เสวนาจานส้มตำ ๒๑ ยำหมอดินยกใหญ่ใส่สารพัด : ความคิด ความฝัน ความจริง


รวมประเด็นที่น่าคิด เมื่อ 28 ก.พ.2550

จากเสวนาจานส้มตำ ๑๙ กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ หรือ ทอล์ค ออฟ เดอะจาน(ส้มตำ) ไปแล้วในหมู่ผู้ร่วมจานเสวนา คราวนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งในการกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหมอดินที่บุรีรัมย์



คู่สนทนา 1 : น่าทึ่งเหมือนกันนะสำหรับหนูนิด ที่บอกว่าคือน้องใหม่ใน gotoknow แต่เรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมาโดนใจอย่างจัง ไม่น่าเชื่อว่าจะมีโอกาสได้ F2F กับหลายคนได้เร็วกว่าใคร และถูกนำมาพูดในเสวนาจานส้มตำได้เร็วเกินความคาดหมาย

คู่สนทนา 2 : ดูแล้วไม่น่าเชื่อ คนที่ทำงานสำนักงาน One stop service จะลงมาลุยงานในพื้นที่อีกด้วย ก้าวเข้ามาเป็นที่ปรึกษาปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิดเอง โดยไม่มีใครมอบหมายให้ทำอีก แจ๋วจริงๆ

คู่สนทนา 1 : ถ้าเป็นคนอื่น อาจจะเป็นการสร้างภาพก็ได้ แต่หนูนิดนี่ ไม่แน่ใจเท่าไหร่ อาจจะทำเพราะสงสาร หรือเพราะรู้จักคุ้นเคยกัน เลยออกมาช่วยเหลือตาเหรียญทำในเรื่องนี้

คู่สนทนา 2 : ไม่หรอกนะ เห็นเขียนความเห็นในเสวนาจานส้มตำ ๑๙ ยกย่องชาวบ้านและตาเหรียญเต็มที่ หนูนิดแค่ก้าวเข้ามาดึงความรู้สึกออกมา เหมือนน็อตตัวเล็กๆสำหรับฟันเฟืองตัวใหญ่เท่านั้นแหละ

คู่สนทนา 1 : คิดแปลกดี ที่จะเข้าไปดึงความรู้สึกของคนอื่นน่ะ เห็นนักพัฒนาคนอื่นเข้าไปดึงหัวใจ ดึงความมุ่งมั่น ความพยายาม ความหวัง ความฝันออกมา ความรู้สึกของคนเรามีขึ้นมีลงเป็นไปตามอารมณ์ในแต่ละวัน แบบนี้จะสำเร็จหรือ แล้วที่ว่าเป็นน็อตเล็กๆในฟันเฟืองตัวใหญ่ ทำให้เห็นชีดเจนเลยว่า ถ้าน็อตหลุดไป ฟันเฟืองในเครื่องจะทำงานรวนไปหมด ฟันเฟืองเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องยนต์กลไล แสดงว่า ถ้าขาดหนูนิด สิ่งที่ตั้งใจไว้คงสะดุดลง

คู่สนทนา 2 : เป็นคำเปรียบเทียบเฉยๆ มั้ง คงเหมือนกับความรัก ที่ต้องรับรู้ความรู้สึกของอีกฝ่ายว่าคิดยังไงกับเรา รักไม่รัก

คู่สนทนา 1 : ความรักแบบหนุ่มสาว มันไม่ค่อยจะยั่งยืนมากนัก เดี๋ยวรักเดี๋ยวเลิก เดี๋ยวงอน ง้อกันวุ่นวาย ไม่เหมาะสำหรับงานพัฒนาที่จะมาเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่องแบบนี้



นายบอน : คงเป็นสำนวนแบบหนูนิด ในลีลาแบบนักคิดนักฝัน ซึ่งคงต้องดูกันนานๆว่า จะเป็นอย่างที่วิเคราะห์ออกมารึเปล่านะ

คู่สนทนา 1 : ใช่สิ เข้าข้างกันเข้าไป เจอตัวเป็นๆแล้ว คงปลื้มไม่น้อยล่ะสิ อย่าเอาความรู้สึกส่วนตัวมาเขียนเชียร์หนูนิดล่ะ อยากเชียร์ก้ไปเชียร์กันเป็นการส่วนตัวโน่น

นายบอน : โอย หัวหยองๆแบบนี้คงเชียร์ไม่ไหวหรอก ถ้าให้สับๆๆๆๆๆ ล่ะก็ จะถนัดมากกว่า มีแต่คนอื่นๆจะช่วยให้กำลังใจอย่างอบอุ่นก็เท่านั้นเอง

คู่สนทนา 2 : ถือว่าหนูนิดได้รับโอกาสที่ดีมากๆ ที่ได้ไป F2F กับหลายคน ได้ข้อคิดแนวทางจากโคราช ได้กำลังใจ บันทึกที่อบอุ่น การตามติดอย่างเอาใจใส่จากพี่พนัส ครูอ้อย และพี่หนิง ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่สวยงามมาก



คู่สนทนา 1 : ถ้าขาดคนมาช่วยกระตุ้น ผลักดัน ท่าทางจะไม่คิดที่จะทำอะไรแบบนี้ออกมา ถ้าไม่มา F2F หลายคน ก็คงไม่คิดที่จะเขียนบันทึกถ่ายทอดเรื่องราวของตาเหรียญออกมาด้วยซ้ำ ที่กำลังทำคงทำตามกระแสต่างหาก ดูแล้วเหมือนจำเป็นที่ต้องพึ่งพิงคนอื่นๆ ถ้าขาดกระแส ขาดคนกระตุ้นก็คงค่อยๆเงียบหายไปเหมือนกัน

นายบอน : ก็คงจะเหมือนกับคนทั่วๆไปล่ะมั้ง แต่ก็เป็นสิทธิของเค้านะ ที่เค้าจะทำหรือเลิกทำ ความจริงไม่มีใครสั่งหนูนิดให้มาช่วยเหลือตาเหรียญอย่างเป็นทางการนี่นา เห็นเขียนบอกว่า เข้ามาช่วยเอง ตั้งตัวเอง ถ้าวันนึงอยากจะเลิกเอง ก็คงไม่มีใครว่าหรอก เพียงแต่ก่อนจะเลิก นายบอนจะสับให้เละเป็นหมูบะช่อเท่านั้นเอง

คู่สนทนา 2 : ชอบในความคิดของหนูนิด ที่ยกย่องให้เกียรติคนที่จบ ป.4 และให้ความสำคัญกับพื้นฐานของความเป็นคนที่เท่าเทียมกัน ซึ่งต่างกับบางสังคม มองคนอีกกลุ่มว่า เป็นคนละชั้นกัน ตัดสินชาวบ้านว่า ยากจน ขาดความรู้ โดยยึดเอาตัวเองเป็นหลัก ทั้งๆที่ชาวบ้านก็อยู่ได้ไม่เดือดร้อน แต่คนในสังคมเมืองไปยัดเยียดหลายอย่างให้ชาวบ้านต่างหาก จึงทำให้ชาวบ้านย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ

นายบอน : พูดแบบนี้ ไปคุยกับพี่หนิง DSS@MSU ได้เลยนะเนี่ย เดี๋ยวพาไปร่วมวงเสวนาจานส้มตำกับพี่หนิงที่ มมส.ซะเลย

คู่สนทนา 1 : การที่อาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเข้ามาแจม อาจจะเข้ามาครอบงำทางความคิดนะ โดยเข้ามาในรูปแบบของการให้คำแนะนำ เสมือนว่าให้แนวทางเลือกในการตัดสินใจ ช่วยกระตุ้น ให้กำลังใจ แล้วมุ่งหวังให้ชาวบ้าน และหนูนิด ทำงานตามที่หัวใจต้องการ แต่ความจริงคือการครอบงำทางความคิด เพราะหนูนิดและชาวบ้าน ไม่เคยคิด ไม่มีความรู้ใหม่ๆเหล่านี้มาก่อน เมื่อบุคลากรไปให้แนวทาง คำแนะนำ ความจริงคือการป้อนข้อมูลให้ แล้วการให้คำแนะนำ คือ การชี้ให้ทำตามสิ่งที่เขาต้องการ ถ้าทำไม่ได้ ก็จะประเมินว่า ไม่ถูกต้อง โดยการให้คำแนะนำเพิ่มเติม ที่จริงก็เหมือนกับการครอบงำทางความคิดนั่นแหละ

คู่สนทนา 2 : ไม่หรอกมั้ง เหมือนกับการให้ข้อมูลเพื่อให้ชาวบ้านได้ตัดสินใจมากกว่า ถ้าชาวบ้านไม่เอา ก็ไม่ทำ คนอื่นคงครอบงำยาก

คู่สนทนา 1 : หนูนิดเค้าเขียนออกมาเองนะว่า ชาวบ้านน่ะฉลาด สอนหนูนิดให้เป็นคนดี สอนให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา อยากให้เค้ารักเราก็ต้องรักเค้าก่อน… คนที่สอนคือ พ่อหนูนิดที่จบ ป.4 แล้วคนที่เรียนจบปริญญาสูงๆน่ะ เคยคิดที่จะสอนเรื่องแบบนี้มั้ย มีแต่สอนเรื่องอื่นๆ ที่เข้าใจยากๆ เอาความรู้ของต่างประเทศที่ไปร่ำเรียนมา เอามาสอนต่อ ครอบงำคนไทยไปเรื่อยๆต่เรื่องพื้นฐาน เรื่องการสอนให้เป็นคนดียังไม่คิดที่จะสอน เพราะเอาแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันวุ่นวาย

นายบอน : อย่าไปเหมารวมหมดแบบนั้นสิ คนที่มีความตั้งใจจริงจากมหาวิทยาลัย อยากทำงานเพื่อสังคมจริงๆมีมากมาย ทำงานแบบปิดทองหลังพระมีเยอะแยะ แต่ไม่ค่อยเป็นข่าวเพราะไม่ได้สร้างภาพ

คู่สนทนา 1 : ความจริงความรู้แบบชาวบ้านนั้น เข้าใจง่ายเหมาะกับวิถีชีวิตคนไทยอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเอาหลักการของต่างชาติมาคิดให้วุ่นวายยุ่งยาก อย่างที่พี่หนิง DSS@MSU เขียนความเห็น หลุดคำว่า Tacit Knowledge กะ Explicit Knowledge เอาเรื่องเข้าใจยากๆมาใช้อีกแล้ว แล้วเค้าก็เดินทางไปพบครูบาสุทธินันท์ ลึกๆแล้ว ก็คงจะไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งมากนัก แค่หยิบเอาหลักการที่ฟังดูดี มายกตัวอย่างให้คนอื่นฟังดูน่าเชื่อถือ ที่จริงก็คงไม่รู้เรื่องเท่าไหร่ ถ้ารู้เรื่องจริง ต้องถ่ายทอดบอกคนอื่นให้รู้เรื่องได้ แต่ตัวเค้าเองยังต้องไปหาครูบาสุทธินันท์ เพื่อหาคำตอบ ให้เข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น พวกที่ยกทฤษฎีเรื่องการจัดการความรู้ต่างๆ เห็นพูดแต่เรื่องหัวปลา หางปลา ก็รู้กันเองเฉพาะกลุ่มคนเหล่านั้น แต่ระดับชาวบ้านคงจะงงเป็นไก่ตาแตก เห็นตรงนี้แล้วทำให้รู้สึกว่า คนที่จะรู้เรื่องเหล่านี้ เป็นคนละชนชั้นกับชาวบ้านทั่วไป

<h2> คู่สนทนา 2 : ที่พี่หนิงไปพบกับครูบาสุทธินันท์ คงเหมือนกับการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ และนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับหลายอย่าง ความรู้พลิกแพลงได้ ไม่มีอะไรตายตัวแน่นอนหรอก</h2>
คู่สนทนา 1 : ความรู้บางเรื่องเป็นความรู้บนหิ้ง เหมาะสำหรับคนที่อยู่บนหิ้ง แต่ระดับชาวบ้าน คงต้องปรับให้เหมาะสมกันหน่อย ให้ทุกคนทุกชนชั้นสามารถกิน และกลืนได้ง่ายๆ

คู่สนทนา 2 : นึกดูแล้ว คนเรามักจะมองข้ามเรื่องใกล้ตัวกันนะ เรื่องพื้นฐานง่ายๆ มักจะละเลย กลับไปเอาหลักการของฝรั่งมาพูด แต่สุดท้ายเรื่องราวแบบครูบาสุทธินันท์กลับเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายและได้ผลมากกว่าหลักการที่หลายคนใน gotoknow เพียรพยายามอธิบายมานาน แต่คนส่วนใหญ่กลับอ่านบันทึกที่เรียบง่ายของครูบาได้เข้าใจมากกว่า หลักการที่นักจัดการความรู้ทั้งหลายพยายามยัดเยียดให้น่ะ

<h3> คู่สนทนา 1 : คนเราชอบใกล้เกลือกินด่างกันหมดแหละ อย่างหนูนิดอยู่บุรีรัมย์แท้ๆ แทนที่จะไป f2F ครูบาสุทธินันท์ก่อนใคร โน่น ข้ามไป F2F ที่โคราช กทม. มหาสารคามกันเพลิน แบบนี้นี่หรือจะทำเรื่องใกล้ตัวให้ดีขึ้นมาได้ </h3>


นายบอน : การสื่อสารยุคนี้ อยู่ไกลก็เหมือนใกล้หมดแหละ เค้าไม่ได้เดินเท้าไปนี่ จะไปไหนก็เลยสะดวก บ้านหนูนิดก็อยู่ที่มหาสารคาม ก็ถือว่า ใกล้ตัวเหมือนกันแหละ ส่วนที่ไปที่อื่นๆ ถือว่าเป็นกำไรชีวิต ซึ่งใครๆก็ไปได้ทั้งนั้น

คู่สนทนา 1 : หนูนิด เค้าทำงานเกี่ยวกับข้อมูลไม่ใช่หรือ ต้องรู้จักข้อมูลเยอะแยะ แต่กลับหยิบก่อร่าง สร้างฝัน ที่กาฬสินธุ์มาใช้เป็นแนวทาง ข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินมีเพียบ ไม่รู้จักหยิบมาใช้ แบบนี้ใกล้เกลือกินด่างกันเห็นๆ



นายบอน : หนูนิดจะมาสไตล์พี่หนิง DSS@MSU ที่ความจริงแล้ว มาจับงานที่ไม่เคยรู้มีประสบการณ์มาก่อน เลยต้องเปิดรับมุมมองใหม่ๆเพื่อที่จะเอามาใช้ให้เข้ากับงานที่รับผิดชอบอยู่ เจอแต่เรื่องคุ้นเคย บางทีก็นึกไม่ออกเหมือนกัน ต้องหาอะไรใหม่ๆใส่ชีวิตกันบ้าง

คู่สนทนา 1 : มาลองผิดลองถูก ทำสิ่งที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์มาก่อนแล้วจะใช้ได้หรือ แล้วสิ่งที่หนูนิดไปแนะนำตาเหรียญนี่ เหมาะสมหรือเปล่า หรือว่า พยายามที่จะบังคับให้คนอื่นทำตามที่ตัวเองต้องการจะให้เป็น

คู่สนทนา 2 : ทุกคนเกิดมาไม่มีประสบการณ์ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ต้องมาเรียนรู้กันทั้งนั้น แต่หนูนิดฉลาดที่ก้าวเข้ามาหาแหล่งข้อมูล เข้ามาทำความรู้จักคน เพื่อเรียนรู้ และนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านต่อไป

คู่สนทนา 1 : หนูนิดบอกคุณเหรอ แล้วที่จะไปปรึกษาหารือทั้งกับพี่พนัส พี่หนิง คุณอำนาจ ถือว่า เอาความรู้ แนวทางคนอื่นมาใช้นั่นแหละ ไม่เหมาะกับชาวบ้านแน่นอน

คู่สนทนา 2 : พี่พนัส พี่หนิง คุณอำนาจ มีประสบการณ์ในการทำงาน ทำกิจกรรมมาก่อน เรื่องแค่นี้มองออกน่า สามารถวิเคราะห์การทำงานได้ มองภาพรวมได้

คู่สนทนา 1 : ไม่จริงหรอก อย่างที่หนูนิดเค้าให้การบ้านตาเหรียญไปอ่านหนังสือก่อร่าง สร้างฝันน่ะ หนูนิดให้การบ้านไปแล้วแต่ตาเหรียญ ไม่ยอมทำการบ้าน แต่จะจัดให้มีการอบรมดึงแนวคิดของคนในชุมชนแทน แสดงว่า ชาวบ้านก็คิดได้เอง แต่หลายคนมักจะมองข้าม ไปปรึกษาคนอื่น ทั้งๆที่ความจริง คนในชุมชนก็คิดเองได้เหมือนกัน



คู่สนทนา 2 : แนวทางที่จะเรียก ประชุมกลุ่มเครือข่ายฯ เข้าท่ามาก นี่แหละใช่เลย อย่างที่หนูนิดเขียนว่า

“....... เรียก ประชุมกลุ่มเครือข่ายฯและสมาชิกในครอบครัวของกลุ่มทุกราย โดยเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ก่อน โดยยึดโรงปุ๋ยฯ เป็นตัวหลัก ในการดึงความคิดของแต่ละคนในกลุ่ม แสดงความคิดเห็นในแบบของตัวเองจริงๆ เป็นรายๆ ไปในการจะทำอย่างไร ให้โรงปุ๋ยดำรงอยู่ต่อไป และจะสานต่อการบริหารงานการพัฒนาโรงปุ๋ยฯ ให้มีความเจริญต่อไปอย่างไร โดยหนูนิดได้ให้ข้อเสนอว่าให้ตาเหรียญและกลุ่มดำเนินการกันเอง และหนูนิดเป็นผู้สังเกตุการณ์จดประเด็นความคิดเห็น และนำมาประมวลผลออกมาเป็นกลุ่มๆ ไป การดำเนินงานจะเริ่มจากจุดเล็กๆ ต่อๆ ไป ที่ละจุด จนหมด และหนูนิดก็ต้องเป็นผู้สังเกตุการณ์จดประเด็นความคิดเห็น และนำมาประมวลผลสรุปออกมาเป็นกลุ่มๆ ไป.....”





นี่แหละใช่เลย ดูแล้วดีกว่า การฟังคำอธิบายเรื่อง KM แล้ว พยายามที่จะเอาหลักการไปครอบแนวทางการทำงาน แล้วให้เดินตามแนวทางนี้ ความจริงปู่ย่าตายาย ก็ไม่มีใครมาสอนว่า ทำแบบนี้คือ KM นะ เค้ายังถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นหลังได้ ด้วยการคิด และทำอย่างตรงไปตรงมา ไม่ต้องหาคำศัพท์ที่ฟังดูยากๆ มาพูดให้คนฟังรู้สึกว่า น่าเชื่อถือ หลายสิ่งที่เคยทำ ก็เป็นการจัดการความรู้อยู่แล้ว แต่หลายคน อธิบายเรื่อง KM ให้ฟังดูเข้าใจยากขึ้น จนทำให้ KM เป็นเรื่องที่ไกลตัวออกไปเรื่อยๆ

คู่สนทนา 1 : แสดงว่า ตาเหรียญเก่งกว่าหนูนิด ที่ยกย่องชื่นชมแนวทางในหนังสือก่อร่าง สร้างฝัน แต่ตาเหรียญอ่านแล้ว ก็คิดลงมือทำในแบบของเขาเอง

คู่สนทนา 2 : ถามจริงๆแล้วหนูนิดเป็นเด็กสร้างของนายบอนรึเปล่า สร้างให้เกิดใน gotoknow

นายบอน : ถ้าสร้างได้จริงก็ดีสิ จะสั่งให้หนูนิดเขียนบันทึกทุกวันวันละหลายๆบันทึก แต่ความจริงเป็นไปไม่ได้ หนูนิดสร้างตัวเอง รู้จัก gotoknow ด้วยตัวเอง เข้ามาสร้าง blog ด้วยตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง และเข้ามาหาสิ่งใหม่ๆใส่ชีวิตก็เท่านั้น ถ้าหนูนิดรู้จักคนเขียน blog ใน gotoknow 100 คน ก็จะเป็นเด็กสร้างของคน 100 คนงั้นดิ

คู่สนทนา 1 : ที่ออกความคิดไปว่า จะทำหนังสือ แต่งแต้มเติมฝันอะไรนั้นน่ะ อาจจะไม่เหมาะกับหนูนิด น่าจะให้เค้าได้ประชุมเครือข่าย และลงมือทำงานให้เป็นรูปธรรรมขึ้นมาก่อนจะดีกว่า เพราะยิ่งคิดออกมาเยอะๆ จะยิ่งท้อแท้ ขนาดตาเหรียญบอกว่าจะรีบประชุมเครือข่าย หนูนิดยังรู้สึกว่า หนัก และเหนื่อยเลย ถ้าไปทำแต่งแต้มเติมฝัน คงจะท้อแท้มากยิ่งขึ้น

นายบอน : อยู่ที่ตัวของเค้าเองนั่นแหละ ไม่มีใครจะบอกได้ นอกจากตัวเค้าและคนที่เกี่ยวข้อง

คู่สนทนา 1ที่ว่าจะไปดึงพี่พนัส แผ่นดิน เป็นนักกิจกรรม ให้คำแนะนำ คำปรึกษาและอาจจะแนะนำให้นิสิตไปร่วมทำโครงการกับหนูนิดก็ได้ พี่หนิง DSS ก็พานิสิตพิการไปร่วมเติมเต็มศักยภาพ ในพื้นที่ที่ยังไม่พร้อม อีกแง่มุมหนึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่บั่นทอนความตั้งใจลงได้เหมือนกัน เมื่อยกทีมกันมาชาวบ้านก็ต้องเลี้ยงดูต้อนรับ เสียเวลา เสียเงินอีก


คู่สนทนา 2 : อย่ามองในแง่ร้ายจนเกินไป นักกิจกรรมที่สร้างงานพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จมีตั้งเยอะแยะ

คู่สนทนา 1 : จะสอนหนูนิดเขียนแผนที่ความคิด ดึงความฝันออกมาวางไว้ตรงหน้า เมื่อเขียนเป็นแผนที่ความคิด มองเห็นภาพรวมทั้งหมด สามารถที่จะแต่งแต้มเติมฝัน ต่อเติมกิ่งก้านของแผนที่ความคิดให้ยืดยาวออกไปได้อีก

ความจริงแล้ว เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามองดูแล้ว มันมากเกินไป มันยิ่งใหญ่เกินไป จะเกิดความรู้สึกท้อ ยากที่จะทำได้สำเร็จ น่าจะทำให้มันง่ายกว่านั้นหน่อย

นายบอน : แผนที่ความคิดก็แค่ทำให้มองเห็นภาพรวม แล้วก็เลือกสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดก่อน หรือรวบรวมแนวคิดที่คล้ายกันเข้าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน สิ่งที่ไม่เหมาะสม หรือไม่จำเป็นก็ตัดออก ก็จะได้แผนที่ความคิดที่เหมาะสมกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 81349เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2007 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

ก็เสวนากันแบบสนุกสนาน ตามแต่ละความคิดของแต่ละบุคคลนะค่ะ ซึ่งแต่ละคนก็มีความคิดที่แตกต่างกันออกไป...ก็เหมือนกับที่พวกคุณคิดอย่างนี้..หนูนิดก็ใช่จะคิดเหมือนกับพวกคุณทุกคนไป...เข้าใจค่ะ..ไม่ว่ากัน..

จริงๆ แล้วถ้าจะย้อนเวลากลับไปได้...ก็จะไม่นำเรื่องความพยายามความอดทน ความมานะ อุตสาหะ ในการทำเพื่อชาวบ้าน และเพื่อพ่อหลวงของแผ่นดิน มาบอกเล่าเลย น่าจะให้มันเป็น การกระทำที่ไม่ต้องบอกกล่าวให้ชาวโลกได้รับรู้เลย ว่า ..ตัวชั้น..ได้กระทำความดีแล้วนะ กระทำตัวเป็นประโยชน์กับสังคมแล้วนะ ..เพื่อที่จะให้บุคคลรายๆ ฝ่ายมองว่าเป็นการกระทำที่อยากสร้างกระแสความดังให้แก่ตัวเอง ..ฟังแล้วมันหดหู่นะค่ะ

แต่เมื่อได้ดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้ว..ทุกคนอยากทราบ อยากรู้..ในเรื่องการกระทำ..ก็จะเล่าให้ฟังกัน..ในส่วนที่อยากจะพูดหรือวิพากวิจารย์กันก็แล้วแต่ทุกท่านที่ได้อ่าน พิจารณากันเอง

หนูนิดไม่อยากจะพูดอะไรมากไปกว่านี้...มันเหมือนการแก้ต่าง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ยากจะอธิบายค่ะ...แต่ที่จะพูดและบอกคือ..ทุกอย่างดำเนินมาก่อนหน้าที่จะได้เขียนบันทึก..และจะดำเนินต่อไป..ในแนวความคิดของตัวเองที่จะกระทำ ไม่ใช่ครอบงำจิตใจ ชาวบ้านมีอิสระในความคิดของตัวเอง ที่อยากจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ถ้าเค้าอยากทำเราก็ช่วยให้คำแนะนำ คำปรึกษา และอุทิศตนเข้าช่วยเหลือ ถ้าจะถูกมองว่ายังไง ตอนนี้ก็ไม่มีปรโยชน์แล้ว ที่จะต้องอธิบายยืดยาว สรุปคือเข้าใจก็เข้าใจ ไม่เข้าใจก็คือไม่เข้าใจ   

และในส่วนที่ไปเจอกับบุคคลต่าง ๆมากมายก็ไม่แปลกอะไร ถ้าเป็นบุคคลที่เราสนใจใคร่รู้ ประทับใจ  เราก็อยากจะเจอ แต่เมื่อเจอกันแล้ว oK เค้าไม่ใช่อย่างที่คิดก็คือจบ ไม่ติดต่อ แต่พี่ๆ ที่ไปเจอเค้า  เค้าก็ oK นิสัย ใจคอ ดีกันทุกคน เราก็อยากจะติดต่อ หรือเข้าไปสัมผัสใกล้ชิด พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากหนังสือ จากตำราเรียนต่าง ๆ ที่เราเองต้องใช้จิตใจจริงเข้าไปเรียนรู้

แหม หนูนิดให้ความกระจ่างได้อย่างชัดเจนมากครับ

การกระทำหลายอย่างที่เราทำลงไปนั้น บุคคลอื่นไม่ได้มาเห็นเราทำด้วยตาตนเอง เมื่อได้ยินเรื่องราวทีั่่เกิดขึ้น  จึงเกิดข้อสงสัยขึ้นมา ว่าจริงหรือไม่  บางที ในมุมมองหรือสิ่งที่ได้สัมผัสมานั้น ไม่เคยพบคนที่ตั้งใจทำจริงๆเสียที พบแต่คนที่ลงมือทำ เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างเท่านั้น เมื่อได้ตามวัตถุประสงค์ก็ ห่างหายไป แต่ใช่ว่า ทุกคนจะเป็นเช่นนั้น

ด้วยความที่หลากหลาย ทำให้ต้องมีการสอบถาม ตรวจสอบเืพื่อความแน่ใจว่า จริงหรือปลอม เพราะไม่มีใครอยากถูกหลอก เมื่อเป็นของจริง เป็นของแท้ ทุกคนก็พร้อมที่จะมอบความจริงใจ ช่วยเหลืออย่างเต็มที่
เสวนาจานส้มตำ ผมได้ติดตามเป็นระยะๆครับ น่าสนใจมากครับ เขียนได้เป็นธรรมชาติตามสไตล์นายบอนนะครับ...อันนี้ถือว่ายอดเยี่ยมอยู่แล้ว... การพูดถึงบุคคลในเนื้อหาบันทึกก็เป็นการให้กำลังใจ และเห็นภาพการโยงใย เครือข่ายไปด้วย ผมคิดว่าดีมากยอดเยี่ยม ในส่วนที่สอง... การได้มีโอกาส พบปะพูดคุย นอกจากบันทึกคุยกันแล้ว น่าจะเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ สคส. ต้องการให้เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์จาก การทำ"KM" ออนไลน์ ยอดเยี่ยมลำดับสาม... วงเสวนาจานส้มตำเข้มแข็ง - อิสานเข้มแข็ง เป็นรูปแบบที่ดีมากครับที่ค่อยๆเติบโต กู่สร้างสรรค์ (อ.JJ บอกบ่อยครั้ง) อันนี้ยอดเยี่ยมที่สุด... สำหรับผม ที่นายบอนเรียกผมว่า "พี่เอก" นั้น ผมอายุน้อยกว่านิดหนึ่งครับ (อ่อนเดือน) ดังนั้นไม่ต้องเรียกผมว่าพี่ก็ได้ครับเพราะ ผมจะดู "อาวุโส" (ประเด็นนี้สำคัญที่สุด) เปลี่ยนสรรพนามได้มั้ยน้อ...555
สวัสดีครับ พี่เอก เอ๊ย คุณเอก (เปลี่ยนสรรพนามให้แล้วนะครับ)
 เรียกพี่ไว้ก่อนเพราะให้ความเคารพในประสบการณ์ครับ แต่อยากให้เปลี่ยนก็เปลี่ยนตามที่ต้องการนะครับ
เหมือนที่คุณออต เจ้าของเล้าข้าวศึกษา ก็เรียกขานนายบอนว่า เป็นพี่ ทั้งๆที่นายบอนเป็นน้องต่างหาก

เสวนาจานส้มตำ เป็นการบันทึกประเด็นที่แทบจะไม่มีโอกาสปรากฏใน gotoknow เลยครับ  นำมาบันทึกไว้ เก็บเป็นคลังความรู้ หยิบมาต่อยอดได้เรื่อยๆ อย่างเสวนาจานส้มตำ ๒๑ นั้น ต่อยอดมาจาก เสวนาส้มตำ ๑๙

ทำให้เพื่อนๆน้องๆที่ไม่ได้เข้ามาเขียนบันทึกใน gotoknow ได้แต่ติดตามอ่านเท่านั้น ได้แสดงความคิดความเห็นเฉกเช่นหลายท่านที่เขียนบันทึกบ้าง แต่เสวนาจานส้มตำเป็นการรวบรวมหลายประเด็นมาอยู่ในบันทึกเดียว ทั้งๆที่ความจริง นายบอนหยิบแต่ละประเด็นมาเขียนได้อีกหลายบันทึกเลยนะครับ แต่ก็อาจจะลืมได้ตามเวลาที่ผ่านไป เลยต้องรีบบันทึกประเด็นต่างๆเอาไว้ก่อนที่จะลืมไป

ส่วนที่มอบคำว่า ยอดเยี่ยมในความคิดเห็นของพี่เอก .. เอ๊ย คุณเอกนั้น อือม แค่การนั่งล้อมวงทานส้มตำแล้วพูดคุยกันธรรมดาเหมือนคนอื่นๆที่ล้อมวงกินข้าวกัน เพียงแต่วงส้มตำวงนี้ ถูกนำสิ่งที่พูดคุยมาบันทึกไว้เท่านั้นเองครับ

ถ้าวงส้มตำเล็กๆ ได้รับคำว่า ยอดเยี่ยม ย่อมแสดงว่า วงส้มตำอีกหลายวง ย่อมยอดเยี่ยมเช่นกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท