รวมบล็อกประทับใจเรื่องการเขียนบล็อก


คุณเมตตา รักเธอ..gotoknow...... สร้าง: ศ. 23 ก.พ. 2550 @ 15:42   แก้ไข: พ. 08 ส.ค. 2550 @ 02:50

การเขียนการอ่านต้องเกิดจากความสนุก...และเริ่มต้นจากการสมัครใจ แต่ละคนต่างมีวัตถุประสงค์ของการเขียนอ่าน ต่างกัน อ่านและเขียน มีวัตถุประสงค์ต่างกัน อาจเพื่ออะไรต่างๆ นา นา เช่น อาจเพื่อแสวงหาความรู้ เพื่อการเปิดรับข้อมูลใหม่ เพื่อหย่อนใจ เพื่อจัดระเบียบความคิด เพื่อฝึกฝนตน ฯลฯ 
          ดิฉั้นมองเหมือนการสะสมทุน ต้องใช้ทักษะประสบการณ์ อ่านเขียนนานๆ เข้า ได้ข้อมูล+ประสบการณ์+ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง+การวิเคราะห์   ข้อมูลความรู้ประสบการณ์(จำนวนหนึ่ง)มีประโยชน์กับดิฉั้น....มาก....ถึงมากที่สุดขึ้นอยู่กับการเปิดรับและงานที่ทำแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความสุขกับสภาวะแวดล้อม...กัลยาณมิตรดิฉั้นสนุกที่จะเขียนเรียบเรียงงานของตัวเองไว้ที่นี่สุขใจที่เห็นผู้คนมีความสุข มิตรไมตรี มีน้ำใจ แบ่งปันประสบการณ์จากมุมของตัวเองสู่กันและกัน 

Phoenix จ. 19 ก.พ. 2550 @ 00:15

สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าอาจจะมีประโยชฯสำหรับ blogger หน้าใหม่ (หรือหน้าเก่าก็ตาม) คือการ "ปรับ" กระบวนคิดการบันทึก blog ว่าเป็นเสมือน บันทึก diary

ที่ผมคิดว่าดี เพราะว่าปกติตอนเราบันทึก diary นั้น จะไม่มีแรงกดดันเรื่องคนอ่านน้อย อ่านมาก แต่เราบันทึกไว้ก็มีประโยชน์อย่างยิ่ง

  • เพิ่มอุปนิสัยการเขียน (มีประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุษยชาติ)
  • เพิ่มอุปนิสัยการอ่าน (เราอาจจะไม่ได้สังเกต ตอนเราเขียนนั้น เรา "อ่าน" ไปด้วยเกือบตลอดเวลา)
  • สร้างอุปนิสัยในการมี ปูมความคิด ของเราเอง เหมือนปูมเรือ มีประโยชน์มากในภายภาคหลัง

ทีนี้ก็จะ relax มากขึ้นในเรื่องมี/ไม่มีคนมาอ่าน จนกระทั่งมีคนมาอ่านก็ ยิ่งดีใหญ่ เป็น bonus แต่ไม่ใช่เป็น pre-requisite

ตอนที่เราเขียนอะไรที่น่าสนใจเพื่อตัวเราเองนั้น จะมีความผ่อนคลาย อ่อนโยน และเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ชุมชนจะได้รู้จัก blogger คนนี้ก็ตอนนี้ มากกว่าตอนที่เขาระมัดระวังตัว เขียนเพื่อให้คนอื่นอ่าน ไม่ได้เขียนแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาพร้อมๆกัน

dhanarun  การเขียน Blog ดิฉันพบว่า การเพียรเขียน  Blog ให้คุณประโยชน์  และเป็นเครื่องมือฝึกตนได้อย่างน้อย 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ (สมองก้อนน้อยนิดของดิฉัน คิดได้เท่านี้)

  1. ได้หัดเป็นคนช่างบันทึก : จะบันทึกได้ก็ต้องหัดช่างสังเกต หรือหัดคิด คิดว่า วันนี้มีอะไรผ่านเข้ามาในชีวิตบ้าง สิ่งที่ผ่านมามีประโยชน์ มีโทษอะไร สิ่งไหนควรจดจำ สิ่งไหนควรทำ หรือไม่ควรทำซ้ำอีก แล้วก็บันทึกไว้ เพื่อเป็นความทรงจำ  หรือเพื่อย้ำเตือนตน 
  2. ได้หัดเป็นนักเขียน : Diary แบบ Blog บังคับให้เผยตัวตนต่อสาธารณะ ทำให้ต้องระวัง "คำเขียน"  เป็นการฝึกใช้ภาษาไปในตัว  เขียนอย่างไรให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่างเรา  รู้สึกได้อย่างเรา
  3. ได้หัดเป็นตัวของตัวเอง : แม้บางทีเราอาจนำข้อคิดข้อเขียนของผู้อื่นมาแปะไว้บ้างก็ตาม  แต่แบบฉบับของเราจะแฝงอยู่ในสิ่งที่เราอยากบันทึกไว้อยู่ดี ข้อดีของ Blog คือ เราไม่ต้องแคร์ว่าใครจะยอมรับเราหรือไม่ยอมรับ แม้ลึกๆ คนส่วนใหญ่ปรารถนาการยอมรับจากผู้อื่นก็ตาม แต่การไม่ยอมรับของผู้อื่น มักไม่ปรากฎบน Blog (โดยเฉพาะ Blog ดีๆ อย่าง  gotoknow ซึ่งเป็นชุมชนของผู้มีวัฒนธรรมชื่นชมซึ่งกันและกัน  หวังดีต่อกัน)
  4. ได้หัดเป็นนักอ่าน : บางครั้งเมื่อจะบันทึกเรื่องที่ยังรู้ไม่ครบ ก็ต้องขวนขวายหาความรู้เพิ่มจากการอ่าน  บางครั้งฝืดเคืองปัญญา  ก็ได้อาศัยเรื่องที่อ่านมาแล้วประทับใจบันทึกแก้ขัดไปบ้าง  แต่ก่อนจะบันทึก ก็ต้องอ่านอยู่ดี  อ่านแล้วบันทึกซ้ำ เหมือนย้ำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
  5. ได้ค้นพบข้อเท็จจริงบางอย่าง :  ว่า  ปราชญ์ที่มีชื่อเสียง นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ บุคคลสำคัญๆ หลายต่อหลายท่าน มีนิสัยคล้ายกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบบันทึก Diary  (อ๊ะ อ๊ะ อย่าเพ่อเข้าใจว่า  ดิฉันหาญคิดจะเป็นปราชญ์กับเขาบ้าง) ข้อนี้เป็นเพียงสิ่งที่สังเกตได้จากความถี่ที่พบ  

การฝึกทักษะ

การถูกฝึกให้ทำแม้ว่าจะเป็นการขืนใจผู้ถูกฝึกก็ตาม  อานิสงฆ์ผลบุญ อย่างไรเสียก็ตกแก่ตน ใครปฏิบัติ ใครก็ได้ประโยชน์  ในยามนี้ (ยามที่ไม่มีใครจะมาบังคับให้ดิฉันต้องเขียน) ดิฉันจึงยึดถือหลักนี้ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการเขียน Blog   นั่นก็คือ  การเขียน Blog ของดิฉันไม่ได้ทำเพื่อใคร ดิฉันเขียนเพื่อตัวดิฉันเอง  เพื่อฝึกการถ่ายทอด สื่อสาร ด้วยการเขียน (พิมพ์)  ใครจะอ่านหรือไม่อ่าน  ใครจะว่าดีหรือไม่ดี  ดิฉันก็จะเขียน เขียน เขียน

เขียนไป เขียนไป ก็เหมือนรู้จักตนเองมากขึ้น รู้เรื่องที่ตนเองคิดลึกซึ้งยิ่งขี้น รู้เรื่องในความรู้ที่คิดว่ารู้แล้วมากขึ้น ด้วยการคิดไปเขียนไป  ดั่งเช่น การให้ทาน ผู้ให้ก็ได้สลัดความเห็นแก่ตน ทำให้ละวางความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของทรัพย์สิ่งของ ต่อไป ๆ ท่านก็อาจละวางความเป็นตัวตนของท่านได้  ดังนั้น

" ที่คิดว่าให้คนอื่นนั้น  แท้ที่จริงท่านเองได้รับเต็มๆ...... "

นายบอน!-กาฬสินธุ์ 
วิธีการเขียนบันทึกในแบบลื่นไหลในแบบที่วัตถุดิบในการเขียนไม่มีวันหมด

หมายเลขบันทึก: 86445เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท