ปลาหนีน้ำ


หากทุกท่านทั้งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาโดยตรงหรือโดยอ้อมหรือโดยการใดก็ตาม ไม่กระทำการที่แสดงถึงการอุ้มชูการจัดการศึกษาของไทยในวันนี้แล้วไซร้ การศึกษาไทยคงตายสนิท ชนิดไม่ฟื้นแน่ๆ

ในกระบวนการจัดการศึกษาของไทยตั้งแต่ดั้งเดิมได้มีการผูกร้อยความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน   วัด   โรงเรียน   ด้วยการเชื่อมโยงผ่านวิถีชีวิตของผู้คน  บ้านและวัดเปรียบเป็นห้องเรียนอันยิ่งใหญ่ของโรงเรียน จนทิศทางการบริหารจัดการโรงเรียนได้กำหนดให้มีงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ก่อเกิดความแนบแน่นใกล้ชิด โรงเรียนและชุมชนต่างเป็นผู้ให้และผู้รับจากกันและกัน  เสมอมา

  

จวบจนปัจจุบันหลายฝ่ายมีการอ้างถึงการมาของกระแสโลก ก่อให้เกิดสิ่งที่ เรียกว่าความเจริญหรือความทันสมัย  ได้ก่อตัวและมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ต่อการจัดการศึกษา  เมื่อมีการเปรียบการศึกษาเป็นดั่งปลา   บ้านและวัดรวมถึง        ชุมชนเปรียบเป็นน้ำ  การศึกษายุคใหม่เป็นดังปลาหนีน้ำ  นับแต่รอความตาย  คำถามที่น่าคิดคือ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  


ในฐานะครูคนหนึ่ง เห็นว่าหากทุกท่านทั้งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาโดยตรงหรือโดยอ้อมหรือโดยการใดก็ตาม    ไม่กระทำการที่แสดงถึงการอุ้มชูการจัดการศึกษาของไทยในวันนี้แล้วไซร้    การศึกษาไทยคงตายสนิท     ชนิดไม่ฟื้นแน่ๆ


หลายท่านคงจะเกิดข้อสงสัยว่า แล้วจะให้ทำอย่างไร  ผมขอตอบว่า หากทุกท่านทำใจให้เป็นกลาง เอาใจที่เป็นกลางไปเรียนรู้ความเป็นจริงของการจัดการศึกษาของบ้านเมืองเรา    วันนี้   ผมเชื่อว่าทุกท่านจะเห็นคำตอบว่าควรอุ้มชูการศึกษาอย่างไร
    
หมายเลขบันทึก: 82732เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ท่านผอ...

บ้าน วัด โรงเรียน ....นั่นอดีต

โรงเรียน สำนักกวดวิชา เน็ต .... นี้ปัจจุบัน

ประเด็นหลังค่อนข้างใกล้เคียง ครับ..

เจริญพร

 

บ้าน วัด โรงเรียน ยังคงมีบทบาทร่วมกันอยู่ครับผมขอยืนยัน

ผู้มีอิทธิพลในหมู่บ้าน...เริ่มนิยมฝากเด็กเข้าเรียนมากขึ้น

พระสงฆ์องค์เจ้า...เริ่มนิยมฝากเด็กเข้าเรียนมากขึ้น

โรงเรียน...ยินดีรับฝาก เนื่องจากต้องพึ่งพางบประมาณนอกราชการอยู่ครับผม

5555555555555555555555555555555555

(ไม่ได้เป็นทุกโรงเรียนหรอกครับผม  ส่วนน้อยนิดเท่านั้นเอง....)

เพราะฉะนั้น ปลาบางตัวก็ถูกคนเลี้ยงปลาชักจูงให้เข้าไปวนเวียนอยู่ในน้ำ (น้ำที่สะอาดบ้าง  ไม่สะอาดบ้าง)

  • การศึกษาและสถาบันการศึกษา ควรมาจาก ครอบครัว (ปูพื้นฐาน) วัด (ปูธรรม) โรงเรียน (ปูสมอง) สิ่งแวดล้อม (ปูเอื้ออาทร)
  • เมื่อการศึกษาออกมาอยู่ในรูปแบบการสอนแบบอัดเม็ด ให้กินสูตรอาหารต่างๆ เพื่อเสริมกันให้ตรงจุดเพื่อสอบเข้า เหมือนที่สถาบันสอนติวทำกันอยู่
  • คุณคิดดูหากวันหนึ่งสถาบันสอนติวเปิดทั่วประเทศ โรงเรียน มหาลัย จะมีความหมายและบทบาทอย่างไร ทั้งๆที่แหล่งเหล่านั้นควรจะเป็นแหล่งของที่อยู่ขององค์ความรู้ ที่เชื่อมต่อกับสังคมภายนอก เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
  • ต่อไปหากมีสถาบันติวกันตั้งแต่อนุบาล ประถม แล้วการศึกษาไทยเป็นเป็นปลาแบบไหนครับ
  • ขอความเห็นอื่นๆ ด้วยครับ ยินดีทุกความเห็นต่างๆนะครับ
  • คุณหนิงแนะนำผมให้มาค้นหาความหมายของ บ ว ร ที่นี่
  • ขอบคุณมากครับ แหม! โดยเเฉพาะของหลวงพี่ นี่ทีเด็ดครับ นมัสการด้วยความเคารพ
  • ไม่ทราบว่า นโนบายการนำวัดหรือโรงเรียนไปอยู่ในศูนย์การค้า ตอนนี้ดำเนินไปถึงไหนแล้วครับ
  • ตอนนี้ผมว่า ศูนย์การค้ากำลังมาแรงมาเลยนะครับในปัจจุบัน
  • อีกไม่นานอาจจะต้องกลายเป็น บ ว ร ศ เอ หรืออาจะเหลือแต่ตัวเดียว

วัด...เป็นโรงเรียนดั้งเดิมของคนไทย

แต่เนื้อความนี้ชัดเจน คม ชัด ลึก ยิ่งนัก ครับ "การเปรียบการศึกษาเป็นดั่งปลา   บ้านและวัดรวมถึง        ชุมชนเปรียบเป็นน้ำ  การศึกษายุคใหม่เป็นดังปลาหนีน้ำ" 

สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล

          การศึกษา ในทางพุทธศาสนามักจะใช้คำว่า สิกขา แล้วสิกขาที่ว่านี้ จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ปริยัติ และปฎิบัติ ในส่วนของกระบวนการได้มาซึ่งการศึกษานั้นไม่ต้องอธิบาย พูดแต่ว่า ปริยัติและปฏิบัต   ต้องมีสถานที่ ที่พร้อมสำหรับสิกขา ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  ต้องสิกขาที่ สำนักตักศิลาถือว่าโด่งดังที่สุด  เพราะเหตุใด เพราะว่า ต้องใช้เวลาในการเรียนปริยัติ เรื่องการปกครองบ้านเมือง เรื่องโหราศาสตร์ เป็นต้น และปฏิบัติ เป็นวิชชาการทั้งหลาย เช่น การยุทธการต่อสู้ด้วยอาวุธสั้นยาว ต้องฝึกฝน  การฝึกอาคมต่าง ๆ มีสถานที่ฝึกต้องเงียบต้องพร้อม 

     ปัจจุบัน สิกขามักอยู่ที่วัด  เพราะสิกขา(ปริยัติ)มีขั้นตอนการเรียนจากการเรียนธรรมะ ตั้งแต่หมวด 2 จนถึงปกิณกะ พุทธประวัติ การเรียนอภิสมาจาร การเรียนอธิกรณ์ จนถึงบาลี ไวยกรณ์ต่าง ๆ ฯลฯ ส่วนปฏิบัติ ตั้งแต่ ภิกษุบวชใหม่ ต้องท่องสวดมนต์ ทำวัตร พิจารณาปัจเวกณ์  เจริญภาวนา โดยพิจารณาจากจริต เจริญกัมมฐาน ใน 40 อาการ ผ่านการเป็นพระใหม่แล้ว ต้องศึกษาพระไตรปิฎก พระอภิธรรม  ปฏิบัติธุดงค์วัตร เป็นต้น รวมเวลา ต้องผ่านทั้งหมดใช้เวลา 5 พรรษา พอดี

        แล้วการศึกษาปัจจุบัน เป็นปลา  บ้าน วัดและโรงเรียน เป็นน้ำ คงถูกไม่หมดหรอกครับ  เพราะวัดยังมีสิกขาอยู่  เพียงแต่ว่าเราให้ความสำคัญมากน้อยเท่าไหร่  ถ้าเราเอาการศึกษาปัจจุบันที่เป็นแบบเรือไม่มีหางเสือ อนาคตคงไม่ต่างกับที่อาจารย์ศักดิ์พงศ์ว่าเท่าไหร่  แต่ถ้าเรียนทางโลกแล้ว สิกขาทางธรรมอีกก็จะทำให้สังคมคงอยู่ได้ ต่อไป.................

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท