"พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข":อานิสงส์ของการเหลียวหลัง (II)


ทุกกลุ่มเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา สหกรณ์ อบต. รัฐมนตรีหมู่บ้าน/ตำบล เราพิจารณาจากวัฒนธรรมองค์กร ว่ามีวิธีคิด วิธีปฏิบัติ ทัศนคติต่อการทำงาน และความเคยชินอย่างไร อะไรเป็นแรงขับในการทำงาน วิถีชีวิต การใช้ชีวิต ใช้เวลา เป็นอย่างไร ตลอดจนคำนึงถึงฤดูกาลของชุมชนด้วย เราพยายามทำให้เป้าหมายของชีวิต ความใฝ่ฝัน ความสนใจ และการเรียนรู้เป็นเรื่องเดียวกัน

จาก AAR สู่ BAR
(from After Action Review  to Before Action Review)

“อานิสงส์ของการเหลียวหลัง สู่พลังของการแลหน้า”
เพื่อมุ่งไปสู่การจัดงาน

"พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข"

โดย สมโภชน์ นาคกล่อม

ตอนที่ ๑  “อานิสงส์ของการเหลียวหลัง” (II) 

(ต่อจาก อานิสงส์ของการเหลียวหลัง (I))

               การเลือกพื้นที่เป้าหมาย การประเมินทุนและศักยภาพชุมชนเบื้องต้น

                มีเกณฑ์การพิจารณาในภาพรวมว่า สามารถสร้างนวัตกรรมได้ มีโอกาสที่จะสำเร็จ มีโอกาสขยายผลสูง ส่วนในรายละเอียดนั้น มีเกณฑ์เรื่องคน ว่ามีอำนาจ มีบารมี มีพลัง และมีความสนใจเพียงพอ  กิจกรรม พื้นที่มีกิจกรรมที่ KM  สามารถเติมเต็มและยกระดับได้ สัมผัสผลได้  Location  เราก็คำนึงถึงความสะดวกในการเดินทางด้วย ฯลฯ

              เมื่อลงรายละเอียดแต่ละพื้นที่เป้าหมาย ทำให้เห็นความชัดเจนขึ้น เช่น เครือข่ายสหกรณ์ ได้ความรู้ว่าไม่ควรเอา KM  นำ  แต่ควรเอา Best Practice และกระบวนการนำ และเราต้องรู้ข้อมูลมากกว่านี้   สถาบันการศึกษา เราเลือกที่เชื่อมโยงกับชุมชน มีตัวอาจารย์ที่สนใจ  เห็นตัวนักศึกษา   ได้เห็นว่าวิธีการ “เข้ามวย” ของเราใช้กิจกรรมนำ แบบโยนก้อนหินถามทาง ซึ่งจะต้องประเมินเร็ว เพราะกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรม คนมักไม่เข้าใจ จึงต้องรีบทำให้สัมผัสผล   ส่วนกลุ่มเป้าหมาย อบต. นั้น มีที่มาหลากหลาย ทั้งจากเวทีเรียนรู้ที่ไปเป็นวิทยากร              จากการจัดตลาดนัดความรู้  จากเวทีของ อบจ.  จากเวทีประชุมประจำเดือน  จากโหนด สกว. ภาค 

            การสรรหาแกนนำและรัฐมนตรีแต่ละกระทรวง การสร้างแรงบันดาลใจ

              ทุกกลุ่มเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา สหกรณ์ อบต. รัฐมนตรีหมู่บ้าน/ตำบล  เราพิจารณาจากวัฒนธรรมองค์กร ว่ามีวิธีคิด วิธีปฏิบัติ ทัศนคติต่อการทำงาน และความเคยชินอย่างไร  อะไรเป็นแรงขับในการทำงาน  วิถีชีวิต การใช้ชีวิต ใช้เวลา เป็นอย่างไร  ตลอดจนคำนึงถึงฤดูกาลของชุมชนด้วย  เราพยายามทำให้เป้าหมายของชีวิต ความใฝ่ฝัน ความสนใจ และการเรียนรู้เป็นเรื่องเดียวกัน  

           จากการถอดบทเรียนทำให้เห็นว่า เราสามารถเชื่อมโยงเป้าหมายชีวิตและงานของเขาได้ว่า ชีวิตและงานจะดีขึ้นอย่างไร โดยใช้วิธีชี้ให้เห็น ชวนคิด ชวนมอง ชวนทำ  เพื่อให้สัมผัสผล   อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ การเข้ามวย ที่เน้นความเป็นเพื่อน ความเป็นธรรมชาติ ไม่เข้าเป็น “โครงการ”  เพราะภาพของชาวบ้านที๋มีต่อคำว่าโครงการคือ “เงิน”  เราทำให้เขาตีความหมายของคำว่าโครงการใหม่ โดยการเข้าไปคลุกคลี นัวเนีย สร้างความเป็นเพื่อน วางใจ เปิดใจ โดยใช้ความจริงใจ ตั้งใจ ให้เวลา ให้อภัย นอบน้อม ถ่อมตน  ทำให้เรา ได้ใจ  

              อีกประการหนึ่งคือ ความต่อเนื่อง การรู้จักใช้ “จังหวะ” แห่งการเรียนรู้ คือ ทำให้ดู    จับมือทำ ให้ทำเอง  ทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ  เริ่มจากเรื่องง่ายไปสู่เรื่องยาก  โดยมีฐานคิดในการจัดความสัมพันธ์ คือพยายามเก็บเกี่ยว  เรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน  เปิดพื้นที่ทางสังคมใหม่ให้กับทุกฝ่ายรวมทั้งตัวเราเองด้วย

               นอกจากนี้ ยังมีกรอบในการถอดบทเรียนอีกหลายข้อซึ่งจะไม่พูดถึงในรายละเอียด คือ การเปิดกระบวนทัศน์การเรียนรู้  สืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ชุมชน  การคิดยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนงาน  การคิดและเขียนโครงการ  การหาความรู้ก่อนทำ  การปฏิบัติการ  การถอดความรู้และถอดบทเรียน  การพัฒนาและยกระดับความคิด  การปฏิบัติ  การสรุปและสังเคราะห์องค์ความรู้

               สิ่งที่จะชี้ให้เห็น คือ ในกิจกรรมการถอดบทเรียนนี้ สรส. ได้วางตัวพี่โอ (อาภรณ์ จันทร์สมวงศ์ มือเขียนของ สรส.อีกคนหนึ่งที่มาช่วยงานเราเสมอ) และน้องแอน (ปิยะวดี สิงห์สุรีย์ มือสื่อของ สรส.)  ที่จะเป็น “คนฟังและจับจุด” ในการนำไปสื่อสาร ซึ่งจะถูกแปลงออกมาเป็นวีซีดี โปสเตอร์ หนังสือเล่มเล็ก ในงานมหกรรมเดือนเมษายนนี้

                สิ่งที่คิดว่าน่าจะเป็น “จุดให้จับ” สำหรับการ AAR งานของ สรส.ในภาพรวมที่พวกเราคุยกันใน ๔ วันนี้ มีหลายประการที่น่าสนใจ ดังจะได้ขมวดให้ฟังสั้นๆ ในบันทึก "พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข":อานิสงส์ของการเหลียวหลัง (III)  
 

 

หมายเลขบันทึก: 81405เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2007 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท