เล่าเรื่องผู้ป่วยเบาหวาน


สุขภาพเป็นเรื่องเฉพาะตัว ในการที่มีสิทธิที่จะรักษา ควบคุม ปรับพฤติกรรม

           4 ปีก่อน ..การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน..เริ่มต้นจากความรู้ชุดเดิม  การทำงานแบบเดิมเชื่อมการรักษาที่มีขอบเขตจำกัด ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ  เราค่อยๆคิดพัฒนาการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง  วันนี้เราพบว่าคนไข้บางส่วนของคิดว่าสุขภาพเป็นเรื่องเฉพาะตัว  ในการที่มีสิทธิที่จะรักษา ควบคุม ปรับพฤติกรรม ตามความสามารถและศักยภาพ  ในมุมมองของเรา เราคิดว่าปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาที่โยงใยทุกระบบ ไม่ใช่ปัญหาของใคร   และวันนี้เราจะเริ่มมาแก้ปัญหาด้านนี้ของตา... เพื่อนำมาเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหา     และพัฒนารูปแบบดูแลที่ไม่ใช่แค่เราที่เห็นปัญหาและแก้ไขปัญหาได้แบบจำกัด แต่เราจะมาแก้ปัญหาร่วมกัน           วันนี้ก็เช่นกันที่คลินิกเบาหวาน ได้รับคนไข้ที่ส่งต่อมาจาก GP   ทุกครั้งที่แพทย์จะให้เริ่มใช้ยาฉีด คุณตาไม่ยอมฉีด บอกแต่ว่าทำไม่ได้ ส่งไปเรียนการฉีดยากับเภสัช ก็ทำไม่ได้   เกือบหมดหวังกับการดูแลคุณตา คุณตาเป็นคนพูดน้อย ถามคำตอบคำ สุขลักษณะทั่วไปดูไม่ค่อยจะดีหนัก  เดินไม่ไหว ในการมาแต่ละครั้ง นั่ง wheel chair  มา เมื่อเราถามถึงญาติ  คุณตาจะบอกว่า ญาติต้องทำงาน มาไม่ได้ ตอบสั้นๆแล้วก็เงียบไป    คุณตาเป็นเบาหวานมา 5 ปี  ผลเลือดของเดือน ม.ค 50  ระดับ Hba1c = 12.8 bun= 33 cr= 2.8  เริ่มมีปัญหาบวมที่เท้า        

        ครั้งที่ 2    ที่อ้อเจอคุณตา เป็นครั้งแรกที่ คูณตา พาญาติมารพ. ตามที่อ้อบอก  ญาติคุณตาเป็นภรรยาดูไม่ค่อยรู้เรื่องกับการเจ็บป่วยของคุณตา   อ้อพูดคุยกับคุณตาและคุณยาย ประมาณ 30 นาที คุณยายชื่อ ยายบุ้ง อายุ 74 ปีสายตาฝ้าฟางมองตัวเลขที่ Syring ไม่เห็น อาชีพ รับจ้างถางหญ้า รายได้วันละ 50 บาท 2 ตายาย ไม่มีลูก จึงอยู่กัน 2 คน  ฐานะ ( ยากจน แบบที่ต้องส่งทำรายการสกูปชีวิตท่าจะดี )   สรุป คุณตาเลยคิดว่าเรื่องป่วยเรื่องตายเป็นเรื่องที่ตาเลือกเอง ประมาณว่า สุขภาพเป็นเรื่องเฉพาะตัว  ในการที่มีสิทธิที่จะรักษา ควบคุม ปรับพฤติกรรม เพราะการรักษามันลำบาก ในการฉีดยาทั้งเช้าและเย็น   ถ้ายายบุ้งไม่ไปทำงาน อันนี้ตายเห็นๆ แถมตาย 2 คนซะด้วย  แกเลยตัดสินใจเลือกตายคนเดียว......30 นาที ผ่านไป กับการพูดคุยและให้ต่างคนต่างมองปัญหาในหลายๆมุม   ไม่รู้แง่มุมไหนที่จุดประกายให้ คุณตาเปลี่ยนวิธีคิด คุณตาบอกแต่ว่าจะลองดูที่จะฉีดยา (แต่ไม่บอกจะลองวิธีไหน )

       ครั้งที่ 3   เดือนกุมภาพันธ์ คุณตามาร.พ พร้อมคุณยาย หน้าตาดูเป็นมิตรมากขึ้น พูดคุยมากขึ้น บอกกับเราว่าหลานเป็นคนฉีดยาให้ หลานที่ว่าเป็นคนข้างบ้านที่บังเอิญมาฟังยายบ่น จึงขออาสามามีส่วนในการช่วยคุณตาฉีดยา 

<div style="text-align: center"></div> <h4 align="justify">        เดือนมีนาคม  ด้วยความเต็มใจของคุณตาและคุณยาย  เรามีนัดลงไปเยี่ยมคุณตาที่บ้าน  พร้อมทีม มีเภสัชกร  อ้อ  พยาบาลประจำ PCU และ เพื่อนเบาหวานที่ใช้ยาฉีดอินซูลินที่มีประสบการณ์การใช้ยาฉีดที่ดี   และนี่อาจแสดงให้เห็นถึง ทีมเบาหวานเป็นตัวอย่างของความสัมพันธ์ที่ดีในหน่วยงานและ มีคนเก่งหลายคน ที่จะมาทำสิ่งดีๆร่วมกันเห็นไหมคะ ความหวังที่เคยมืดมิด ของคุณตาตลอด 3 ปี เริ่มดีขึ้น โดยการมีส่วนร่วมคิด ทุกส่วน เปลี่ยนวิธีคิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดูแลตนเอง เกิดการดูแลตนเองที่ดีขึ้น  สิ่งที่เกิด เป็นความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ การนำผลการทดลองปฏิบัติ มาแก้ปัญหาและเพื่อนเบาหวานเป็นกระบวนการก้าวกระโดดให้ คุณตาผ่านปัญหานั้นได้ อย่างมีความสุขตามสภาพที่ควรจะเป็น เพื่อนบ้านเข้ามามีส่วนดูแลอย่างมีความสุขตามประสาผู้ให้ที่มีจิตอาสา  เราบรรลุเป้าหมายไปอีก 1 ขั้น คือ พัฒนาศักยภาพเพื่อให้สามารถควบคุม และปรับปรุงสุขภาพตนเองได้ ซึ่งต้องสร้างความสามารถให้บุคคล และชุมชน ทำงานแบบมีส่วนร่วม และดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน </h4><h4 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="justify"> สุขภาพเป็นของทุกคน ดังนั้น การสร้างสุขภาพจึงสมควรให้ทุกคนมามีส่วนร่วมในการคิด ตกลงใจ ตัดสินใจ ร่วมทำ สร้างผู้นำที่เป็นตัวอย่างที่ดี และสร้างแรงจูงใจให้ตระหนัก และเห็นความสำคัญ ใช้พลังคน พลังสังคม พลังการรวมกลุ่ม พลังการเรียนรู้  สู่การขับเคลื่อนสุขภาพดี ให้เกิดขึ้น  สร้างคนไข้ให้มีสุขภาพที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่อย่างมีความสุข อย่างทั่วถึงกัน </h4><h4 align="justify"><div style="text-align: center"></div></h4><h4 align="justify">      วันนี้หลังตรวจเสร็จ คุณยายเข้ามาไหว้และจับมืออ้อ ไว้แน่น อยู่นาน ยายยิ้มแต่ตาเริ่มแดง  บอกว่าขอบคุณ  และขอลากลับไป        อ้อรู้สึกได้ ว่าความสุขของคนทำงานอยู่แค่เอื้อมจริงๆ  …   </h4><h4 align="justify"> ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์22 มี.ค 50 </h4>

หมายเลขบันทึก: 85669เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
     ขอบใจอ้อและน้องๆทุกคนที่เข้าใจผู้ป่วยที่เราดูแลและมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้เขาเหล่านั้นอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรังที่เป็น ได้อย่างมีความสุข สิ่งที่อ้อได้กลับมาคือพลังใจที่จะทำดีต่อไปใช่มั้ย อย่าได้ท้อถอยนะอ้อนะ

สนับสนุน ให้เกิดการ  ค้นหาและ ชื่นชม  เรื่องราวเกี่ยวกับความดี คุณธรรมของวิชาชีพ อุดมคติที่แฝงไว้ในระบบงาน  โดยเฉพาะเรื่องราวของคนเล็ก ๆ ที่ทำงานอย่างใส่ใจและทุ่มเท  ในหน่วยงานต่าง ๆ ."

จาก องค์กรไม่ใช่เครื่องจักร ต้องการความรัก และความเข้าใจ
นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์   14 มีค.50

 

 

จะเห็นว่า 3 ปีกับความพยายามในการใส่ใจการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยที่เราดูแลด้วยใจผลลัพธ์ออกมาเห็นผลคุ้มค่ากับการที่เราเฝ้ารอใช่มั้ยอ้อ อย่างที่เราเคยพูดคุยกันอยู่เสมอว่าอยากทำให้ใครต่อใครเห็นว่ารูปธรรมการดูแลแบบองค์รวมดึงการมีส่วนร่วมของครอบครัวใส่ใจในความเจ็บป่วยวันนี้อ้อก็ได้ทำให้เห็นแล้วขอเป็นกำลังใจให้นะ

ผมขอบคุณ แทน คุณตา คุณยาย นะครับ ที่ทุกท่านลงลุยกันได้ถึงต้นตอปัญหา  ที่สำคัญมากว่าวิชาการ ก็คือหัวใจ ที่มีน้ำใจ ที่จะสร้างกำลังใจให้กันและกัน รวมทั้งที่มาถึงผม.....ที่ธาตุพนมด้วย

 

อ่านแล้วรู้สึกดีมากๆเลยนะน้องอ้อ เพราะพี่รัตน์ก็เคยได้รับความรู้สึกดีๆแบบนี้บ่อยๆเมื่อลงไปทำงานในชุมชน ทุกครั้งที่เรามีปัญหาในการทำงานความสุขความประทำใจต่างๆเหล่านี้จะกลับมาเป็นพลังใจให้เรามีพลังในการทำงานได้เป็นอย่างดี...เอาใจช่วยและขอปรบมือให้ทีมงานผู้เกี่ยวข้องทุกคนเลย..เยี่ยมมากๆ

ดูอบอุ่นยิ่งนักกับวิถีแห่งการทำงานที่ลงลึกไปสู่ชีวิตของคน

ผมเคยจัดค่ายเมื่อนานมาแล้ว  โดยเชิญโรงพยาบาลมาตรวจสุขภาพให้ชาวบ้าน  บางคนก็นั่งรถเข็น (รถเข็นชาวบ้านนะครับ)  มาให้แพทย์ตรวจ

ภาพเหล่านั้นผมไม่เคยลืม

.....

เป็นกำลังใจให้กับคนทำงานเสมอนะครับ.

รู้สึกอบอุ่นแทนคุณตาคุณยาย ที่มีผู้ให้การดูแลที่น่ารักๆ จากทีมพุทธชินราช

เก่งจังเลยค่ะ กำลังอยากทำงานวิจัยเรื่องนี้อยู่พอดีเลยค่ะ พอจะให้คำแนะนำได้ไหมคะ

การรักษาโรคเบาหวานแบบหายขาดโดยสมุนไพรไทย หายขาดจริงๆครับ โดยความบังเอิญที่คุณพ่อผมได้เดินทางมาหาที่บ้านที่จังหวัดขอนแก่นแล้วมาเจอกับ คุณ ยายผมที่ป่วยเป็นเบาหวานมาหลายปี โดยการรักษาตลอด 12ปีที่ผ่านมาต้องไปรับยาทุกอาทิตย์ ตื่นตั้งแต่ตี 5เพื่อไปโรงบาล แกบอกว่าทรมานมากใครไม่เป็นไม่รู้หรอก เพื่อนๆแกได้ตัดนิ้ว-แขน-ขา บางคนตาบอด และตายไปก็หลายสิบคนแล้ว พ่อบอกกับแม่ว่าแกมีสูตรสมุนไพรโบราณสมัยคุณปู่ผมที่อยู่ที่มาเลย์เซียก่อนเดินทางมาไทยและนำมาผสมกับสมุนไพรของคุณตาผมที่นำมาจากไร่ที่ จังหวัดเลยผสมชงทานกัน ตอนแรกแกไม่ยอมทาน กลัวสารพัดผ่านไปหลายวันเข้าพ่อผมแกก็ชงทานทุกวันให้แกดูเป็นตัวอย่าง แกเลยยอมหลังจากทานไปสัก 3-4วันแกบอกว่าจะปัสสาวะบ่อยมากและจะมีอาการร้อนวูบวาบ และอาการชาปลายนิ้วตอนเช้าได้หายไปและหลังจากทานไปได้ 7วันแกอยากทานนั่นทานนี่(ปรกติไม่ยอมทานอะไร) ผิวพรรณจากแห้งๆเริ่มมีน้ำมีนวล และขาเริ่มมีกำลังสามารถลุกขึ้นเดินได้ จนแม่ได้พาไปตรวจที่ โรงพยาบาลขอนแก่น ผลออกมาว่าน้ำตาลในเลือดจากเดิม 230 ลดลงเหลือเพียง 115เท่านั้น เอง จนหมอเองก็ประหลาดใจอยู่ไม่น้อย แกทานมาได้สักประมาณ 1เดือนแล้วกลับไปวัดน้ำตาลอีกก็ได้รับผลว่าปรกติดี จวบจนถึงปัจจุบันนี้คุณหมอ ได้ทำการแจ้งว่าไม่ต้องมาตรวจแล้วครับ หายจากการเป็นเบาหวานแล้ว ก็ทำให้ทุกคนในบ้านประหลาดใจมากครับผมคนนึงที่ไม่เชื่อครับ ก็เลยเอามให้น้องๆที่ทำงานที่ร้อยเอ็ดนำไปให้คนที่บ้านทาน ผลก็เป็นเช่นเดิมกับยายผมทานไปน่าจะประมาณ 83คน มีที่ไม่หาย 3คน ซึ่งจากการสอบถามแล้วได้ความว่าทานไปเพียง 1-3วันแล้วไม่กล้าทานต่อครับส่วนท่านอื่นๆปัจจุบันหายขาดแล้วเพราะไม่ได้นำไปทานอีกเลยผมจึงบอกคนที่หายว่าถ้าทานแล้วหายให้ระลึกถึงคุณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วที่ได้คิดค้นสูตรโบราณนี้ไว้ให้แก่คนรุ่นนี้ครับ  อัศจรรย์จริงๆครับ รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่ คุณ ธิดา อึ้งนภารัตน์ 123/456 .เพรสซิเดนท์ ต.แดงใหญ่ .เมือง จ.ขอนแก่น 40000หรือโทร 083-3459197 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท