"พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข":อานิสงส์ของการเหลียวหลัง (III)


ปรากฏการณ์ของชุมชน ให้ความรู้กับเราว่า จะจัดการความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ต้องจัดการทั้งตัวเอง ครอบครัว ของกลุ่ม (คนแก่ และเด็ก ฯลฯ) แล้วภาพของการจัดการชุมชนก็จะเกิดขึ้นได้

จาก AAR สู่ BAR
(from After Action Review  to Before Action Review)
“อานิสงส์ของการเหลียวหลัง สู่พลังของการแลหน้า”
เพื่อมุ่งไปสู่การจัดงาน
"พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข"

โดย สมโภชน์ นาคกล่อม

ตอนที่ ๑  “อานิสงส์ของการเหลียวหลัง” (III)

(ต่อจาก อานิสงส์ของการเหลียวหลัง (II))

“เกิดผลอะไร...ในการจัดการความรู้ของ สรส.”

การจัดการความรู้กับการเปลี่ยนแปลงของภาคี (node)
เราพบว่า การจัดการความรู้ทำให้การทำงานของโหนดวิจัยท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไปมาก สามารถอธิบายได้เป็นรายโหนด แต่ที่สำคัญคือทำให้การเกาะติดพื้นที่ของโหนดมีมากขึ้น และที่สำคัญคือได้รับแรงกระตุ้นการทำงานซึ่งกันและกัน   จากกระบวนการที่เรามีมากกว่า ๑ โหนด แม้นานๆ จะมีเวทีเรียนรู้ลึกๆ สักครั้ง แต่การส่งอีเมล์เวียนกันอ่านก็เป็นการกระตุ้นกันและกัน อย่างได้ผลดีดังกล่าวมาแล้วเช่นกัน

การจัดการความรู้กับการเปลี่ยนแปลงของ อบต.
นอกจากการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงของตัวละครสำคัญต่างๆ แล้ว มีตัวชี้วัดที่ชี้ขาดคือ อบต.เห็นด้วยและลงงบประมาณในกิจกรรม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน  นายกฯ ถือเป็นนโยบายที่จะสร้างทีมงาน  ซึ่งหากมีข้อนี้ถือว่าเป็นการสร้างความสำเร็จแล้ว

ในระดับรัฐมนตรีหมู่บ้าน/ตำบล แม้เพิ่งจะเริ่มไม่นานนัก แต่ถึงกระนั้นเราก็บอกได้ว่า รัฐมนตรีกล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ และมีตัวอย่างของ อบต.วัดดาวที่นายกเร่งนำเอาไปใช้ ทำให้งานของ อบต.ดีขึ้น เช่น การจัดงานเทศกาลต่างๆ ของ อบต.

ส่วนตำบลหัวไผ่ เราไม่สามารถมองในเชิงการแข่งขันข้ามพื้นที่ได้ ต้องเทียบกับฐานเดิมของเขา ในเรื่องเล่าของผู้ประสานงานพื้นที่ มีรายละเอียดทำให้เห็นความคืบหน้า เห็นปัญหา เช่น ตอนแรกดูเหมือนกลุ่มคนแก่จะมีกำลังขึ้นมา แต่พอไปกระทุ้งกลุ่มเด็ก ปรากฏว่ากลุ่มคนแก่ก็พุบ  ได้ความรู้ใหม่ว่า “จำเป็นต้องเดาะให้ลูกโด่งขึ้นอากาศอยู่เรื่อยๆ”  ต้องคลุกคลีตีโมงมิให้กำลังตกทั้ง ๒ กลุ่ม

ปรากฏการณ์ของชุมชน ให้ความรู้กับเราว่า จะจัดการความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ต้องจัดการทั้งตัวเอง ครอบครัว ของกลุ่ม (คนแก่ และเด็ก ฯลฯ) แล้วภาพของการจัดการชุมชนก็จะเกิดขึ้นได้

เช่นเดียวกับ พี่ธนกร จ.เชียงใหม่ ที่แม่บ้านให้กินข้าวจานเปล่าเมื่อออกมาเรียนรู้และทำงานชุมชน ซึ่งสิ่งนี้เป็นอุปสรรคของแกนนำในการลุกขึ้นมาทำงานเพื่อชุมชน หรือออกนอกพื้นที่ (แค่การออกนอกพื้นที่ของแกนนำได้บ่อยของปางจำปี ก็มีคุณค่าและความหมายซ่อนอยู่พอสมควรแล้ว)  ทำให้เราได้ความรู้ถึงวิธีการทำงานให้เนียนกับชาวบ้าน  คำถามพื้นฐานเช่น การจัดการความรู้เข้าไปแล้วทำให้การทำงานของอบต. และของตัวละครทั้งหลายดีขึ้นหรือไม่ ต้องตอบให้ได้เป็นอันดับแรก ก่อนจะตอบคำถามลึกและเล็กอย่างอื่น

การจะตอบคำถามผลที่เกิดขึ้นต้องวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เช่น วัฒนธรรมของภาคเหนือไม่เหมือนกับภาคกลาง ซึ่งกระแสของเงินเข้าไปในพื้นที่เยอะกว่า หรือลักษณะของนิสัย ความร่วมมือของคนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ก็ต่างกัน
           

โดยทั่วไป หน่วยงานและโครงการต่างๆที่ทำเรื่องพัฒนาคน เป็นการมาอบรมฟรี ตัวละครต่างๆ ไม่ได้มีพันธะผูกพันทางใจที่จะไปทำงาน ไปเอาไปใช้จริงๆ  สรส.ได้ประสบการณ์จากการฝึกอบรมว่า ถ้าคนไม่นิ่ง เราไม่สามารถพัฒนาได้ เราจะจับคนให้นิ่งได้อย่างไร ก็โดยการเอาบทบาทรัฐมนตรีหมู่บ้าน/ตำบลไปใส่ให้เขา

การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น จะมีเยอะมาก ประสบการณ์จากการทำงานเหล่านี้ทำให้เรามีความรู้มีประสบการณ์ที่จะขยายผลได้ เช่น เครือข่าย อบต.จ.นครสวรรค์ เราจะรับงานได้ด้วยความมั่นใจมากขึ้น มาทั้งจังหวัดเราก็ทำได้โดยใช้เครื่องมือเรื่องตลาดนัดความรู้ เพราะประสบการณ์จากวัดดาวและหัวไผ่จะบอกว่าเราจะเริ่มจากแกนนำที่มีใจมาก่อน หรือของหางดงเราจะใช้ฝ่ายการศึกษาทำหน้าที่เป็น “สถาบันจัดการความรู้ของตำบล” 

จุดที่เราต้องเสนอคือ ความเป็นจริงเป็นอยู่อย่างไร และเราไปต่ออย่างไร อะไรเป็นเหตุปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ เช่น ต้องมีคนนิ่ง ต้องทำบทบาทเขาให้ชัด ฯลฯ

(to be continue => "พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข":อานิสงส์ของการเหลียวหลัง” (IIII)

หมายเลขบันทึก: 83748เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท