่นๆ ก่อนค่ะ
การที่เราเห็นความโกรธของตนเองนี้ เป็นการเจริญสติอย่างหนึ่ง ทำให้เราระลึกรู้ทันอารมณ์ของตนเอง หรือมีสติกับสิ่งที่คิด สิ่งที่กำลังทำ โดยไม่ไป "เป็น" สิ่งนั้นๆ หรือ"เป็น"อารมณ์นั้นๆ หรือถูกครอบงำโดยอารมณ์นั้นๆ
เมื่อท่านเคยเห็นอารมณ์โกรธแล้วครั้งหนึ่ง ท่านจะเริ่มระวังและสังเกตเห็นอารมณ์อื่นๆ ตามมา
เมื่อตอนเริ่มปฏิบัติ ดิฉันมักใช้การประชุมเป็นเวทีฝึกค่ะ เพราะรู้จากประสบการณ์ว่าเคยโกรธในที่ประชุม ดังนั้น ก่อนประชุมจะเตรียมตัว และจะนั่งสังเกตอารมณ์ตนเองสม่ำเสมอในที่ประชุม ยิ่งถ้ารู้ว่ามีคนที่เราเห็นทีไรแล้วเกิดความไม่ชอบทุกที การพบคนๆ นั้นมากขึ้นเท่าใดยิ่งเป็นการฝึกให้เราได้เห็นอารมณ์ของเรามากขึ้นเท่านั้น
ดิฉันฝีกดูอยู่นานพอสมควร (หลายเดือน) จนกระทั่งเห็นความโกรธเป็นเรื่องไร้สาระ และไร้ประโยชน์ที่สุด เมื่อจะโกรธทีใด ก็ดูทัน พอดูทันแล้ว รู้ว่าไร้สาระ ก็จบทันที ทำให้สมองโล่ง สามารถควบคุมการพูด การกระทำของตัวเองได้ดีมากขึ้นค่ะ
พอฝึกได้พักหนึ่ง ก็เริ่มชินค่ะ จะเริ่มเห็นอัตโนมัติเลยค่ะ (ไม่ใช่ว่าไม่เคยโกรธอีกเลยนะคะ แต่พอดูทันว่าโกรธ ก็ทิ้งความโกรธทันที)
อย่าลืมตรวจสอบอารมณ์ตนเองเป็นประจำนะคะ แล้วท่านจะตามเห็นอารมณ์ได้เก่งขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ จะได้เป็นผู้ดู ไม่เป็นผู้เป็นค่ะ
สวัสดีครับอาจารย์
ธรรมะสวัสดีครับ
ขอบคุณคุณ ธรรมาวุธ ที่ให้ความคิดเห็นค่ะ
ดิฉันเห็นด้วยค่ะ ว่าคนไกล้ตัวเป็นอาจารย์ใหญ่ในการฝึกสติค่ะ
ดูจากตัวอย่างที่ดิฉันยกข้างต้น ให้เดาเอาเองนะคะว่าดิฉันมีครอบครัวแล้วหรือยัง ; )
สวัสดีครับอาจารย์
ขอบพระคุณมากสำหรับบล็อกดีๆนะครับ จะพยายามเอาไปปฏิบัติครับ แต่สำหรับผมแล้วไม่ค่อยจะมีอารมณ์โกรธเท่าไรครับ จะมีแต่อารมณ์เห็นสาวสวยแล้วเพ้อมากกว่าครับ :D
เรียนคุณ ไปอ่านหนังสือ
อารมณ์รัก ก็เป็นอารมณ์ที่สังเกตได้เหมือนกันค่ะ ; ) ที่ให้ดูโกรธเพราะเห็นง่ายและควรลดก่อนค่ะ เพราะเป็นภัยต่อตัวเองมากค่ะ โกรธแล้วสุขภาพ (จิต) ไม่ดี อาจมีการกระทำอื่นๆ มากมายตามมาหลังจาก "เป็น" โกรธ (เพิ่งเห็นข่าวคนยิงกันตายเพราะเหตุเล็กมากๆ)
แต่สำหรับอารมณ์รักมักไม่ค่อยเป็นภัยต่อตัวเอง ถ้ารักสมหวังค่ะ (ฮาฮา) ตามตำราเขาว่าโกรธเป็นโทสะ แต่รัก/ชอบเป็นโลภะค่ะ เพราะอยากได้มาชื่นชม ฯลฯ แต่ถ้าไม่รักสมหวัง อาจเกิดโทสะก็ได้นะคะ อย่าลืมดูก็แล้วกันค่ะ ดูได้ทุกอารมณ์ค่ะ (ตอนนี้ก็กำลังดู "สุข" ของตัวเองอยู่ค่ะ ; D )
ตามมาสวัสดีและขออนุญาตอ่านบันทึกครับ
สะดุดตาในหัวข้อบันทึกหลายครั้ง แต่ยังไม่มีเวลาอ่าน..คราวนี้ได้ฤกษ์ดีเสียดี
นับถือในประสบการณ์ธรรมที่อาจารย์ปฏิบัติอยู่ การดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ในชีวิตประจำวันของเรา เป็นการเจริญสติอย่างดีที่สามารถปฏิบัติได้ทันทีและทุกขณะ หากไม่เผลอหลงลืม
ผมเองก็เจริญสติในแนวนี้อยู่เนืองๆ ได้บ้างหลงบ้างเป็นธรรมดา พอรู้ตัว...พอประทังชีวิตไป
แล้วจะเข้ามาอ่านอีกนะครับ
ยินดีต้อนรับและสวัสดีค่ะ อาจารย์ พิชัย กรรณกุลสุนทร
ได้เคยเข้าไปอ่านบันทึกของอาจารย์เหมือนกันค่ะ
ขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้แสดงความชื่นชมเรื่องการปฏิบัติธรรมค่ะ ดิฉันเอาเรื่องเหล่านี้มาเขียนเพราะคิดว่าอยากจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีๆ
พยายามจะเขียนอยู่เรื่อยๆ ค่ะ เพราะเป็นการเตือนสติตัวเอง ทบทวนความรู้ และเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว
การเจริญสติของตัวเองในตอนนี้ก็คงคล้ายๆ กับอาจารย์ค่ะ คือได้บ้างไม่ได้บ้าง บางทีจะหลุดเรื่องเล็กๆ ที่เข้ามาไวๆ (ประมาณว่าโดนจู่โจม ไม่ทันตั้งตัว) แต่เรื่องใหญ่ๆ ก็จะพอดูทันค่อนข้างตลอดค่ะ
ขอบคุณอาจารย์ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนค่ะ