วิวัฒน์
ทันตแพทย์ วิวัฒน์ ฉัตรวงศ์วาน

การประชุมเครือข่ายห้องสมุดสีชมพู ครั้งที่1 โรงเรียนบ้านขมิ้นโนนหัวนา


หนูดีใจคะ ที่น้องๆเค้าเรียกหนูว่าครู

ประชุม  เครือข่ายห้องสมุดในฝัน  โรงเรียนขมิ้นโนนหัวนา    3  มีนาคม  2550

ห้องสมุดโรงเรียนบ้านขมิ้นโนนหัวนา

 

กล่าวแนะนำ   สวสช.  สสส.  โดย ทพ.วิวัฒน์  ฉัตรวงศ์วาน  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แนะนำ  โครงการ  ห้องสมุด โดย ทพญ.วรางค์   ศิริขจรพันธ์   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปัญหา  ของสีชมพู   -    เด็กผู้หญิงมีเป้าหมายในชีวิต  แต่งงานกับฝรั่ง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อยากมีห้องสมุดที่  น่าสนใจท้าทายต่อเด็กๆ  </p> โรงเรียนบ้านโสกจานนาดีอ.อารยา  พึ่งภพ  แนะนำ โครงการโรงเรียนโสกจานนาดี  โรงเรียนขนาดเล็ก     เคยได้รางวัลห้องสมุดดีเด่น <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ตอนแรกที่ได้รู้เรื่องโครงการก็สงสัยว่า ห้องสมุดจะเชื่อมกับสุขภาพได้อย่างไร     มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาแนะนำการทำลูกประคบ   จึงจัดกิจกรรมทำลูกประคบทุกวันศุกร์  เด็กๆได้ความรู้เรื่องสมุนไพร โดยการค้นคว้าในห้องสมุด  แล้วคุยว่าในชุมชนเรามีอะไรบ้าง  และไปหาสมุนไพรในชุมชนมาทำลูกประคบ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ต่อมาได้งบ  อบต   เป็นอาหารกลางวันพิเศษ   5000  บาท   จึงนำไปซื้อ หมูป่าพันธ์ผสม    6  ตัว   เป็นเงิน4800 บาท  ตายไป   1 ตัว เพราะว่ากัดกันกับสุนัขที่โรงเรียน ส่วนที่เหลืออยู่ คลอดลูกมา 1 คอก   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คลอด   4   ตัว  ตาย  1  ตัว เนื่องจากยังไม่มีความรู้ในเรื่องการทำคลอด ต่อมา เด็กๆช่วยกันค้นคว้าจากห้องสมุดถึงวิธีการเลี้ยง อาหารที่ใช้ ทำให้ได้องค์ความรู้ ได้มีการนำต้นกล้วยมาเป็นอาหาร ซึ่งเป็นต้นกล้วยจากชุมชนซึ่งถูกตัดเครือกล้วยออกไปแล้ว นำต้นที่เหลือมาเป็นอาหารหมู      รวมทั้งวัชพืชต่างๆ ชุมชนได้ให้ความร่วมมือนำมาเป็นอาหารหมูเพื่อช่วยกำจัดเศษวัชพืชที่เหลือ เป็นการย่อยสลายทางชีวภาพอย่างหนึ่ง   ได้มีการพัฒนาวิธีการเลี้ยงหมู จากเดิมที่อยู่ในคอก กลายมาเป็นเลี้ยงแบบปล่อยให้อยู่นอกคอก ให้อยู่ในชุมชน ปัจจุบันไม่มีปัญหาเรื่องหมากัดหมู เนื่องจาก หมาเป็นพี่เลี้ยงให้หมู  </p> โรงเรียนบุ่งเม่นหนองดู่  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ครูไพรทอง บัวผาย มีการพัฒนาปรับปรุงอยู่เรื่อยๆในเรื่องสมุนไพร การทำอีเอ็มหรือปุ๋ยหมักชีวภาพ  ซึ่ง เด็กให้ความสนใจ   มีการทำผลิตภัณฑ์   น้ำยาล้างถ้วย   น้ำยาล้างห้องน้ำ  การบูร ดอกไม้    และนำไปขายนำไปใช้ ในชุมชน </p>ผอ. ณัฐจิตกานต์ สมภาร เพิ่งจะ เข้าใจหลักการ และแนวคิดของโครงการวันนี้เอง โรงเรียนบุงเม่นได้รางวัลห้องสมุด  อันดับ   3   อยากทำเรื่อง  นวดแผนโบราณ  เนื่องจากคนในชุมชนมีปัญหาเรื่องโรคเบาหวานมาก หากได้มีความรู้เรื่องการนวดจุดต่างๆ แล้วนำมาสอนเด็กๆ ช่วยกันนวดให้ผู้เฒ่าผู้แก่ นอกจากจะทำให้ได้รับประโยชน์เรื่องของการรักษาโรคแล้ว ยังได้ประโยชน์ในเรื่องของการกตัญญูต่อผู้ใหญ่อีกด้วย โรงเรียนบ้านขมิ้นโนนหัวนา ผอ.สมเด็จ อิธิตา  เล่าว่า โรงเรียนมีนักเรียน  150  คนมีครู  11 คน  ได้ทำในเรื่องของเกษตรทฤษฎีใหม่มานานแล้ว   ให้มีการเลี้ยงหมู เลี้ยงปลา   เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชน ซึ่งชุมชนให้ความสนใจและมาดูงานอยู่เริ่อยๆ ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ การทำหัวเชื้อ EM    และนอกจากนี้ ยังได้มีการนำเรื่อง KM  มาใช้เพื่อให้เกิด   KA หรือ คลังความรู้   จนสามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงาน เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตที่มีคุณค่า <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อ.อุไร ประโยชน์มี    ครูห้องสมุด   นำเสนอโครงการรักการอ่าน  โครงการขุมทรัพย์ทางปัญญา  มุ่งสู่ชุมชน  </p>สมัยก่อนที่ยังไม่มีห้องสมุดได้มีโครงการปรับปรุงห้องสมุด   นำบ้านพักครูเก่า ที่ไม่ได้ใช้แล้วมาปรับปรุงเป็นห้องสมุดแต่มี ปัญหา เรื่อง  ค้างคาว มาพักอาศัย ได้มีการหาวิธีจนสามารถไล่ค้างคาวมออกไปได้ และได้งบจากอบต.บางส่วนมาเสริม จนได้เป็นห้องสมุดมาจนทุกวันนี้ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โครงการขุมทรัพย์ทางปัญญาสู่ชุมชน   ตามพรบ. การศึกษา44   กำหนดให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้   ส่งเสริมนิสัย รักการอ่าน  ส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งห้องสมุดนอกจากจะเป็นห้องสมุดสำหรับนร.แล้ว นักเรียนที่จบไปแล้วและครูก็ยังมาใช้ประโยชน์ด้วย   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผู้นำชุมชนเป็นกรรมการสถานศึกษา  ห้องสมุด มีกิจกรรม  เล่านิทานพื้นบ้าน  กิจกรรมคำถามคนละ 5 ข้อ  ทายปัญหา   เกมเศรษฐี  ซึ่งแข่งขันกันเป็นทีม  ปริศนาคำทาย  วาดภาพระบายสี      ทำป้ายนิเทศเรื่องโรคระบาดในขณะนั้น เช่น ไข้เลือดออก   ไข้หวัดนก    มีห้องสมุดเคลื่อนที่   และ บรรณรักษ์ น้อย ช่วยจัดการ  </p>  ประชุม<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ครูวันเนาว์ สอนจิต      ได้เล่าถึง เครือข่ายออกกำลังกาย   ในอดีตเป็นคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย ต่อมาได้แรงบันดาลใจในตอนที่ไปแข่งวิ่งมินิมาราธอนนานาชาติ  ที่จ. ขอนแก่น เห็นคนแก่อายุ 70 วิ่งแซง จึงกลับมาคิดว่า ตัวเองเป็นหนุ่มแท้ๆ แต่ยังแพ้คนแก่ จึงเริ่มปฏิรูปตัวเองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และได้เข้าร่วมแข่งมินิมาราธอนมาตลอด   ต่อมาได้ชักชวนคนอื่นๆ มาเข้าร่วมชมชรออกกำลังกาย  โดยได้ปรึกษานายกเทศมนตรี    และเทศบาลซึ่งได้ให้การสนับสนุน เงิน สำหรับชมชม ซึ่งมี พี่ประหยัดเป็นประธาน  มีสมาชิกชมรมเป็นนักเรียน  และคนในพื้นที่ประมาณ  200  คน   ได้เงิน  25000  บาท  มาทำกิจกรรม  ส่งเสริมการออกกำลังกาย  สมาชิกชมรมมีตาคำพา  ได้รางวัล ที่  5  อายุ   65  ปีขึ้นไป   จากการแข่งขันวิ่งมินิมาราธอนที่ขอนแก่น  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อ.นพดล  ลำเพยพล  โรงเรียนบ้านโสกจานนาดี เมื่อก่อนเป็นสัตวบาล  ผสมเทียมสุกร  ผลิตไก่พื้นเมือง   และไม่คิดว่าจะสามารถนำความรู้มาช่วยชุมชนได้อย่างไร  หลังจากที่ไปดูงานที่ศรีสะเกษ  ก็มีความคิดที่จะเลี้ยงสุกรเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน และจากการได้ไปดูงานที่โรงเรียนตะเคียนบังอีน  โรงเรียนมีความพร้อมด้านสื่อไอที  และสามารถเชื่อมโยงกับ อบต.ได้ดีมาก  </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อ.ไกรสร   พึ่งภพ เล่าเรื่องการไปประชุมใหญ่สวสช.ที่   กรุงเทพ   ประทับใจคำพูดของหมอภักดี ผอ.รพ.ด่านซ้ายกล่าวว่า การทำความดี   ไม่ต้องขออนุมัติ   ผอ.โรงเรียนของตนถามครูว่า ถ้าไม่มีเงิน จาก สวสช  จะทำไหม  ครูตอบว่า ถึงไม่มีสวสช.ก็อยู่ได้ เพราะสามารถทำโครงการได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นอกจากนี้ยังประทับใจโครงการโรงพยาบาล 2 บาท  ถือเอาสัจจะออมทรัพย์ ของคนในชุมชนมาร่วมมือกัน ออกเงินคนละ 2 บาท ไว้เป็นค่ารถไปส่ง  เป็นทุนเรียนต่อพยาบาล และจ้างพยาบาลมาประจำศูนย์  </p> อ.อารยาเล่าว่า ได้เข้าไปที่ห้องเยาวชน  ดู โครงการหนูรักวันเสาร์  ซึ่งเด็กนำเสนอ ได้ดีมาก ประทับใจคำพูดของเด็กว่า  หนูดีใจคะ  ที่น้องๆเค้าเรียกหนูว่าครู ทั้งๆที่เป็นคุณครูแค่วันเดียว แต่ไปที่ไหนที่ไหน น้องๆเค้าก็เรียกว่าเป็นคุณครูหมด ครูอารยา จึงนำมาใช้กับที่ร.ร.บ้าง เนื่องจากว่า เป็นครูผู้หญิงคนเดียวโรงเรียน และเป็นแม่บ้านของร.ร.ไปในตัว ดังนั้น เวลามีแขกมาเยี่ยมโรงเรียน ก็ต้องเอาเวลาสอนนร.ออกไปต้อนรับแขก จึงใช้แนวคิดนี้ มาแต่งตั้งนร. รุ่นพี่ ให้มาช่วยสอนรุ่นน้องเวลาครูไม่อยู่ และก็ได้รับคำตอบเดียวกันจากนร.พี่เลี้ยงว่า หนูดีใจค่ะ ที่น้องเค้าเรียกหนูว่าเป็นครู ซึ่งผมคิดว่า เป็นแนวคิดที่ดีมากที่มีการทำให้เกิด  self steem  ในตัวของเด็กๆ ผอ. สมเด็จได้แสดงความเห็นว่า  หลังจากที่สอนสิ่งดีๆ  เราสามารถควบคุมเด็กได้ในขณะที่เค้าอยู่กับเรา แต่เมื่อ ออกไปเจอชุมชน  เจอสิ่งที่ไม่ดี   เด็กดีๆกลับกลายเป็นเด็กเกเร   ไม่น่ารักเหมือนตอนอยู่กับเรา <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เล่นพนัน  เมา  จึงรู้สึกไร้ค่า และ ลงทุนเปล่าประโยชน์  </p> แต่ผมคิดว่า ไม่เปล่าประโยชน์ เพราะถ้าวันหนึ่งข้างหน้า มีเหตุการณ์ที่ทำให้เด็กหวนกลับมาคิดถึงสิ่งดีๆที่เค้าได้รับในช่วงวัยเด็ก อาจทำให้เค้ากลับมาเป็นคนดีได้อีกครั้ง นอกจากนี้แล้ว ผอ. ณัฐจิตกานต์ยังให้ความเห็นว่า ศรัทธา เป็นเรื่องสำคัญ การมีศรัทธาในตัวบุคคล มีอิทธิพลทำให้คนเชื่อคำพูด เนื่องจากเชื่อถือในตัวคนพูด เพราะฉะนั้น เมื่อครูเป็นคนสอนชาวบ้านในเรื่องสุขภาพ ชาวบ้านจะไม่เชื่อ แต่ถ้าเป็นหมอพูดเอง ก็จะเชื่อ หรือถ้าเป็นพระเทศน์ ก็จะเชื่อมากกว่าครูสอน 

หมายเลขบันทึก: 81913เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
คิง (อาชีวะ มีนบุรี) กทม.

ผมอยากมีโอกาสได้ร่วมโครงการนี้ เพราะผมก็เป็นอีกคน 1 ที่อยากช่วย น้องๆ

ผมชอบโครงการนี้มาก....

ก็ขอขอบคุณมากนะคะที่มีคนสนใจในโครงการหนูรักวันเสาร์ ดีใจมากที่มีคนชื่นชมในโครงการ ซึ่งทำให้พวกหนูรู้สึกว่ามีกำลังใจในการพัฒนาโครงการมากยิ่งขึ้น

จาก ครูอาสาโครงการหนูรักวันเสาร์

ถ้าเอาใจเค้ามาใส่ใจเรา เราก็จะเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้น มันไม่เรื่องยากในการดูแลเด็ก เราทุกคนก็ผ่านจากการเป็นเด็กมาแล้วทุกคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท