การจัดการความรู้กับการเรียนรู้ของสมาชิก อบต.
วิจารณ์ พานิช
7 มิ.ย.48
วันนี้ (31 พ.ค.48) อ. เต็มดวง ตรีธัญญพงศ์ กับ ผศ. พัชริน ดำรงกิตติกุล มาคุยเรื่องมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีและเครือข่าย ต้องการจัดหลักสูตรปริญญาตรี & โทแก่สมาชิก อบต. ในลักษณะที่เป็นหลักสูตรแนวใหม่ เป็นหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์แล้ว
ผมแนะนำให้ใช้ “การเรียนรู้ในชีวิตจริง” หรือ “การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง” เป็นฐาน เสริมด้วยการเรียนรู้ทฤษฎี
นั่นคือเรียนรู้ด้วยการทำ KM นั่นเอง
หลักการคือเราเน้น learning ไม่ใช่ training
Training เป็นกิจกรรมของวิทยากรหรือผู้สอน ผู้สอนกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอน
Learning เป็นกิจกรรมของผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดกิจกรรม
ในที่นี้เราจะเน้น learning by doing แล้วเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในหมู่นักศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์
อาจารย์จะกลายเป็น learning facilitator ซึ่งถ้าใช้ KM ก็จะเป็น KM Facilitator
สคส. ยินดีฝึกให้อาจารย์เป็น KM Facilitator โดยฝึกแบบ learning by doing เช่นเดียวกัน
ทั้งนักศึกษาและอาจารย์จะต้องเขียน blog เพื่อบันทึกการเรียนรู้ของตน บันทึกความรู้จากประสบการณ์คือ tacit knowledge
จะต้องมี “ผู้จัดการ blog” ของหลักสูตร ซึ่งอาจเป็นตัวอาจารย์บางคนก็ได้
คือเราจะใช้ “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ไม่ใช่ใช้ห้องบรรยาย หรือใช้ห้องบรรยายให้น้อยที่สุด
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะมี
- เวทีจริง นักศึกษามานำเสนอต่อชั้น
- เวทีเสมือน บันทึกความรู้ลง blog และมีการจัดการความรู้ใน blog นั้น
นี่แค่ฝันนะครับ ของจริงจะต้องมีการตกลงกันอีกมาก อาจจะต้องมีการลงนามในสัญญาความร่วมมือด้วยก็ได้
วิจารณ์ พานิช
31 พ.ค. 48
ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรีของดิฉันก็มีการจัดหลักสูตรเพื่อเพิ่มวุฒิให้แก่เกษตรกร โดยไปสอนถึงบ้านแต่วิธีการยังไม่ได้ปรับปรุง เรียนไประยะหนึ่ง เกษตรกรก็เบื่อ คนสอนก็ไม่มีแรงจะไปสอน ดิฉันและเพื่อนร่วมงานสนใจจะปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีการสอน และต้องการเป็นคุณอำนวยค่ะ
ขอความกรุณาจากท่านอาจารย์ช่วยด้วยค่ะ
ลองเสนอมาว่าจะปรับอย่างไร แล้วผมจะ comment ให้ครับ
วิจารณ์