การเขียนบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างประเทศ


     ในส่วนของเนื้อหา เรื่องการเขียนบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างประเทศ ที่บรรยายโดยศาสตราจารย์อำนวย   ถิฐาพันธ์ ในวันนี้ (23 มีนาคม 2550) ที่ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีผู้เข้าฟังค่อนข้างมาก และอาจารย์อำนวย ก็บรรยายได้อย่างสนุก ได้ทั้งสาระและความบันเทิงเป็นอย่างมาก ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่คิดจะเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศทุกท่าน จึงใคร่ขอนำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ครับ

     Layout ในการเขียนบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างประเทศ

      -          Title

     -          Abstract

     -          Introduction

     -          Material and Method

     -          Result

     -          Discussion

     -          Acknowledgement

      -          List of references

 -          Figure and table

 Title (ชื่อเรื่อง)

     -          ให้ใช้ชื่อเรื่องที่สั้น กระชับ ได้ใจความ การเขียนสั้นเกินไปแล้วไม่ได้ใจความที่สมบูรณ์ก็ไม่ดี

     -          อย่ามี subtitle นั่นคือเครื่องหมาย : เช่น การเขียนชื่อเรื่องแล้วต่อด้วย : Songklanagarind experience เป็นต้น

     -          อย่าเขียนให้เป็นประโยค พยายามเขียนให้เป็นวลี

     -          ให้คิดว่าเขียนให้คนที่รู้เรื่องอ่าน

     -          อย่าใช้ adjective เยอะ

 -          อย่าคุยโม้ เช่น การใช้คำว่า first case in Thailand

 Abstract (บทคัดย่อ)

      -          ให้เขียนว่าทำไมจึงทำ

     -          ทำอะไรไปบ้าง

     -          เพราะอะไร

     -          สรุปว่าอย่างไร

-          อย่าให้ยาวเกินว่า 300 คำ

 Introduction (บทนำ)

      -          ให้เขียนว่าทำไมจึงศึกษา

     -          ทำเรื่องอะไร

     -          ที่ทำนี้ พบอะไรมากขึ้น พยายามอย่าทำวิจัยประเภท Me, too. คือเห็นเขาทำแล้ว เราก็ทำบ้าง แล้วได้ข้อมูลประเภทว่า ของฉันก็พบเหมือนกัน แล้วตอบอะไรต่อไม่ได้ ไม่มีอะไรใหม่ มีคุณค่าน้อย

     -          การเขียนให้อ้างอิง reference ด้วย อย่าใส่ reference เยอะๆ ให้เลือกเฉพาะที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

     -          ให้บอกไปเลยว่า ที่เราทำนั้นดีกว่าของที่เคยทำไว้แล้วอย่างไรบ้าง

     -          อย่าคุยโม้

     -          อย่าเลือกศัพท์ยากๆ เพราะจะอ่านไม่รู้เรื่อง อย่าอวดการใช้ภาษาอังกฤษ เพราะเราไม่ได้เขียนให้กวีอ่าน บทความของเราเขียนให้นักวิทยาศาสตร์อ่าน

     -          เรามีการออกแบบงานวิจัยอย่างไร เป็น cohort หรือ retrospective

-          อาจคัดลอกข้อความที่มีภาษาสวยงาม เอาไว้ใช้ได้ เช่น We therefore conducted a double blind randomized controlled study with 10 years follow up to determine whether……………………………………

 Material and Method (วัสดุและวิธีการ)

      -          ต้องบอก design อีกที สั้นๆ ได้ใจความ

     -          ระบุเรื่องการสุ่มตัวอย่าง (ถ้ามี) เรื่องนี้กำลังเป็นที่นิยม โดยเฉพาะเรื่องการใช้ table of randomized digit

     -          อธิบายการทำการทดลองให้สามารถทำซ้ำการทดลองได้

     -          เราทำอะไร แบบไหน ให้เขียนให้ชัดเจน

     -          หากมีการดัดแปลงวิธีการทดสอบ ต้องเขียนอ้างอิงวิธีการเริ่มต้นว่ามาจากใคร แล้วเราดัดแปลงวิธีการอะไร อย่างไร

     -          ใช้ p-value จากไหน test อะไร ต้องระบุให้ชัดเจน

     -          ทำไมถึงใช้สถิติตัวนั้น

     -          เขียนให้ละเอียด อย่างเช่น การเขียนว่า เซลล์ถูกทำลาย ควรมีการเขียนที่ระบุให้รายละเอียดเพิ่มขึ้น เป็น เซลล์ถูกทำลายด้วยคลื่นเสียง เป็นต้น หรือการเขียนในเรื่องของการใช้เครื่องปั่น (Centrifugation) ต้องบอกยี่ห้อ, rotor type, temp, time at max speed and centrifuged force เป็นค่า g อย่าใช้ค่าเป็น rpm

     -          Tense ใน Material and Method ให้เขียนด้วย Past tense

-          อาจารย์อำนวยแนะนำว่า การ revise บทความควรเริ่มต้นจากการอ่าน Material and method เพราะถ้า method ผิด บทความทั้งเรื่องก็จะใช้ไม่ได้ หรือถ้าตัวอย่างตรวจน้อย บทความก็จะไม่น่าสนใจ ไม่สามารถ reproducible ได้ ยกเว้นกรณีที่เขียนเป็น Case report อาจมีตัวอย่างตรวจไม่มากได้

 Result (ผลการทดลอง)

      -          ให้เขียนเรียงตามลำดับ sequence

     -          ให้เขียนเป็น past tense

     -          หากมีรูปหรือตาราง ให้เลือกใช้ อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าอธิบายซ้ำ โดยให้ยึดหลักว่า อันไหนที่อธิบายได้ดีที่สุด หรือใช้เนื้อที่น้อยที่สุด ให้เลือกอันนั้น

-          หากเป็นภาพคน ให้ใช้แถบสีดำ คาดตาไว้ด้วย

 Discussion (วิจารณ์)

      -          ต้องบอกว่าพบอะไรบ้าง

     -          เหมือนที่ชาวบ้านเขาพบหรือเปล่า

     -          ทำไมจึงไม่เหมือน ให้อธิบาย อย่างเช่น เป็นเพราะใช้ หนูคนละพันธุ์ หรือใช้เครื่องมือคนละชนิด

     -          เขียนแล้วต้องไม่ซ้ำกับใน Result และ Introduction

-          สิ่งที่เราค้นพบ มี implication มั้ย นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

 Acknowledgement (กิตติกรรมประกาศ)

      -          ให้ระบุแหล่งทุน

-          ขอบคุณใครบ้าง ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิจัย ไม่ต้องใส่ชื่อ

 Reference (เอกสารอ้างอิง)

      -          หากต้องการตีพิมพ์ในวารสารที่มี impact factor สูง ให้เลือกอ้างอิงเฉพาะวารสารที่ strong หรือวารสารที่มีรายชื่ออยู่ใน index medicus เท่านั้น

     -          ใช้ Van Couver System หรือ Harvard System

-          ก่อนการตีพิมพ์ให้อ่าน Instruction to author ของวารสารที่เราต้องการส่งบทความนั้นๆไปตีพิมพ์ แล้วแก้ไขให้ตรงตามรูปแบบ (format) ที่วารสารนั้นๆต้องการ

 Figure and Table (ภาพ และ ตาราง)

      -          ทุกภาพและตาราง ต้องมีชื่อ มีคำอธิบาย

     -          อย่ามี สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายมากๆ  หากมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายมากๆ อาจต้อง แยกเป็น สองภาพ หรือสองตาราง

-          มี self explanatory

 Grammar (ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ)

     -          เรื่องนี้เป็นเรื่องยาก ที่ต้องระวังในการเขียนบทความ

     -          ในส่วนของ Abstract, Material and Method และ Result ให้เขียนด้วย Past tense

     -          ในส่วนของ general conclusion หรือข้อสรุปที่คนอื่นทำไว้แล้ว หรือความจริงที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป ให้เขียนด้วย Present tense

     -          Most of Introduction และ Some of Discussion จะเขียนด้วย Present tense

     -          อะไรที่ตีพิมพ์แล้ว ถือเป็นความจริง ให้เขียนด้วย Present tense เช่น “ White (10) demonstrated that ABC cells grow at pH 6.8

     -          ในกรณีทีเป็นความจริง ที่ได้จากบทความที่ตีพิมพ์ไม่เกิน 5 ปี อาจใช้เป็น Present Perfect tense ได้

-          ข้อมูลสถิติ เป็นความจริง ให้เขียนด้วย Present tense เช่น the value for….. are statistically different, indicating that the drug inhibited their growth.

 Rejection of paper (การถูกปฏิเสธการตีพิมพ์)

     -          การปฏิเสธการตีพิมพ์อย่างสิ้นเชิง (Absolute) เป็นที่บทความที่เขียน แก้ไม่ได้ หรือไม่น่าสนใจ เขาจึงไม่รับที่จะตีพิมพ์ ให้เราแก้ไข ทำการทดลองเพิ่ม แล้วส่งไปตีพิมพ์ที่อื่น

     -          การยอมรับที่จะตีพิมพ์อย่างมีเงื่อนไข (Condition) คือยอมรับที่จะตีพิมพ์แต่ขอให้แก้ไข ให้เราอ่านความคิดเห็นของ reviewer แล้วแก้ไขทีละประเด็น (point to point) ตามที่ reviewer แนะนำ

-          อย่าทะเลาะกับ Editor เพราะปกติ Editor มักเป็นผู้ที่กว้างขวาง และรู้จักกันในกลุ่ม Editor ด้วยกัน ดังนั้นหากมีปัญหากับ Editor ของวารสารใด อาจเป็นเหตุให้ลงตีพิมพ์ในวารสารอื่นได้ยากยิ่งขึ้นด้วย

 How to reply to Editor (การตอบกลับไปยังบรรณาธิการ)

      -          ปกติ หากเราแก้ไขบทความตามคำแนะนำของ reviewer แล้วส่งกลับไปยัง Editor ภายในเวลาที่กำหนด จะเป็นอำนาจของ Editor ในการอนุมัติให้ตีพิมพ์ได้เลย โดยไม่ต้องส่งไปให้ reviewer ตรวจสอบอีกครั้ง ยกเว้นว่าเราแก้ไขบทความล่าช้า หรือเลยระยะเวลาที่กำหนด Editor ก็อาจส่งกลับไปให้ reviewer อ่านใหม่อีกครั้ง

     -          หากได้รับการแนะนำว่า reviewer ให้ทำเพิ่ม ควรทำการทดสอบเพิ่ม เช่น เพิ่มตัวอย่างตรวจ (sample size)

     -          ตอบกลับทีละจุด ทีละข้อ ตามที่ได้รับคำแนะนำจาก reviewer

     -          ข้อความที่แก้ไข ให้ขีดเส้นใต้ด้วยหมึกแดงในกรณีที่พิมพ์เป็นเอกสารที่จับต้องได้ หรือใช้สีที่แตกต่างในกรณีที่เป็นการแก้ไขในไฟล์อิเลคโทรนิค

หมายเลขบันทึก: 86025เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2007 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณไมโต

  • ครูอ้อยอ่านบันทึกเรื่องนี้ของคุณไมโตอย่างพิจารณา  ..เพราะว่ามีประโยชน์และสำคัญมาก   ในวันข้างหน้า..ครูอ้อยก็ต้องนำข้อมูลนี้มาจัดการการเขียน เช่นกัน  ต้องขอบคุณมา  ณ ที่นี้  และครูอ้อยได้เขียนส่วนหนึ่งในการเขียนไว้  เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ  การเขียนแบบ Flowery เป็นอย่างไร
  • ขอบคุณที่แวะเวียนไปทักทายในบันทึกของครูอ้อย  ให้กำลังใจ  แนะนำในสิ่งที่ดีเสมอมา

ครูอ้อยซาบซึ้งใจ

สวัสดีตอนเช้าครับ ครูอ้อย

  • ไม่ได้กล่าวคำทักทายครูอ้อยตอนเช้าอย่างนี้มานานมาก
  • ยินดีมากครับ หากส่วนใดส่วนหนึ่งของบันทึกเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูอ้อย
  • เรื่องราวดีๆเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผมไปเก็บความจากการฟังบรรยายของอาจารย์อำนวย  ถิฐาพันธ์ แล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวเองในฐานะคนหนึ่งที่ทำวิจัย และเขียนบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองได้รู้เพิ่มเติมจากการทำวิจัย ต้องบอกว่าสิ่งที่อาจารย์อำนวยได้เล่าประสบการณ์สู่กันฟังนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ครับ ตอบคำถามในสิ่งที่ผมเคยลองผิดลองถูกในอดีตได้เป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ได้สรุปความ แต่เป็นการถอดความตามสิ่งที่ผมได้ยินได้ฟัง เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังเริ่ม หรือคิดว่าจะเริ่มเขียนบทความวิชาการครับ

สวัสดีค่ะ คุณไมโตและครูอ้อย

  • บันทึกนี้ฉันต้องเก็บไว้เป็นรูปแบบเผื่อมีโอกาสได้ใช้ในภายภาคหน้า.....
  • ขอบคุณค่ะ 
  • เป็นประโยชน์มากเลยครับพี่ไมโต
  • นึกว่าต้องไปประกาศคนหายเสียอีก
  • วารสารต่างประเทศน่าสนใจดีครับ
  • แต่ของ สกว และ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกตั้งค่า Impact สูงเหมือนกันนะครับ

สวัสดีค่ะคุณไมโต

  • ครูอ้อยยินดีที่คุณไมโตเขียนเรื่องนี้  และต้องบอกว่ามีประโยชน์มากสำหรับครูอ้อย  เพราะครูอ้อยต้องเขียนแบบนี้ให้เก่งๆ  เพื่อการนำเสนอผลงานระหว่างประเทศ  ซึ่งก็ใกล้เข้ามาทุกที 
  • เวลาทำไมมันน้อยจังนะคะ  มีอะไรที่ต้องทำอีกเยอะ  นานแล้วเหมือนกันค่ะ   ที่ไม่ได้พูดบ่นอะไรแบบนี้กับคุณไมโต

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับ คุณลุงขจิต
  • ผมยินดีด้วยครับ ที่เรื่องราวที่ได้ยิน ได้ฟังมาจากการบรรยายของอาจารย์อำนวย เป็นประโยชน์ต่อหลายๆคนครับ
  • วารสารที่อยู่ใน list ของ สกว. นั้นเป็นวารสารที่มีคุณภาพครับ ข้อกำหนดของสกว ทำให้วารสารในบ้านเรายังต้องปรับปรุงคุณภาพกันอีกมาก เพื่อให้เข้าไปอยู่ใน list นั้น
สวัสดีครับ ครูอ้อย
  • ครูอ้อยกำลังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้วิธีการทำงานวิจัย ซึ่งครูอ้อยโชคดีมาก ที่ได้เรียนสิ่งเหล่านี้ในห้องเรียน มีอาจารย์มาคอยสอน คอยแนะในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานวิจัยของครูอ้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอิจฉาครับ
  • หลายครั้ง ผมอยากมีโอกาสที่ดีเช่นครูอ้อยบ้างครับ

สวัสดีค่ะคุณไมโต

  • โอกาสที่ดีมักมาหาเราเสมอ  หากว่ารู้จักว่ามันเป็นโอกาสที่ดี  และสำหรับเรา
  • การทำงานวิจัยเป็นเรื่องของชีวิต...ที่กว้างขวางลึกล้ำนัก...มันมากมันยากจริงๆค่ะคุณไมโต
  • แต่ครูอ้อยก็พยายามทำใจให้รัก..และอดทนถึงมันจะไม่รักครูอ้อยเลยค่ะ

ดูสิค้อนให้อีกแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ ตามมาอ่านความรู้ในเรื่องการเขียนบทความวิจัย  หัวข้อนี้เป็นประโยชน์สำหรับหนูมากเลยค่ะ ขออนุญาตเก็บข้อมูลนี้ไว้ไปเป็นแนวทางสำหรับการเขียนงานของตัวเองนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท