ปลุกกระแส KM : ตัวอย่างกิจกรรมรณรงค์จากต่างแดน


     หายหน้าหายตาไปนาน ไม่ใช่แปรพักต์ไปจาก Gotoknow แต่ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องอื่นตามกระแสไปเรื่อยๆ กลับมาคราวนี้เป็นอันให้ตกใจในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นี่กระมัง สังคมของปัญญาชน สังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กาลเวลาผ่านไปไม่ได้ทำให้ Gotoknow ด้อยค่า เหมือนของเก่าเก็บ แต่กลับทวีความยิ่งใหญ่ อลังการสมกับเป็นขุมคลังแห่งภูมิปัญญาจริงๆ          

     ถึงแม้ Gotoknow จะยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็พบกว่ากระแส KM ในบางองค์กรได้ถดถอยลงไปตามกาลเวลา จะด้วยปัจจัยอะไรก็ตามแต่ กลับมาครั้งนี้จึงขอนำตัวอย่างการรณรงค์ส่งเสริม KM ในองค์กรที่น่ายกย่องและเอาเป็นเยี่ยงอย่าง จากการไปดูงานที่ประเทศมาเลเซียเมื่อปลายปีที่แล้ว 

     ประเทศมาเลเซีย ถือเป็นอีกประเทศหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลก ที่มีความทันสมัยและพร้อมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งสาธารณะ การปกครอง เศรษฐกิจ สาธารณูปโภค และการศึกษา ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ปี 2549 ที่ประเทศไทยตกจากอันดับที่ 27 ไปอยู่ที่ 32 แต่มาเลเซียกลับกระเด้งจากอันดับที่ 28 ขึ้นไปอยู่ที่ 23 นำหน้าประเทศไทยไปโดยไม่ทันได้ระวัง

      สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ การสร้างเมืองใหม่ ปุตราจายาให้เป็นเมืองในฝันแห่งอนาคตด้วยการวางผังเมืองและการวางระบบโครงสร้างที่ดีของผู้นำ ซึ่งมีความเข้าใจและมองเห็นเป้าหมายทิศทางที่ชัดเจน ทำให้การจัดการระบบภายในประเทศพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว         

     ประกอบกับนโยบายวิสัยทัศน์แห่งชาติ (National Vision Policy) ที่จะสร้างมาเลเซียให้เป็น ประเทศที่มีความยืดหยุ่น คงทนและมีความสามารถในการแข่งขัน (resilient and competitive nation)” โดยลดความสำคัญของการลงทุนที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืนและไม่มีประสิทธิภาพลง และให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม (total factor productivity) โดยเน้นการลงทุนที่มีการค้นคว้าวิจัยและเทคโนโลยีสูง ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy) และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับสังคมบนฐานความรู้ (knowledge-based society) ด้วยเช่นกัน         

     เห็นได้ว่านโยบายดังกล่าวมุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป  และที่น่าสนใจก็คือชาวมาเลเซียรับรู้และเข้าใจนโยบายวิสัยทัศน์ปี 2020 ของท่านอดีตผู้นำ ดร. มหาธีร์ โมฮัมหมัด เป็นอย่างดี ผู้บริหารในหลายองค์กรได้นำนโยบายดังกล่าวมาเป็นกรอบการวางแผนดำเนินงานขององค์กร นั่นแสดงให้เห็นว่านอกจากผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกลแล้วยังต้องมีความชัดเจน และที่สำคัญคือ ต้องสามารถสื่อสารให้ทุกคนรับรู้และเข้าใจนโยบายดังกล่าว เพื่อให้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน รับรู้ร่วมกันว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ใด            

     BANK NEGARA หรือธนาคารแห่งชาติของมาเลเซีย เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่เชื่อมั่นว่าความรู้และความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรเป็นสิ่งที่จะทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นหนึ่งได้ จึงมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่การเป็น “Knowledge Based Organisation (KBO)” และวางแผนระบบการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี จนกระทั่งปัจจุบัน ยังมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็น         

     Knowledge Management Center ที่จัดทำเป็นห้องสมุดสำหรับพนักงาน โดยสร้างบรรยากาศจูงใจในการเข้าไปใช้งาน ห้องประชุมพร้อมอุปกรณ์ที่เพียงพอ มุม Entertainment ที่แสนจะสะดวกสบายและมีที่สำหรับการจับกลุ่มรวมตัวกัน ซึ่งจะช่วยสานต่อความสัมพันธ์และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในที่สุด  มุม Internet ที่ส่งเสริมการค้นคว้า ไปจนถึงโปสเตอร์เชิญชวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมแบบเก่าๆ ติดอยู่อย่างน่าสนใจ  และประเมินผลด้วยแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง         

     ที่ประทับใจอีกอย่างก็คือ เก้าอี้ในห้องสมุดนั้น มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งสวย แปลกและเก๋ด้วยดีไซน์ จนทำให้อยากนั่งอยู่อย่างนั้นทั้งวัน  กระดาน Flip Chart โต๊ะและเก้าอี้ทุกตัวมีล้อติดอยู่ สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และพร้อมสำหรับการจับกลุ่มทำ KM ได้อยู่ตลอดเวลา อย่างนี้แล้วใครเล่าจะไม่อยากเข้าไปขลุกอยู่ทุกครั้งเมื่อมีเวลาว่าง         

     BANK NEGARA ได้ลงทุนพัฒนาระบบและเครื่องมือด้าน IT เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย ดังนี้ 

KBO IT

-           Expert Locator : Corporate Yellow Pages (CYP) & DHP (for Tacit knowledge)

-           Information Repository : Document Management System EDMS(for explicit knowledge)

-           SD, Network facilities

-           Collaboration : Visual Discussion Room (VDR), E-mail

-           Internal and external communication policies plus DHP and SD owned by CCD

-           Learning  : E-Learning

-           Knowledge Portal : Smart Desktop, Content Management System (CMS), Dept Homepage

-           Workflow : Task Management & Project Manaement (iPROMT)

-           ICT Infrastructure : Internet Access and LAN upgrade, Remote Access for Branches, Rep Offices and Econ Users

HRMD

Gradual changes to wide range of HR policies and Staff bio-data and CYP information is owned

HRDC

Internal training and learning content (TLP, new courses, new systems, new competencies)

SMD – Facilitate planning, implementation and measurement

CCD -  Facilitate communications and awareness

Library – Identify and source information, portal services

Knowledge application, sharing and development

-           Cross Functional teams, Benchmarking, Study vesits/attachment, policy WG, SOM, SC, projects

-           Promoting the use of e-mail, Virtual Discussion Rooms, Dept home page

KM Measurement

-           KM Measurement Framework

   ·         Defining KPI and the measurement taxonomy

   ·         Data collection and analysis-           Corporate Taxonomy

-           Enterprise Portal 

     เห็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมากมายขนาดนี้แล้ว หลายคนสงสัยว่าเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าหรือไม่ ซึ่ง BANK NEGARA ก็ไม่ได้เพิกเฉย แต่ได้มีจัดทำตัวชี้วัดที่ชัดเจน ถือว่าเป็น Best Practice ที่น่าสนใจมากทีเดียว คือ การจัดทำมาตรฐานของเครื่องมือต่างๆ, การใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้, อัตราการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแลกแบ่งปันความรู้, การลงทุนในระบบใหม่ๆ และจำนวนของหัวข้อสนทนาในระบบ ICT

     ประเทศมาเลเซีย ได้วางแนวทางและโครงสร้างระบบที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ทางรัฐบาลเองก็ได้มีการส่งเสริมการศึกษาด้านต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของคนเป็นหลัก  เนื่องจากเห็นว่าองค์กรและประเทศชาติจะพัฒนาได้นั้น ต้องเริ่มจากโครงสร้างของประชากรที่มั่นคง มีความรู้และความภักดี พร้อมที่จะเติบโตไปข้างหน้าอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสิ่งน่าชื่นชมและนำมาเป็นแบบอย่างกับประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยเราไม่ได้ด้อยกว่าเลย  ขาดแต่เรื่องความต่อเนื่องของนโยบาย และการดำเนินการอย่างจริงจังเท่านั้น 

คำสำคัญ (Tags): #sharing#facilitator
หมายเลขบันทึก: 79571เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท