คำตอบจากชนบทสู่ป่าคอนกรีต เรื่องสื่อแนะแนวเส้นทางชีวิตในอนาคตเพื่อรุ่นน้อง + การต่อยอดความคิดจากอำนาจ แสงสุข ถึง วุฒิชัย ชุษณะโยธิน


โอกาสในการทำงานเพื่อสังคม การประสานเชื่อมโยงกลไกต่างๆ แนวทางสู่การเปิดช่องทาง ที่เริ่มต้นจากการมีเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง..

นายบอนได้เขียนบันทึกในประเด็นนี้ไว้ ที่ ชีพจรลงเท้า กับการเดินทางของนายบอน 2-4 ธ.ค. 2549 (๒) ( กาฬสินธุ์ - ขอนแก่น – โคราช – กทม) กับข้อคิดแห่งการแบ่งปันด้านการศึกษาจากโรงพยาบาลรามาธิบดี  เรื่องแนวคิดผลิตสื่อแนะแนวเส้นทางชีวิตของนักเรียนมัธยมรุ่นน้องที่กำลังค้นหาเส้นทางเดินของชีวิต ของคุณวุฒิชัย ชุษณะโยธิน เพื่อนคนที่นายบอนมักจะไปพักด้วยช่วงที่เข้า กทม.นั่นแหละครับ




เขาคิดไว้นานแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสได้ทำตามความฝันเสียที
นายบอนจึงหยิบประเด็นนี้ มาหาคำตอบจากอำนาจ แสงสุข( น.เมืองสรวง) ว่า คิดเห็นเช่นไร มองประเด็นนี้อย่างไรบ้าง





จึงทำการพูดคุย และบันทึกประเด็นนี้ไว้ ในช่วงสายของวันที่ 18 ก.พ. 2550 ที่บ้านพักของอำนาจ ณ ตำบลโตนด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา

คุณอำนาจ แสงสุข เริ่มต้นเปิดใจขึ้นมาว่า…

<h2>“ถ้ามองสิ่งที่เคยทำมาแล้ว แล้วถามว่า ทำไปทำไม ทำแล้วได้อะไร ให้ตอบอย่างตรงไปตรงมาเลย คือ ทำแล้ว มีความสุข สุขที่ได้แบ่งปัน...” </h2>
“ แม้ว่า จะลำบาก ในการสร้างเครือข่าย สร้างมิตรภาพให้เกิดขึ้น แต่จุดหมายที่มากกว่านั้น ถ้าลงมือทำแล้ว จะรู้ซึ้งมากยิ่งขึ้น  มีทิศทางและเป้าหมายในการดำเนินชีวิต เมื่อลงมือทำย่อมจะเข้าใจได้ว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้น มีความหมายต่อชีวิตอย่างไร ...

ถ้ากล่าวถึงทิศทั้ง 6  ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องซ้าย ขวา หน้า หลัง และทิศเบื้องล่าง ซึ่งแต่ละด้านมีความหมายต่อชีวิตของเราทั้งนั้น ถ้านึกถึงจุดนี้ จะทำให้เข้าถึงสัจธรรมของชีวิต มองเห็นทิศทาง เป้าหมายที่ชัดเจน

<h2>มีคนในสังคมมากมาย ที่เป็นคนเก่ง แต่คนเก่งเหล่านั้น ได้ช่วยเหลือสังคมบ้างหรือไม่ ทำไมหลายคนจึงมีความคิดเพียงแค่ว่า ฉันต้องได้  ไม่คิดที่จะคืนอะไรให้แก่สังคมบ้างหรือ”</h2>

”พูดแล้ว นึกถึงคำว่า รากแก้ว รากหญ้า
รากหญ้านั้น เหยียบย่ำลงไปได้ แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้คำว่ารากแก้ว ซึ่งเห็นถึงความสำคัญของคนชนบทมากขึ้น แต่ความจริงแล้ว ยังเข้าไม่ถึง ยังทำไม่ได้ ไม่รู้ถึงวิธีในการดำเนินการว่า ควรจะทำอย่างไรต่อไป

เหมือนประเด็นที่หยิบยกมาถามนี้นั่นเอง ที่ฝันอยากทำสื่อเพื่อน้อง ….

<h3>ถ้ามองถึงการนำแนวคิดของโครงการนี้ของคุณวุฒิชัย หากนำมาทดลองที่หนองสรวงนั้น เป็นแนวคิดที่ดี หากชุมชนหนองสรวงจะมีส่วนร่วมด้วย เพื่อที่ชาวบ้านจะได้รักในสิ่งที่ทำ และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ไม่ใช่การรับสิ่งที่คนในเมืองนำมามอบให้ แล้วก็ลืมๆกันไปเมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจที่ตั้งใจไว้....”</h3><p>


นายบอนจึงถามว่า หากจะนำแนวคิดนี้ ไปลองทำที่หนองสรวง แล้วจะทำอย่างไรล่ะ

“.. เริ่มจากการติดต่อประสานกับ อบต., โรงเรียน ผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม โดยติดต่อแจ้งรายละเอียดถึงเรื่องที่จะทำ เพื่อขอข้อมูล คำแนะนำจากคนในพื้นที่หนองสรวง..

เมื่อคิดจะทำโครงการนี้ จะต้องมองต่อว่า เมื่อเข้าไปแล้ว ชุมชนและโรงเรียน จะได้อะไรจากสิ่งที่ทำนั้นบ้าง
ถ้าคุณวุฒิชัย ทำให้เขาก่อน สิ่งที่ชุมชนจะได้ คืออะไร
ดังนั้น ควรถามชุมชนว่า พวกเขาสนใจเรื่องอะไร เพื่อจะได้ทำให้ตรงกับความต้องการของพวกเขา

อย่างเช่น กรณีของบริษัท ก ที่มอบทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียน นำมาจ่ายค่าเทอม มีการติดตามดูแลการเบิกจ่ายอย่างต่อเนื่องตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้จนเรียนจบ ให้ชุดนักเรียน ให้ทุกอย่าง  มีการติดตามดูแล และบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ โดยบริษัท กให้ทุนตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด จนเกิดสำนึกที่ดี นึกถึงบริษัท ก ผู้ให้ทุนอยู่ตลอด

เมื่อนักเรียนได้รับทุนมาแล้ว เคยได้มา จนเกิดสำนึก ว่า ต้องให้ในสิ่งที่เคยให้”


“….สำหรับที่หนองสรวง หากคิดจะลงมือทำโครงการนี้นั้น ต้องมีแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจน

ในส่วนของคุณวุฒิชัย (ผู้ทำ ผู้ริเริ่ม เจ้าของโครงการ)  วางเป้าหมายที่ต้องการ </p><p>ในส่วนของโรงเรียน ดำเนินการตั้งงบประมาณ คัดเลือกเด็กนักเรียนที่เกิดความสนใจตามกลุ่มอาชีพ แยกประเภทออกมาให้ชัดเจน เช่น อยากเป็นหมอ , วิศวะ, ครู ฯลฯ

เจ้าของโครงการ นำข้อมูลที่ได้ มาจัดทำข้อมูลตามแนวทางที่วางไว้ และคอยติดตามประเมินผล เมื่อเด็กนักเรียนได้ข้อมูล ได้แนวทางแล้ว ต้อมประเมินดูว่า เหมาะสมหรือไม่ พอหรือยัง ติดตามดูว่า เกิดปัญหาอุปสรรคใดบ้าง เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่</p><h3>ทำการวางเป้าหมายในระยะยาว เมื่อเด็กนักเรียน กลุ่มเป้าหมายรับรู้ข้อมูลนั้นแล้ว  ติดตามต่อเนื่องไปจนถึง 1 ปี หลังจากที่กลุ่มแรกเรียนจบการศึกษาจากโรงเรียนไป สามารถเข้าเรียน หรือทำงานตามที่หวังไว้ จะมีการกลับมาอบรม แนะแนวรุ่นน้องในรุ่นที่ 2 ต่อไปอย่างไร  ให้มีการต่อยอดไปเรื่อยๆ</h3><p>
ต้องมองว่า รุ่นต่อๆไป จะมีการขยายผลได้อย่างไร”

 การสนทนา ในวันนั้น ได้จบลงที่ประเด็นนี้ </p><h3>คุณอำนาจ ได้ให้มุมมองที่สามารถทำให้เกิดขึ้นมาได้ โดยการร่วมแรงร่วมใจกันของทุกฝ่าย หากคิดอยู่เพียงฝ่ายเดียวในป่าคอนกรีต ย่อมไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น ในเมื่อสิ่งที่อยากทำให้เกิดขึ้นนั้น อยู่ในชนบท</h3><p>
คงต้องรอฟังแนวคิด และแนวทาง ก้าวดินต่อไปของคณวุฒิชัยว่า มีมุมมอง คิดเห็นอย่างไร เขาคิด และวางแนวทาง ออกแบบโครงสร้างการทำงานไว้อย่างไรบ้าง</p><h3>ที่สำคัญ โอกาสที่การทำงานเพื่อสังคม การประสานเชื่อมโยงกลไกต่างๆ จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่นั้น  คงจะต้องติดตามกันต่อไปครับ เพราะคุณอำนาจ  แสงสุข พร้อมที่จะเปิดช่องทาง และประสานเชื่อมโยงแนวคิดของคุณวุฒิชัยกับพื้นที่หนองสรวงอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วครับ</h3><p>
</p>

หมายเลขบันทึก: 80049เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เป็นเพียงกรณี....ยกตัวอย่างและมุมมองจะกระทบ ...อย่าเอ่ยถึงบริษัทต่าง ๆ เพราะ  เป็นช่องทางของธุรกิจ ขอสงวนลิขสิทธิ์.......ขอให้แก้ไขที่เอ่ยชื่อบริษัท ว่า เป็น บริษัท นาย ก. นาย ข.  นะครับ โปรดแก้ไขด้วยนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท