ต้นแบบคลังแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดประชาชนทุกแห่ง


 

           วันนี้เข้าประชุมคณะทำงานจัดทำต้นแบบคลังแหล่งเรียนรู้ประเภทห้องสมุดประชาชน ณ สำนักบริหารงานกศน. ซึ่งกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการจัดทำต้นแบบ ดังกล่าว โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จ ที่ห้องสมุดแต่ละแห่งจะต้องมีคือ
           ๑. ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้
           ๒. การให้บริการข้อมูลคลังแหล่งเรียนรู้
           ๓. ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้
           ๔. การให้บริการข้อมคลังแหล่งเรียนรู้
รายละเอียดดัง Mindmap

โดยมีแผนการดำเนินงานต้องทำต่อเนื่องคือ
๑. ชี้แจงการดำเนินงานจัดทำต้นแบบคลังแหล่งเรียนรู้ให้ห้องสมุดดำเนินการ โดยศนจ. ศบอ. ภายในเดือนมีนาคม
๒. ห้องสมุด ดำเนินการจัดทำต้นแบบคลังแหล่งเรียนรู้ ในเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม โดยการกำกับดูแลโดยศนจ.และศบอ.
๓. ประเมินห้องสมุดตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยศนจ.แต่งตั้งคณะกรรมการ ในเดือนมิถุนายน
๔. พัฒนาห้องสมุดประชาชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ รวบรวมรายชื่อห้องสมุดที่ผ่านเกณฑ์ และประกาศจัดตั้งต้นแบบคลังแหล่งเรียนรู้ ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 80676เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
     ต้นแบบคลังแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดประชาชนในทุก ๆ แห่ง  ประโยชน์ที่แท้จริงอยู่ที่ผู้มารับบริการ  ประชาชนโดยทั่วไป  ควรให้กำลังใจ  เป็นแรงผลักดันและช่วยเหลืออย่างเต็มที่  เพื่อแหล่งการเรียนรู้ที่ดี  กับพี่น้องประชาชน
ขอบคุณครูชูวิทย์ ครับ มาเร็วมาก อย่าลืมแจ้งให้ผอ.ศบอ.และทีมงานทราบด้วยครับ
เป็นสิ่งที่ดีกับห้องประชาชนอย่างมากในการผลักดันให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเพื่อพี่น้องประชาชนในการเข้ามาใช้บริการ

คลังแหล่งการเรียนรู้ เมื่อทำสำเร็จก็น่าจะทำให้ห้องสมุดมีชีวิตชีวามากขึ้น....เป็นสิ่งที่ดีเราควรช่วยกันทำให้ดีขึ้น

ห้องสมุดคือแหล่งเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่

เพื่อนรักนักอ่าน

สวัสดีค่ะ..

ตามมาอ่านด้วยความปิติ เพราะตั้งแต่เด็กห้องสมุดประชาชนเป็นอีกที่หนึ่งที่เบิร์ดจะใช้เวลาอยู่ในนั้นนานๆเสมอ แต่ก็มักพิศวงว่าหน่วยงานไหนเป็นผู้ดูแลห้องสมุดประชาชนเพราะส่วนใหญ่จะดูไม่ค่อยทันสมัย..หนังสือมีน้อย  บรรยากาศไม่ค่อยโปร่งสบายและหาข้อมูลไม่ค่อยเจอ ..ถ้าปรับปรุงได้อย่างที่คุณดิศกุลบันทึก ก็น่าสนใจมากค่ะ

ขอบคุณครับคุณเบิร์ด ห้องสมุดในฉะเชิงเทราส่วนใหญ่ดูดีครับ ด้วยความใส่ใจของผู้บริหารกศน.อำเภอและทีมบรรณารักษ์ตลอดจนทีมงานครูทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทราพยายามทำให้เป็น Modern Library วิถีชีวิตของคนเมืองแปดริ้ว ครับ

เพราะห้องสมุดเป็นศูนย์รวมความรู้  ถ้าจัดทำให้เป็นระบบ   ห้องสมุดก็จะเหมือนคลังที่คอยให้แต่ความรู้กับประชาชน

ห้องสมุดจะเป็นประโยชน์มากถ้าคนเข้ามาใช้อย่างถูกวิธี  ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่ดีที่สุดที่หนึงเลยนะ

ห้องสมุดเหมือนคลังของดีราคาถูกเพราะมีแต่สิ่งดีๆให้ความรู้ ค่าสมาชิกปีละ 40 บาท บางคนก็อ่านฟรีไม่เสียเงินอย่างนี้หาได้ที่ไหน

    ห้องสมุดที่ดี  และมีคุณภาพนั้น จะมีเกณฑ์วัดอย่างไรว่าดีที่สุด ต่างที่ก็คิดว่าทำดีที่สุดแล้ว การที่มีต้นแบบคลังแห่งการเรียนรู้นั้น  ย่อมเป็นมาตรฐานที่จะช่วยให้ห้องสมุดเป็นห้องสมุดที่มีชีวิตชีวาและ หัวใจสำคัญคือผู้รับบริการพึงพอใจมากที่สุด เมื่อเรามีต้นแบบที่ครอบคลุมอย่างนี้แล้ว คงต้องพยายามทำกันอย่างเต็มความสามารถรับรองว่าทุกคนทำได้ค่ะ
นายเสน่ห์ อุ่นนาวงษ์ ศบอ.พนมสารคาม
ทำอะไรต้องมีความมุ่งดีต่อส่วนรวมและประเทศชาติและต้องคิดเสมอว่าเกิดมาแล้วต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดินทรัพย์สินเงินทองใช้ได้เพียงชาตินี้ แต่ความดีติดตัวไปจนตาย ถึงลูกหลานบรรพชน

คลังแห่งการเรียนรู้ที่ขาดเสียไม่ได้คือ ห้องสมุด  เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับ  ทุกเพศ  ทุกวัย  เป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่ตนเอง  ทำให้ชุมชนมีความก้าวหน้า  มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้แก่ชุมชน  รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  สามารถให้ประชาชนมาใช้บริการสืบค้นข้อมูลได้

นลินทิพย์ สังข์เจริญ ศบอ.แปลงยาว

เกณฑ์มาตรฐานแบบคลังแหล่งการเรียนรู้....

  • ครูจะต้องเป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศไปในตัวด้วยเป็นเทคโนโลยีที่เป็นสหายสนิทกับการศึกษาในปัจจุบันล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านนี้ทั้งสิ้นจะต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ อันเป็นภาษาสากลภาษาเดี่ยวที่จะช่วยถอดรหัสความรู้ ในสื่อิเล็กทรอนิกส์ทั้งผวงไม่ว่าจะเป็น "อินเตอรเน็ต"หรือ"มัลติมีเดีย"หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นใดจะต้องติดตามความก้าวหน้าในเทคนิควิธีการสอนต่างๆอยู่ตลอดเวลาเพราะในปัจจุบันนี้  "สภากาแฟอินเตอรเน็ต"ของผอ.ศนจ.ฉช.ของเรานี้ล่ะ(ไม่เบาเห็นไหมจ๊ะ)  หรือ ชมรมครูอินเตอร์เน็ต ที่เปิดโอกาสให้ครูแลกเปลี่ยนประสบการณืและเทคนิคใหม่ๆผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่สามารถพัฒนาให้คนรุ่นใหม่ (น้องใหม่) ให้ก้าวทันความรู้และปรับตัวกับชีวิตในยุคโลกาภิวัฒน์ได้แนวคิดใหม่ๆ ในวงการจิตวิทยาการเรียนรู้  เช่น แนวคิดเกี่ยวกับ  "ความฉลาดทางอารมณ์"
  • เพราะมันคือ การเผชิญความเปลี่ยนแปลงต่างๆของมนุษย์อาจกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ของคนในอนาคต
  • ขอขอบคุณค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท