นกหวีด : เสียง... ที่ (เริ่ม) หายไปจากค่ายอาสาพัฒนา


นกหวีดคือ เสียงสัญญาณแห่งชีวิตและการงานของชาวค่าย

ใครก็ตามที่มีวันและวัยอยู่ในรุ่นเดียวกับผมและเคยไปออกค่ายอาสาพัฒนาในสมัยที่เคยเป็นหนุ่มสาวนักแสวงหาในรั้วมหาวิทยาลัย   ผมเชื่อว่าจะคุ้นเคยกับ เสียงนกหวีด  เป็นยิ่งนัก  เพราะนกหวีด คือ สัญญาณเสียงของการเริ่มต้นชีวิตในค่าย  รวมถึงเสียงสัญญาณการหยุดพักจากการงานแห่งชีวิต  หรืออื่น ๆ อีกจิปาถะ 

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในเรื่องสั้น เหมือนอย่างไม่เคย  ของอาจารย์  วิทยากร  เชียงกูล  ก็สะท้อนภาพชีวิตชาวค่ายที่สัมพันธ์และเกี่ยวโยงกับเสียงนกหวีดอย่างแจ่มชัด  ดังว่า…</p><p>  ตอนเที่ยงเธอได้ยินเสียงนกหวีดและเห็นพวกเขาวางมือจากงานเดินกลับที่พักกันเป็นกลุ่ม….เช้าวันรุ่งขึ้น  ทองม้วนไม่ได้ยินเสียงนกหวีดเหมือนเคย เธอรู้สึกว่าบางอย่างที่เคยยึดไว้ได้สูญหายไปเสียแล้ว….    </p><p>  </p><p>ระยะหลังที่ผมมีโอกาสคลุกคลีเข้าออกค่ายอาสาพัฒนาอยู่อย่างไม่ว่างเว้น  ผมสัมผัสเห็นความเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมชาวค่ายอยู่หลายประการ   แต่ที่ผมฉุกคิดอยู่เรื่อยมาก็คือ  การจากไปของเสียงนกหวีด  โดยมี  เสียงอันกระหึ่มของเครื่องไฟ เครื่องเสียงที่เคลื่อนขยับเข้ามาทำหน้าที่แทนนกหวีดอย่างสนิทแน่น !”     </p><p>แน่นอนครับมันเป็นวิถีการเปลี่ยนถ่ายของรูปแบบที่คล้อยไปตามยุคสมัยทางสังคม  แต่อย่างไรสำหรับ  คนหัวเก่าอายุแก่  อย่างผมก็อดรำพึงถึง เสียงนกหวีด  ไม่ได้ </p><p>    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมเคยได้พูดคุยกับนิสิตในมุมของการบอกเล่าและแลกเปลี่ยนมานักต่อนัก  ,  ผมเคยอธิบายให้ฟังว่านกหวีดคือ เสียงสัญญาณแห่งชีวิตและการงานของชาวค่าย  มันเป็นเสียงแห่งการปลุกให้ตื่น,  กำชับให้มากินข้าว,  บอกกล่าวให้มาประชุมและเล่นรอบกองไฟ,  ฯลฯ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>เสียงนกหวีด  เป็นเช่นเดียวกับเสียงระฆังในโรงเรียนที่คอยทำหน้าที่ของการเคารพธงชาติ, เปลี่ยนชั่วโมงเรียน, พักเที่ยง  และเลิกเรียนกลับบ้าน   </p><p>แต่ตอนนี้ผมแทบไม่พบว่าในค่ายอาสาของนิสิตมีนกหวีดเป็นเครื่องสัญญาณกำกับการงานและชีวิตของพวกเขาแล้ว  สิ่งที่กระโดดเข้ามาทำหน้าที่แทนก็คือความมหึมาและก้องกระหึ่มของเครื่องไฟที่เร้าใจและเร้าพลังกว่าเป็นไหน ๆ  หนำซ้ำยังมีคุณประโยชน์เบ็ดเตล็ดกว่านกหวีด </p><p>  </p><p></p><p>ผมเห็นชาวค่ายใช้เครื่องไฟหรือเครื่องเสียงอย่างรื่นเริงบันเทิงใจ  บางทีเปิดเพลงให้ชาวค่ายได้ฟังอย่างคึกครื้น  บางครั้งก็ใช้ไมโครโฟนประกาศชี้แจงและนัดหมายประชุม  หรือแม้แต่เรียกระดมชาวค่ายมากินข้าวกินปลาก็ล้วนหนีไม่พ้นการอาศัยเครื่องไฟเป็นเครื่องมือของการสื่อสารแทบทั้งสิ้น    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ตกดึก,  กิจกรรมรอบกองไฟระหว่างชาวค่ายกับชาวบ้านจากที่เคยตีกลองร้องเพลงด้วยปากเปล่าก็มีเครื่องเสียงเข้ามาเป็นอุปกรณ์บันเทิงอย่างลงตัว  สร้างความคึกคัก คึกครื้น และตื่นตัวอย่างน่าอัศจรรย์ใจ !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมเคยถามนิสิตเสมอว่าเครื่องไฟเหล่านี้ได้มาอย่างไร ?  ใครนำมาให้ ?  หรือจำเป็นแค่ไหนที่ต้องใช้เครื่องไฟอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ?  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>เหตุที่ต้องไต่ถามเช่นนั้น  เพราะเกรงว่าการที่เครื่องเสียงเหล่านั้นต้องติดตั้งอยู่ในค่ายเป็นเวลาหลายคืนหลายวันเช่นนี้   ย่อมหมายถึง ค่าใช้จ่าย  ที่ใครสักคนต้องแบกรับหรือจ่ายไปอย่างไม่จำเป็น  และหากชำรุดเสียหายขึ้นมาก็ยิ่งเพิ่มภาระมากขึ้นเท่าตัว   หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ควรใช้ในห้วงยามที่จำเป็นจริง ๆ  เท่านั้น  …. </p><p>  </p><p>ผมอยากให้นิสิตเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้เครื่องไฟ - เครื่องเสียงของชุมชนบ้าง  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในเทศกาล หรือวันพิเศษของชุมชนทั้งงานบุญงานทาน  งานมงคล  หรือแม้แต่งานไม่มงคลก็ด้วยเช่นกัน    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การได้มีโอกาสเที่ยวท่องในค่ายต่าง ๆ  ในช่วงนี้  ด้วยความที่ผมมีพื้นเพชีวิตเป็นคนบ้านนอกขอบชนบท  เมื่อสัญจรมาพบเครื่องเสียงชุดใหญ่ตั้งแช่อยู่ในพื้นที่การออกค่ายและกระหึ่มเสียงทำหน้าที่เบ็ดเตล็ดแทน เสียงนกหวีด เช่นนี้ก็ยิ่งอดไม่ได้ที่จะสะท้อนรำลึกถึงบรรยากาศของเสียงนกหวีดเมื่อครั้งที่ตนเองเคยเป็นชาวค่ายเมื่อหลายปีที่แล้ว   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ขณะเดียวกันก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงห้วงชีวิตและบรรยากาศที่ตนเองเคยวิ่งเล่นในครัวเรือน เฮือนงานแต่งงานที่สนุกเร้าใจ    หรือแม้แต่ชวนเศร้าสลดหดหู่ในครัวเรือน - เฮือนงานศพ ตลอดจนงานบุญกฐินและผ้าป่าที่ขับเสียงอันดังด้วยเครื่องไฟ, เครื่องเสียงชุดใหญ่    </p><p>    </p><p> </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แด่  นกหวีด ..เสียงคุ้นเคยของชาวค่ายที่กำลังเลือนหายไป</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">21  มีนา  50</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">พิธีมอบค่าย , ปลูกต้นกล้วย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สกลนคร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 85756เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
แปลกดีนะค่ะ ทำไมเวลาไปออกค่ายจึงมีเครื่องไฟ เครื่องเสียงกระหึม แสดงว่าวิถีของชาวบ้านก็เปลี่ยนไปด้วยรึปล่าวค่ะ...พี่จำไม่ได้ว่าช่วงที่ตนเองออกค่ายนั้นมีนกหวีดรึปล่าว ที่แน่ๆ ไม่มีเครื่องไฟ เครื่องเสียงค่ะ

สวัสดีครับ

ก่อนอื่นอาจจะต้องบอกเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งคือ

"วัฒนธรรมใดที่อยู่นิ่ง ๆ หมายความว่า วัฒนธรรมนั้นได้ตายแล้ว"

ผมในฐานะที่ก็เคยได้เป็นผู้นำค่ายอาสามาก่อน แต่ไม่ทัน "นกหวีด" ผมอาจจะอยู่ในยุคถัดมาคือ "โทรโข่ง" เครื่องให้ความบันเทิงก็เป็น"กลอง" และเรื่อยมาจนถึงยุค "เครื่องไฟ" ที่ใช้ทุก ๆ อย่าง

ผมยังไม่รู้เลยว่าพี่แผ่นดินได้รับคำตอบของเรื่องค่าใช้จ่ายของเครื่องไฟว่าอย่างไร

แต่สำหรับค่ายที่ผมทำนั้น "ไม่มีค่าใช้จ่าย" หรือไม่ก็เป็นเพียงการตอบแทนของชุมชน เป็นบางครั้งที่ชุมชนพอจะหาได้ ในบางแห่งที่หมู่บ้านที่ออกค่ายไม่มี ก็ใช้เท่าที่มี(คือ ไม่มี)

ผมยังจำได้ว่า ในตอนที่ได้ร่วมค่ายอาสาใหม่ ๆ ไปยังหมู่บ้านหนึ่งที่มีเพียงรถไฟร์วิลเท่านั้นที่ไปได้ และมีเพียงรถเข้าตำบลเพียงวันละสองครั้ง(ยังจำได้ดีเลย) ต้องเข้าไปเตรียมค่ายอยู่สามวันก่อนที่ค่ายจริงๆ จะเริ่มขึ้น(ค่ายหลัง ๆ ก็สบายขึ้น....เหนื่อยแล้ว...)

ในค่ายที่นั่น ไม่มีอะไรที่คนเมืองเรามี แต่เขามีสิ่งที่คนเมืองต้องการนั่นก็คือ ธรรมชาติ น้ำใจ การช่วยเหลือกัน การแบ่งปัน สุขภาพจิตที่ดี ฯลฯ

ท้ายที่สุด เราคงรั้งเหตุการณ์เหล่านั้นไว้ให้เหมือนเดิมไม่ได้(แต่อยากให้ใจคนเราเหมือนเดิม)

ขอบคุณครับ สำหรับบันทึกที่ทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวแบบนี้อีกที

 

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

นั่งคิดถึงตอนออกค่ายเมื่อ 27 ปีที่แล้ว ( แก่พอตัวอิ อิ ) จำได้ว้ใช้นกหวีดเป็นสัญญาณเรียกค่ายเหมือนกันค่ะ และใช้กีต้าร์ เมาท์ออร์แกน  ไมโครโฟน  กลองเป็นเครื่องมือในการให้ความบันเทิงชนิดต่างๆ..

วันวาร..ที่ผ่านเลย ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ( คนแก่มักจะคร่ำครวญถึงความหลัง ) ..ในตอนนี้เวลาเบิร์ดจัดค่ายเด็กที่ ชร.ก็ยังใช้นกหวีดอยู่ค่ะ ได้ผลชะงัดแถมไม่ต้องเหนื่อยมากด้วย..

สวัสดีครับ..อ.แป๋ว
P

ตอนนี้ชาวค่ายใช้ไมโครโฟนแทนนกหวีดเกือบทั้งนั้น...และมีเครื่องเสียงที่ชาวบ้านจัดมาไว้ให้นิสิตได้ใช้ทั้งเพื่อความบันเทิง, สื่อสารทั่วไปและใช้ในกิจกรรมรอบกองไฟ

บางที่, ชาวบ้าน หรือโรงเรียนก็เช่ามา  แต่บางที่ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  แต่ประเด็นที่ผมคิดก็คือ...ความจำเป็นที่แท้จริงว่าควรใช้อย่างไรและเมื่อไหร่เป็นสำคัญ

วิถีชุมชนก็เปลี่ยนไป , เครื่องเสียงทุกวันนี้กลายไปเป็นปัจจัยบันเทิงในครัวเรือนไปแล้วเช่นกัน

ที่ผมชวนนิสิตคุยเรื่องนี้  ก็อยากให้เขาเข้าใจวิถีวัฒนธรรมอดีตและปัจจุบันของชุมชนเป็นที่ตั้งเท่านั้นเองครับ !

 

 

สวัสดีครับ
P

..

ดีใจมากเลยครับที่บันทึกนี้เชื่อมโยงคนค่ายมาแลกเปลี่ยนกันจนได้...และเรื่องที่คุณอุทัยเล่าก็ชัดเจนและสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมค่ายที่ชัดเจนมาก

เรื่องเครื่องเสียง.  ส่วนใหญ่ชุมชนจัดหามาให้  มีบ้างทั้งที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  แต่บางที่ (ผมเชื่อว่า) อาจจะมีบ้างที่เช่ามา   แต่ชุมชนก็ไม่แจ้งกับนิสิต  เพราะเกรงใจ และที่สำคัญเป็น "น้ำใจ" ของชาวบ้านที่มีต่อชาวค่าย

แต่ที่ผมชวนนิสิตขบคุยนั้นก็เพราะว่าอยากให้เขาคำนึงถึงความจำเป็นและเข้าใจวิถีทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยเช่นกัน....

...............

ในค่ายที่นั่น ไม่มีอะไรที่คนเมืองเรามี แต่เขามีสิ่งที่คนเมืองต้องการนั่นก็คือ ธรรมชาติ น้ำใจ การช่วยเหลือกัน การแบ่งปัน สุขภาพจิตที่ดี ฯลฯ ...(สิ่งเหล่านี้พบเสมอเมื่ออกค่าย)

ขอบคุณอีกครั้ง  นะครับ...และเอาภาพเครื่องดนตรีของชาวค่ายมาฝาก

สมัยผมออกค่ายไม่เคยนึกถึงเรื่องนี้มาก่อนเลยจริงจริง...ในการจัดเตรียมสถานที่ในค่าย หนึ่งล่ะ ต้องคิดถึงเสื่อสำหรับปูนั่งในเวลาประชุม...วัด เป็นที่แรกที่มักจะนึกถึง...ว่าต้องมีเสื่อให้ยืมแน่แน่..แต่ก็ไม่ลืมที่จะใส่ซองเป็นค่าบูชา...สองล่ะ การจัดหาไมค์ เครื่องเสียง และลำโพง เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมที่ต้องอาศัยเสียงเพื่อให้ดังอย่างทั่วถึงกัน...สำหรับเครื่องเสียงนี่จะปรึกษาผู้ใหญ่บ้านก่อนเลยว่าจะหาได้ที่ไหน บางหมู่บ้านมีของตัวเอง บางหมู่บ้านต้องไปขอยืมโรงเรียน บางหมู่บ้านต้องไปยืม อบต. หรือ อนามัย...ซึ่งแล้วแต่ผู้ใหญ่บ้านจะพาไป...ซึ่งเวลากลางวันนั้น จะแยกแต่ละโครงงาน ดังนั้น เครื่องเสียงจึงไม่ได้ใช้ในภาคกลางวัน แต่กิจกรรมที่เกี่ยวกับเด็กที่ต้องสร้างความสนุกสนานบ้าง ก็ไม่พ้นกลอง...นกหวีดก็ใช้เพียงกิจกรรมกับเด็ก เพราะบางกิจกรรมต้องให้สัญญาณในการเริ่มและหยุด...เช่น การเล่นเกมส์เป็นต้น...ตกเย็นเครื่องเสียงถูกมาใช้อีกครั้ง..เมื่อมีกิจกรรมนันทนาการช่วงกลางคืน หรือ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้...นกหวีดมีความหมายเพียงการให้สัญญาณเริ่มหรือหยุด...แต่ไมค์ เครื่องเสียง ลำโพง มีความหมายในแง่การสื่อสารที่มีพลังมากขึ้น...ซึ่งซึ่งหลังจากเสร็จค่ายต้องมีการส่งของคืนซึ่งต้องจ่ายค่าบำรุง ค่าไฟให้กับหมู่บ้านตามสมครเพื่อเป็นการแสดงน้ำใจ...แต่ในกรณีการเปิดเครื่องเสียงโดยไม่จำเป็นแสดงความครึกครื้นจนเกินไป...ชวนให้ชาวบ้านคิดว่า ชาวค่ายนี้มาเที่ยวเล่นสนุกสนานหรืออย่างไร..เป็นสิ่งที่ควรระวังครับ...ดังนั้น ไม่ว่าในค่ายหรือนอกค่ายแล้ว การใช้เสียงเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังว่าจะเป็นการรบกวนคนอื่นหรือไม่
  • วันนี้ผมอยู่กับเสียง "นกหวีด"  ครึ่งวัน  เพราะเข้าสัมมนาอาจารย์ใหม่  มีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
  • "นกหวีด"   ช่วยจัดระเบียบความวุ่นวายให้เข้าที่ได้เร็วเหมือนกัน  เร็วกว่าไมค์โครโฟนอีก
  • จำได้สมัยเป็นครู "มัธยม"  ช่วงเข้าแถวตอนเช้า ในบรรยากาศเด็กสองพันกว่าคน  เสียงมันอึกทึกครึ่งโครมเกินกว่าจะบรรยาย  ผู้ทำหน้าที่จัดระเบียบแถวก็ใช้ไมค์นี่แหล่ะสั่งให้จัดแถว ให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้  แต่ก็ไม่ค่อยเป็นผล
  • แค่เสียงนกหวีดดังเท่านั้นแหละ  "เงียบสนิท"  เพียงใช้เสียงสด ๆ ก็สั่งจัดแถวเด็กให้เป็นระเบียบได้
  • นี่คือ "อานุภาพของนกหวีด"  รวมทั้งนกหวีดของตำรวจจราจร ที่เป่าให้หยุดตอนลืมใส่หมวกกันน็อค  "เขาดีจริง ๆ ครับ"
ขอบคุณครับ..คุณเบิร์ด
P

...เป็นธรรมดาครับ..คนที่อายุล่วงถึงปานนี้ต้องบ่นเพ้อถึงอดีตเป็นธรรมดา (ยิ้ม ๆ )

นี่คือภาพวงมโหรี (ประยุกต์) ของชาวค่ายที่คิดค้นเน้นสนุกเป็นหลัก ซึ่งเกิดขึ้นที่ค่ายของชมรมอาสาฯ

เก็บมาฝาก....นะครับ

 

  • เอารูปไปโหลดเพื่อให้ได้  URL  ที่ไหนครับ
  • เคยใช้บริการเว็บไหนไม่รู้จำไม่ได้  ตอนนี้สงสัยปิดไปแล้ว เพราะรูปที่เคยลงบันทึกที่ผ่าน ๆ มาหายหมดครับ
  • ขอรบกวน "คุณแผ่นดิน"  นะครับ

สวัสดีค่ะ คุณแผ่นดิน

       อ่านบันทึกนี้ของคุณแผ่นดินแล้ว ทำให้พี่หวนนึกถึงสมัยตอนเรียนปริญญาตรี  ซึ่งสมัยนั้น ทำกิจกรรมเป็นบ้าเป็นหลัง  ออกค่ายเป็นว่าเล่น  แต่ก็ไม่เสียการเรียนนะคะ

           สมัยนั้น  ในการออกค่ายทุกอย่างต้องพึ่งพิงธรรมชาติซะส่วนใหญ่  ชาวค่ายต้องตักน้ำใช้เอง 

อาบน้ำจากบ่ออาบน้ำ  ไม่มีห้องน้ำ มีเพียงห้องสุขาชั่วคราวเท่านั้น

         วันหนึ่งอาบน้ำแค่ครั้งเดียว คือ กลางคืน ดึก ๆ

      อุปกรณ์ อาหารการกิน ก็ต้องดูแลตัวเอง จัดหา จัดทำเอง ฟืนไฟ ก็ไม่มี  ค่ำแล้ว เป็นต้องสุมไฟ จุดตะเกียงน้ำมัน นั่งล้อมวงคุยกันเรื่องงาน  นั่งเล่นกีตาร์ นั่งสันทนาการกัน

            อาจจะเป็นเพราะสมัยนี้ ทุกอย่างเปี๊ยนไป๋  แทบทุกหมู่บ้าน จะมีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมมูล ทำให้การไปออกค่ายอาสาของนักศึกษาในแต่ละครั้ง ยังมีความสะดวกสบายแฝงอยู่  ทำให้เด็ก ๆ ขาดในส่วนของการฝึกการใช้ชีวิตแบบชนบท  ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างออกค่าย ก็จะขาดหายไปด้วย

            ไม่เหมือนสมัยก่อน

สวัสดีครับ  คุณเลี้ยวเฮียง

P

ขอบคุณมากครับที่นำประสบการณ์ตรงมาแลกเปลี่ยนได้อย่างชัดเจนมีประโยชน์มาก

ทุกวันนี้เสื่อ (สาด)  ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชาวค่ายเสมอ

กรณีเครื่องเสียงก็เช่นกัน  ผมก็มองถึงความจำเป็นและกาละของการใช้เป็นหัวใจหลัก  และตามที่คุณชอเลี้ยวเฮียงได้กล่าวถึงลักษณะการใช้ก็ถือว่าถูกต้อและเหมาะสมยิ่งแล้ว  รวมถึงความมีน้ำใจ หรือความรับผิดชอบที่ต้องจ่ายค่าบำรุงให้กับชาวบ้านบ้าง

และประโยคเหล่านี้ของคุณฯ  ถือเป็นข้อแนะนำที่มีประโยคอย่างยิ่ง กรณีการเปิดเครื่องเสียงโดยไม่จำเป็นแสดงความครึกครื้นจนเกินไป...ชวนให้ชาวบ้านคิดว่า ชาวค่ายนี้มาเที่ยวเล่นสนุกสนานหรืออย่างไร..เป็นสิ่งที่ควรระวังครับ...ดังนั้น ไม่ว่าในค่ายหรือนอกค่ายแล้ว การใช้เสียงเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังว่าจะเป็นการรบกวนคนอื่น

และนี่คือ ดนตรีที่ไม่ต้องลงทุนครับ

 

  • ผมยังใช้นกหวีด สองอันที่ใช้มาตั่งแต่ค่ายอาสา
  • ตอนไป English camp ที่บ้านเม็กดำก็ใช้อันนี้
  • อันแรกเริ่มไม่ดี ตามสภาพเป็นตรา Acme คงเหมือนเจ้าของนกหวีด
  • กายไม่ดีแต่ใจยังสู้ครับ
  • ขอบคุณครับ ที่นำเรื่องดีมาเล่าให้ระลึกถึงความหลัง

คุณแผ่นดิน

  • เสียงนกหวีดอาจบาดใจ เลยใช้เสียงเพลงแทน แล้วก็ปลุกความกระชุ่มกระชวยในหัวใจ แต่เวลาจะให้ทำกิจกรรมที่ต้องมีกฎกติกาเคร่งครัด "นกหวีด"ยังช่วยได้ และพวกเราใช้นกหวีดในการทำกิจกรรมอยู่
  • เสียงระฆังแว่วหายไปจริงๆค่ะ  ขนาดตอนเรียนแล้วก็เป็นเสียงออตไฟฟ้าแทน หรือว่าอาคารเรียนเยอะ อยู่ไกลกลัวเสียงระฆังไม่ได้ยินก็ไม่รู้  หรือถ้าเปลี่ยนมาเคาะระฆังใส่ไมค์ก็ไม่เลวเหมือนกันนะคะ classic ดีค่ะ 

คุณแผ่นดิน

ข้อเขียนของคุณปลุกวิญญาณอดีตชาวค่ายให้ตื่นไปตามๆกัน พี่เป็นอีกคนหนึ่งที่เคยออกค่าย เมื่อสามสิบกว่าปีมาแล้วไม่เคยรู้เลยว่าชาวค่ายเดี๋ยวนี้ไม่ใช้นกหวีดเสียแล้ว เสียดายนะ

สวัสดีครับ อ.ย่ามแดง

P

เสียงนกหวีดยังทรงอานุภาพเสมอนะครับ...และหลายกิจกรรม หรือหลายภาคส่วนก็ยังมีนกหวีดเป็นตัวขับเคลื่อน

เจตนาผมไม่มีอะไรมากหนอกครับ  ก็แค่รำลึกบรรยากาศเก่า ๆ แก่ ๆ เท่านั้นเอง และเพียงต้องการสะกิดเตือน หรือสะท้อนปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงในทางวัฒนธรรมกิจกรรมบ้าง...บนพื้นฐานของการเข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขของยุคสมัย

หากแต่ไม่ลืมที่จะให้คำนึงถึง "ความจำเป็น"  ของบางสิ่งบางอย่าง  และสิ่งเหล่านั้นจะต้องไม่ไปฝืนวัฒนธรรมของชุมชนนักก็เท่านั้นเอง

ขอบคุณนะครับ....ที่ทำให้รู้ว่าใน G2K  มีอดีตคนค่ายอยู่มากมายปานนี้

 

ลืมไปครับ...
P
ผมตอบคำถามเรื่อง URL ให้แล้วนะครับอาจารย์แวะไปดูที่คำถามในบล็อกของอาจารย์ได้เลย
ขอบคุณครับ

สภาพสังคมเปลี่ยนไปค่ะ  หากเราจะตั้งใจสังเกตุดี ๆ ละก็ยุคสมัยเปลี่ยไนปจริง ๆ สมัยที่พี่นกเป็นนักเรียนและต้องออกค่ายพักแรม  นักเรียนต้องหิ้วกระเป๋า เสื้อผ้า น้ำ และอาหารเอง และเดินทางไกลมากกว่า 10 กิโล   มีกิจกรรมกลางคืนมีงานรอบกองไฟ มีแค่กีต้าร์ตัวหนึ่งกับเสียงตีเกาะเคาะไม้ เคาะจานข้าวแถวนั้น แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไป  นักเรียนไม่ต้องหิ้วกระเป๋า  ไม่ต้องแบกสัมภาระ มีรถรับส่งถึงสถานที่เข้าค่าย  กิจกรรมกลางคืนก็กระหึ่มด้วยเสียงเครื่องเสียงน่าหนวกหู  กิจกรรมบางอย่างที่น่าสืบสานหายไปเหลือแต่เพียง  เสียงเฮฮาในวงเหล้า   คิด ๆ แล้วก็น่าเสียใจนะคะ  แต่นั่นแหละคะมันเป็นวัฒนธรรมของต่างชาติที่เข้ามา  และคนในประเทศไทยเราต่างหากที่นำวัฒนธรรมมาวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนในเข้ากับบ้านเมืองเรา   กระทรวงวัฒนธรรมหายไปไหน  เฮ้อ..บ่นเป็นคนแก่อีกแล้วซิเรา....

เข้ามาบอกว่า พิมพ์เวลานับย้อนหลังผิดไป 10 ปีแน่ะค่ะ ใน คห.เดิมคือ 27 ปี แต่จริงๆคือ 17 ปีค่ะ สงสัยความมีอายุทำให้ตาลาย ( ความสูงวัยนี่ทำให้มีข้ออ้างได้เยอะเลยชอบจัง อิ อิ )

พี่แป๊ด - รัตติยา ครับ

P
  • ค่ายถึงขั้นทำให้คนเราต้องอาบน้ำครั้งเดียวเลยเหรอครับ... (ยิ้ม ๆ ..ผมก็เคย)  ก็แน่ล่ะครับ เช้าคงไม่สะดวกนักเป็นแน่
  • น่าสนใจมากครับวิถีค่ายที่พี่แป๊ดเล่า  และดูเหมือนจะทรหดอดทนไม่น้อยกับการเรียนรู้ในอดีต  และเราต่างก็แกร่งเพราะมีอดีตที่ดีงามให้เรียนรู้กันทั้งนั้น 
  • ผมมีภาพถ่ายห้องน้ำชาวค่ายมาฝาก  เผื่อจะหวนรำลึกภาพเหล่านี้อีกครั้ง  "อาบน้ำดูดาว"

  • เป็นไงครับ...."ไฮโซ"  มั๊ย
  • อ.แผ่นดิน ชอบสะกิดใจคนค่ายให้รำลึกถึงความหลังเสมอ
  • เห็นด้วยกับท่านชอลิ้วเฮียงนะคะ

"นกหวีดก็ใช้เพียงกิจกรรมกับเด็ก เพราะบางกิจกรรมต้องให้สัญญาณในการเริ่มและหยุด...เช่น การเล่นเกมส์เป็นต้น... " เพราะเป็นรุ่นน้องที่ไม่ห่างกันและเคยได้ร่วมค่ายกับท่าน

  • แต่พักหลังได้ไปร่วมค่ายของชมรมที่เกี่ยวกับการอาสาพัฒนาและเน้นเรื่องศิลปวัฒนธรรม
  • จำเป็นต้องมีเครื่องเสียงที่นำไปแสดงในคืนวันใดวันหนึ่งระหว่างทำค่าย เป็นของชมรมเองไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ เปิดเครื่องเสียงเฉพาะวันที่มีงาน
  • กลางวันก็แบ่งตามโครงงาน และใช้โทรโข่งในการเรียกรวม แบ่งงาน
  • ปกติในค่ายเป็นฝ่ายอาหารค่ะ ก็เลยไม่ค่อยได้ใช้เสียงเท่าไหร่......ไม่เชื่อละซิค่ะ

 

สวัสดีครับ...อ.ขจิต
P

บันทึกนี้ใครเข้ามาแลกเปลี่ยน  ก็แสดงว่า แก่ ๆ กันทั้งนั้น  เพราะแต่ละคนก็บอกเล่าเรื่องเก่าย้อนอดีตทั้งนั้นเลย  (555...5)

... ผมก็สงสัยอยู่นะครับว่านกหวีดที่อาจารย์ใช้ในค่ายที่เม็กดำเป็นของใครกันแน่...แต่ตอนนี้ก็รู้และโอเคแล้วครับ..

ใกล้กันยายนแล้วนา...ใกล้ได้ไปต่างประเทศแล้วสิครับ !

 

คุณพิชชา  ครับ
P

...  ทุกวันนี้สังคมเปลี่ยนไป วิถีค่ายก็เปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ของสังคม..บันทึกนี้จึงเป็นแต่ข้อสังเกตเล็ก ๆ และการชวนรำลึกถึงอดีตกาลในความทรงจำของคนค่าย

กระนั้นที่เสนอแนวคิดที่ว่า "มาเคาะระฆังใส่ไมค์"   นั้นผมก็เห็นด้วย...คลาสสิคมากครับ

เรียนคุณแผ่นดินค่ะ

       สมัยพี่นะ  ห้องน้ำหนะฝากั้น ไม่มีหรอกค่ะ โล่งทุกฝาเลยค่ะ  อาบเอาข้างบ่อเลยค่ะ  ถึงได้ต้องรอค่ำ ๆ ไงค่ะ

       น้อง ๆ ชาวค่าย สาว ๆ หน่อย ก็จะมีพี่ ๆ หนุ่ม ๆ ชาวค่าย คอยตักน้ำให้  ส่วนพี่ ๆ ชาวค่าย ที่แก่พรรษาแล้ว  ก็คงต้องใช้ "หมาตักน้ำ" เอง ตัวใคร ตัวมันค่ะ

สวัสดีครับ ...พี่ชุมศรี (ขออนุญาตเรียกเช่นนี้นะครับ)

.... บางค่ายก็ยังพอมีนกหวีดให้พบเห็นบ้าง...แต่หลายค่ายก็ไม่มีแล้วครับ  ยิ่งค่ายที่เกี่ยวกับการแสดง  การอบรม ฯลฯ ก็ยิ่งใช้เครื่องเสียงเป็นกระบอกเสียง

แต่อย่างว่าครับ...มันเป็นยุคสมัยที่ผันเปลี่ยนไป  แต่บางทีผมเห็นว่าไม่จำเป็นเลยก็มีเหมือนกัน...นะครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ

P

ผมดีใจเป็นที่สุดที่บันทึกนี้ได้ชวนให้หลายท่านหวนคิดถึงชีวิตที่เคยเป็น "คนค่าย" ...

ทุกวันนี้สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป  ถึงแม้จะเป็นสังคมชนบทแค่ไหน  ก็ยังมีกลิ่นอายความทันสมัยไปห่มคลุมอยู่บ้าง  สิ่งเหล่านี้จึงมีบทบาทเข้าไปซึมลึกอยู่ในวิถีชีวิตของชุมชน 

และเมื่อนิสิตไปออกค่าย  จึงไม่แปลกที่จะพบเห็นสิ่งเหล่านี้อีกครั้งในชุมชน  ...สังคมเปลี่ยน  วิถีค่ายก็เปลี่ยนไปเช่นกันครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีเช้าสาย ๆ ครับ
P

ผมก็นั่งนึก  นั่งงงอยู่เป็นนานว่า  จริงเหรอ..คุณเบิร์ดจะมีอายุปานนั้นไปได้

โล่งใจครับ...ที่แท้ก็จำผิด  ...แหม  ผิดไปตั้ง 10 ปีเลยนะนั่น

สวัสดีครับ  คุณหมูน้อย
P

คนที่รำลึกความหลัง คือคน (เริ่ม) แก่  ใช่ไหมครับ...ถ้าใช่  ผมก็เช่นกัน!

  • ผมยังยืนยันนะครับ...ไม่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีค่าย  หากแต่ต้องการให้ชาวค่ายได้เลือกใช้สิ่งเหล่านี้ตามกาละและเวลาอันพอเหมาะพอควร
  • เชื่อครับเชื่อ...เชื่อในฝีมือการทำอาหารของคุณหมูน้อย...และเชื่อว่า  ชาวค่ายนั้น ๆ จะเจริญอาหารกันทุกวัน...และมีเรี่ยวแรงเหลือเฝือในการทำงาน   อันเป็นผลพวงของแม่ครัวคนเก่ง
  • ชักอยากชิมบ้างแล้วน้า...(ยิ้ม ๆ)

ขอบคุณครับ......ขอบคุณมาก ๆ

 

พี่แป๊ดครับ...

P

ที่ว่ารุ่นพี่ชาวค่าย แก่ ๆ นั้น...หมายถึงใครครับ อย่าบอกนะว่า พี่แป๊ด

ไม่หรอก  ..ผมไม่เชื่อ  !   ยังไงก็ไม่เชื่อ....ฮือ ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท