การต่อสู้กับกระแสอาหารสังเคราะห์ และผิดธรรมชาติ


เยาวชนคือกลุ่มคนที่จะถูกมอมเมาได้ง่าย เพราะ เป็นช่วงพัฒนาการสร้างนิสัยการบริโภค ที่จะใช้ไปตลอดชีวิต
ปัจจุบันกระแสการโฆษณาและการบริโภคอาหารที่ใช้ระบบสังเคราะห์ในการผลิต และอาหารจานด่วน กำลังแพร่หลายมาก และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก  

สำหรับผู้ใหญ่ที่มีนิสัยการบริโภคของตนเองแล้ว ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะ อย่างมากก็แค่ลองชิม

  

แต่ถ้าบังเอิญใครเสพติดไปแล้วก็แก้ไขยาก เพราะ ผมได้ยินมาว่า นิสัยการบริโภคจะพัฒนาในช่วงอายุไม่เกิน ๑๐ ขวบ (ไม่ยืนยันครับ) หลังจากนั้นจะไปทานอะไร ก็จะยังคิดถึงอาหารที่เคยบริโภคตอนเด็กๆ และ ถือเป็นอาหารประจำตัวทั้งชีวิต (Nostalgic foods)

  

ดังนั้นเยาวชนคือกลุ่มคนที่จะถูกมอมเมาได้ง่าย เพราะ เป็นช่วงพัฒนาการสร้างนิสัยการบริโภค ที่จะใช้ไปตลอดชีวิต จึงเห็นได้ว่า การโฆษณาจะเน้นเป้าหมายไปที่เด็ก เป็นส่วนใหญ่ เพราะเขาถือว่านี่คือลูกค้าถาวรของเขา

  

ผมและครอบครัวได้พยายามต่อสู้กับกระแสนี้มาตลอดชีวิต โดยการสอนลูกให้รู้จักคุณค่าของอาหาร มากกว่าค่านิยมของเพื่อนๆ และกระแสสังคม

  

เริ่มตั้งแต่การพัฒนาความคิดของตน และการสอนลูกให้รู้ถึงข้อเสียของอาหารสังเคราะห์ที่ควรหลีกเลี่ยง ประเภท

  

1.    ขนมซอง อาหารแปรรูป และอาหารสังเคราะห์สีสวยๆ

 

2.    น้ำอัดลม ที่ใส่สี ใส่รส ใส่กลิ่น และสารกันบูด (เปิดขวดทิ้งไว้ ๓ เดือนยังไม่บูดเน่า)

 

3.    ผงชูรส และเครื่องปรุงรสต่างๆ

 

4.    น้ำชา กาแฟ

 

5.    น้ำตาล และเครื่องปรุงต่างๆ ที่ไม่จำเป็นหรือๆไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

6.    เนื้อสัตว์ที่ผลิตในฟาร์มที่ให้หัวอาหาร สารปฏิชีวนะ สีผสมอาหาร และสารเร่งเนื้อแบบต่างๆ

 

7.    อาหารอื่นๆที่ผลิตโดยวิธีผิดธรรมชาติ ทั้งเชิงพันธุกรรม และระบบการผลิตที่แอบใช้สารเคมีทุกรูปแบบ ที่มีอยู่อย่างมากมายในตลาด

  

ในทางกลับกัน ผมก็จะอธิบายข้อดีของการบริโภค

  

1.    ผักปลอดสารพิษ

 

2.    ธัญพืช ถั่ว และเมล็ดพืชธรรมชาติต่างๆ

 

3.    น้ำคั้นหรือน้ำปั่นผักและผลไม้ที่ (น่าจะ) ผลิตแบบปลอดสารพิษ ทั้งยาและปุ๋ยเคมี

 

4.    โปรตีนที่ย่อยง่าย มีโอกาสสารพิษปนอยู่น้อย เช่นปลาบางชนิด แทนที่จะเป็นไก่ หรือ หมู หรือปลาที่เลี้ยงในระบบฟาร์ม ที่มีโอกาสบริโภคสารพิษที่ตกค้างจากกระบวนการการผลิตในฟาร์ม

  

ผมจะพูดย้ำทุกครั้ง อย่างเป็นปกติ และธรรมชาติที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนทำให้เกิดความรู้สึกอย่างเป็นปกติว่าอะไรควร ไม่ควรบริโภค แต่ถ้าอยากจะลองบริโภคบ้าง ก็ให้มีสติว่า กำลังบริโภคอาหารที่เสี่ยง และไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่ ซึ่งก็ทำให้ไม่ค่อยอยากบริโภคไปอย่างเป็นปกติของวิธีคิดประจำวัน

  

ลุกชาย และลูกสาวของผมเป็นคนไม่ชอบกินผักเลยตั้งแต่เกิดจนถึง ๑๐ ขวบ ไปสั่งอาหารที่ไหน แม่ค้าทุกคนจะจำได้ทุกแห่งว่า ไม่ใส่ผัก ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยวก็ต้องมีแค่เส้นกับเนื้อเท่านั้น ห้ามใส่ผักใดๆทั้งสิ้น แม้แต่กระเทียมเจียว

  

ผมก็ไม่ได้ละความพยายามที่จะแก้ไขนิสัยการบริโภคที่ไม่น่าจะถูกต้องอันนี้ และ วันหนึ่งผมรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จมาก ในวันที่ผมไปรับลูกสาวกลับจากโรงเรียนชั้นประถมปีที่ ๓

  

ลูกสาวผมบอกว่า หนูมีอะไรจะเล่าให้พ่อฟัง (แบบยิ้มๆ และรู้สึกภูมิใจในตัวเอง)

  

ผมก็ถามว่า อะไรล่ะลูก

  

ลูกสาวผมตอบว่า วันนี้หนูกินผักเป็นแล้ว

  

ผมถาม กินได้อย่างไรลูก ไม่ขมหรือ

  

ลุกสาวผมตอบว่า ที่โรงเรียน เขาเลี้ยงก๋วยเตี๋ยว หนูบอกไม่เอาผัก แต่ก็มีถั่วงอกติดมาต้นหนึ่ง หนูไม่ทันระวังก็เลยเคี้ยวกลืนไปแล้ว

  

ตั้งแต่นั้นมาลูกสาวผมก็ค่อยๆหัดทานผัก ต่อมาก็หัดทานข้าวกล้อง ที่ผมจะอธิบายประโยชน์ทุกครั้งที่มีโอกาส โดยตอนแรกหุงผสม กับข้าวสารไปก่อน เพิ่มสัดส่วน

  

จนตอนนี้ถ้าวันไหนต้องทานข้าวขาวที่หุงจากข้าวสารธรรมดาถือว่า ผิดปกติ และเป็นเฉพาะวันที่ไม่มีทางเลือกเท่านั้น

  

ผมคิดว่าการต่อสู้กับกระแสอาหารสังเคราะห์ และอาหารที่อาจเป็นพิษนี้

  

เราต้องเริ่มที่บ้าน ในระบบครอบครัวครับ

  

จะไปคอยโทษว่าเป็นกระแสสังคมแล้วเราต้องทำตาม อย่างไร้สตินั้นผมไม่เห็นด้วยครับ

  ท่านคิดว่า  

ตัวท่านและครอบครัวจะวิ่ง

ตามกระแสการบริโภคสารพิษ

และสารไร้ประโยชน์ต่อร่างกาย

หรือจะพยายาม

พัฒนานิสัยการบริโภคให้ห่างไกลจากสารพิษ

และเน้นการบริโภคสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายครับ ลองคิดดูนะครับ 
หมายเลขบันทึก: 83438เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อาจารย์คะ  หนิงก็ไม่ชอบทานข้าวขาวขัดสีค่ะ   แต่ข้าวที่บ้านพ่อครูบาอร่อยมากเลยค่ะ

คุณหนิงสนใจข้าวกล้องหอมมะลิแดงอินทรีย์ไหมครับ จะได้แบ่งไปฝากครับ ผลิตเอง แจกเองครับ
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่าทุกคนต้องเริ่มที่ตัวเอง ในบ้านในครอบครัว 
  • ผมเคยฟังท่านพระครูพิทักษ์ธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดอรัญวาส  อดีตประทานมูลนิธิฮักเมืองน่าน(ลิงค์) ตอนไป ลปรร.กับทีมจังหวัดน่าน ท่านพระครูให้ข้อคิดเรื่องอาหารการกินไว้น่าคิดมากว่า "หากต้องการอายุยืนให้กินอาหารที่มีอายุสั้น  แต่หากให้อายุสั้นให้กินอาหารที่มีอายุยืน" ครับ
  • ขอบพระคุณ ดร.แสวงมากครับที่นำมา ลปรร.
  • กระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเริ่มจากภายในจะมีพลัง และมีคุณค่าครับ ดังเช่นอาจารย์ได้พยายามปลูกฝังแนวคิดการบริโภคให้กับคนในครอบครัวครับ นับเป็นตัวอย่างที่ดีมากเลยดีเดียวครับ
  • ดังนั้นในการที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร กับใคร เราต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราก่อนจึงจะเกิดผล ดังเช่น การที่จะไปพัฒนาคนอื่นนั้น ต้องย้อนกลับมาถามตัวเองก่อนนะครับว่าตนเองดีพอหรือยัง ตัวเองทำได้หรือยัง
  • หรือดังเช่น ที่ผมกำลังศึกษาเรื่องเกษตรกรรมแบบประณีตนั้น ตนเองได้ทำหรือยัง มีความเข้าใจดีพอหรือยัง ก่อนที่จะเที่ยวไปพูดกับคนโน้น คนนี้อย่างนี้ว่าเกษตรกรรมแบบประณีตดีอย่างนี้
  • ขอบคุณครับที่นำเกร็ดความรู้ดีๆ มาแบ่งปันครับ 
  • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์  เป็นบุญจริงๆเลยค่ะที่จะได้รับแจก  อิอิ ข้าวกล้องหอมมะลิแดงอินทรีย์ ^__
  • แล้วจะไปขอสูตรหุงข้าวจากแม่หวีด้วยค่ะ  ทำอย่างไรข้าวจึงนุ่ม หอม อร่อยขนาดนั้น  อิอิ  หนิงเป็นคนไม่มีทักษะด้านงานครัวเลยค่ะ 

ขอบคุณครับ พันธมิตรทุกท่าน ที่เข้ามาต่อยอดครับ

กระบวนการผลิตอาหารสมัยใหม่เน้นปริมาณการผลิตมากกว่าคุณภาพโดยเฉพาะจากประสบการณ์ที่ผมได้พูดคุยกับเพื่อนๆการทำฟาร์มปศุสัตว์ที่จำหน่ายในไทยเราเองน่าเป็นห่วงมากๆ ส่วนการส่งต่างประเทศจะมีมาตรฐานที่ดีกว่าหน่อยในแง่เขาปฏิบัติตามกฏอย่างเคร่งครัดเพื่อส่งออกได้ สำหรับประเทศไทยผมบอกตรงๆเราทำแบบไม่นึกถึงว่าเราจะสะสมสารพวกนี้ในร่างกายเราระยะยาว ซึ่งน่าเป็นห่วงมากๆ ผมคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตในรูปแบบต่างๆ การใช้ยาปฏิชีวนะ  สารเคมี ล้วนแล้วแต่ทำไปด้วยเน้นปริมาณบนความฉาบฉวยซึ่ง การดูภายนอกของผลิตภัณฑ์เราจะไม่ทราบเลยว่ามีความเสี่ยงมากมาย หากแต่มองระบบการผลิตทั้งหมดมีความเสี่ยงมากๆ เพราะกระบวนการผลิตใช้สารเคมีตั้งแต่การเตรียมโรงเรือน ทั้งวัตถุดิบอาหาร ตลอดจนสารเร่งต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงเลือกที่กินอาหารมาจากธรรมชาติดีกว่าครับผม

นิสิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท