การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๑)


มูลนิธิข้าวขวัญได้จัดกิจกรรมต่างๆผ่านโรงเรียนชาวนา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันจำนวน 4 แห่ง ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี คือ ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง ตำบลวัดดาว อำเภอบางปลาม้า ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง และตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ โดยแต่ละโรงเรียนต่างก็มุ่งมั่นเดินทางเข้าสู่วิถีของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับชาวนา (๑)

ท่านที่สนใจเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมาะสมต่อชาวบ้าน โปรดลองอ่านเรื่องราวของโรงเรียนชาวนาต่อไปนี้ ซึ่งจะนำมาลงเป็นตอนๆ สัปดาห์ละ ๒ ตอน ในวันจันทร์และพฤหัส รวม ๒๙ ตอน เรื่องราวเหล่านี้เขียนโดยทีมของมูลนิธิข้าวขวัญ (มขข.) สุพรรณบุรี และบางตอนจะนำมาจากบันทึกการทดลองและเก็บข้อมูลโดยชาวนาที่เป็นนักเรียนโรงเรียนชาวนา บางตอนจะมีภาพวาดสวยๆ โดย “นักเรียน” มาให้ชื่นชมกัน

คำหลักของเรื่องเล่าและบันทึกเหล่านี้ ได้แก่

· การเรียนรู้ตลอดชีวิต

· การทำนาแบบเกษตรยั่งยืน หรือเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษ

· เศรษฐกิจพอเพียง สังคมพอเพียง

· การรักษาสิ่งแวดล้อม การลดมลพิษในนา การผลิตข้าวปลอดสารพิษ

โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้

เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

ตอนที่ ๑

เมื่อฤดูกาลก้าวเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวราวเดือนตุลาคม (2547) ลมเย็นๆจากถิ่นใดเจ้าเอ๋ย...จึงได้พัดพาหอบเอาความเย็นความหนาวผ่านนาข้าวเขียวมาถึงถิ่นเมืองสุพรรณบุรี ครั้นแลมองท้องทุ่งข้าว จึงควรต้องเหลียวดูวันเวลา ให้นับจังหวะได้ว่าเป็นระยะทบทวนงาน นับตั้งแต่เดือนในเทศกาลสงกรานต์...เมษายนที่เริ่มต้นทำงานตามโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เวลา 6 เดือน (เมษายน – กันยายน) ในช่วงแรกของโครงการที่ผ่านไปเป็นเช่นไรกันบ้างกับการทำงานเพื่อชาวนาไทยของมูลนิธิข้าวขวัญ ?

มูลนิธิข้าวขวัญได้จัดกิจกรรมต่างๆผ่านโรงเรียนชาวนา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันจำนวน 4 แห่ง ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี คือ ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง ตำบลวัดดาว อำเภอบางปลาม้า ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง และตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ โดยแต่ละโรงเรียนต่างก็มุ่งมั่นเดินทางเข้าสู่วิถีของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

ดังนั้น มูลนิธิข้าวขวัญจึงมีเครือข่ายเป็นนักเรียนชาวนาตามพื้นที่ต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

โรงเรียนชาวนาบ้านโพธิ์ เป็นนักเรียนชาวนาที่มาจาก 2 ตำบลในอำเภอเมือง คือ ตำบลบ้านโพธิ์ และตำบลดอนโพธิ์ รวม 7 หมู่บ้าน มีนักเรียนชาวนาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน นัดเปิดโรงเรียนกันทุกวันอังคาร อาศัยสถานที่บ้านผู้นำชุมชน บ้านของคุณบุญมา ศรีแก้ว เป็นแหล่งจัดกิจกรรม

ส่วนโรงเรียนชาวนาบ้านสังโฆ ตำบลวัดดาว อำเภอบางปลาม้า มีนักเรียนชาวนา จำนวน 43 คน จัดกิจกรรมต่างๆกันทุกวันพฤหัสบดี มีศาลาการเปรียญวัดดาวเป็นสถานที่เปิดโรงเรียน

ส่วนโรงเรียนชาวนาบ้านดอน ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง นักเรียนชาวนามาจาก 6 หมู่บ้าน จำนวน 62 คน จะต้องเปิดห้องเรียน จำนวน 2 ห้อง คือ ห้อง ก โรงเรียนเปิดทุกวันเสาร์ อาศัยคุ้มหมู่ 6 เป็นศูนย์กลางการรวมกลุ่ม และสำหรับห้อง ข โรงเรียนเปิดทุกวันพุธ ได้ไปจัดกิจกรรมกันที่บ้านคุณระเบียบ เหมาเพชร หมู่ 8

และสุดท้าย โรงเรียนชาวนาบ้านหนองแจง ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ มีนักเรียนชาวนา จำนวน 43 คน โรงเรียนเปิดทุกวันอาทิตย์ ที่ศาลาการเปรียญวัดสระพระยา

การก่อร่างสร้างกลุ่มจนกลายเป็นกลุ่มก้อน จึงสามารถรวมนักเรียนชาวนาในโครงการทั้งหมดได้จำนวน 195 คน โดยที่โรงเรียนชาวนาในแต่ละตำบลทำหน้าที่เป็นเครือข่ายในระดับท้องถิ่น เกิดเป็นชุมชนชาวนา (Community of Practice) ที่จะสามารถเชื่อมโยงกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง อันเป็นวัตถุประสงค์ประการหนึ่งของโครงการที่คาดหวังไว้

ในโรงเรียนชาวนานั้น นักเรียนชาวนากับเจ้าหน้าที่จะต้องทำงานร่วมกันตามบทบาทหน้าที่ โดยที่นักเรียนชาวนามีบทบาทเป็น “คุณกิจ” ที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียนชาวนา ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมรับผลตอบแทนต่างๆด้วย

ส่วนเจ้าหน้าที่มีบทบาทเป็น “คุณอำนวย” ที่จะคอยอำนวยการให้เกิดการทำกิจกรรมตามความต้องการที่สอดคล้องกับเนื้อหาและบริบทของชุมชน ซึ่งคุณอำนวยจะได้ร่วมเรียนรู้สิ่งต่างๆจากการทำงานร่วมกับนักเรียนชาวนาด้วย ถือเป็นการเปิดรับความรู้ใหม่ที่ควรค่าแก่การจดจำเพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกันทั้งในกาลปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ไกล

แต่ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนชาวนาในบทบาทของคุณกิจ หรือเจ้าหน้าที่ในบทบาทของคุณอำนวย เมื่อเดินทางเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะเพื่อร่วมกันจัดการความรู้ การรวมกลุ่มจึงเป็น องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง อย่างที่เราๆท่านๆเคยพูดกันอยู่เสมอๆว่า “รวมกันเราอยู่” ดังนั้น การทำงานเป็นกลุ่มเป็นก้อน จึงจำเป็นต้องมีความเป็นเอกภาพ กล่าวคือ มีการ ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทรัพย์ ในการเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนจะมีความคิดแปลกแยกแตกต่างกันไปบ้างนั้น ให้ถือว่าเป็นการมองต่างมุม ที่สุดท้ายแล้วจะสามารถหาข้อสรุปได้

พอ 6 เดือนผ่านไป มีอะไรเกิดขึ้นอย่างมากมายหลายหลากยิ่งนัก ได้มีผลกระทบต่อคุณกิจ ซึ่งเป็นชาวนาส่วนหนึ่งในดินแดนแห่งอู่ข้าวอู่น้ำเมืองสุพรรณบุรี หลังจากได้โยนก้อนหินลงในสระน้ำแล้ว แรงกระเพื่อมจึงเกิดขึ้น จนเป็นวงรัศมีที่ขยายวงกว้างออกเป็นชั้นๆจากจุดศูนย์กลาง พวกเรา (เจ้าหน้าที่มูลนิธิข้าวขวัญ) คาดหวังไว้ว่าแรงกระเพื่อมจะกระจายออกไปให้จนถึงขอบสระในสักวันหนึ่ง...ตามเป้าหมาย แรงสนับสนุนดังกล่าวได้จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม หรือ สคส. ด้วยการร่วมไม้ร่วมมือของคณะทำงานนี่เอง... ที่จะทำให้ชาวนาเปลี่ยนไป

กล้าต้นใหม่ของโรงเรียนชาวนา

ตอนที่ 1 เรียนรู้ทุกข์จากชาวนา : จุดนับหนึ่งของกระบวนการจัดการความรู้

จุดนับหนึ่งของกระบวนการจัดการความรู้ที่ทางมูลนิธิข้าวขวัญได้ดำเนินการร่วมกับนักเรียนชาวนานั้น แรกเริ่มจำต้องไปเข้าเรียนรู้ทุกข์ของนักเรียนชาวนากันก่อน เหตุใดจึงต้องเรียนรู้ทุกข์ ? เรียนรู้ เพราะเพื่อต้องทำความรู้จักและทำความเข้าใจว่า กองทุกข์ของความเป็นชาวนานั้นคืออะไรและเป็นอย่างไร ? สภาพปัญหาต่างๆไปสร้างความทุกข์ยากให้แก่นักเรียนชาวนาได้อย่างไร ? เรียนรู้ทุกข์จากเสียงจากถ้อยคำของนักเรียนชาวนาที่ช่วยกันปะติดปะต่อภาพของความทุกข์และสภาพของความเป็นปัญหา ทุกข์จึงมีไว้ให้เรียนรู้และแก้ไข

การจัดเวทีตั้งโจทย์ จึงนับเป็นเวทีแรกของการดำเนินกระบวนการจัดการความรู้ โดยได้มีการระดมข้อมูล เพื่อทบทวนสถานการณ์การทำนา การปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันของนักเรียนชาวนาในพื้นที่ต่างๆ (4 อำเภอ) โดยมีคุณเดชา ศิริภัทร ได้เล่าเรื่องและคุยคุ้ยความเล่าสู่กันฟัง พร้อมๆกับให้นักเรียนชาวนาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่พบด้านต่างๆในการทำนา และร่วมกันคิดวิเคราะห์ โดยจัดกลุ่มย่อยให้นักเรียนชาวนาที่มีทุกข์จากปัญหาอย่างเดียวกันได้มาร่วมกันขบคิดในแต่ละปัญหานั้นๆไป ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นกันเองของลูกหลานชาวนา

ภาพที่ 1 นิทรรศการในเวทีตั้งโจทย์และหาเพื่อนร่วมทางในตำบลวัดดาว

ภาพที่ 2 คุณเดชา ศิริภัทร เปิดเวทีร่วมกับนักเรียนชาวนาในตำบลวัดดาว

อะไรคือความทุกข์ยากของชีวิตนักเรียนชาวนาบ้าง ? จากการตั้งโจทย์ปัญหาอย่างนี้ ก็พอจะได้ทำให้ทราบถึงทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่ามีทุกข์ที่เกิดจากปัญหาทั้งหมด 5 ประเด็นหลัก คือ

(1) ทุกข์ที่เกิดจากระบบการผลิตที่เปลี่ยนไป ทำให้นักเรียนชาวนาพบกับปัญหาเรื่องต้นทุนที่สูงแพงมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องพันธุ์ข้าวปนกันหลายพันธุ์ในแต่ละไร่ เรื่องโรคแมลงที่มีมาก ได้แก่ ใบเหลือง หนอน เพลี้ย ใบไหม้ รากเน่า เรื่องปริมาณน้ำที่มีไม่พอต่อความต้องการในนาข้าว เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดโรคแมลงที่ต้องใช้ในปริมาณที่มากขึ้น เรื่องความไม่รู้ไม่เข้าใจในด้านเทคนิคการปรับปรุงและการพัฒนาการทำนา

(2) ทุกข์ที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องของดินแข็ง น้ำมีสารเคมีปนเปื้อน อากาศเหม็น

(3) ทุกข์ที่เกิดจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจ เรื่องหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้น เรื่องเวลาทำนา จนไม่มีเวลาให้กับชุมชน ครอบครัว ทำให้คนไม่รักไม่สามัคคีกัน ทำให้ครอบครัวแตกแยก

(4) ทุกข์ที่เกิดจากปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย เรื่องของอาการเจ็บป่วยที่เป็นกันอยู่บ่อยๆ จนทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอยู่ร่ำไป และทำให้สุขภาพจิตเสีย

(5) ทุกข์ที่เกิดจากปัญหาด้านประเพณีวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปและลดน้อยลง คนในชุมชนไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของพิธีกรรม อันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน

ภาพที่ 3 คุณเดชา ศิริภัทร เปิดเวทีพูดคุยกับนักเรียนชาวนา เรื่องการเปลี่ยนแปลงการทำนาในอดีตถึงปัจจุบัน

ภาพที่ 4 คุณจันทนา หงษา เปิดเวทีพูดคุยกับนักเรียนชาวนา เพื่ออธิบายถึงการจัดการความรู้ เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

จากสภาพทุกข์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนชาวนาในชุมชน นี่จึงเป็นเสียงสะท้อนที่ทุกคนทุกฝ่ายควรจะต้องหันกลับมามอง พร้อมๆกับทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆเหล่านี้

เป็นที่น่าสังเกตว่านักเรียนชาวนาได้ตั้งสมมติฐานร่วมกันว่า ปัญหาทั้งหมดทั้งหลายนี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิต จึงทำให้วิถีชีวิตของความเป็นชาวนาเปลี่ยนไป ดังนั้น หากการแก้ไขปัญหาต่างๆ ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต การเพิ่มความรู้ด้านเทคนิคเกษตร เพื่อให้สภาพปัญหาทุกอย่างคลี่คลายไปได้

จากกรณีศึกษาตัวอย่างของโรงเรียนชาวนาบ้านโพธิ์ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี นักเรียนชาวนาได้ร่วมกันเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบ การผลิตข้าวที่เปลี่ยนไปนั้น เชื่อมโยงกระทบกับสิ่งใดบ้างที่เปลี่ยนแปลงไปและอย่างไรบ้าง ?

ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มย่อยที่ 1 ของนักเรียนชาวนาโรงเรียนชาวนาบ้านโพธิ์

หัวข้อ / ประเด็น

สภาพในอดีต

สภาพในปัจจุบัน

เป้าหมายในอดีต

- ทำนาเพื่อกินเองในครอบครัว

ส่วนที่เหลือจึงจะไปขาย

ทำนาเพื่อขาย 100 %

- ไม่มีโรงสี

- คุณภาพข้าวแข็ง ชาวนาไม่ชอบกิน

- การใช้เงินในชีวิตมากขึ้น

- ไม่มียุ้งเก็บข้าว

ชีวิตการผลิต

- หว่านแห้ง ใช้น้ำฝน ดำปีละครั้ง

- ใช้แรงงานสัตว์ แรงงานคนใน

ครอบครัว (มีจ้างบ้าง)

- ใช้คนเกี่ยว ลงแขก (มีจ้างบ้าง)

- ใช้เครื่องมือทำเอง ใช้แรงไม่ใช้

เครื่องจักรทำงาน

- หว่านน้ำตรม ปีละ 2 – 3 ครั้งต่อปี

- ใช้คลองชลประทาน

- ใช้แรงเครื่องจักร

- ใช้แรงงานคนในครอบครัว

- เผาฟาง

- ใช้สารเคมีและใส่ปุ๋ยเคมี

ชีวิตการผลิต

- ใช้ควายและนวดข้าวเอาเอง

- ไม่เผาฟาง

- ไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีเลย

- มีโรคแมลงข้าว แต่หายไปเอง

ไม่ต้องใช้สารเคมี

- ต้นทุน 2,000 – 2,700 บาท ต่อไร่

- โรคแมลงมีมาก

- ข้าวพันธุ์นาปรัง หอมปทุม

สุพรรณ 35 สุพรรณ 60

พิษณุโลก

หัวข้อ / ประเด็น

สภาพในอดีต

สภาพในปัจจุบัน

ชีวิตการผลิต

- ข้าวนาปี การเลือกพันธุ์ข้าวเป็นไป

ตามสภาพพื้นที่ นาดอนข้าวเบา

นาลุ่มข้าวหนัก

- ไม่มีต้นทุนเป็นเงิน

สิ่งแวดล้อม

- ในแม่น้ำลำคลองมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่

เป็นจำนวนมาก

- มีอาหารธรรมชาติอย่างมากมาย

- อากาศไม่มีมลพิษ

- ดินดีมีความสมบูรณ์

- แม่น้ำลำคลองมีสารเคมี

- สัตว์ในแม่น้ำลำคลองลดลง

- อากาศมีกลิ่นสารเคมีที่ชาวนาใช้

อากาศเป็นพิษ

- ดินเป็นสนิมแดง ข้าวตาย

- ดินขาดความอุดมสมบูรณ์

สุขภาพ

- การเจ็บป่วยไม่บ่อยมาก

- อายุยืน 70 – 80 ปีและยังทำงานได้

- บริโภคอาหารปลอดสารเคมี

- ดินดีมีความสมบูรณ์

- เจ็บป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะโรค

มะเร็ง

- เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

- อาหารซื้อจากภายนอก ปนเปื้อน

สารเคมี

พิธีกรรม

- ทำขวัญข้าว รับท้องข้าว ซึ่งทำใน

วันศุกร์ เอาข้าวเข้าบ้าน

- แรกไถ แรกหว่าน แรกเกี่ยว

- ไม่ขายข้าวในวันศุกร์

- ทำขวัญข้าว รับท้องข้าว

- เอาข้าวออกจากนาไปโรงสี

ชีวิตความเป็นอยู่

- ชีวิตค่อนข้างลำบาก การเดินทาง

ไม่ค่อยมีเครื่องอำนวยความ

สะดวก มีหนี้สินน้อย

- มีเครื่องอำนวยความสะดวกมาก

ขึ้น ความเป็นอยู่สบายขึ้น และ

หนี้สินมีเพิ่มมากขึ้น

พันธุ์ข้าว

- ข้าวหนัก คือ พันธุ์ลำไย ก้อนแก้ว

ขาวพวง พวงเงิน

- ข้าวกลาง คือ พันธุ์เหลืองอ่อน

สามรวง ปิ่นแก้ว ตาแห้ง พญาชม

- ข้าวเบา คือ พันธุ์นางมล ล้นยุ้ง

สายบัว

- ข้าวสุพรรณ 1, 35, หอมปทุม

หัวข้อ / ประเด็น

สภาพในอดีต

สภาพในปัจจุบัน

เป้าหมายของการ

ทำนา

(เรียงตามลำดับ)

- กิน

- แลกของ

- ทำบุญ

- ทำพันธุ์

- ขาย

- ขาย

- ทำพันธุ์

- กิน

ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มย่อยที่ 2 ของนักเรียนชาวนาโรงเรียนชาวนาบ้านโพธิ์

หัวข้อ / ประเด็น

สภาพในอดีต

สภาพในปัจจุบัน

เป้าหมายในอดีต

- ทำกิน เหลือขาย

- ทำขาย แล้วซื้อข้าวกิน

- ปลูกข้าวเพื่อส่งลูกเรียน

พันธุ์ข้าว

- เน้นพันธุ์พื้นเมือง คือ พันธุ์

ปิ่นแก้ว ก้อนแก้ว หอมเดือน 3

ขาวตาแห้ง สามรวง ลำไย

พญาชม

- ผลผลิตต่ำ

ส่วนใหญ่ซื้อพันธุ์ข้าวปลูก และเก็บ

พันธุ์ไว้ คือ

- ข้าวสุพรรณ 35 ปทุมธานี 1

สุพรรณ 1 พิษณุโลก 2

พิษณุโลก 1

วิธีการผลิต

- มีการลงแขกเอาแรงกัน

- จ้างแรงาน ตั้งแต่ไถนา เก็บเกี่ยว

ขาย

- มีหนี้สิน ต้นทุนการผลิตสูง

ใช้ทั้งเครื่องมือและแรงงาน

- จ้างแรงงาน ส่วนใหญ่ 80 %

ขึ้นไป

- มีเพียงที่นาอย่างเดียว อย่างอื่นจ้าง

เขาหมด

ต้นทุนการผลิต

ต่อไร่

ต้นทุน

- พันธุ์ข้าว 0 บาท

- ลงแขก (ค่าอาหาร) 20 บาท

- ปุ๋ยและยา 0 บาท

รวม 20 บาท

- พันธุ์ข้าว 3 ถังต่อไร่ 300 บาท

- จ้างไถ 140 บาท

- ย่ำเทือก 120 บาท

- หว่าน 35 บาท

- จ้างฉีดยาคุม 35 บาท

หัวข้อ / ประเด็น

สภาพในอดีต

สภาพในปัจจุบัน

ต้นทุนการผลิต

ต่อไร่

ผลผลิตในอดีต 30 กิโลกรัมต่อไร่

ผลผลิตในปัจจุบัน 4,000 บาท

- จ้างใส่ปุ๋ย 35 บาท

- จ้างฉีดยาฆ่าแมลง 105 บาท

ต้นทุนการผลิต

ต่อไร่

- รถเกี่ยว + แบกข้าว 400 บาท

- รถเข็นไปขาย 100 บาท

- น้ำมันสำหรับวิดน้ำ 20 บาท

- ค่าปุ๋ยเคมี 400 บาท

- ค่ายาคุมหญ้า 100 บาท

- ค่ายาฆ่าแมลง 250 บาท

- จ้างตัดข้าวปน 420 บาท

รวม 2,660 บาท

(ดูภาคผนวก จ ประกอบ)

เมื่อมาทบทวนสถานการณ์ดูแล้ว จึงจะเห็นสภาพในอดีตกับปัจจุบันเปรียบเทียบได้ดังนี้

หัวข้อ / ประเด็น

หมายเลขบันทึก: 75เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2005 03:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2015 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท