Explicit Knowledge & Tacit Knowledge


Explicit Knowledge & Tacit Knowledge ใช้กับงานได้อย่างไร

 


มาสร้างวิทยากรภายในกันเถอะ
  การเป็นวิทยากร หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ Train the Trainer  ด้วยเหตุผลที่มักจะคล้ายๆกัน คือ ที่บริษัทมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในงานจำนวนมาก  ที่สำคัญพนักงานเหล่านี้มีประสบการณ์ในการทำงานกับบริษัทมาหลายปี  จึงอยากให้มีการถ่ายทอดความรู้และทักษะให้กับพนักงานรุ่นใหม่ๆบ้างบางบริษัทก็โทรเข้ามาปรึกษาว่า เคยจัดหลักสูตรการเป็นวิทยากรให้กับพนักงานไปแล้ว  แต่ทำไมเราถึงยังไม่มีวิทยากรภายในเสียดี  จะทำอย่างไรดีทั้งหมดจึงเป็นที่มาของบทความนี้  อยากให้ผู้อ่านได้ทราบถึงความสำคัญของการสร้างวิทยากรภายในและวิธีการสร้างว่าจะต้องมีกระบวนการอย่างไรเรามาดูกันก่อนว่าการมีวิทยากรภายในมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ประโยชน์ของการมีวิทยากรภายใน
 
หลายๆท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ  การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management  การสร้างวิทยากรภายในก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้เช่นกัน  ตามแนวคิดของ Michael Polanyi และ Ikujiro  Nonaka 

 ได้จำแนกความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge 

Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสาร หนังสือ ฯลฯ  ถ้าเป็น Explicit Knowledge ในองค์กรก็เช่น  ISO9000 Procedure, Work Instruction, คู่มือการปฏิบัติงานต่างๆ  เป็นต้น  ส่วน Tacit  Knowledge คือความรู้ที่อยู่ในตัวพนักงานแต่ละคน  เกิดจากการเรียนรู้และการสั่งสมประสบการณ์  เช่น การเจียรไนเพชร  เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนกว่า 20 – 30 ปีกว่าจะเป็นช่างฝีมือที่เก่งและมีความสามารถสูง  ถ้าเราพิจารณาสัดส่วนของความรู้ทั้ง 2 ประเภท จะพบว่าความรู้ที่ใช้อยู่ในองค์กรส่วนใหญ่เป็นความรู้ประเภท Tacit  มากกว่าความรู้ประเภท Explicit ในอัตราส่วนถึง 80: 20 

อย่างไรก็ตาม ความรู้ก็มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ สามารถเคลื่อนย้ายได้ และ หายไปได้   ในกรณีที่พนักงานลาออก หรือ ถูกซื้อตัวไป  ความรู้ก็จะหายไป (แถมไปอยู่กับบริษัทคู่แข่งได้เสียด้วย)

เพราะฉะนั้นการที่เรามีวิทยากรภายในก็จะทำให้เกิดระบบการถ่ายทอดความรู้  เช่น  การจัดการฝึกอบรมให้กับพนักงานรุ่นใหม่ๆ ก็จะเป็นการถ่ายทอดความรู้ประเภท Tacit ที่วิทยากรมี ไปเป็น Tacit  ของผู้เรียนอีกหลายๆคน  หรือ หากวิทยากรผู้นั้นบันทึกลำดับการสอนและตัวอย่างต่างๆ โดยจัดทำเป็นแผนการสอน หรือคู่มือผู้สอน  ก็จะถือเป็นการถ่ายทอดความรู้ประเภท Tacit ให้เป็น Explicit  และหากในอนาคตพนักงานรุ่นใหม่ๆที่มีทักษะการเป็นวิทยากร  ได้ศึกษาคู่มือผู้สอนที่จัดทำไว้  ก็จะถือเป็นการถ่ายทอดความรู้จาก Explicit  ไปเป็น Tacit  และวงจรนี้ก็จะต่อเนื่องไปเรื่อยๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตามแนวคิด Knowledge Spiral หรือ SECI Model ของ Ikujiro Nonaka และ Takeuchiนอกจากประโยชน์ในเรื่องการจัดการความรู้แล้ว  ยังมีประโยชน์ในเรื่องอื่นๆได้แก่
•     พนักงานภายในมีความเข้าใจองค์กรและทราบข้อจำกัดต่างๆมากกว่าวิทยากรภายนอก
•      มีความคล่องตัวในการบริหารการฝึกอบรมมากกว่า  เมื่อใดที่ต้องการให้มีการฝึกอบรมก็เพียงแค่ประสานงานภายใน
•      ข้อมูลการดำเนินธุรกิจหรือกระบวนการผลิตบางอย่างเป็นความลับ
•      ใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
•      พนักงานที่เป็นวิทยากรภายในเกิดความภาคภูมิใจและได้รับการยอมรับนับถือ
•      การจัดทำคู่มือผู้สอนและการมีวิทยากรภายในทำให้แนวคิดและวิธีปฏิบัติงานเป็นไปในทางเดียวกัน
•      สะดวกในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับกระบวนการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
•      ประหยัดค่าใช้จ่าย
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 812เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2005 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี้ไปสอบเข้าทำงาน มีข้อสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย โดยให้อธิบายความหมายของExplicit Knowledge และ Tacit Knowledge พร้อมทั้งให้เปรียบเทียบ แต่เสียดายที่ไม่ได้เรียนมาทางนี้ก็เลยตอบไม่ได้ จึงรีบกลับมาค้นคว้า ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท