งานชิ้นที่ 1 สภาพปัญหา


ความยุติธรรมทางอาญากับการลงโทษบุคคลซ้ำ

 สภาพปัญหา          

     

การที่พลเมืองของประเทศต่างๆ สามารถที่จะเดินทางไปมาในต่างประเทศได้และอาจมีบางคนอาจกระทำผิดอาญาในประเทศหนึ่ง และผลแห่งการกระทำนั้นอาจพาดพิงหลายประเทศ และการที่แต่ละประเทศต่างมีอำนาจอธิปไตยเหนืออาณาเขตของรัฐ ซึ่งทำให้รัฐต่างๆนั้นสามารถที่จะกระทำการใดๆในรัฐหรือดินแดนของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐออกกฎหมายมาเพื่อบังคับการกระทำที่เกิดขึ้นในรัฐทั้งหมด โดยไม่ต้องคำนึงว่าบุคคลนั้นจะมีสัญชาติใด จะมีสัญชาติไทยหรือไม่ เพียงแค่บุคคลดังกล่าวนี้ได้กระทำความผิดในรัฐที่มีกฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดตามที่คนคนนั้นได้อาศัยอยู่ และกฎหมายดังกล่าวนั้นยังใช้บังคับคนที่มีสัญชาติของรัฐนั้นด้วย และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น รัฐนั้นๆสามารถที่จะลงโทษผู้ที่กระทำความผิดในรัฐนั้นได้ด้วย นอกจากนั้นรัฐยังต้องให้ความคุ้มครองแก่บุคคลในรัฐไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีสัญชาติใดก็ตาม ทั้งยังต้องให้สิทธิต่างๆ แก่คนเหล่านั้นและปฏิบัติกับคนต่างชาติเหล่านั้นต้องปฏิบัติอย่างคนที่มีสัญชาติของตนเอง

                ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในรัฐและผลการกระทำพาดพิงไปหลายประเทศ เช่นคนไทยขึ้นเครื่องบินการบินไทยที่ประเทศจีนเพื่อไปปักกิ่ง ในขณะที่เครื่องบินจอดอยู่ที่สนามบินเมืองปักกิ่งนั้น เกิดโดนผู้ร้ายทำร้ายร่างกายหรือมีการลักทรัพย์กันขึ้น เช่นนี้เป็นการกระทำที่เป็นความผิดซึ่งเกิดขึ้นในประเทศจีน (นอกราชอาณาจักรไทย) และตามกฎหมายอาญาไทยให้ถือว่าการกระทำเช่นนี้ได้เกิดในราชอาณาจักรไทยเนื่องจากเกิดขึ้นที่อากาศยานของไทย คือเครื่องบินของไทย ดังนี้ เมื่อความผิดเกิดขึ้นในหลายรัฐ ทำให้มีกฎหมายหลายกฎหมายของรัฐมาเกี่ยวข้องกันซึ่งในแต่ละรัฐนั้นมีกฎหมายที่ต่างกันออกไป รัฐต่างๆเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ต้องการที่จะลงโทษผู้กระทำผิดซึ่งเป็นไปตามหลักอำนาจอธิปไตยของรัฐ และในแต่ละรัฐก็มีอำนาจในการลงโทษทั้งสิ้น ซึ่งหากมีการลงโทษ ทำให้เป็นปัญหาว่าเมื่อรัฐหนึ่งใช้อำนาจในการลงโทษผู้กระทำความผิดไปแล้ว รัฐอื่นที่มีเขตอำนาจเช่นกันนั้นจะลงโทษการกระทำผิดนั้นอีกได้หรือไม่ จึงเกิดปัญหาขึ้นหากมีการลงโทษ

                ในกรณีของประเทศไทยนั้น ศาลใช้หลักการใช้ดุลพินิจของศาลในการตัดสินคดีว่าจะลงโทษผู้กระทำผิดนั้นอีกหรือไม่ และหากมีการลงโทษอีกครั้งหนึ่งจะกลายเป็นการลงโทษซ้ำหรือไม่

การพิจารณาพิพากษาดคีอาญานั้นเป็นเรื่องที่กระทบสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นจำเลยเนื่องจากเป็นการลงโทษต่อเนื้อตัวร่างกายจึงต้องสันนิษฐานว่าจำเลยบริสุทธ์จนกว่าจะได้พิสูจน์ว่าได้กระทำผิดจริง และเป็นการกระทำที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดจึงสามารถที่จะลงโทษบุคคลได้ นอกจากนั้นยังมีหลักอีกประการหนึ่งคือ บุคคลคนหนึ่งไม่อาจถูกพิจารณาคดีสองครั้งในความผิดกรรมเดียว ตามมาตรา 39 (4) ประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาคามอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ กล่าวคือไม่สามารถที่จะฟ้องคดีกับจำเลยที่ศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดมาแล้วและต้องเป็นจำเลยคนเดียวกันทั้งในคดีแรกและคดีหลัง นั้นสอดคล้องกับหลักการดังที่ได้กล่าวมา แต่ทั้งนี้ เมื่อเป็นคดีที่ศาลต่างประเทศได้มีคำพิพากษาแก่จำเลยคนนั้นเกี่ยวกับความผิดที่ได้กระทำลงไป หากมีการกล่าวอ้างความผิดในศาลไทย หรือเป็นการฟ้องคดีที่ศาลไทยอีกครั้ง ศาลกลับใช้หลักมาตรา 11 ประมลกฎหมายอาญา ในการพิจารณาความผิด กล่าวคือศาลมีสิทธิที่จะลงโทษบุคคลนั้น (จำเลย) ในความผิดนั้นได้อีกหรือไม่ก็ได้ซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาลงโทษ และการบังคับใช้หลักดังกล่าวนี้ ขัดกับหลักมาตรา 39 (4) หรือไม่ และจากการขัดกับดังกล่าวเกี่ยวข้องในทางระหว่างประเทศอย่างไร หากหลักการดังกล่าวเป็นหลักจารีตประเพณี หรือมีสนธิสัญญากำหนดไว้ 

หมายเลขบันทึก: 79724เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2007 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท