ความฉลาดทางจิตวิญญาณ ตอนที่ 2


GCK หมายถึง Goodness (ความดี) Community/Culture (ชุมชน/วัฒนธรรม) และ Knowledge (ความรู้) โดยการพึ่งพา อาศัยกัน และการดำรงตน ตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
จากความคุ้นเคยรองลงมาคงเป็น EQ ซึ่งย่อมาจากคำว่า Emotional Quotient หมายถึง มาตรวัดความฉลาด ทางอารมณ์ ที่กำลัง ใช้กันเกลื่อน อยู่ในขณะนี้ เพราะแม้กระทั่ง ผู้บริหารประเทศ คนที่ผ่านมา มักถูกสังคม ถามหา EQ จนนำไปสู่การปฏิวัติ ทางการเมือง ในที่สุด นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคิว (Q) เช่น

MQ หรือ Moral Quotient หมายถึง มาตรวัดความฉลาดทางจริยธรรม หรือ ระดับสติปัญญาทางด้านศีลธรรม ก็เริ่มถูกใช้กัน มากขึ้น หลังจากพบว่า คนในสมัย ยุคแห่งวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกำลังห่างไกลจาก หลักศาสนธรรม จนเป็นมนุษย์เงินตรา มากขึ้นทุกที นอกจากนี้

MQ อาจย่อมาจาก Motor Quotient หมายถึง มาตรวัดระดับความสามารถ ของการเคลื่อนไหวร่างกาย

PQ หรือ Physical Quotient หมายถึง ความฉลาดทางพลานามัย มีความมั่นใจ ในการเคลื่อนไหว ร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง บางตำรา ก็ใช้คำว่า Professional Quotient หรือ Play Quotient คือ มาตรวัดระดับ ความสนใจของเด็กที่จะเกาะติดกับกิจกรรม ที่มีประโยชน์ แล้วจะพัฒนา ให้ดีมากขึ้น จนถึงที่สุด หรือ มาตรวัด ความฉลาด ที่เกิดขึ้นจาก การ

AQ ย่อมาจาก Adversity Quotient หมายถึง มาตรวัดความสามารถ ในการควบคุม กำกับ และเอาชนะปัญหา อุปสรรคได้

CQ ย่อมาจาก Creativity Quotient หมายถึง มาตรวัดระดับ ความคิดริเริ่ม หรือ ความคิดสร้างสรรค์ 
นอกจากนี้ มีมาตรวัดอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งนั่นคือ SQ ย่อมาจาก Spiritual Quotient หมายถึง มาตรวัดระดับ พัฒนาการ ทางจิตวิญญาณ

แม้จะชอบมาตรวัดอันสุดท้ายนี้มากเพียงใด แต่ทุกครั้งที่พูดถึงดิฉันจะรู้สึกเหนื่อยไม่น้อย เพราะจิตวิญญาณ (
Spiritual) ค่อนข้างเป็นคำใหญ่ ทั้งกว้าง และลึก ทั้งมืดทั้งสว่าง ทั้งใกล้และไกลจนบางครั้งอาจจะถือเป็นมาตรวัดที่ถือเป็นศูนย์กลางของมาตรวัดทั้งหมดที่มีอยู่เลย ก็เป็นได้ เพราะแม้แต่ การ์ดเนอร์เองก็ยังไม่มีการกล่าวถึงที่ชัดเจนเพียงพอ

ศ.นพ.ประเวศ วะสี ยังกล่าวต่อถึงรหัสของการพัฒนาที่ควรจะเป็น ในยุคสมัยใหม่นี้ว่า ควรมีการปรับเปลี่ยน ให้เป็น
GCK หมายถึง Goodness (ความดี) Community/Culture (ชุมชน/วัฒนธรรม) และ Knowledge (ความรู้) โดยการพึ่งพา อาศัยกัน และการดำรงตน ตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นมาตรวัดหนึ่งทางจิตวิญญาณของสังคมไทย ในการบริหารประเทศจะเน้นที่
Gross National Happiness : GNH หรือ ความสุขมวลรวม ประชาชาติ เป็นที่ตั้ง ซึ่งมีหลักการ เพียงไม่กี่ข้อ ประกอบด้วย
          1. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม ให้สามารถพึ่งตนเอง อย่างยั่งยืน
          2. การมุ่งเน้นอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
          3. การอนุรักษ์ และ พัฒนาเสริมสร้าง วัฒนธรรมท้องถิ่น และ
          4. ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล


ดังนั้น
SQ จึงควรถูกปัดฝุ่นกระตุ้นให้เกิดเป็นนโยบายชาติ และมีการดำเนินงาน อย่างจริงจัง พร้อมๆ ไปกับการดำเนิน แนวนโยบาย เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ ก็เพราะความสำคัญที่ว่า ความฉลาดทางจิตวิญญาณ เป็นศูนย์กลาง ของการ ดำรงชีวิต ซึ่งแทบจะขาดหายไป ในมิติแห่งชีวิต ของคนไทยยุคปัจจุบัน
หมายเลขบันทึก: 79573เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2007 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มาทักทายวันใหม่ครับ
  • ทำอย่างไรชาวบ้านจะเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเข้าใจลึกซึ้ง จนนำไปปฏบัติเป็นวิถีชีวิติของเขา คงจะช่วยตัวเขาเองใด้มากครับ

จะทำระดับนี้เลยไหมครับ

หรือจะทำแค่ระดับความรู้ดีครับ

ตัดสินใจให้แน่ๆ ผมจะได้วางแนวได้ถูกใจคุณได้อย่างไม่พลาดเป้า

อาจารย์ค่ะ

 

สบายดีไหมค่ะ

 

ที่โรงเรียนสตึกสวยขึ้นเยอะเลยค่ะ

 

วันนี้หนูมาค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ MQ ค่ะ

 

อาจารย์ให้หัวข้อมาเยอะมากค่ะ

 

 

สำเนียง ประยุทธเต

                    สวัสดีจ้ะกานต์ ครูน้อยสบายดีจ้ะ และแอบเข้าไปโรงเรียนด้วยนะ บรรยากาศสวยงามขึ้นเยอะจริง ๆ ด้วย โดยเฉพาะสวนหนังสือหลังห้องสมุดนะ แล้วค้นหา MQ ได้ข้อมูลเพิ่มไหม ครูน้อยต่อให้อีกนิดนะ      ปกติเราทราบอยู่แล้วว่า IQ คือ Intelligence Quotient หรือระดับสติปัญญาด้านความรู้ความสามารถ ส่วน EQ หรือ Emotional Quotient คือ ระดับความฉลาดด้านอารมณ์ ซึ่งหมายถึงเรื่องบุคลิกภาพและการควบคุมตนเองเป็นส่วนใหญ่ สำหรับ MQ ที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้ ย่อมาจาก Moral Quotient หมายถึงระดับความคิดด้านศีลธรรมหรือระดับของศีลธรรมในใจคนนั่นเอง  บางคนเข้าใจว่า EQ กับ MQ นั้นคือสิ่งเดียวกันแต่ ดร.โรเบิร์ต โคลส์ จิตแพทย์ จาก ม.ฮาร์วาด ท่านหนึ่ง ได้กล่าวถึง MQ ไว้ในหนังสือของเขา โดยแยกเอาระดับความคิดด้านศีลธรรมนี้ออกมาจาก EQ

IQ, EQ และ MQ สัมพันธ์กันอย่างไร  นักจิตวิทยาค้นพบว่าพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นความฉลาด อารมณ์ สังคม ศีลธรรม มิติสัมพันธ์ คณิตศาสตร์ ภาษา ดนตรี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ต่างก็ค่อนข้างเป็นอิสระต่อกัน หมายความว่า เด็กอาจจะเก่งด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านแต่อาจจะไม่เก่งในด้านอื่นก็ได้ พัฒนาการในด้านต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีระดับเท่ากัน เช่น เด็กอาจจะเฉลียวฉลาด แต่พัฒนาการทางอารมณ์ต่ำและนิสัยไม่ดี หรือ ฉลาดอารมณ์ดี แต่ คุณธรรมต่ำก็ได้ หลายคนอาจจะประหลาดใจว่า อารมณ์ดี สังคมดี แต่คุณธรรมต่ำเป็นอย่างไร นิยามคำว่า คุณธรรมในที่นี้หมายถึง ระดับความเห็นแก่ตัว สรุป IQ EQ และ MQ มีเส้นทางการพัฒนาต่างกัน

ดร.โรเบิร์ต โคลส์ กล่าวว่า MQ นั้นไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ขณะที่บุคคลเจริญเติบโตขึ้นมาแล้ว การที่บุคคลคนหนึ่งจะมี MQ ระดับดี ต้องเริ่มปลูกฝังในวัยเด็กจึงจะได้ผล อาศัยปัจจัย 3 อย่างด้วยกันคือ (1) การสอนศีลธรรมโดยตรงให้กับเด็ก (2) การถ่ายทอดทางศีลธรรมจากผู้ใหญ่ให้กับเด็ก (3)  ความรักและวินัย

สรุปว่า MQ เป็นเรื่องที่ต้องฝึกมาแต่เด็ก ถ้าได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมาแต่ยังเป็นเด็ก บุคคลก็สามารถพัฒนาพื้นฐาน MQ ของตนขึ้นมาในระดับหนึ่ง (มากน้อยแล้วแต่การปลูกฝัง) และ MQ นี้ก็จะฝังลึกลงไปในจิตให้สำนึกของบุคคลผู้นั้น และจะรอเวลาที่ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่น ๆ แต่ถ้าบุคคลไม่มี MQ อยู่ในจิตสำนึกดั้งเดิมแล้ว ไม่ว่าโตขึ้นจะได้รับการกระตุ้นอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นคนดีขึ้นมาได้มากนัก

นี่คือเหตุผล ที่ว่าทำไมเราจึงมี ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมรุ่นร่วมชั้นเดียวกัน ที่มีระดับคุณธรรม จริยธรรมไม่เท่ากัน ทั้ง ๆ ที่เรียนจบออกมาจากสถาบันเดียวกันแท้ ๆ
Posted by : MQ , Date : 2003-12-23 , Time : 10:45:31 , From IP : 172.29.2.158

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท