จิตตปัญญาเวชศึกษา 4: สังคมศาสตร์ในหลักสูตรแพทยศาสตร์


ผมคิดว่าแพทยศาสตร์สัมพันธ์กับสังคมศาสตร์อย่างแยกกันไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของ หลักปรัชญา ที่มาของวิชานี้ และเหตุผลของการที่เราควรมีวิชานี้

จิตตปัญญาเวชศึกษา 4: สังคมศาสตร์ในหลักสูตรแพทยศาสตร์

เป็นภาค 4 ต่อจาก

เคยมีนักศึกษาแพทย์เขียน complain ลงในกระดานข่าวคณะแพทย์ หมวด "ปรึกษาอาจารย์"  ซึ่งเป็น intranet บอกว่า

 ผมรู้สึกเบื่อและอึดอัดมากกับเนื้อหาใน block นี้ขอแยกเป็นประเด็น
1. Lecture วิชาสังคม ที่เรียนกันมาตั้งแต่มัธยมจนถึงปี 1 อุตสาห์ดีใจที่ไม่ได้เจอกันมาตั้งนาน แต่จนแล้วจนรอดก็ต้องมาเรียนใน block นี้
2. ให้ไปเล่นกับเด็ก ๆ ยอมรับว่าพอได้ประโยชน์บ้าง แต่บอกตรง ๆ ว่าไม่คุ้มจริง ๆ
3. ดูหนังมนตรักฯ แล้วยังไม่พอก็ discuss กันในประเด็นที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าเถียงอย่างไรก็ไม่จบ ทำไปไม่ได้ประโยชน์อะไร
เดี๋ยวจะมีอะไรเกี่ยวกับผู้สูงอายุอีกก็ไม่อาจทราบได้ ประมาณว่าต้องมานั่งทำรายงาน

ที่จริง poster นี้ไม่ได้เป็น freak incident แต่เป็นแค่ "หนึ่งในความรู้สึก" ของนักศึกษาหลายๆคน แม้แต่ในที่ประชุมสัมมนาหลักสูตร พอมีการพูดถึงการเพิ่มบางวิชาสังคมศาสตร์ลงไป ที่ประชม (อาจารย์แพทย์) ก็รู้สึกว่ายังมีวิชาอีกมากมายที่สำคัญกว่า (medical sciences) วิชาทางสังคมศาสตร์ จึงคิดว่าประเด็นนี้ ไม่ใช่เรื่องของนักเรียนหนึ่งในพัน แต่เป็นเรื่องของ คุณค่าและการรับรู้เกี่ยวกับแพทยศาสตรศึกษา ว่ามันคือวิชาประเภทอะไรกันแน่

ผมเคยเสนอให้เพิ่มสาระประเภท สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ที่มีส่วน เชื่อมโยง (interconnectedness) กับวิชาแพทยศาสตร์เข้าไปในหลักสูตร เพื่อให้คน soft ลง บอกว่าผมมีความรู้สึกลึกๆ (แปลว่าไม่ใช่ evidence-based) ว่าเดี๋ยวนั้คน "แข็งขึ้น" (ไม่ใช่ "แข็งแกร่งขึ้น" แต่เป็น "แข็งกระด้าง" มากขึ้น) ปรากฏว่าตอนนั้นผมคงจะเลือกผิดจังหวะไป เพราะกำลังมีหลาย block หลายภาควิชาที่กำลังถกเถียงเพื่อเพิ่มเวลาเรียนของตนเองอยู่ เนื่องจากเนื้อหาที่จะสอนเยอะมาก เวลาไม่พอ เสนอเข้าไปโดยไม่ดูตาม้า ตาเรือ ก็เรียบร้อย

ทำไมผมถึงคิดว่าแพทยศาสตร์เกี่ยวอะไรกับสังคมศาสตร์?

ที่จริงผมไม่ได้คิดว่ามัน "แค่เกี่ยว" ผมคิดว่าแพทยศาสตร์สัมพันธ์กับสังคมศาสตร์อย่างแยกกันไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของ หลักปรัชญา ที่มาของวิชานี้ และเหตุผลของการที่เราควรมีวิชานี้

ลองพิจารณาดูนิยาม หรือหลักปรัชญาวิชาชีพแพทย์ สมัยไหนก็ได้

 

".... เห็นแต่ว่าลูกเรา ซึ่งพิทักษ์รักษาเพียงนี้ ยังได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส ลูกราษฎรที่อนาถาทั้งปวงจะได้รับความลำบากทุกข์เวทนายิ่งกว่านี้ประการใด ยิ่งทำให้มีความปราถนาที่จะให้มีโรงพยาบาลยิ่งขึ้น.."

พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงคอมมิตตีจัดสร้างโรงพยาบาล

ที่เรามีโรงพยาบาลนั้นเพราะ "ความทุกข์เวทนา" ไม่ใช่เพื่อ glory ทาง medical sciences

หรือเอาที่ classic อีกบทนึง

 

"....ฉันไม่ต้องการให้เธอเป็นแพทย์เท่านั้น แต่ต้องการให้เป็นมนุษย์ด้วย..."

พระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชทานเนื่องในวโรกาสเปิดการศึกษาเวชนิสิต 2471

ครับ มนุษยศาสตร์นั้น คงไม่ใช่แค่ gene dna หรือ biology แต่รวมทั้งในสาขาทางสังคมศาสตร์ด้วยแน่ๆ และที่น่าสนใจมากๆก็คือ การทรงเลือกใช้คำ เป็นแพทย์เท่านั้น นั้น เหมือนกับทรงมีพระทัยพยากรณ์ว่าอีกหน่อย อาจจะมี แพทย์เท่านั้น ที่ไม่ได้เป็นมนุษย์ เกิดขึ้นในสังคม หรือไม่? จึงทรงมีพระบรมราโชวาทเช่นนี้

ที่ผมบอกว่าสังคมศาสตร์เกี่ยวกับปรัชญา ที่มา และเหตุผลทั้งหมดของการมีวิชาแพทย์เพราะว่า ผมคิดว่าวิชานี้เกิดขึ้นเพราะสาเหตุสองประการคือ

  1. เรามี "ชีวิต" ชีวิตที่มีความทุกข์เป็นสัจจธรรม
  2. เรา "อยู่ด้วยกันในสังคม" หน้าที่ของเราคือหน้าที่ต่อสังคม ตัวเราจึงดำรงคงอยู่ได้

สังคมศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจความต่อเนืองเชื่อมโยงของการกระทำ ต่อความคิด และความรู้สึกของคน ซึ่งในที่สุดแปลงมาเป็น ความทุกข์ ความสุข ความสบาย ความไม่สบาย หรือ คุณภาพชีวิต (quality of life) นั้นเอง วิชาอย่างภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นอกเหนือจากการท่องจำเป็นกระตั้กแล้ว ทำให้เราทราบว่าเราอยู่ร่วมกับคนอีกจำนวนมาก ที่มี different interest มีความเชื่อ ความศรัทธา ไม่เหมือนกัน ประวัติศาสตร์เชื่อมใยง "เหตุ" และ "ผล" แห่งความคิดและการกระทำในอดีต จวบจนปัจจุบัน set of logic หลายๆอย่างก็ยังใช้การได้ เช่น เงิน อำนาจ กิเลส เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

สุนทรียศาสตร์ เป็นอีกวิชาที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากๆต่อการเรียนแพทย์ สุนทรียศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยอารมณ์ อะไรที่สามารถ vibrate emotion ได้ ต่อยอดไปเป็นสุนทรียศาสตร์ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพ จิตกรรม ประติมากรรม ปฏิมากรรม สถาปัตยกรรม รูปถ่าย วรรณกรรม กวีนิพนธ์ เรื่องเล่า ตำนาน เพราะมนุษย์เราถูกผลักดันด้วย อารมณ์ เป็นหลักมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ความกลัว เป็นอารมณ์ดึกดำบรรพ์สมัยตั้งแต่ reptile ครองโลก ต่อมา mammal จึงได้พัฒนา ความรัก ก่อให้เกิด "สังคม" ขึ้น และ primate ก็พัฒนา creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ สร้างเครื่องไม้เครื่องมือ แต่ อารมณ์ ก็ยังเป็น core motivation สำหรับพฤติกรรมมนุษย์ ไม่ลดลงเลย

แพทย์ที่ได้เติมวิชาทางสุนทรียศาสตร์ จะเพิ่มศักยภาพในการ "รับรู้" ดานอารมณ์มากขึ้น ซึ่งในยุคปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เด้กบางคนเริ่มคิดว่า professional doctor นั้น ต้อง emotionless คือไร้อารมณ์ ปรากฏทำไมทำมาก้เลยไร้อารมณ์จริงๆ ไม่เข้าใจอารมณ์ แต่ที่ ironic ก็คือ ความพยายามไร้อารมณ์ หรือไม่สนใจอารมณ์นั้น กลับทำให้ อารมณ์ที่ primitive ที่สุดเหลือทำงานอยู่เพียงอย่างเดียวคือ ความกลัว (FEAR) กลัวที่จะเผชิญหน้ากับอารมณ์ เวลาคนไข้ หรือญาติมีอารมณ์ก็ไม่เข้าใจ ไม่สามารถจะ approach ได้ดี ต้องแสวงหาคนกลางมาช่วย หลบอยู่ข้างหลัง และเมื่อถึงเวลาที่ตนเองจะต้องเผชิญกับอารมณ์ของตนเอง จะยิ่งมีปัญหามากขึ้น ไม่ทราบจะแสดงออกอย่างไร

ดังนั้นแพทย์ควรเพิ่มความสนใจในสาระของอารมณ์ เราจะได้พัฒนา emotional quotience ได้ดียิ่งขึ้น ครบถ้วนตั้งแต่ intellectual quotience, emotional quotience และ moral quotience

และนี่คือ model ของแพทย์ที่ผมคิดว่าน่าสนใจครับ

ใครสนใจบ้าง?

หมายเลขบันทึก: 80506เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2007 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ยกมือค่ะ

เห็นด้วยและสนใจมาก

ต้องอ่านบล็อก อาจารย์ อีกสัก 2 รอบถึงจะเก้บข้อมูลหมด

สมองช้าว่าอาจารย์เยอะค่ะ

ขอบคุณ และชื่นชม ความ smart ของอาจารย์ 

ขอบคุณและเป็นเกียรติทีได้กรุณาอ่านและแสดงความคิดเห็นครับ อ.รวิวรรณ

 เอ... ผมจะไปหา อ.วิศิษฐ์ วังวิญญูที่เชียงรายต้นเดือนหน้า อาจารย์จัดอบรม อ่าน เขียน แปล กระบวนทัศน์ใหม่ ไม่ทราบมีจากเชียงรายประชารักษ์ไปร่วมบ้างไหมครับ (3-6 มีนาคม)

อ วิศิษฐ์  และ อ นพ วิธาน  อ ณัฐรสเป็น อาจารย์ ของคนใน โรงพยาบาลเชียงรายฯ (ประชานุเคราะห์ค่ะ) ท่านเดินเข้าออก โรงพยาบาลโดยเราไม่รู้สึกว่า ท่านเป็นคนนอก

ชีวิตท่านทำประโยชน์หลากหลายระดับ  อาจารย์มีงานระดับชาติ ระดับโลก

อาจารย์ ทั้ง 3 ท่าน สุขุมลุ่มลึกมาก

 อาจารย์ได้มาช่วย ให้คนโรงพยาบาล มีโอกาสได้รู้จักกับสุนทรียสนทนา เอามาทำงานดีๆ ต่อ มากมาย

ยังมีข่าวคราว ได้ยินจากทีมที่ทำเวทีสัญจรของรพ อยู่ประปราย  เห็น อ ณัฐรสบอกว่าจะมาเยี่ยมเวทีสัญจรของรพ http://gotoknow.org/blog/MT-CRH สักวัน

3-6 มีค ไม่ได้ไป แต่จอรออ่านจากบล็อกอาจารย์ค่ะ

 

  • ผมเห็นด้วยกับคุณหมอครับ มากๆเลย
  • ไม่ใช่เฉพาะผู้มีอาชีพหมอเท่านั้นนะครับ ทุกอาชีพควรเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับ "คน สังคม วัฒนธรรม..."
  • ผมทำงานกับวิศวกรมากมาย หลายเรื่องผมผิดหวังกับเขาที่ เขาไม่เข้าใจชาวบ้าน และไม่ฟังด้วย ตรงข้ามยึดตัวเองเป็นหลัก  แล้วก็เกิดปัญหาบ่อยๆ ต้องให้นักสังคมลงไปช่วยแก้ให้
  • กรณีวิศวกรนั้น(วิศวกรส่วนที่ผมทำงานด้วยนะครับ) เขายึด Professional career เป็นหลัก เขาไม่ฟังไม่สนใจสิ่งที่เป็น Social accepted แล้วปัญหาก็ตามมา มากบ้างน้อยบ้างเสมอมา
  • เราเสนอแนะอะไรมักจะไม่ฟัง
  • อาชีพใดก็ตามที่ทำงานกับคนควรต้องมีหลักพื้นฐานทางวิชาการด้านคนด้วย มิเช่นนั้น วิชาความรู้มันไม่ Harmonise

อ.รวิวรรณครับ

 ผมเคยเจอแต่พี่วิธาน กับ อ.ณัฐฬส ม.อ. เชิญท่านทั้งสองมาจำกิจกรรมสุนทรียสนทนาให้เมื่อเดือนตุลาคม หลังจากนั้นก็เป็นจุดกำเนิด ชุมชนจิตไร้สำนึก ขึ้นที่ ม.อ. ครั้งนั้นจะว่าไป นับเป็น การ burn แล้ว rebirth ของ Phoenix ก็คงไม่ผิดครับ

อ.ไพศาลครับ

อาจารย์พูดเหมือน David Bohm คนคิดวิธี dialogue (สุนทรียสนทนา) เลยครับ การมองปัญหาเป็นเปลาะๆ แยกเป็นส่วนๆ ยิ่งทำ ยิ่งแก้ ยิ่งเกิดปัญหา เหมือนเอากระชอนไปตักน้ำครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนครับ

อาจารย์หมอครับ

  • ผมสนใจกระบวนการ Dialogue approach และก็ใช้อยู่ แต่ไม่ได้ยกระดับขึ้นมาเท่าไหร่นัก เพราะพอมาทำงานบริหาร การทุ่มเทจึงลดลงไป
  • คุณวิศิษฐ์ วังวิญญู รู้เรื่องนี้ดีตั้งแต่อยู่สภาคาธอลิคแห่งประเทศไทย ซึ่งสมัยนั้นเราเรียกกระบวนการ Conscientization approach ซึ่งผมอยากจะฟื้นขึ้นมาให้น้องๆไปลองทำกัน  แต่ไม่ง่าย เพราะต้องมีพื้นฐาน มีข้อมูลที่จะทำ มีทักษะในการพูด รู้จักลำดับความยากง่ายของการเข้าถึงสาระนั้นๆ ฯลฯ ต้องเป็นคนมีประสบการณ์กับคนมาพอสมควรครับ

อาจารย์ไพศาลครับ

ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลครับ ที่จริงสิ่งที่เราทำใน ชุมชนจิตไร้สำนึก ที่ ม.อ. จะเรียกว่า dialogue หรือไม่ เป็นสุนทรียสนทนาหรือเปล่า ก็ไม่มีใครในที่นี้เข้าใจหรอกครับ หลังจากที่พี่วิธาน กับ อ.ณัฐฬส ไปทำ workshop ให้เราแล้ว เราก็นำ ความรู้สึกดีๆ มาต่อยอด เพราะไม่อยากให้มันมอดไหม้ไปเฉยๆตามกาลเวลา ออกมาค่อนไปทางสุนทรียสนทนาแบบเครือข่ายไฟฟ้า คือทาง email เป็นหลัก และพบปะกันจริงๆแค่เดือนละครั้ง ไม่มี regular meeting อะไร แบบ fixed date แต่จะนัดกันเมื่อพร้อมครับ ตอนนี้กำลังหาทางนำมา apply ในการเรียนการสอนแพทยศาสตรศึกษาที่ ม.อ. นี่ครับ

  • สังคมศาสตร์สอนให้คนรู้ร้อนรู้หนาวเกี่ยวกับตนเอง
  • เกี่ยวกับคนอื่น
  • เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ถ้าแพทย์ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับสังคมศาสตร์แล้ว  ชาวบ้านตาดำตาขาวจะเป็นอย่างไรหนอ!

      ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณพันดา

เห็นด้วยครับ

และผมไม่อยากประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง (อันโหดร้าย) ว่า ผมเกรงว่า สังคมในปัจจุบันไม่ค่อยรู้ร้อนรู้หนาวกับสังคมศาสตร์สักเท่าไร

ยิ่งหนาวเพิ่มขึ้นนะครับ

เราควรจะทำอย่างไรกันดี?

lสวัสดีค่ะ คุณหมอสกล

ภาชอบอ่านในบอร์ดนี้ อาต๋อเคยบอกว่า นักศึกษาแพทย์ปี4  (ภาควิชาอายุศาสตร์ รหัสวิชา RAMD 401

RAMD 402 ,

วัตถุประสงค์ของรายวิชา ใน 6 สัปดาห์แรก

ประมาณว่า -สามารถซักประวัติ ตรวจร่างกาย และประเมินสุขภาพผู้ป่วย โดยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย และครอบครัว

โดย-----เข้าถึงผู้ป่วยและครอบครัวได้ดี

       ----ซักถามประวัติความเจ็บป่วยและประวัติสุขภาพจากผู้ผู้ป่วย และครอบครัวได้

และมีอื่น ๆ อีกเยอะ เช่นต้องใช้เครื่องมือแพทย์ถูกต้อง แปลผลได้

stethoscope

tongue depressor

oral themometer

sphygmonanometer

otoscope

ophthalmoscope

ไม้เคาะ jerk

 

ภาเห็นใจว่าเรียนหนักมาก สอบบ่อย อาจจะเป็นเหตุนี้

ทำให้  "การเข้าถึงผู้ป่วย และครอบครัว"  กลายเป็นประเด็นรอง ลงมา ก็อยู่ที่ครูบาอาจารย์จะช่วยให้ กลายเป็นประเด็นหลัก คู่กับความสำคัญในวิทยาศาสตร์การแพทย์

(คุยเล่น ๆ ค่ะ ปกติก็เจอกันอีกวงหนึ่ง )

 

สวัสดีครับคุณภา,

ขออภัยที่ตอบช้าไปนิด ปกติผมตอบทันทีที่มีคนพูดด้วย เผอิญอยู่ในที่ที่เข้า internet ยากมากหลายวัน

ผมเห็นด้วยว่าถ้าเมื่อไหร่การเรียนกลายเป็นภาระหนัก เราก็คงจะต้องจัดลำดับความสำคัญให้ดี เรียงไปเรียงมา เอาที่สำคัญมากอยู่ต้นๆ สำคัญหลังๆอยู่ปลายๆ

เดี๋ยวนี้วิทยาศาสตร์แบบนิวตัน ทำให้การวินิจฉัยโรคไม่ได้พึ่งพาประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดแบบสมัยก่อนครับ ใช้เทคโนโลยีแทน มี CT scan, MRI, PET-scan, etc ยิ่งบวกกับการทำให้เข้าใจว่า "ความสำเร็จ" ของการเป็นแพทย์คือ curer ไม่ใช่healer หมอก็จะพากันไปรักษาโรค (cure the disease) แทนที่จะรักษาคน (heal the person)

ที่น่าสนใจคือ ยังไงๆก็ยังมีแพทย์ นักศึกษาแพทย์ ที่สนใจเรื่องของคน เรื่องของครอบครัว และก็เรียนผ่านไปได้ อย่างสวยงามด้วย แปลว่าการจัดลำดับความสำคัญให้คนด้วย และรายการต่างๆที่คุณภา list มา ไปด้วยกัน ก็อาจจะเป็นไปได้

ถามวงไหนตอบวงนั้นก็แล้วกันนะครับ เดี๋ยวจะงง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท