รากเง้าเศรษฐกิจพอเพียงคนอีสาน


ต้นทุนทางสังคม ของคนอีสานใด้ถูกทำลายจนแทบไม่เหลืออีกแล้ว คงเหลือไว้เพียงวิกฤติในสังคมอีสาน ที่คนอีสานเองไม่สามารถที่จะอยู่ในท้องถิ่นของตัวเองใด้

          วิถีชีวิตธรรมดาของคนอีสานในอดีตมีความทั้งพอและเพียง เดินลงทุ่งนากลับมาก็ได้อาหารเป็นหม้อ  มีทั้งไข่มดแดง ผักติ้ว ผักขี้เหล็ก ใบยานาง หน่อไม้จากชายทุ่ง พร้อมหอยขม เดินกลับมาเก็บผักชะอมริมรั้ว วันนี้ก็ได้อาหารอันโอชา คือแกงขี้เหล็กไข่มดแดงใส่หอยขม   ยิ่งถ้าใด้เขียดตัวเล็กๆ มาใส่ลงไปอีก จะทำให้รสชาติอาหารวันนี้วิเศษมากๆเลย  มั่นใจที่จะตักแบ่งใส่ถ้วย หลายๆใบเดินแบ่งปันบ้านใกล้เรือนเคียง ให้อร่อยกันทั้งคุ้มไปเลย

           แต่ปัจจุบันต้นทุนทางธรรมชาติ  ต้นทุนทางสังคม ของคนอีสานใด้ถูกทำลายจนแทบไม่เหลืออีกแล้ว  คงเหลือไว้เพียงวิกฤติในสังคมอีสาน ที่คนอีสานเองไม่สามารถที่จะอยู่ในท้องถิ่นของตัวเองใด้ คนอีสานเดือดร้อนอดอยาก ทั้งๆที่คนอีสานเป็นคนมีความเรียบง่าย อยู่ง่าย กินง่าย เก็บผักตามริมรั้ว จับกบ จับเขียด จับกิ่งก่า แหย่ไข่มดแดง มาแกงไส่ใบขี้เหล็ก ก็อยู่ใด้แล้ว

         แล้วเราจะตอบปัญหาของคนอีสานใด้อย่างไร  จะใช้หลักการและกระบวนการของการจัดการความรู้ โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อชดเชยทรัพยากรเก่าที่หายไปใด้อย่างไร

        แต่ทั้งความรู้และการจัดการความรู้ ของแต่ละพื้นที่ ก็มีความแตกต่างกัน ความคิด วิธีคิดก็แตกต่างกัน แต่ละคน แต่ละพื้นที่  แต่ละชุมชน(อบต.) ก็ต้องเรียนรู้ และลงมือทำด้วยตัวเองเหมือนกับคำของคนเถ้าคนแก่ที่ว่า"สุกอยู่ต้น บ่คือฝานมาบ่ม  เพิ่นบ่มให่บ่คือเจ้าบ่มเอง"  ปัญหาของคนอีสาน  วิกฤติของคนอีสาน คนอีสานต้องทำเอง  เราคงไม่ต้องให้คนอื่น จากพื้นที่อื่นที่แตกต่างจากเรา มาแก้ปัญหาให้เรา

หมายเลขบันทึก: 86448เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราต้องพัฒนาทั้งทุนธรรมชาติและทุนทางสังคม ที่อ่อนแอทั้งคู่ เห็นด้วยครับ

แต่เราจะเริ่มตรงไหน แล้วทุนทางสังคมที่เป็นความรู้ในองค์กรชุมชนเป็นอย่างไร ทำไมไม่เขียนมาครับ

หรือว่าลืมหัวข้อของตัวเอง

เวลาแทบไม่เหลือแล้วครับ

แม้เอาจริงก็ไม่แน่ใจว่าเวลาจะพอ

ไม่เอาจริงนั้นเลิกคิดเลยครับ อย่างไรก็ไม่มีทางถึงเป้าหมายครับ

การพัฒนาต้องเริ่มจากตัวเอง จากทุนที่มีอยู่ มองให้เห็นสิ่งที่มีอยู่แม้เป็นเรื่องดีหรือความสำเร็จที่ไม่ได้ยื่งใหญ่(ทุนทางสังคมที่ดร.แสวงกล่าวถึงนั้นใช่เลยค่ะ)

 อย่ามัวไปวิตกกับปัญหา กับวิกฤตที่เกิดมาแล้ว มองปัญหาอย่างหาข้อเสนอการแก้ปัญหามาด้วย นี่เป็นวิธีคิดแบบการจัดการความรู้เพื่อสังคม

หากเราคิดว่าทุกสิ่งเลวร้ายเสียเหลือเกินเราจะเอาพลังจากที่ไหนมาแก้ปัญหา ให้คิดทางบวก คิดแบบคนมีความหวัง ตัวอย่างดีๆในสังคมมีเยอะที่จะเป็นพลังให้ฝ่าฟันเพื่อหลุดพ้นจากปัญหาได้

หวังว่าป่านนี้อาจารย์คงก้าวหน้าไปได้มากแล้วนะคะ เอาใจช่วยค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท