ณัฎมณฑน์ โกศัย และคณะงานห้องคลอด
โรงพยาบาลสุโขทัย
- ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้และไม่ได้รับการดูแลรักษาจะทำให้ทารกอาจมีภาวะ แทรกซ้อนได้ เช่น อาการเริ่มแรกของ Sepsis เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ Apnea หากไม่ได้รับการรักษาเฝ้าระวังทารกอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้น งานห้องคลอดได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้หาแนวทางแก้ไข การป้องกันอุณหภูมิร่างกายต่ำโดยได้คิดประดิษฐ์ผ้าห่มอุ่นไอรักห่อตัวทารก ชั้นนอกสุดเพิ่มอีก 1 ชั้น ป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการนำ การพาความร้อนและเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำในทารกแรกเกิดมีชีพ เพื่อส่งเสริมการสร้างสายสัมพันธ์แม่ลูกภายใน 30 นาที
วิธีการศึกษา
- ทารกแรกเกิดที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำ ใช้ผ้าห่มอุ่นไอรักและอยู่ใน Radiant warmer นาน 30 นาที จึงวัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำ สำหรับทารกแรกเกิดที่ไม่มีภาวะอุณหภูมิร่ายกายต่ำ จะห่มผ้าห่มอุ่นไอรักพร้อมกระตุ้นให้ดูดนมมารดาและวัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำ ภายใน 30 นาที ส่วนมารดาแนะนำให้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลร่างกายให้อุ่น อยู่เสมอ
ผลการศึกษา
- จากสถิติเดิมในเดือนธันวาคม 47 – มีนาคม 48 พบว่า ทารกแรกเกิดมีภาวะ Hypothermia จำนวน 141 ราย จากทารกแรกเกิด 582 ราย คิดเป็น 24.33% หลังให้การพยาบาลแล้วโดย Keep warm นาน 30 นาที วัดอุณหภูมิซ้ำพบว่าอุณหภูมิไม่เพิ่มขึ้น 72 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.06% อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 69 ราย คิดเป็น 48.94% สำหรับเดือนธันวาคม 48- มีนาคม 49 เริ่มใช้ผ้าห่มอุ่นไอรักพบว่า สถิติเด็กแรกเกิดที่มีภาวะ Hypothermia จำนวน 124 ราย จากจำนวนทารกแรกเกิด 590 ราย คิดเป็น 21.02% เมื่อใช้ผ้าห่มอุ่นไอรัก โดยทารกแรกคลอดที่มีภาวะ Hypothermia จะห่มด้วยผ้าห่มอุ่นไอรักและอยู่ใน Radiant warmer เมื่อวัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำใน 30 นาที พบว่า ทารกยังมีอุณหภูมิร่างกายต่ำ 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.68% และมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 112 ราย คิดเป็น 90.32% ส่วนทารกที่ไม่มีภาวะ Hypothermia ได้ห่มผ้าห่มอุ่นไอรักทุกรายพบว่า ทารกไม่มีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลสุโขทัย
- ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้และไม่ได้รับการดูแลรักษาจะทำให้ทารกอาจมีภาวะ แทรกซ้อนได้ เช่น อาการเริ่มแรกของ Sepsis เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ Apnea หากไม่ได้รับการรักษาเฝ้าระวังทารกอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้น งานห้องคลอดได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้หาแนวทางแก้ไข การป้องกันอุณหภูมิร่างกายต่ำโดยได้คิดประดิษฐ์ผ้าห่มอุ่นไอรักห่อตัวทารก ชั้นนอกสุดเพิ่มอีก 1 ชั้น ป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการนำ การพาความร้อนและเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำในทารกแรกเกิดมีชีพ เพื่อส่งเสริมการสร้างสายสัมพันธ์แม่ลูกภายใน 30 นาที
วิธีการศึกษา
- ทารกแรกเกิดที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำ ใช้ผ้าห่มอุ่นไอรักและอยู่ใน Radiant warmer นาน 30 นาที จึงวัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำ สำหรับทารกแรกเกิดที่ไม่มีภาวะอุณหภูมิร่ายกายต่ำ จะห่มผ้าห่มอุ่นไอรักพร้อมกระตุ้นให้ดูดนมมารดาและวัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำ ภายใน 30 นาที ส่วนมารดาแนะนำให้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลร่างกายให้อุ่น อยู่เสมอ
ผลการศึกษา
- จากสถิติเดิมในเดือนธันวาคม 47 – มีนาคม 48 พบว่า ทารกแรกเกิดมีภาวะ Hypothermia จำนวน 141 ราย จากทารกแรกเกิด 582 ราย คิดเป็น 24.33% หลังให้การพยาบาลแล้วโดย Keep warm นาน 30 นาที วัดอุณหภูมิซ้ำพบว่าอุณหภูมิไม่เพิ่มขึ้น 72 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.06% อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 69 ราย คิดเป็น 48.94% สำหรับเดือนธันวาคม 48- มีนาคม 49 เริ่มใช้ผ้าห่มอุ่นไอรักพบว่า สถิติเด็กแรกเกิดที่มีภาวะ Hypothermia จำนวน 124 ราย จากจำนวนทารกแรกเกิด 590 ราย คิดเป็น 21.02% เมื่อใช้ผ้าห่มอุ่นไอรัก โดยทารกแรกคลอดที่มีภาวะ Hypothermia จะห่มด้วยผ้าห่มอุ่นไอรักและอยู่ใน Radiant warmer เมื่อวัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำใน 30 นาที พบว่า ทารกยังมีอุณหภูมิร่างกายต่ำ 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.68% และมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 112 ราย คิดเป็น 90.32% ส่วนทารกที่ไม่มีภาวะ Hypothermia ได้ห่มผ้าห่มอุ่นไอรักทุกรายพบว่า ทารกไม่มีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นายบอน@kalasin ใน keep in mind by bon
คำสำคัญ (Tags)#สาธารณสุข#research#ประชุมวิชาการ#abstract#ผลงานวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 80870, เขียน: 27 Feb 2007 @ 11:00 (), แก้ไข: 22 Jun 2012 @ 16:36 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 4, อ่าน: คลิก