ปฏิบัติธรรมแบบไหนดี


มีความสุขเป็นผลเสมอ..

การปฏิบัติธรรมนั้นควรเริ่มต้นด้วยความเคารพ และเสียสละความเห็น ความถือของตนออกเสียให้สิ้น... เพื่อสามารถรับฟังพระธรรมคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ได้.. ให้ทดลองทำเสียก่อน แล้วความเข้าใจจะเกิดขึ้นเอง.. การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องนั้น ควรได้รับความเบากาย เบาใจ ความรู้สึกสละออกจากความยืดถือต่างๆออกเสีย จึงจะเรียกว่า ธรรมะคลายความทุกข์ ความหนักกาย หนักใจได้จริง.

 หากท่านปฏิบัติธรรมแล้วมีลักษณะความรู้สึกที่ตรงข้ามจากที่กล่าวไว้ข้างต้น จะเรียกว่าถูกต้องอย่างไรได้ เพราะ ธรรมชาติของพระพุทธศาสนา ศึกษา เพื่อละออกคลายออก เพียงอย่างเดียว มีความสุขเป็นผลเสมอ..

 

หมายเลขบันทึก: 82589เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 02:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"มีความสุขเป็นผลเสมอ.."

..

สิ่งที่คุณต้องการจากการปฏิบัติธรรมคือความสุข ?..

 

เริ่มปฏิบัติมีความสุขไหมล่ะ

เสวยอารมณ์กุศลเป็นสุขไหมล่ะ

ผู้ได้ญาณสมาธิตั้งตนด้วยความสุขก่อนไหมล่ะ

พระอรหันต์ ทำไมมี ประเภทสุขวิปัสกะ ล่ะ? 

----- 

พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้สุข ด้วยการเสวยกามคุณอารมณ์ หรือพ้นไปด้วยเครื่องทรมานร่างกาย

แต่อาศัยรูป-นาม มาพิจารณาความทุกข์ ที่ปรากฏ เพียงละคลายความยืดมั่นถือมั่น รู้จักกิเลส และโทษภัยในสังสารวัฎ มิใช่หรือ?

เมื่อจิตใจถ่ายถอนจากสัญญาวิปลาส  จากสัตว์ บุคคลคลตัวตนเราเขา และกิเลสเครื่องร้อยรัด มีความสุขไหมล่ะ

เราไปปฏิบัติธรรมกัน ไม่มีความสุขเป็นผลหรือ?

อาศัียกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นตัวดำเนิน ไม่มีความสุข หรือ?

:-)

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี
อัลเบิร์ต ไอสไตล์ กล่าวถึงพระพุทธศาสนาก่อนเสียชีวิต

ถึงแม้อัลเบิร์ต ไอสไตล์ ได้จากโลกนี้ไปโดยที่เขายังไม่สามารถค้นพบตำตอบตามที่เขากำลังต้องการก็ตาม แต่ไอสไตล์ได้ทิ้งคำพูดที่เป็นปริศนาที่สำคัญมากให้กับมนุษยชาติ ในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของเขา   อัลเบิร์ตได้เริ่มสงสัยแล้วว่า พระพุทธศาสนา อาจจะเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขากำลังพยายามค้นหา  ในช่วง 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิตนั้น มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของเขาชื่อเรื่อง " The Human Side " ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้เป็นปริศนาแห่งโลกอนาคตว่า

The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend personal God and avoid dogma and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things natural and spiritual as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism. (Albert Einstein)

"ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้น เมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้....ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา"

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฏีสัมพันธภาพ

คำพูดของไอสไตล์นั้นมีความนัยที่สำคัญซ่อนอยู่และรอคอยการค้นพบ และทฤษฎีเอกภาพหรือทฤษฎีสรรพสิ่งที่ต้องการค้นหานั้น ที่จริงพระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จก่อนหน้านั้น 2500 ปี
 http://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Einsteinhttp://www.mlahanas.de/Privat/quotations.htm Buddhism Answers"The religion of the future will be a cosmic religion. "Buddhism has the characteristics of what would be expected in a cosmic religion for the future: it transcends a personal God, avoids dogmas and theology; it covers both the natural & spiritual, and it is based on a religious sense aspiring from the experience of all things, natural and spiritual, as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that would cope with modern scientific needs, it would be Buddhism."- Albert Einstein  [1954, from Albert Einstein:The Human Side, edited by Helen Dukas and Banesh Hoffman, Princeton University Press]http://members.shaw.ca/sanuja/buddhismquorts.html   ...พระพุทธศาสนา ศาสนาพุทธ เกิดจากความกลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย ต้องการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง และต้องการเข้าถึงสุขแท้สุขถาวรที่ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีก (1)

...เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษาพระองค์เสด็จออกประพาสอุทยาน ขณะที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น พระองค์ได้พบกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิตนั่นคือ คนแก่ คนเจ็บและคนตาย ทำให้พระองค์ทรงหวั่นวิตกว่า อีกไม่นานเราเองก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอย่างนี้เหมือนกัน ทำอย่างไรหนอ เราจะรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้? เมื่อมีร้อนก็มีหนาวแก้ เมื่อมีมืดก็มีสว่างแก้ เมื่อมีความแก่ความเจ็บและความตาย ก็ต้องมีวิธีแก้อย่างแน่นอน เราจะหาวิธีการนั้นให้พบให้จงได้จากนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยทิ้งราชสมบัติ ทิ้งกองเงินกองทองออกจากพระราชวังไปนั่งให้ยุงกัดอยู่กลางป่า(2)


พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?
......พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน(3) ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก(4) บางชาติเกิดเป็นเทวดา บางชาติเป็นมนุษย์ บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย บางชาติต้องตกนรก ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญ ทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น(5)

.........เมื่อเรายังต้องเกิดอีก สิ่งที่จะตามมาด้วย คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความทุกข์กายทุกข์ใจ ดั่งพระจาลาภิกษุณีกล่าวว่า ความตายย่อมมีแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว ผู้ที่เกิดมาแล้วย่อมประสบทุกข์ เพราะเหตุนี้แลเราจึงไม่ชอบความ เกิด”(6)

........ฉะนั้น วิธีที่จะรอดพ้นจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความทุกข์ทั้ง ปวงได้ ก็มีอยู่เพียงวิธีเดียวเท่านั้น นั่นก็คือการไม่เกิดอีกเพราะเมื่อไม่เกิดอีก เราก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ต้องทุกข์อีกต่อไป(7)


จุดมุ่งหมายพระพุทธศาสนา
....เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ เจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุเข้าสู่ มรรค ผล นิพพาน ตัดกระแสธรรมชาติให้ขาดสะบั้นลงได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง กำจัดสาเหตุที่ก่อให้เกิดการถือกำเนิดในภพใหม่(8) สิ่งที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องเกิดอีกไม่มีที่สิ้นสุดก็คือความต้องการของสรรพสัตว์เองหรือที่เรียกว่ากิเลสตัณหา”(9)

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า อานนท์ กรรมชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่ายางเหนียวในเมล็ดพืช วิญญานดำรงอยู่ได้ เพราะธาตุหยาบของสัตว์ มีความหลงไม่รู้ความจริงเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหา เป็นเชื้อเครื่องผูกเหนี่ยวใจไว้ การเกิดใหม่จึงมีต่อไปอีก(10) ตัณหาทำให้สัตว์ต้องเกิดอีก จิตของสัตว์ย่อมแล่นไป สัตว์ที่ยังต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์ย่อมไม่อาจ หลุดพ้นจากทุกไปได้”(11)

.......เมื่อมนุษย์เจริญวิปัสสนาจนเกิดมรรคจิตครบ ๔ ครั้ง ก็จะกำจัดกิเลสตัณหา ในจิตของตนเองให้หมดสิ้นไปได้อย่างสิ้นเชิง(12) เขาจะไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์มะม่วงที่มียางเหนียวอยู่ภายใน ถ้านำไปปลูกจะงอกเป็น ต้นมะม่วงได้อีก แต่ถ้านำไปต้มกำจัดยางเหนียวให้หมดไป จากนั้นนำไปปลูกโดย วิธีใดก็ตามจะไม่งอกอีกแล้ว กิเลสตัณหาในดวงจิตของเราก็เช่นกัน
........แต่ถ้าหากไม่สามารถทำมรรคจิตให้เกิดครบ ๔ ครั้งได้ แม้เกิดเพียงครั้งเดียวก็จัดว่าเข้าสู่กระแสแล้ว(โสดาบัน) ก็ไม่ต้องตกนรก/ทุกข์ในอบายอีกต่อไป และจะบรรลุอรหันต์ได้เองโดยอัตโนมัติภายในระยะเวลาไม่เกิน ๗ ชาติ(13)


กรรมฐาน
....กรรมฐาน เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีอยู่ในจักรวาลเหมือนกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ต่างกันแต่ศาสตร์นี้ต้องศึกษาวิจัยในห้องแลปร์คือจิตล้วน ๆ และ มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ความหลุดพ้นจากทุกทั้งปวง ศาสตร์นี้เป็นกลไกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ยากที่มนุษย์จะเข้าถึงได้ สิ่งที่สามารถเข้าถึงและแทงตลอดกฏเกณฑนี้ได้มีเพียงอย่างเดียว นั่นก็คือจิตที่ทรงพลานุภาพ ตามธรรมดาแล้วมนุษย์ล้วนมีจิตกันทุกคน แต่จิตธรรมดาจะกลายเป็นจิตที่ทรง พลานุภาพได้นั้นต้องอาศัยการบ่มเพาะเป็นเวลานาน คัมภีร์อรรถกถาบอกว่า ต้องใช้เวลานานถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัปเลยทีเดียว(14) ด้วยเหตุนี้ นาน ๆ จึงจะมีดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิสักครั้งหนึ่ง โลกใบนี้อุบัติขึ้นประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านปีมาแล้ว ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานมาก แต่ดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิแค่เพียง ๔ ครั้งเท่านั้น(15) ครั้งสุดท้ายมาปฏิสนธิ เมื่อ ๒๖๒๗ ปีก่อนนี้เอง ผู้นั้นเราเรียกกันว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

.......เรื่องกรรมฐานนี้ มนุษย์ทั่วโลกได้พยายามค้นคว้าและเข้าถึงมานานแล้ว แต่เนื่องด้วยบารมีไม่เพียงพอจึงเข้าถึงได้เพียงครึ่งเดียว คนกลุ่มนั้นก็คือพวก ฤษีและศาสดาต่าง ๆ พวกท่านสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีฤทธิ์เดชมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสในจิตตนเองให้หมดไปได้(16) ยังมีความรัก โลภ โกรธ หลงอยู่ ท่านเหล่านี้เข้าถึงได้เพียงแค่ระดับฌานสมาบัติเท่านั้น ยังไม่สามารถเข้าถึงวิปัสสนาปัญญา บรรลุมรรค ผล นิพพานได้(17)

.....สมถกรรมฐาน (18) คือ การกำหนดจิตอยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่เหมาะสม เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นต้น(19) ใส่ใจแต่เฉพาะอาการเข้า อาการออกของลมหายใจเท่านั้น โดยไม่สนใจสิ่งอื่น แม้แต่ความคิดก็ไม่สนใจหายใจเข้า หายใจออกตามปกติธรรมด่า มีสติระลึกรู้อยู่ในขณะปัจจุบัน มีสติระลึกรู้อยู่อย่างนี้นับร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้งจนจิตตั้งมั่น แนบแน่นอยู่ กับลมหายใจนิ่งเป็นสมาธิ แล้วกำหนดรู้อาการนิ่งสงบของจิต จนนิ่งเป็นอุเบกขา เมื่อถึงขั้นนี้จะน้อมจิตไปทำสิ่งใดก็จะสำเร็จได้ดั่งใจหมาย เช่น สามารถ กำหนด รู้ความคิดของคนอื่นได้เป็นต้น(20)

......เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ไปศึกษาศาสตร์นี้จากสำนักฤษีต่างๆ ที่มีอยู่ในสมัยนั้นจนหมดความรู้อาจารย์ แต่เมื่อออกจากสมาธิ กิเลสตัณหาก็ยังมีอยู่เท่าเดิม ยังมีความกลัวความกังวลอยู่ พระองค์จึงตัดสินพระทัยศึกษาค้นคว้าหาวิธีดับทุกข์ด้วยพระ องค์เอง ด้วยการเจริญวิปัสสนา(21)

.........เมื่อเกิดวิปัสสนาปัญญญารู้แจ้งอยู่ไปตามลำดับครบ ๑๖ขั้นจะบรรลุ โสดาบัน เที่ยวที่ ๒ บรรลุสกทาคามี เที่ยวที่ ๓ บรรลุอนาคามี เที่ยวที่ ๔บรรลุพระอรหันต์เข้าถึงพระนิพพาน(22) ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป เมื่อไม่ต้องเกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ต้องทุกข์ กายทุกข์ใจอีกต่อไป การตายอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย จึงเรียกว่าดับขันธปรินิพพาน ดับทั้งกายดับทั้งจิต ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

อ้างอิง..พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(เล่มที่ / หน้าที่)
1ไตรปิฎก.๒๕/๔๗๖,๓๑/๔๐๐
2 ดูรายละเอียดใน ไตรปิฎก.๑๐/๑-๑๐
3 ไตรปิฎก.๑๖/๒๒๓
4 ไตรปิฎก๑๖/๒๒๗
5 ไตรปิฎก๑๔/๓๕๐-๓๖๕
6 ไตรปิฎก๑๕/๒๒๓
7 ไตรปิฎก๑๙/๕๓๔
8ไตรปิฎก.๑๑/๒๒๒ ,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๑๖๔
9 ไตรปิฎก๑๕/๖๘
10 ไตรปิฎก.๒๐/๓๐๑
11 ไตรปิฎก๑๕/๗๐
12 ไตรปิฎก.๓๑/๙๗
13 ไตรปิฎก.๑๙/๕๔๔, ๑๔/๑๘๖, ๒๐/๓๑๕, ๒๕/๑๒
14 วิสุทฺธชนวิลาสินี(บาลี)๑/๑๒๐
15 ไตรปิฎก.๓๓/๗๒๓
16 ไตรปิฎก.๒๐/๓๘๐
17 ไตรปิฎก.๑๓/๓๙๖,อรรถกถามัชฌิมนิกาย(บาลี) ๑/๑๙๙
18 วิสุทฺธิมรรค(บาลี)๑/๑๓๒-๑๔๙
19 ไตรปิฎก.๑๒/๑๐๑
20 ไตรปิฎก.๑๐/๑๔๒, ๒๒/๓๖
21 ไตรปิฎก.๑๙/๔๖๑,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๘๑๓๓
22 ไตรปิฎก.๓๑/๑-๑๖,๒๕/๗๒๐

 

 

 

 

 

. มีวิธีการไหนบ้างที่ทำให้ไม่ต้องตกนรกอีก ทั้งที่ได้เคยทำบาปอกุศลไว้ มาก ?ตอบ. มีซิ! ...ต้องบรรลุโสดาบันให้ได้ภายในชาตินี้ 7  ต้องเจริญวิปัสสสนา กรรมฐานจนผ่านญาณที่ ๑๓ ไปให้ได้...                                                                                                                                         .พระโสดาบันทำให้ไม่ตกอบาย (เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก)อีกจริง หรือ? จะเป็นไปได้อย่างไรตอบ. จริง ..เมื่อเจริญวิปัสสนาจนวิปัสสนาญาณขึ้นถึงญาณที่ ๑๔ โสดาปัตติมรรคจะทำหน้าที่ประหารตัวมิจฉาทิฏฐิที่นอนเนื่องอยู่ใน จิตสันดาน ได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง มิจฉาทิฏฐินี่แหละที่เป็นตัวเชื้อ ให้เราต้องตกอบาย (คือ กำเนิดเตรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก)อีก8 เมื่อเราบรรลุโสดาบันได้แล้ว ไม่ว่าในอดีตชาติหรือชาติปัจจุบัน เราได้เคย ทำบาปอกุศลไว้มากมายเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ต้องไปชดใช้กรรมในอบายภูมิอีก ต่อไป และจะเกิดในสุคติภูมิ (โลกมนุษย์,สวรรค์) ได้อีกไม่เกิด ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง   สัตว์โดยทั่วไปต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ (คือ อรูปพรหม ๔ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น  เทวดา ๖ ชั้น  มนุษย์ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย และนรก9) หาเบื้องต้นและที่สุดไม่พบ ต้องตกอบายทุกข์ทรมานในนรกอยู่เป็นอาจิณ เหมือน บ้านเก่าทีต้องแวะเวียนไปอยู่เสมอ  แต่ถ้าเราสามารถบรรลุโสดาบันได้ภายใน ชาตินี้ ก็ไม่ต้องตกอบายอีก จะไปเกิดในสุคติภูมิอีกไม่เกิน ๗ ชาติแล้วบรรลุอรหันต์ เข้าถึงความดับภพชาติโดยสิ้นเชิง ไม่เกิดอีกต่อไป เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย ไม่ต้องตกนรก, ตกอบาย และไม่ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว                                                                                 . ปัจจุบันนี้ ยังมีผู้สอนวิธีปฏิบัติให้บรรลุโสดาบันอยู่อีกหรือไม่?ตอบ. เรื่องนี้สามารถสอบถามได้จากท่านผู้ผ่านการศึกษาพระไตรปิฎก และปฏิบัติวิปัสสนาอย่างเข็มข้นต่อเนื่องมาแล้วเป็นระยะเวลา ๓ เดือนเป็น อย่างน้อย ผู้เขียนเองถึงแม้จะไม่ช่ำชองปริยัติและปฏิบัติมากมายนัก แต่ก็พอ ให้ความมั่นใจได้ว่า ผู้ที่สามารถสอนวิปัสสนากรรมฐานให้บรรลุโสดาบันยังมีอยู่ จริงในปัจจุบัน ซึ่งมีหลักและวิธีการปฏิบัติที่สามารถสอบสวนเปรียบเทียบได้ กับหลักการที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา   หรือถ้าจะให้มั่นใจยิ่งขึ้น ก็ลองมาปฏิบัติดูก่อนสัก ๑๐ วัน แล้วขอฟังลำดับญาณ ก็จะรู้ว่ามีวิธีการปฏิบัติ ในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งการปฏิบัติก็มิได้หนักหนาสาหัสสากัณอย่าง ที่คิด  คือ พักผ่อนประมาณ ๗ ชั่วโมง  เวลาที่เหลือนั่งสมาธิเดินจงกรมครั้งละ ๑ ชั่วโมงสลับกัน ปฏิบัติติตต่อกันอย่างถูกหลัก สติปัฏฐานประมาณ ๓-๔ เดือนก็จะรู้ได้เองว่า ตนเองบรรลุโสดาบันแล้วหรือยังโดยไม่ต้องเชื่อต่อ ใครทั้งสิ้น (..แม้แต่พระอาจารย์ผู้สอน) ให้ตนเองตัดสินสภาวะจิตของตนเอง10                                                                                                  . บรรลุโสดาบัน เกิดได้อีกเพียง ๗ ชาติ ยังน้อยไปยังอยากเกิดอีก หลายๆ ชาติตอบ.ต้องการเกิดมากกว่านั้น ก็ไม่อาจปฏิเสธการตกนรกได้  ให้เลือกเอา !                                                         

 

โดย พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี[email protected]

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท