สัมภาษณ์ผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ (2)... รัฐ--ชุมชน--ธุรกิจ


เมื่อเชื่อมต่อการพัฒนาแล้วก็จะเชื่อมต่อไปยังอำนาจทางการเมืองการปกครองเนื่องจากระบบจะค่อยซึมซับตามธรรมชาติซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมพฤติกรรมทางการเมืองให้ไปในทิศทางเดียวกับที่ชุมชนต้องการ

ผู้ว่าฯวิชม เห็นว่าองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จ และสวนกระแสการขอจากรัฐอย่างเดียว คือ  

1. ผู้นำและคณะผู้นำต้องมีใจ อดทน สมาชิกต้องตั้งใจจริง (มีคนนำก็มีคนตาม)

2. ทุนชุมชน หมู่บ้านต้องมีทุนเป็นของตนเอง เช่น กลุ่มออมทรัพย์ ซึ่งทุนชุมชนนี้สามารถนำไปต่อยอดกิจกรรมต่างๆได้ ซึ่งต้องใช้ความอดทนเพราะต้องใช้เวลาถึงจะเห็นผลสำเร็จ

3. การจัดการองค์ความรู้ ต้องมีความรู้ภายนอกเข้ามาเติม ผนวกกับความรู้แบบ organic และต้องให้ความสำคัญกับความเข้มแข็งจากฐาน เพราะเมื่อฐานเข้มแข็งแล้วจะสามารถแตกกิ่งก้านสาขาได้มากมาย

4. การจัดการชุมชน จะให้ความสำคัญกับ citizen center อย่างไร ชุมชนเป็นผู้คิดวิธีการจัดการปัญหาเอง ทำกันเอง และร่วมกันใช้

5. การเชื่อมต่อการพัฒนา เป็นการเชื่อมต่อระหว่างชุมชนสู่ท้องถิ่นไปยังรัฐ ถ้าชุมชนเข้มแข็งจริงก็จะมีท้องถิ่นลงมาช่วย ส่วนกลางลงมาช่วย แต่ขณะนี้ยังไม่เชื่อมต่อเพราะยังไม่เข้มแข็งพอ นอกจากนั้นก็ยังเป็นการลงมาโดยที่ชุมชนยังไม่พร้อมซึ่งเท่ากับเป็นการใช้งบประมาณอย่างสูญเปล่า อีกประเด็นหนึ่งคือเมื่อตัวชุมชนไม่สนใจภาครัฐ เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐเห็นเช่นนั้นก็ไม่มาข้องเกี่ยว ยิ่งทำให้ไม่เกิดการเชื่อมต่อขึ้น

และเมื่อเชื่อมต่อการพัฒนาแล้วก็จะเชื่อมต่อไปยังอำนาจทางการเมืองการปกครองเนื่องจากระบบจะค่อยซึมซับตามธรรมชาติซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมพฤติกรรมทางการเมืองให้ไปในทิศทางเดียวกับที่ชุมชนต้องการ          

ทางฝั่งภาคธุรกิจจะมีบทบาทเชื่อมโยงด้วยการสนับสนุนอำนวยความสะดวกให้กับกระบวนการชุมชน แต่ทว่าขณะนี้ยังไม่เห็นวิธีการสนับสนุนที่ชัดเจน ปัจจุบันเป็นเพียงการเชื่อมโยงโดยอ้อม เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรมจะเชื่อมโยงกับกลุ่มอาชีพในเขตเมืองจากนั้นจึงจะเชื่อมโยงไปสู่ชุมชน

นอกจากนั้น โรงงานขนาดกลางอาจประสานด้านแรงงาน กับสวัสดิการจัดหางานด้วยการส่งเสริมการหางาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่นำกลับไปทำที่บ้านได้ เพื่อเชื่อมโยงระบบแรงงานของชุมชน แต่มีปัญหาติดขัดคือโรงงานต้องการแรงงานมีฝีมือ แต่ชุมชนยังไม่มีทักษะที่ดีในระดับนั้น

จากปัญหานี้ เราจึงแลกเปลี่ยนความเห็นว่าภาคเอกชนอาจเข้าไปช่วยกระบวนการเพิ่มทักษะเข้าไป โดยร่วมลงทุนเป็นการพัฒนาภูมิภาค อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ที่ผ่านมาชุมชนที่เข้มแข็งอยู่แล้วมีแนวโน้มที่จะไม่ไว้วางใจและปฏิเสธภาคธุรกิจ         

ผู้ว่าฯวิชมชี้ว่า ถ้าชุมชนเข้มแข็งอย่างมีเหตุมีผลไม่ถูกชักจูงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง กล่าวคือ ถ้ามี 3 รู้จัก (ที่กล่าวถึงในบันทึกฉบับก่อน) ก็จะลดปัญหาการถูกชักจูงไปได้

ถ้าชุมชนเข้มแข็งขึ้นด้วยกระบวนการกระจายอำนาจแล้ว ส่วนภูมิภาคต้องเปลี่ยนบทบาทความสัมพันธ์เป็นกำกับดูแลท้องถิ่น  ทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ และช่วยเสริมประสิทธิภาพ ให้ความรู้ชุมชน โดยท้องถิ่นจะเป็นผู้ทำงานภาคปฏิบัติและต้องใช้อำนาจให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมกดดันให้อยู่ในแนวทางที่ดี

เท่าที่ผ่านมาชุมชนมีศักยภาพเหนือกว่าเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ก็ต้องยอมรับว่าทั้งสองสิ่งต้องดำรงคู่เคียงกันเพราะชุมชนทำไม่ได้ทุกอย่าง ดังนั้น ต้องเพิ่มบทบาทเข้มแข็งของรัฐในส่วนที่ควรจะทำ โดยใช้ KM ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในด้านสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ ให้ร่วมปรึกษากันมากขึ้น มีการบูรณาการมากขึ้น

รวมทั้งยังมีปัญหาความไม่เข้าใจกัน มองปัญหาไม่ตรงกัน ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่รัฐต่อชุมชนยังไม่ดี ผู้ว่าฯวิชม จึงเสนอสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหานี้ต้องเริ่มจากใจ

ถ้ารัฐเข้ามามีบทบาทมากจะทำให้ชุมชนอ่อนแอ ชุมชนจะทำเพียงรอขอความช่วยเหลือ ดังนั้นวิธีคิดวิธีทำงานของเจ้าหน้าที่ต้องเปลี่ยนเป็น Facilitator ช่วยกระตุ้นให้ริเริ่ม ช่วยสนับสนุน ไม่ใช่ผู้ชี้นำ แต่กรอบต้องไม่แข็ง และถ้าชุมชนเก่งก็ไม่ต้องลงมา ไม่เก่งถึงลงมา การกำหนดแบบต้องเป็นแบบอ่อนตัว

ถ้าชุมชนเข้มแข็งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาได้  เพราะมีมาตรการทางสังคมคอยคุมชุมชน แต่มาตรการทางสังคมที่เข้มแข็งก็มีเพียงไม่กี่พื้นที่  ถ้าจะให้การจัดการเป็นไปอย่างสมบูรณ์จำเป็นต้องมีอีกหลายปัจจัยเพิ่ม

หมายเลขบันทึก: 81583เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เราเฝ้ามองและอยากให้ชุมชนเข้มแข็ง แต่คนของรัฐไม่เข้าใจหัวใจของการพัฒนา ระบบคิดแบบเก่ายังคงฝังรากลึกในระบบราชการ (มีน้อยมากที่จะเข้าใจและอุทิศให้กับสิ่งทีเราอยากเห็น) เพราะตอนนี้เพระตอนนี้คนที่โตมาจากระบบการบริหารแบบเก่าของรัฐ เป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจใรระดับพื้นที่มากมาย ยากแก้การสร้างไอเดียใรการทำงานของทั้งชาวบ้านและคนของรัฐมรามีใจในการพัฒนาจริง ๆ แค่คิดว่าอยากเห็นสังคมเข้มแข็ง เราก็แพ้แล้ว เพราะเราไม่ชิงลงมือทำก่อนที่เราอยากจะให้เป็น

คุณดินแดงคะ 

ดิฉันยังมองเห็นในแง่บวกว่า  ท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงดีขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ  เพราะคนในชุมชนหันมาร่วมมือกันมากขึ้น เนื่องจากมีตัวแบบชุมชนเข้มแข็งให้เห็นเป็นรูปธรรม  หน่วยราชการเองก็กำลังปรับตัว   ภาคีวิชาการเองก็ต้องปรับตัว   เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงอาจใช้เวลา  ที่สำคัญคือ  "การปฏิรูป" โดยชุมชนนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่องหยุดไม่ได้ค่ะ

ดิฉันเห็นว่า ตัวแบบของนครศรีธรรมราชน่าสนใจตรงที่ท่านผู้ว่าฯลงมาร่วมขบวนการปฏิรูปนี้ด้วยตัวเอง  เป็นการนำเอาความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง (จากผู้ว่าลงมาถึงชาวบ้าน) กับความสัมพันธ์ในแนวระนาบหลายๆวง (ตัวแทนกรมกองต่างๆ   เครือข่ายชาวบ้านเอง) มาผสมผสานกัน เป็นกัลยาณมิตร ทำงานด้วยกัน แบบรวมพลังหยดน้ำ (หยดน้ำเพชรโมเดล)

หวังว่าวิธีนี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆในพื้นที่เพื่อสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขได้ค่ะ

  • มาตามอ่านการจัดการชุมชนของเมืองนครฯ ด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท