การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างสังคมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาต่างๆ ในพื้นที่


เอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างสังคมการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาโสเภณีและโรคเอดส์

 จังหวัดเพชรบูรณ์ตระหนักและเห็นความสำคัญในการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยเน้นการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถสูงขึ้นในลักษณะต่างๆ  เพิ่มขีดความสามารถของผู้ด้อยโอกาสซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้ โดยเฉพาะเยาวชนสตรีไม่ให้เข้าไปสู่วังวนธุรกิจการค้าประเวณี จัดสรรงบประมาณและให้เงินอุดหนุนการลงทุน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาพัฒนาคุณภาพชีวิต  ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของคนในกลุ่มอายุต่างๆ ตั้งแต่วัยเด็กและเยาวชนวัยทำงานไปจนถึงวัยสูงอายุ โดยการให้การศึกษาตลอดชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพให้ภาคเอกชนเข้าช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการขององค์กรเอกชน ขยายขอบเขตความร่วมมือระหว่างภาครัฐและองค์กรประชาชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังและกำกับดูแลป้องกันปัญหามีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมทั้งการระดมทุนจากภาคเอกชนมาใช้ในการฝึกอบรมให้มากขึ้น สนับสนุนการผนึกกำลังของสถาบันครอบครัว ชุมชน องค์กรภาคเอกชนรวมทั้งสถาบันศาสนากับภาครัฐในการป้องกันแก้ไขปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจและวัฒนธรรมของคนในสังคม โดยการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว รวมถึงจัดการให้สุขศึกษาและฝึกอบรมในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถที่เหมาะสมในอันที่จะป้องกันตนเองจากโรคเอดส์   

1   สถานการณ์ปัญหาโสเภณีและโรคเอดส์ของจังหวัดเพชรบูรณ์

ถึงแม้จะทราบกันว่าประเทศไทยของเรามีกฎหมายป้องปรามการค้าประเวณี แต่เราคงปฏิเสธกันไม่ได้ว่าการค้าประเวณีและโสเภณีในอีกแง่มุมหนึ่งนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมอยู่ สถานบริการทางเพศที่ทราบชื่อกันว่า ซ่องโสเภณี ที่มีอยู่ในสังคมมาช้านานแล้ว และซ่องเหล่านี้ได้เป็นช่องทางระบายความกดดันทางเพศของคนในสังคมช่องทางหนึ่ง โดยเฉพาะคนในระดับล่างของสังคม ซึ่งได้รับใช้สังคมมาแต่เดิมด้วยเรามีการแบ่งแยกให้เห็นชัดเจนว่าหากจะต้องการบำบัดความต้องการตามแรงผลักดันทางเพศแล้วมีสถานที่จะสามารถปลดปล่อยแรงผลักดันกับโสเภณี และแหล่งบริการตามช่องทางนั้นได้ ด้วยราคาค่างวดที่ ไม่แพง นัก  โดยมีวิถีประชาห้ามมิให้มาปลดปล่อยกับบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็น คนดีๆ เมื่อเราไม่ยอมรับความจริงและกดดันให้ซ่องในสภาพเดิมต้องหลบลี้หนีหายหรือบางพื้นที่ถึงกับต้องล้มหายตายจากไป ทำให้ปัจจุบันรูปแบบของการให้บริการทางเพศได้มีการปรับเปลี่ยนไปมาก ทั้งนี้ เพราะธุรกิจการให้บริการทางเพศ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ทำให้ผู้มีอาชีพดังกล่าวพยายามหลีกเลี่ยงมาตรการทางกฎหมายออกไปดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีการค้าประเวณีแอบแฝงอยู่กลายเป็นซ่องในลักษณะใหม่ ที่ดูหรูหรา ราคาแพง  และดูแล้วว่า  ไม่น่าเกลียด ขึ้น กลายเป็นสถานบริการทางเพศแฝงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น  สถานบริการอาบอบนวด  ผับ  บาร์  คาเฟ่   คาราโอเกะ  ร้านอาหาร และบ้านนางทางโทรศัพท์  เป็นต้น  โสเภณีจากแต่เดิมที่ไม่ต้องอาศัยทักษะวิชาชีพอื่นก็จำเป็นต้องยกระดับตนเองขึ้นมาเป็นนักร้อง หมอนวด ช่างเสริมสวย  ฯลฯ ซึ่งมีสนนราคาค่าบริการแพง ยากที่คนส่วนมากจะเข้าไปใช้บริการได้โดยเฉพาะคนในระลับล่าง และวัยรุ่นซึ่งมีรายได้น้อย  ในปัจจุบันนี้  กลับกลายเป็นว่าเราต้องเผชิญกับปัญหาสังคมรูปแบบใหม่ที่วิเคราะห์ดูแล้วว่าน่าจะมีความรุนแรงมากกว่าที่ประสบอยู่แต่เดิม เนื่องจากในปัจจุบันสิ่งยั่วยุทางเพศในสังคมมีมากมายหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อและวัสดุเทปโทรทัศน์ หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต ที่ล้วนแต่สามารถพบเห็นได้อยู่ทั่วไปและง่ายต่อการเข้าถึง อีกทั้งยากแก่การควบคุม เมื่อหนทางระบายพลังทางเพศเหล่านั้นมีราคาสูงและยากแก่การเข้าถึง พลังทางเพศที่นั่นคือ การมั่วสุมทางเพศของเด็กและเยาวชน การเพิ่มขึ้นของคดีข่มขืน แต่ช่องทางระบายถูกปิดกั้นและหรือทำให้มีราคาแพง ดังนั้น ในทางรัฐศาสตร์จึงจำต้องยอมรับว่ายังคงต้องมีซ่องโสเภณีอยู่ในพื้นที่ โดยต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะโรคเอดส์ บูรณาการกับการแก้ไขปัญหาด้านอื่นๆ ทั้งด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย มีจิตสำนึก ฯลฯ เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพด้วย  

1.1   แหล่งบริการทางเพศ

เพื่อติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของแหล่งแพร่โรค รวมทั้งใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการสำรวจสถานบริการทางเพศและผู้ให้บริการทางเพศในพื้นที่ต่าง ๆ  อย่างต่อเนื่องทุกปี  จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ และคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.) ดำเนินการสำรวจพร้อมกันทั่วจังหวัด ในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละอำเภอ แบบครอบคลุมทุกพื้นที่ ในช่วงระหว่างวันที่  1 - 31  มกราคม พ.ศ. 2550 โดยใช้แบบฟอร์มที่กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีแหล่งบริการทางเพศแฝงตามที่สามารถดำเนินการสำรวจและควบคุมโรค ซึ่งมักจะเป็นที่ทราบกันของกลุ่มนักเที่ยว  และจังหวัดเพชรบูรณ์โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ดำเนินการควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในปี 2549  มีผลการดำเนินงาน ดังนี้  

(1)  การค้นหาผู้ป่วยกามโรค

§       ตรวจโลหิตผู้มารับบริการ  จำนวน     754  รายพบผลบวก     6   ราย   (0.7)

§       ตรวจโลหิตหญิงมีครรภ์    จำนวน  1,117  รายพบผลบวก     -   ราย   (0.0)

§       ตรวจโลหิตโสเภณี           จำนวน       31  รายพบผลบวก     1  ราย   (0.3) 

§       ตรวจโลหิตกลุ่มเป้าหมายจำนวน     212  รายพบผลบวก  15  ราย   (7.0)

(2)  กลุ่มอายุผู้ป่วยกามโรค

§       1519  ปี  ทั้งชาย / หญิง  จำนวน  108  ราย  พบติดเชื้อหนองใน   7  ราย

§       2024  ปี  ทั้งชาย / หญิง  จำนวน  206  ราย  พบติดเชื้อหนองใน   1  ราย

§       นักเรียน/นักศึกษา  7 ราย  ประชาชนทั่วไป 1 ราย  รวม  8  ราย  คิดเป็น  2.5 % 

1.2   สถานการณ์โรคเอดส์และการดำเนินงานป้องกัน

จังหวัดเพชรบูรณ์  ได้รับรายงานผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการจากสถานบริการสาธารณสุข ทั้งภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม  2549 รวมทั้งสิ้น 4,745  ราย โดยจำแนกเป็นผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 3,899 ราย  เสียชีวิต 901  ราย  ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ 846 ราย เสียชีวิต  94  ราย   รวมมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น  995 ราย (ตามปีเริ่มป่วย) โดยได้รับรายงานจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ร้อยละ 35.49 โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 41.47 โรงพยาบาลค่ายพ่อขุนผาเมือง  ร้อยละ 0.03 และจากโรงพยาบาลนอกเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ร้อยละ  23.02

(1)  ผู้ป่วยเอดส์  เมื่อนำมาทำการแจกแจงตามบุคคล  สถานที่ สรุปได้ดังนี้

§       เพศ พบผู้ป่วยเพศชาย 2,680 ราย หญิง 1,219 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ  2.2:1

§    กลุ่มอายุ  ที่พบมากเป็นกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 25-44  ปี   ( กลุ่มอายุ 30-34  มีผู้ป่วยสูงที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 26.23,  รองลงมาอายุ 25-29 ปี  ร้อยละ 25.60, อายุ 35-39 ปี  ร้อยละ 17.68, อายุ 40-44 ปี  ร้อยละ  10.01 )  ส่วนอายุ 0-4 ปี  มีผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ 1.90

§    อาชีพ  พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด รองลงมา คือ  เกษตรกรรม,    ค้าขาย,   ข้าราชการพลเรือนและเด็กต่ำกว่าวัยเรียน (ร้อยละ 50.37 , 25.06, 4.46 , 2.70 และ 2.53 ตามลำดับ )

§   ปัจจัยเสี่ยง   มีผู้ป่วยจากการมีเพศสัมพันธ์สูงที่สุด  รองลงมายาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น,ติดเชื้อจากมารดา ( ร้อยละ 90.32 , 3.11 และ 3.08 ตามลำดับ )  สำหรับเพศสัมพันธ์ที่มีพฤติกรรมแบบชายรักร่วมเพศ  พบว่ามี  23 ราย   คิดเป็นร้อยละ 0.65

§    ที่อยู่ปัจจุบัน   ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 อำเภอที่อัตราป่วยสูงที่สุด 5 อันดับแรก คือ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์, วิเชียรบุรี, หนองไผ่, หล่มสักและศรีเทพ (อัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 63.70, 54.95,  52.86,  51.84  และ 40.69  ตามลำดับ)  

(2)  การเสียชีวิต   ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531  ถึงวันที่ 20 ธันวาคม  .ศ. 2549  จำนวนผู้ป่วยเอดส์ ที่เสียชีวิต  ได้รับรายงานจำแนกตามปีที่เสียชีวิต  มีจำนวน 901 ราย  คิดเป็นร้อยละ 23.37  ของผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับรายงานทั้งหมด จำแนกตามปัจจัยเสี่ยงพบว่าเพศสัมพันธ์  791 ราย  สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 87.83   รองลงมาจากยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.53  ติดเชื้อจากมารดา 34 ราย   ร้อยละ 3.76  และไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง  35 ราย ร้อยละ 3.87

(3) โรคติดเชื้อฉวยโอกาส  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2549 ที่ได้รับรายงานมากที่สุด 5 อันดับแรก คือWasting Syndrome 1,173 ราย (ร้อยละ 26.22) Mycobacterium Tuberculosis, Pulmonary or extra pulmonary 1,006 ราย (ร้อยละ 22.27)  Cryptococcus 775 ราย (ร้อยละ  17.13) โรคปอดบวมจากเชื้อ Pneumocystis carinii 744 ราย (ร้อยละ 16.48) Candidiasis ของหลอดอาหารหลอดลม  (Trachea, bronchi)  หรือปอด  217  ราย   ( ร้อยละ 4.72 

(4)     จังหวัดเพชรบูรณ์ดำเนินโครงการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชนในชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2549 เป็นปีที่ 3  ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนโลก เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันเอดส์ชาติ ปี 2545 2549 กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ในชุมชนพื้นที่เป้าหมายจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยดำเนินการใน   4  ตำบล  คือ เขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์  อำเภอเมือง  เขตเทศบาลเมืองหล่มสัก  อำเภอหล่มสัก ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ และตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี 

·       ประชุมเพื่อสนับสนุนหรือติดตามกำกับการดำเนินงาน  3 ครั้ง จำนวน 90 คน

·    ดำเนินการวิเคราะห์ชุมชนเกี่ยวกับปัญหาเอดส์ในพื้นที่และจัดทำแผนการดำเนินงานในระยะสั้นและระยะยาว 4 แผนชุมชน ซึ่งในจำนวนนี้มี 1 แผนชุมชนที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและสนับสนุนทรัพยากร   แกนนำชุมชนที่ผ่านการอบรมเข้าร่วมในการวิเคราะห์ชุมชนและจัดทำแผนอย่างน้อยตำบลละ 10 คน

·    จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในชุมชน  จำนวน  400  คน  เพื่อแก้ไขปัญหาที่พบในพื้นที่ดำเนินงาน 4  ตำบล โดยอาศัยข้อมูลจากการวิเคราะห์ชุมชน เช่น การรณรงค์ การเข้าค่าย การอบรมเยาวชน อบรมแกนนำเป็นต้น

·       จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเรื่องเอดส์ในพื้นที่ดำเนินงาน 4 ตำบล ๆ ละ 1 ศูนย์

·    ถ่ายทอดความรู้เรื่องเอดส์แก่กลุ่มเยาวชน จำนวน  1,700  คน  เช่น การเสวนากลุ่ม ฐานการเรียนรู้ และการบริการ / การให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการป้องกันเอดส์

·       จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เรื่องเอดส์ใช้ในระดับท้องถิ่น  โดยมีชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อ

·       ติดตามกำกับการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์และการเข้าถึงถุงยางอนามัยแบบหยอดเหรียญในชุมชน

(5)     ดำเนินการควบคุมโรคในหญิงบริการทางเพศโดยตรงและแอบแฝง เจ้าของสถานประกอบการ โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยในหญิงบริการทางเพศและสถานประกอบการของจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยให้ความรู้โดยใช้กระบวนการเจตคติ ทักษะในการป้องกันโรคเอดส์และกามโรคแก่เจ้าของสถานบริการ/ผู้จัดการสถานประกอบการ/ กลุ่มหญิงบริการทางเพศทั้งตรงและแอบแฝง / นักร้อง / พนักงานเสิร์ฟในเขตอำเภอเมือง หล่มสัก หนองไผ่ ชนแดน  ศรีเทพและบึงสามพัน จำนวน  250  คน  ในประเด็นดังต่อไปนี้

·       สุขวิทยาส่วนบุคคล

·       สถานการณ์โรคเอดส์และกามโรค ความรู้และวิธีป้องกัน

·       เพศสัมพันธ์ที่รับผิดชอบและปลอดภัย

·       ทักษะการปฏิเสธ

·       ทักษะการใช้ถุงยางอนามัย

(6)     ดำเนินการเฝ้าระวังการติดเชื้อ  HIV  เฉพาะพื้นที่ในกลุ่มเป้าหมายทั้ง  6  กลุ่ม  คือ  กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น, กลุ่มผู้บริจาคโลหิต, กลุ่มชายที่มาตรวจรักษากามโรค, กลุ่มหญิงมีครรภ์, กลุ่มหญิงขายบริการทางเพศทางตรงและแฝง ซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV และทำการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มเป้าหมาย  7  กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  และปีที่  5  กลุ่มนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  และปีที่  5  และกลุ่มนักเรียนชายหญิงอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่  2  และกลุ่มชายไทยที่ติดการเกณฑ์ทหารซึ่งเป็นตัวแทนของอายุระหว่าง  10 29 ปี  ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบว่ามีการติดเชื้อ  HIV  ค่อนข้างสูงและเพื่อจะได้ทราบอัตราความชุกของการติดเชื้อ  HIV  และทราบแนวโน้มข้องพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์  เพื่อนำข้อมูลที่ได้ใช้ในการดำเนินการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในจังหวัดเพชรบูรณ์(7)     จังหวัดเพชรบูรณ์  ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรท้องถิ่น แกนนำเยาวชน  คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ จังหวัดเพชรบูรณ์  ปี 2549  ขึ้น  เพื่อให้ชุมชน ประชาชน เข้าใจโรคเอดส์และป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคเอดส์ ซึ่งจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องโรคเอดส์  ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายและตรงกับความต้องการในระดับหมู่บ้านและชุมชนอย่างแท้จริง ผลการดำเนินงาน ดังนี้

·    ประชาชนและเยาวชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์  เกิดความตระหนักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์

·    ประชาชนและเยาวชนให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร  เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์

·    องค์กรชุมชนและภาครัฐในระดับตำบล สามารถจัดทำโครงการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชนของตนเองได้  โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรท้องถิ่น  หรือองค์การหน่วยงานอื่นได้ 

หมายเลขบันทึก: 82522เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นายกิตติ ศิรินันทการ

ไม่น่าเชื่อเลยว่าในโลกนี้จะมีการติดโลกแบบนี้มากถึง45%เลยครับ

ผมในถานะผู้เรียนในเรื่องนี้วิจัยแล้วว่าในวันข้างน่าจะมีมากกว่านี้แน่นนอนเลยครับ ผมจึงขอความร่วมมือจากผู้รับน่าที่นี้ขอความร่วมมือกับผมคือ ส่อข่าวพวกนี้มาให้ผมๆจะวิเคราะห์ให้ผู้สนในได้อ่านแล้วปฏิบัญต่อไป และให้ความร่วมมือกับเจ้าน่าที่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท