ชีวประวัติสุลตานมูฮำหมัด อัลฟาตีฮฺที่ 2 (1)


มูฮำหมัด อัลฟาตีฮฺที่ 2 ผู้พิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล

สุลต่านมุหัมมัดที่ 2 (อัลฟาตีห์)

(ปกครองระหว่างปี  855-886  ฮ.ศ.) 

1.  กำเนิดสุลต่านมุหัมมัด       

   ท่านคือสุลต่านมุหัมมัด  บุตร  สุลต่านมุรอด  บุตร  สุลต่านมุหัมมัดที่ 1  ประสูตเมื่อวันที่  26  เดือนรอญับ  ปี  833  ฮ.ศ.  ขึ้นครองราชย์หลังจากการเสียชีวิตของบิดาเมื่อปี  855  ฮ.ศ.  ในขณะที่มีอายุได้เพียง  22  ปี  ก่อนหน้าที่สุลต่านมุหัมมัดจะขึ้นครองราชย์  ท่านได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสุลต่านแทนผู้เป็นบิดาแล้วถึงสองครั้ง  ต่อมาก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ    เมืองแมกนีเซีย  และยังเคยออกศึกพร้อมกับผู้เป็นบิดาในครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองอิสกันดารและโฮเนียดหรือออสเตรีย. 

2.  บุคลิกของสุลต่านมุหัมมัด 

         นักประวัติศาสตร์ต่างมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าสุลต่านมุหัมมัดที่ 2  นี้  เป็นสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานคนหนึ่งที่มีจริยธรรมที่สูงส่งตั้งแต่ยังเยาว์  สุลต่านได้รับการอบรมและการศึกษาจากบรรดาอุลามาอฺผู้โด่งดังในสมัยนั้น  โดยเฉพาะเชคอากชำสุดดีน  และเชคมุลลาโกรอนีย์  ซึ่งท่านทั้งมีบทบาทอย่างมากในการปลูกฝังนิสัยของสุลต่านมุหัมมัด  สุลต่านเป็นคนที่ชอบศึกษาด้านภาษาต่างๆ เป้นคนที่มีพรสวรรค์ในการพูดจาปราศรัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาตุรกี  พร้อมกันนี้สุลต่านยังเก่งและแตกฉานด้านภาษาอาหรับ  เปอร์ซีย  กรีก  อิบรู  และภาษาอิตาลี.  สุลต่านเป็นคนที่ชอบอ่านคำกลอนเปอร์เซีย  และกรีก  จนท่านกลายเป็นนักกลอนที่ดีคนหนึ่ง  สุลต่านยังเป็นคนที่มีนิสัยชอบศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา  ประวัติศาสตร์  ตั้งแต่อายุยังเยาว์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวประวัติคนสำคัญๆ  และการสู้รบ  ประวัติจักรพรรดิไกเซอร์  และอื่นๆ.  สุลต่านชอบศึกษาเกี่ยวกับการสงครามที่มีเล่ห์เหลี่ยม  หลอกล่อ  อาวุธการต่อสู้  การวางแผนการรบ  และการจัดเสบียงอาหารในสนามรบ  เป็นต้น.  

          สุลต่านมุหัมมัดเป็นคนที่มีนิสัยชอบทำสวนในเวลาที่ว่างจากการสงคราม  สุลต่านจะใช้เวลาว่างของท่านให้หมดไปกับการทำสวนในเขตพระราชวัง  ปลูกต้นไม้  ดอกไม้  และอื่นๆ  ถึงกระนั้นสุลต่านยังคงมีใจรักการวางแผนและระเบียบไม่ว่าในด้านการบริหารหรือการทหาร[1].            ในช่วงที่สุลต่านมุหัมมัดสถาปนาเป็นสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานนั้น  ประเทศในแถบเอเซียน้อยส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอิสลามออตโตมานแล้ว  ยกเว้นบางส่วนของประเทศกอรมาน  ประเทศสีนูบ  และประเทศเตาะรอบะซูน  ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลดำเท่านั้น  ส่วนใหญ่ในแถบยุโรปนั้นประเทศที่ยังไม่ได้ถูกพิชิตก็มีเพียงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและประเทศใกล้เคียงเท่านั้น[2].  ส่วนประชากรโลกในขณะนั้น  (ปี  1453  ค.ศ.)  ยังมีไม่มากเหมือยอย่างปัจจุบัน  ซึ่งมีอยู่ประมาณ  400,000,000  คน  โดยจำแนกได้ดังนี้คือ  ประมาณ  275,000,000  อาศัยอยู่ในแถบเอเชีย  อีกประมาณ  70,000,000  อาศัยอยู่ในแถบยุโรป  อีกประมาณ  40,000,000   อาศัยอยู่ในแถบอัฟริกา  และอีกประมาณ  15,000,000  อาศัยอยู่ในแถบอเมริกา[3].



[1] ดุสูกีย์ :  อาณาจักออตโตมานและปัญหาตะวันออก  29  เราะชีดีย์ :  มุหัมมัด  อัลฟาติห์ 42
[2] ดุสูกีย์ 31
[3] ยัลมาซ  :  ตารีฆเดาละห์อุษมานียะห์  1 : 146 มุหัมมัด ฮัรบ :  อัลอุษมานิยูน  ฟิลตะรีฆวัลหะดอเราะห์ : 67
หมายเลขบันทึก: 82597เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมเพิ่มบล็อกของอาจารย์เข้า planet วิทยาลัยแล้วครับที่ http://gotoknow.org/planet/yic

ยินดีต้อนรับครับ

  • อัสสะลามุอะลัยกุม
  • ดีใจมากเลยครับที่เปิด gotoknow เช้านี้พบกับบล็อกของอาจารย์
  • ขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตรวมบล็อกครับ
  • ขอบคุณมากครับ
อาจารย์ครับ อย่าลืมเพิ่มเนื้อหานะครับ ผมอยากอ่านให้จบ

อ.จารุวัจน์ครับ  ตอนนี้ผมเพิ่มเนื้อหาแล้วนะครับ

อาจารย์เปิดอ่านได้เลยครับ  และอาจารย์เปิดอีเมลในบล็อกอาจารย์ด้วย ผมขอความช่วยเหลือด้วย

                                                 ชุกรัน

                                              อ.อับดูเลา  อุมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท