... HR-Heart Revolution : เริ่มกันที่ใจ....* ควันหลงจากการฟัง*


.....คุณภาพงานเริ่มที่คน...ที่มีหัวใจ....

ฉันรอวันที่จะเข้าฟังบรรยายเรื่องนี้โดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืดอย่างใจจดใจจ่อ ในงาน 8th. HA National Forum เหตุเพราะฉันเคยฟังท่านบรรยายเรื่อง KM ด้วยความสนุกสนาน....มันสะใจ...ชวนให้ติดตามมาแล้ว ตอนนั้นท่านบรรยายเรื่องของ TUNA Model….เมื่อเอามาทำ KM….

 

ฉันฟังสองครั้งและซื้อหนังสือมาอ่านหลายเล่ม.......แค่พอเข้าใจเรื่อง KM.... การเข้ามาใน GotoKnow / blog…เพื่อใช้เครื่องมือนี้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น…และเรียนรู้ร่วมกันทำให้ฉันได้เห็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอีกมิติหนึ่ง

 

สิ่งเหล่านี้ทำให้ฉันเข้าใจมากขึ้นว่า TUNA Model เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการจัดการความรู้เท่านั้น... TUNA Model มิใช่ตัวแทนของ KM…..อย่างที่ใครๆคิด....และก็ยังมีเครื่องมืออื่นๆที่อาจจะนำมาใช้อีกมากมายเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย....สุดแท้แต่ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรนั้นๆ…..

 

 

 

 ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด กล่าวถึงแนวคิดการบริหารงานองค์กร เช่น MBO, QCC, SWOT, RBM, Strategic Management หรือ BSC ต่างๆเหล่านี้มีข้อดีตรงที่ทำให้ผู้บริหารตื่นตัวและสนใจพัฒนาองค์กร

 
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการนำแนวคิดสู่การปฏิบัติยังเป็นไปภายใต้กระบวนทัศน์แบบเดิมๆ ซึ่งเน้นเรื่องของการวางแผน(Planing) ติดตามและประเมินผล(Monitoring & Evaluation) มีการสร้างตัวชี้วัด(KPI) ขึ้นมามากมายจนกลายเป็นภาระหนักแก่ผู้ปฏิบัติ ….

 

 

คุณภาพที่ทำอยู่จึงเป็นคุณภาพแบบ...แห้งๆ....เพราะสิ่งที่ขาดหายไปคือ...ความใส่ใจในความเป็นมนุษย์...

 

ท่านให้ความสนใจกับส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปภายในใจของแต่ละคน...

เป็นเรื่องของการสร้าง... “แรงบันดาลใจ(Passion)”... เป็นเรื่องของการ“จุดไฟในใจ”ผู้ปฏิบัติงาน…เพื่อทำให้เขามีใจในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ...

ท่านเน้นให้ Plan & Passion …..ควรไปด้วยกัน....และเป็นการใช้สมองทั้งฝั่งซ้ายและขวาซึ่งเป็นเรื่องของคิดพัฒนาด้วยหัวใจ.....คำนึงถึงจิตใจ... ....

 

ดังนั้นการพัฒนาคนจะต้องไม่พัฒนาแค่เรื่องของทักษะ ความรู้ ความสามารถ แต่ต้องพัฒนาให้ลงลึกถึงระดับจิตใจด้วย.....

 

...การจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Model ใหม่จึงเป็นเรื่องของ “Mental Model” และบันได 3 ขั้นสู่การเป็น Learning Organization (LO) คือ

ขั้นที่ 1. สร้างใจ : passion, people

ขั้นที่ 2. สร้างปัจจัย : process, infrastructure, management

ขั้นที่ 3. สร้าง vision

 

อาจารย์จบการบรรยายลงอย่างสวยงาม....พร้อมกับเสียงปรบมือลั่นห้อง

 

 

ฉันฟังบรรยายจบแล้วให้หวนนึกถึงแนวคิดการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ของ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) ซึ่งท่าน อ.หมอ อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการบริการสุขภาพด้วยหัวใจ มิได้ใช้แต่เพียงตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลขเท่านั้น ….

 

ช่างสอดคล้องกันดีเหลือเกิน….

 

...และสิ่งเหล่านี้เป็นน้ำทิพย์....คล้ายยาชูกำลัง...

ที่จะทำให้บุคลากรทางสาธารณสุขที่กำลังเหนื่อยหน่าย ท้อแท้กับภาวะกดดันทั้งจากสังคมที่รุมเร้า เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง สารพัด...

ได้กลับมามีพลังใจ.... มีความภูมิใจ.... และเต็มใจที่จะให้การบริการสาธารณสุขต่อไปด้วยหัวใจของผู้ให้อย่างไม่มีวันเหน็ดเหนื่อย….อย่างแท้จริง

 

 

 

 

เก็บภาพบรรยากาศบางส่วน มาฝากค่ะ.....

........ดูเอาเถอะค่ะ....ผู้พูดเลิกพูดแล้ว.....แต่ผู้ฟังไม่ยอมเลิกค่ะ......นี่ค่อยๆทยอยมานะคะเนี่ย ..........

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 85331เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2007 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ขอบคุณพี่ติ๋วมากๆค่ะ ที่สรุปการบรรยายดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง...เห็นด้วยกับพี่ติ๋วค่ะว่า KPI สมัยนี้เยอะมากมายเหลือเกิน แต่ KPI ในเรื่องของจิตใจ น่าจะมีมั่งนะค่ะ ... หากบุคลากรทำงานด้วยใจแล้ว .. การพัฒนาบุคลากร พัฒนางาน พัฒนาองค์กร...ก็จะไม่ใช่เรื่องยากเลย....แต่ใจมนุษย์..ก็ไม่ง่ายเลยนะค่ะ ...
สวัสดีค่ะ อ.Paew....ขอบคุณที่เห็นความสำคัญด้านจิตใจด้วยเช่นกันค่ะ การพยาบาลที่ให้ ความอ่อนน้อม นุ่มนวลจนผู้ป่วยเกิดความประทับใจนั้นโดยสายเลือดพยาบาลส่วนใหญ่จะมีให้กันมานานแล้วค่ะ แต่เดิมตัวชี้วัดที่พูดกันนั้นไม่ค่อยกล่าวถึง...ตอนนี้เลยเห็นความสำคัญกันมากขึ้นค่ะแต่ก็วัดกันยาก ต้องใช้เวลานาน....ขอบคุรค่ะ
ตามมาอ่านครับ ...รู้สึกว่าคุณติ๋วจะสรุปได้ดีกว่าผู้บรรยายซะอีก ...แต่ไม่ได้เห็นรูป (เข้าใจว่าขัดข้องทางเทคนิค) ถ้าจะส่งมาให้ผมดูทางอีเมล์ก็ดีครับ
  • เก็บประเด็นได้ดีจริงๆ พลอยให้นึกภาพตามไปด้วยค่ะ
  • ให้เราให้ KM เป็นเครื่องมือพัฒนาตน ฅน งาน องค์กร  ....
  • พี่ติ๋วสรุปได้ดี อ่านแล้วเข้าใจค่ะ
  • การสร้างตัวชี้วัดขึ้นมามากถือเป็นภาระหนักของผู้ปฏิบัติ  มีหลายหน่วยงานค่ะพี่ติ๋ว สร้างตัวชี้วัดขึ้นมาก่อน แล้วมาตามเก็บงานทีหลัง อ้อว่าไม่เหมาะเลย ก่อนกำหนดตัวชี้วัดควรดูภาระงานของตัวเองให้แน่ใจก่อน ไม่งั้นหนักอึ้งจริง ๆ ค่ะพี่
  • ขอบคุณค่ะ

เรียนท่านอ.ดร.ประพนธ์ค่ะ

  • คาดว่ารูปหล่อๆของอาจารย์น่าจะลงบันทึกได้แล้วค่ะ...ผิดพลาดทางเทคนิคจริงๆค่ะ..รบกวนอาจารย์ลองแวะมาดูอีกรอบนะคะ...ว่าเห็นภาพหล่อๆของอาจารย์หรือเปล่า....
  • ต้องขอประทานโทษด้วยค่ะ  ถ่ายรูปมามีรูปอาจารย์เยอะแต่ตอนทำบันทึกนั้นเป็นช่วง net เน่า(ภาษาวัยรุ่น..ลูกสาวชอบพูดค่ะ)เลยลงได้แค่รูปหล่อนี้รูปเดียวก่อน....เดี๋ยวจะลงเพิ่มใหม่วันหลังค่ะ....
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณน้อง...

  • ถ้าคนพัฒนาได้และมีศักยภาพ..ก็สามารถทำอะไรต่างๆได้หมด...ไม่ว่าจะในบทบาทไหนค่ะ..เพราะงานทุกอย่างเกิดจากการกระทำของคน...จริงๆค่ะ..
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณอ้อ...

  • ตัวชี้วัด...ควรจะตอบได้ว่า...เราใช้วัด(คุณภาพ)อะไร..
  • บางตัวใช้วัดการบริหารจัดการ...บางตัวใช้วัดกระบวนการ...ผลลัพธ์....ผลกระทบ....บางตัวเป็นการวัดทางคลินิค...วัด...วั.....
  • อาจจะจำเป้นที่จะต้องมีหลายตัวแต่...แต่ละตัวต้องบอกได้ว่า..ตัวทำหน้าที่วัดอะไร...วัดหน่วยงาน...หรือวัดองค์กรใหญ่....หรือ......
  • ...เวลาจะหยิบมาใช้ก็เอามาบอกให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการก็แล้วกัน...แต่ประเภทเก็บแล้วรกๆ....คงต้องลดลงบ้างค่ะ....แต่คงจะต้องยอมรับว่า....เดิมมันเป็นของใหม่ของพวกเรา...เดี๋ยวนี้เริ่มรู้แล้วก็ปรับแต่งได้ค่ะ.....เอาให้เหมาะสม.....(อดีตใช่ว่าจะไม่มีดี...อย่างน้อยก็เป็นบทเรียน..เป็นครูของปัจจุบันค่ะ).
  • ว้า...พี่พูดมากไป...งงไหมคะ.....
  • ...ขอบคุณค่ะ
  • ฉันนำภาพในการบรรยายของท่าน beyondKM มาลงเพิ่มเติมค่ะ
  • ขอบคุณท่านที่ทำให้ดิฉันมีไฟอีกครั้งค่ะ....ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท