ย้อนรอย พายุไต้ฝุ่น ดัมเรย (Damrey, September 2005) ถล่มภาคเหนือ


เผื่อจะได้ร่วมกันรณรงค์ปลูกป่า แนวทางการจัดการบริหารน้ำในพื้นที่ให้คุ้มค่าเมื่อมีพายุ ตลอดจนการเพิ่มหาแนวทางการจัดการรักษาต้นน้ำลำธารกันต่อไปนะครับ

สวัสดีครับ

วันนี้ เอาพายุดัมเรยตอนถล่มภาคเหนือเมื่อปี 2005 มาให้ดูกันนะครับ พอดีทำใส่ไว้ในเว็บนานแล้ว เก็บไว้ก็คงจะบูดไปเปล่าๆ มาเล่าสู่กันฟังครับ เผื่อจะได้ร่วมกันรณรงค์ปลูกป่า แนวทางการจัดการบริหารน้ำในพื้นที่ให้คุ้มค่าเมื่อมีพายุ ตลอดจนการเพิ่มหาแนวทางการจัดการรักษาต้นน้ำลำธารกันต่อไปนะครับ

อันนี้แสดงผลด้วยโปรแกรม ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา VirtualWeather3D นะครับ ข้อมูลจาก ดร.วัฒนา กันบัว กรมอุตุนิยมวิทยา ครับ

มาดูกันเลยครับผม (โหลดนานนิดหน่อยสำหรับเนทช้านะครับ จากนั้นเมื่อโหลดมาหมดท่านจะเห็นเร็วขึ้นนะครับ ท่านจะสามารถเก็บไว้ในเครื่องตัวเองได้ด้วยการ คลิกขวาแล้วบันทึกนะครับ เปิดครั้งต่อไปด้วย browser ตัวนี้ที่ท่านดูอยู่ตอนนี้ได้เลยครับ)

 

  • สีขาวๆ ก้อนๆ นั่นเมฆครับ
  • ส่วนแถบบาร์ทางด้านซ้ายนั่นคือ Relative Humidity (ความชื้นสัมพัทธ์)
  • ลูกศรนั่นคือทิศทางของลมในระดับ 450 hPa
  • กำแพงด้านตะวันตกกับทางด้านเหนือ จะสอดคล้องกับค่า ความชื้นสัมพันธ์ บาร์ทางซ้ายมือครับ

ทิศทางของพายุครับ http://weather.unisys.com/hurricane/w_pacific/2005/DAMREY/track.gif

เป็นอย่างไรครับ น้ำเป็นก้อนๆ ครับ วิ่งไปแล้วหมุนไปด้วยครับ หอบไปให้กันเต็มๆ ครับ หากมีป่าไม้เยอะๆ ป่าไม้ก็จะเป็นตัวสร้างแรงเสียดทานให้กลับพายุ แทนที่มันจะไปได้ไกล ก็อาจจะสลายเสียก่อน เพราะพายุมันไม่มีตัวช่วยอุ้มชูพลังงานอย่างในทะเล ในทะเลมันจะมีไอน้ำจากทะเลช่วยส่งพลังงานให้พายุเลยร่าเริงครับ ส่วนในพื้นทวีป พอไปเจอแรงเสียดทานไปเจอความแห้งแล้ง มันเลยจอดครับ แต่จอดที่ไหนก็เอาน้ำไปให้ที่นั่นกันเต็ม แล้วแต่ว่าจะไปลงที่เขื่อนพอดี หรือว่าเขาหัวโล้นครับ

ถึงเวลาปลูกป่าแล้วยังครับ หรือว่ายังเป็นปัญาหาไกลตัวอยู่ ชวนคิดกันร่วมถกตามโอกาสครับ

ขอบคุณมากครับ

สมพร ช่วยอารีย์

 

หมายเลขบันทึก: 83132เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • น่าสนใจมากเลยครับ เสียดายผมมีความรู้น้อย
  • แต่ดีใจที่ได้อ่านจากบันทึกน้องบ่าว
  • ขอบคุณพี่บ่าวมากๆครับผม
  • ขอเป็นกำลังใจให้พี่บ่าวในการทำงานครับ
  • ร่วมสร้างสรรค์งานด้วยกันครับ ไม่ทางใดก็ทางใดครับ มีหลายๆ อย่างที่ทำร่วมกันได้ครับผม
  • ขอบคุณมากๆครับผม
ดูตื่นตาตื่นใจจังเลยครับ รูปใหม่ที่โชว์ เท่ห์มาก ปลูกป่านี่ดีครับ หลายหน่วยงานทำโครงการนี้ แต่ส่วนใหญ่มีแต่การปลูกครับไม่มีการดูแล

เคยอ่านบันทึกของใครหนอ  อาจารย์แป๋วหรือเปล่าที่บอกว่า  รับน้องที่ มข จะให้ปลูกต้นไม้กันคนละต้นจนเดี๋ยวนี้ก็เลยมีต้นไม้มากมายเต็ม มข   (น่าจะใช่นะ ถ้าปิ๊กจำไม่ผิด)

ก็เลยคิดว่า อืมม ...ถ้าทุกมหาวิทยาลัย ทำแบบนี้ น่าจะดีนะ  คือบังคับไปเลยว่า โอเค.ปีนี้ รับน้อง ส่วนหนึ่งของพิธีการนี้คือการปลูกป่า

ซึ่งก็มีแนวบังคับอีกว่า  ในระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ ต้องดูแลต้นไม้ของตัวเองที่ปลูกไว้นะ ด้วยวิธีใดก็ตาม แต่ห้ามทิ้งให้มันแห้งตาย  (กลัวกรณีอย่างที่คุณย่ามแดงบอกอ่ะค่ะ)

มันเป็นไปได้ไหมเนอะ

  • ขอบคุณครับคุณ
    P
    ใช่ครับต้องการความต่อเนื่องครับ เหมือนจีบสาวนั่นหล่ะครับ อิๆ (จีบติดคงไม่ใช่เรื่องยาก ที่ยากคือทำไงให้รักยั่งยืน)
  • ขอบคุณครับผม
ดูแล้วน่ากลัวค่ะ แต่เพิ่งเห็นอย่างนี้เป็นครั้งแรกค่ะ  ขอบคุณนะค่ะที่นำมาให้ดูกันจะ ๆ
  • ขอบคุณครับคุณราณี
  • บันทึกไว้ในเครื่องได้เลยครับ แล้วค่อยเปิดให้คนอื่นดูได้ครับ จะเห็นก้อนหมุนๆ ที่ผ่านเวียดนามและลาวแล้วเข้าไปที่ทางอีสานตอนเหนือ จากนั้นก็ภาคเหนือใช่ไหมครับ ไปเป็นก้อนๆ ครับ
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท